วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้ "....ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้..." ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ "จิตวิญญาณ" คือ "คุณค่า" มากกว่า "มูลค่า" ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ "คุณค่า" มากกว่า "มูลค่า" มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง "คุณค่า" จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น "ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด" และขจัดความสำคัญของ "เงิน" ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ "บุคคล" กับ "ระบบ" และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า "...ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร" ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้ 1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย 2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ 3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้ การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง "บุคคล" กับ "ระบบ" การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ "คุณค่า" ให้มากกว่า "มูลค่า" ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า "...บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร ...ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด ...ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้..." การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง "คุณค่า" มากกว่า "มูลค่า" จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง "บุคคล" กับ "ระบบ" เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่ "....ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้...." ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า "....ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร...." ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง 1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป 2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง " "เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ได้แชร์ รูปภาพ ของ Tatsuya Kung หากเป็นไปได้รบกวนเพื่อนผองน้องพี่ นร.ทั้งหลาย ช่วยอ่านเรื่องนี้หน่อยครับ พูดจริงๆนะ ช่วยอ่านหน่อย อ่านให้จบนะ ---- ขอบคุณ พี่โก๊ะ- แม่พิมพ์บล๊อคพระ โก๊ะ เพาะช่าง --- อ่านจบแล้วจะแชร์ได้ก็ขอบคุณมากๆๆครับ "ก่อนแม่จะสิ้นลมหายใจ" บ้านพักคนชราที่ผมไปเยี่ยมเยืยนมาหลังวันเกิดในเดือนที่แล้ว เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ไม่ใหญ่โตนัก ที่นี่ เป็นส่วนหนึ่งของวัดเล็กๆ ที่สมภารเจ้าอาวาส อดีตนักเรียนโรงเรียนเดียวกับผม ท่านเอาเงินที่ญาติโยมศรัทธาถวายท่านมาปลูกสร้าง เพื่อให้ผู้เฒ่า ผู้ชรา ได้มาพักอาศัยยามเมื่อขาดที่พึ่งพิง มีโยมผู้หญิงวัยกลางคน ไร้ญาติและสิ่งเกาะเกี่ยวทางโลก มาบำเพ็ญธรรมโดยไม่บวชชี ท่วงท่าเจรจาพาทีดูสำรวมราบเรียบ พร้อมเด็กวัดลูกชาวบ้านแถบนั้น แวะเวียนผลัด เปลี่ยนกันเป็นผู้ดูแลผู้ชราทั้งหญิงชาย ที่ถูกทอดทิ้งรวม13 ชีวิต ค่าจ้าง คนดูแล น้ำ ไฟ เสื้อผ้ายารักษาโรค ข้าวปลาอาหาร สมภารใจดี อดีตนักเรียนช่างกล ที่รอดตายมาจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516เหมาจ่าย คนเดียว โดยไม่เคยพิมพ์ฏีกาเรี่ยไรใคร พูดคุยกับท่านหลายเรื่องจนตอนจะลากลับผมควักเงิน 500 บาทใส่ซอง ถวายท่านเป็นค่าใช้ จ่าย ท่านจึงนึกอะไรขึ้นมาได้ ชวนผมเดินลงจากศาลา ไปที่บ้านพักคนชราแห่งนั้น เปิดนรกบนดินอีกขุมหนึ่ง ให้คนบาปอย่างผม มีดวงตาเห็นธรรม โดยไม่ต้องฟังเทศน์เทียบชาดกบทใดๆ หญิงชรารูปร่างเล็ก ผิวสองสีบอบบางทอดกาย เหยียดตรงบนเตียงเล็กๆ แต่สะอาด มีผ้าห่มผืนบางๆ ห่มปิดทรวงอกที่ยังกระเพื่อมเบาๆ ราวเครื่องยนต์ใกล้ดับอย่างเหนื่อยหน่าย แม่เฒ่าพยายามยกมือขึ้นประนมไหว้ เมื่อท่านสมภารพาผมมานั่งอยู่ข้างขอบเตียง กังวานน้ำเสียงแห่งพุทธบุตรผู้เมตตาเปล่งวาจา ถามไถ่อาการ และให้ศีลให้พรเบาๆ แต่เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ หยาดน้ำตาแห่งความปิติ ท่วมท้นดวงตาสีขาวขุ่น แล้วค่อยๆ ซึมเซาะรินไหลไปตามร่องขอบตา ที่เ่หี่ยวย่นบนใบหน้า เวทนาบังเกิดจนผมต้องเบือนหน้าหนี ผู้เฒ่าอายุ 91 ปี อาวุโสสูงสุดในจำนวน 13 คนชราของที่นี่ เรื่องราวทั้งหลายในอดีตยังเจิดจ้าอยู่ในความทรงจำ เหมือนเพิ่งเกิด เมื่อวาน....... แม่เฒ่ามีลูกชายสองคนและหญิงหนึ่งคน 60 ปี ที่ผ่านมาครอบครัวแม่เฒ่าจัดอยู่ในระดับผู้มีอันจะกินของจังหวัด สามี ของแม่เฒ่ามีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ก่อร่างสร้างตัวจากกรรมกรกินค่า แรงรายวัน โดยแม่เฒ่ารับจ้างทอผ้าอยู่ในโรงงงานแห่งหนึ่ง อดออมสะสมจนฐานะดีขึ้น สามารถสร้างหลักฐาน จนมีที่ดินบ้านช่องสมฐานะ แต่สามีก็ยังทำงานหนัก ไม่ยอมพัก หวังจะฟูมฟักลูก 3 คนให้อยู่อบอุ่น กินอิ่ม โดยไม่ต้องลำบาก ช่วงนั้นแม่เฒ่าเลิกทอผ้าแล้ว อยู่บ้านเลี้ยงลูก 3คน ที่อยู่ในวัยซวนไล่เรียงตามลำดับ เช้าวันหนึ่งเมื่อลูกชายคนโตอายุได้ 6 ขวบ สามีของแม่เฒ่าก็หลับไปไม่ตื่น มาร่ำลาหมอที่โรง พยาบาลบอกว่าสามีตับแข็งตายทั้งๆ ที่ไม่เคยแตะเหล้าซักหยด แม่เฒ่าเปลี่ยนสภาพบ้านพักเปิดเป็นร้านค้าโชห่วย ขายของสารพัดชนิด อดทนอด ออมเลี้ยงลูกทั้ง 3 คน ให้ร่ำเรียน จนจบปริญญา ครอบครัวอบอุ่น พี่น้องรักใคร่กันดี ไม่มีเค้าลางว่าจะแตกหัก ดั่งหนึ่งคนละสายเลือด ลูกชายคนโตแต่งงานไปกับลูกสาวเจ้าของร้านขายทองในตลาด ในชีวิตของแม่เฒ่า ไม่เคยมีความสุขครั้งไหน เหมือนวันที่ลูกชายแต่งงาน สมบัติที่มี แม่เฒ่าจัดแบ่งเป็นสามส่วนให้ลูกชายคนโตเปิดร้านขายทอง ตามที่สะใภ้ต้องการ ปีต่อมา ลูกคนที่สองแต่งสาวเข้าบ้านอีกคน แม่เฒ่ายกบ้านและที่ดินที่เปิดร้านขายของสองคูหาสามชั้น ให้เป็นสมบัติของลูกด้วยความยินดี โดยที่แม่เฒ่าขอสิทธิ์แค่อยู่อาศัย สองปีถัดมา ลูกสาวคนสุดท้องแต่งกับข้าราชการระดับหัวหน้ากองในจังหวัด แม่เฒ่ายกที่ดินและเงินสดก้อนสุดท้ายของแม่เฒ่า รับขวัญลูกเขยด้วย ความปรีดา สัตว์โลกทั้งหลายล้วนเวียนว่ายก่อเกิดเพื่อมาชดใช้กรรมเก่า สะใภ้คนที่สองเริ่มจุดประกายแห่งการแตกหัก ตั้งแต่แต่งเข้าบ้าน ไม่เคยแม้แต่เสียบปลั๊กหม้อหุงข้าว แม่เฒ่ากลายเป็นทาสในเรือน ซักผ้า ทำกับข้าว จัดสำรับคับค้อนตั้งโต๊ะ คอยท่าสองผัวเมียกินก่อนจนอิ่ม แม่เฒ่าจึงมีโอกาสได้กินของเหลือ ก่อนจะเก็บกวาดถ้วยชามไปล้าง กวาดเช็ดปัดถูบ้านช่องเรียบร้อยแล้วจึงได้พักผ่อน ด้วยการเดินออกไปคุยกับเพื่อนบ้านในวัยไล่เลี่ยกัน สะใภ้สองเข้มงวดแม้แต่ของสดทุกชนิด ที่ซื้อมาทำกับข้าว ต้องถามราคา แล้วยกไปชั่งน้ำหนักราคาสินค้า กับเงินทอนที่เหลือ ต้องตรงกับเงินที่ให้ไปตลาด แต่แม่เฒ่าก็ไม่เคยเก็บมาเป็นอารมณ์ แล้ววันหนึ่งสะใภ้สองก็จัดระเบียบการกินใหม่ หล่อนไปสั่งผูกปิ่นโต เพื่อกินกันแค่สองผัวเมีย แล้วสั่งให้ผัวจ่ายเงินให้แม่เฒ่าแค่วันละยี่สิบบาท ไปหากินเอาเองด้วยเหตุผลโง่ๆ คือต้องการประหยัด แต่ลึกๆ ในใจ ไม่ต้องการให้แม่ผัวเม้นเส่วนเกิน แม่เฒ่าคิดเอาเองว่าลูกๆ คงไม่อยากให้แม่เหนื่อย จึงน้อมรับประกาศิตลูกสะใภ้ด้วยดุษฏี สองสามวันต่อมาแม่เฒ่าก็ลืมสิ้น เพราะความรักลูก หลายครั้งที่แม่เฒ่าคิดถึงลูกชายคนโต ที่เปิดร้านขายทองในตลาด แม่เฒ่าจะเจียดเงินที่เก็บออมไว้ ซื้อผลไม้ที่ลูกชอบติดมือไปด้วย แต่ทุกครั้งที่แม่เฒ่าเดินเข้าไปในบ้าน สะใภ้ใหญ่จะมองอย่างเหยียดๆ แล้วเดินหนีเข้าห้องแอร์ ปิดประตูนอนดูโทรทัศน์ สั่งคนใช้ให้คอยสอดส่องเดินตามแม่เฒ่า เธอกลัวแม่ผัวขโมยของในบ้านจ ะคุยกับลูกชายนั่น ก็ออกอาการไม่ว่าง ถามคำตอบคำ เหมือนหนามตำโดนโคนลิ้นจนอ้าปากลำบากลำบน อึดอัดแม่ เกรงใจเมีย แกล้งถอดสร้อยคอทองคำเส้นโต ที่ห้อยแขวนพระเครื่องราคาแพง ในกรอบทองฝังเพชรพวงใหญ่ขึ้นมา ส่องทีละองค์ด้วยความเลื่อมใส และไม่แม้แต่จะชายตามองแม่เฒ่า ที่นั่งซึมอยู่ข้างตู้ทองอย่างเดียวดาย เก้ ๆ กัง ๆ อยู่พักใหญ่ ก็เดินออกจากบ้านลูกชายคนโตอย่างเหงาๆ โดยมีคนใช้ของลูก หิ้วถุงผลไม้ ตามมายัดคืนใส่มือ ระหว่างทาง ก็แวะทักทายคนรู้จักเพื่อรักษามารยาท แต่ในใจของแม่เฒ่า มันวังเวงจนจำไม่ได้ว่าพูดคุยกับใครไปบ้างระหว่างทาง ลูกสาวคนเล็ก ที่แม่เฒ่าทั้งรักทั้งหวงนั่น แทบไม่ต้องพูดถึง เธอยื่นคำขาดกับแม่เฒ่าตั้งแต้ครั้งแรกที่ไปเยี่ยมว่า ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องไปหา เพราะบ้านเธอมีแขกที่เป็นลูกน้องของผัว และพ่อค้าวานิชเข้าพบผัวของเธอ เพื่อขออำนวยความสะดวกในทางธุรกิจบ่อยๆ และผัวของหล่อนก็ค่อนข้างเจ้ายศเจ้าอย่าง ถ้าแม่เฒ่ารักลูก ก็ควรจะต้องรักษาเกียรติรักษาหน้าตาของผัวลูกด้วย แม่เฒ่าไม่เข้าใจ ว่าการรักษาหน้าตาของลูกเขยนั้น ต้องทำอย่างไร แม่เฒ่ายังเคยปลื้มกับคำชมของเพื่อนบ้าน เขาว่าแม่เฒ่าวาสนาดี ลูกเขยเป็นเจ้าคนนายคน แม่เฒ่าก็ได้แต่แอบปลื้ม ทั้งๆ ที่ไม่เข้าใจ ว่าทำไมการเป็นเจ้าคนนายคน จึงเหมือนกำแพงชนชั้น ปิดกั้นระหว่างความเป็นแม่ลูกจนหนักหนาสาหัสขนาดนั้น ร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าขนาดยักษ์ โผล่ขึ้นมารายรอบร้านค้าของลูกชายคนที่สอง กระทบธุรกิจของสองผัวเมีย จนทรวดเซ ของขายไม่ได้มากเหมือนเก่า ที่เอาอะไรมาวางก็ขายหมด ปัญหาและวิกฤติการเงินในบ้าน ส่งสัญญาณถึงขาลง สองผัวเมียเริ่มมีปากเสียงกันบ่อยครั้ง และแทบทุกครั้ง ลูกสะใภ้ก็จะฉวยโอกาสด่ากระทบแม่ผัวเป็นของแถมโดยไม่มีเหตุผล โดยที่ลูกชายก็ไม่ออกอาการปกป้องแม่เฒ่าแต่อย่างใด... 12 มิถุนายน ประมาณ 3 ทุ่มของคืนโลกาวินาศ ท้องฟ้ามืดครึ้มไปด้วยพยับเมฆ สลับกับเสียงฟ้าร้องดังกึกก้องเป็นระยะๆ ครู่ใหญ่ๆ ต่อมาสายฝนจึงโปรยปรายชุ่มฉ่ำน้ำนองไปทั่วเมือง ลูกชายลูกสะใภ้ออกไปกินข้าวนอกบ้านยังไม่กลับ ปล่อยแม่เฒ่าเฝ้าร้านค้าคนเดียว แม่เฒ่าจำได้ว่า วัยรุ่นสองคนขี่รถเครื่องฝ่าสายฝนมาจอดหน้าร้านขอซื้อเบียร์หนึ่งขวด แม่เฒ่ารับเงินแล้วเดินเข้าไปเก็บในลิ้นชัก โดยไม่ระแวงว่า สองวัยรุ่นแอบยกลังใส่บุหรี่ที่ลูกชายสั่งมายังไม่แกะกล่อง ช่วยกันแบกขึ้นรถขี่หายไปกับความมืด ก่อนสี่ทุ่มเล็กน้อย สองผัวเมียจึงขับรถกลับเข้าถึงบ้าน ช่วยกันเก็บของเข้าร้าน วางของทุกชิ้นเข้าที่ๆ เคยวาง เมื่อไม่เห็นลังบุหรี่ จึงหันไปตะโกนถามแม่เฒ่า ที่กำลังจุดธูปไหว้รูปสามีบนหิ้ง เพียงคำตอบที่แม่เฒ่าตอบว่าไม่เห็น ก่อนปักธูปลงกระถาง เสียงสบถด้วยคำหยาบของลูกชาย ก็ดังสวนสนั่นบ้าน ครู่เดียวทั้งลูกสะใภ้กับลูกชาย ก็สลับปากจิกหัวด่าแม่กึกก้องประสานเสียงกับสายลมนอกบ้าน ก่อนที่ทั้งคู่จะขับรถไปโรงพักแจ้งจับแม่ลักทรัพย์ ตำรวจพาแม่เฒ่าไปนั่งอยู่หน้าโต๊ะร้อยเวร แม่เฒ่าให้การไม่รู้ ด้วยซื่อบริสุทธิ์ โดยไม่ตัดพ้อต่อว่าลูกชายแม้แต่คำเดียว กว่าชั่วโมงในห้อง แอร์เย็นเฉียบ แต่ในอกในใจของร้อยเวรหนุ่มร้อนรุ่มเหมือนถูกไฟนรกแผดเผา ที่ต้องวิงวอนสองผัวเมียให้เห็นบาปบุญคุณโทษ แต่สองผัวเมียกลับโยนภาระตอกย้ำ ให้ตำรวจอบรมแม่เฒ่า ก่อนที่จะสะบัดก้นกลับไปบ้านโดยไม่ใส่ใจแม่เฒ่า ที่เปียกฝนนั่งสั่นสะท้าน ด้วยความหนาวเหน็บ สายฝนยังสาดซัดกระหน่ำหนักเหมือนฟ้าแตก ตำรวจยศนายดาบขับรถร้อยเวรมาส่งแม่เฒ่าที่บ้าน บ้านซึ่งประตูเหล็กถูกปิดสนิท แม่เฒ่าลงจากรถเดินฝ่าฝนถึงหน้าบ้าน แล้วแม่เฒ่าก็ตกใจสุดขีด กับภาพเบื้องหน้า ที่พื้นหน้าบ้าน เสื้อผ้าเก่าๆ ยัดแน่นอยู่ในถุง ถูกโยนออกมากองเรี่ยราดเหมือนขยะ บนกองเสื้อผ้าของแม่เฒ่า กระถางธูปและรูปถ่ายของสามี แตกกระจายเกลื่อนกราด หยาดฝนสาดซัดรูปถ่ายขาวดำของสามี จนเปียกปอนขาดวิ่น แม่เฒ่าก้มลงหยิบรูปของสามีมากอดแนบอก น้ำตาแห่งความรันทดทะลักล้นปนน้ำฝน ปวดร้าว เหมือนถูกฟ้าผ่าเข้ากลางใจ แม่เฒ่ากอดรูปนั้นไว้เหมือนจะปกป้องจากสายฝนสุดชีวิต สองเท้าออกก้าวช้าๆ เหมือนร่างไร้วิญญาณเข้าตลาดไป หยุดนิ่งอยู่หน้าร้านขายทองของลูกชายคนโต เหมือนเป็นการบอกลาแล้วลัดเลาะฝ่าความมืดและสายฝน ไปยืนอยู่หน้าบ้านลูกสาวคนเล็ก เก็บภาพแห่งความรักความทรงจำสุดท้ายเป็นครู่ใหญ่ จึงเดินจากไปท่ามกลางเสียงกึกก้องของฟ้าร้องระงม สลับกับเสียงฟ้าผ่าแน่นหนักเป็นระยะ ดั่งเจ้ากรรมนายเวรกำลังเร่งรีบกรีดนิ้วกัปนาท บรรเลงเพลงกรรมในอดีตชาติ ติดตามมาทวงคืน ให้แม่เฒ่าต้องชดใช้อย่างบอบช้ำยับเยิน รถกระบะเก่าๆ คันนั้นวิ่งฝ่าสายฝนมาจอดสงบนิ่งอยู่หน้ากุฏิพระของสมภารเจ้าวัดตอนตีสามเศษๆ คนขับรถพบแม่เฒ่าเดินโซซัดโซเซอยู่ข้างถนน เปล่าเปลี่ยวเดียวดาย ด้วยใจเมตตา เมื่อแม่เฒ่าต้องการมาที่นี่ จึงขับรถมาส่งด้วยความสังเวช แม่เฒ่ามักคุ้นกับสมภารวัดนี้มานานแล้ว ตั้งแต่เจ้าอาวาสองค์เก่ายังอยู่ นาทีสุดท้ายของการตัดสินใจครั้งใหญ่ของชีวิต จึงไม่มีที่ไหนอบอุ่นให้พึ่งพิงเหมือนร่มเงาฉัตรแก้วกงธรรมแห่งรัตนะทั้งสาม ฟ้าเริ่มขมุกขมัวใกล้ค่ำลงทุกขณะ ผมจำเป็นต้องบอกลาท่านสมภาร และแม่เฒ่า เจ้าของเรื่องราวน่าสลด นับแต่นาทีแรกที่แม่เฒ่ามาถึงที่นี่จนวันนี้ แม่เฒ่าไม่เคยออกไปนอกวัดเหมือนๆ กับที่ทั้งสามคนก็ไม่เคยออกติดตามถามหา จะรู้หรือไม่ก็แล้วแต่ ว่าแม่ซมซานมาอยู่วัด แต่ก็ไม่เคยปรากฏแม้แต่เงาของลูกทั้งสาม ผมจากลาออกมา ทั้งที่น้ำตาเปื้อนหน้า ประโยคสุดท้ายของแม่เฒ่าที่ฝากมา.. ' แม่จำลูกได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เกิดจนโตจ ะทุกข์จะสุข ก็คือลูกของแม่ แม่ให้โดยไม่เคยวาดหวังจะได้จากลูกทุกคนเป็นการตอบแทน ลูกเอ๋ย... เมื่อลูกยังเป็นทารก ทุกครั้งที่แนบอกดูดดื่มน้ำนมจากเต้า สองมือน้อยๆ ของเจ้าไขว่คว้าอยู่ไหวๆ วันนี้แม่สิ้นแรงแทบ สิ้นใจ จะมีมือของลูกคนไหน เอื้อมมาปิดตาให้แม่ก่อนสิ้นลม.....' หากเป็นไปได้รบกวนเพื่อนผองน้องพี่ นร.ทั้งหลาย ช่วยอ่านเรื่องนี้หน่อยครับ พูดจริงๆนะ ช่วยอ่านหน่อย อ่านให้จบนะ ---- ขอบคุณ พี่โก๊ะ- แม่พิมพ์บล๊อคพระ โก๊ะ เพาะช่าง --- อ่านจบแล้วจะแชร์ได้ก็ขอบคุณมากๆๆครับ "ก่อนแม่จะสิ้นลมหายใจ" บ้านพักคนชราที่ผมไปเยี่ยมเยืยนมาหลังวันเกิดในเดือนที่แล้ว เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ไม่ใหญ่โตนัก ที่นี่ เป็นส่วนหนึ่งของวัดเล็กๆ ที่สมภารเจ้าอาวาส อดีตนักเรียนโรงเรียนเดียวกับผม ท่านเอาเงินที่ญาติโยมศรัทธาถวายท่านมาปลูกสร้าง เพื่อให้ผู้เฒ่า ผู้ชรา ได้มาพักอาศัยยามเมื่อขาดที่พึ่งพิง มีโยมผู้หญิงวัยกลางคน ไร้ญาติและสิ่งเกาะเกี่ยวทางโลก มาบำเพ็ญธรรมโดยไม่บวชชี ท่วงท่าเจรจาพาทีดูสำรวมราบเรียบ พร้อมเด็กวัดลูกชาวบ้านแถบนั้น แวะเวียนผลัด เปลี่ยนกันเป็นผู้ดูแลผู้ชราทั้งหญิงชาย ที่ถูกทอดทิ้งรวม13 ชีวิต ค่าจ้าง คนดูแล น้ำ ไฟ เสื้อผ้ายารักษาโรค ข้าวปลาอาหาร สมภารใจดี อดีตนักเรียนช่างกล ที่รอดตายมาจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516เหมาจ่าย คนเดียว โดยไม่เคยพิมพ์ฏีกาเรี่ยไรใคร พูดคุยกับท่านหลายเรื่องจนตอนจะลากลับผมควักเงิน 500 บาทใส่ซอง ถวายท่านเป็นค่าใช้ จ่าย ท่านจึงนึกอะไรขึ้นมาได้ ชวนผมเดินลงจากศาลา ไปที่บ้านพักคนชราแห่งนั้น เปิดนรกบนดินอีกขุมหนึ่ง ให้คนบาปอย่างผม มีดวงตาเห็นธรรม โดยไม่ต้องฟังเทศน์เทียบชาดกบทใดๆ หญิงชรารูปร่างเล็ก ผิวสองสีบอบบางทอดกาย เหยียดตรงบนเตียงเล็กๆ แต่สะอาด มีผ้าห่มผืนบางๆ ห่มปิดทรวงอกที่ยังกระเพื่อมเบาๆ ราวเครื่องยนต์ใกล้ดับอย่างเหนื่อยหน่าย แม่เฒ่าพยายามยกมือขึ้นประนมไหว้ เมื่อท่านสมภารพาผมมานั่งอยู่ข้างขอบเตียง กังวานน้ำเสียงแห่งพุทธบุตรผู้เมตตาเปล่งวาจา ถามไถ่อาการ และให้ศีลให้พรเบาๆ แต่เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ หยาดน้ำตาแห่งความปิติ ท่วมท้นดวงตาสีขาวขุ่น แล้วค่อยๆ ซึมเซาะรินไหลไปตามร่องขอบตา ที่เ่หี่ยวย่นบนใบหน้า เวทนาบังเกิดจนผมต้องเบือนหน้าหนี ผู้เฒ่าอายุ 91 ปี อาวุโสสูงสุดในจำนวน 13 คนชราของที่นี่ เรื่องราวทั้งหลายในอดีตยังเจิดจ้าอยู่ในความทรงจำ เหมือนเพิ่งเกิด เมื่อวาน....... แม่เฒ่ามีลูกชายสองคนและหญิงหนึ่งคน 60 ปี ที่ผ่านมาครอบครัวแม่เฒ่าจัดอยู่ในระดับผู้มีอันจะกินของจังหวัด สามี ของแม่เฒ่ามีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ก่อร่างสร้างตัวจากกรรมกรกินค่า แรงรายวัน โดยแม่เฒ่ารับจ้างทอผ้าอยู่ในโรงงงานแห่งหนึ่ง อดออมสะสมจนฐานะดีขึ้น สามารถสร้างหลักฐาน จนมีที่ดินบ้านช่องสมฐานะ แต่สามีก็ยังทำงานหนัก ไม่ยอมพัก หวังจะฟูมฟักลูก 3 คนให้อยู่อบอุ่น กินอิ่ม โดยไม่ต้องลำบาก ช่วงนั้นแม่เฒ่าเลิกทอผ้าแล้ว อยู่บ้านเลี้ยงลูก 3คน ที่อยู่ในวัยซวนไล่เรียงตามลำดับ เช้าวันหนึ่งเมื่อลูกชายคนโตอายุได้ 6 ขวบ สามีของแม่เฒ่าก็หลับไปไม่ตื่น มาร่ำลาหมอที่โรง พยาบาลบอกว่าสามีตับแข็งตายทั้งๆ ที่ไม่เคยแตะเหล้าซักหยด แม่เฒ่าเปลี่ยนสภาพบ้านพักเปิดเป็นร้านค้าโชห่วย ขายของสารพัดชนิด อดทนอด ออมเลี้ยงลูกทั้ง 3 คน ให้ร่ำเรียน จนจบปริญญา ครอบครัวอบอุ่น พี่น้องรักใคร่กันดี ไม่มีเค้าลางว่าจะแตกหัก ดั่งหนึ่งคนละสายเลือด ลูกชายคนโตแต่งงานไปกับลูกสาวเจ้าของร้านขายทองในตลาด ในชีวิตของแม่เฒ่า ไม่เคยมีความสุขครั้งไหน เหมือนวันที่ลูกชายแต่งงาน สมบัติที่มี แม่เฒ่าจัดแบ่งเป็นสามส่วนให้ลูกชายคนโตเปิดร้านขายทอง ตามที่สะใภ้ต้องการ ปีต่อมา ลูกคนที่สองแต่งสาวเข้าบ้านอีกคน แม่เฒ่ายกบ้านและที่ดินที่เปิดร้านขายของสองคูหาสามชั้น ให้เป็นสมบัติของลูกด้วยความยินดี โดยที่แม่เฒ่าขอสิทธิ์แค่อยู่อาศัย สองปีถัดมา ลูกสาวคนสุดท้องแต่งกับข้าราชการระดับหัวหน้ากองในจังหวัด แม่เฒ่ายกที่ดินและเงินสดก้อนสุดท้ายของแม่เฒ่า รับขวัญลูกเขยด้วย ความปรีดา สัตว์โลกทั้งหลายล้วนเวียนว่ายก่อเกิดเพื่อมาชดใช้กรรมเก่า สะใภ้คนที่สองเริ่มจุดประกายแห่งการแตกหัก ตั้งแต่แต่งเข้าบ้าน ไม่เคยแม้แต่เสียบปลั๊กหม้อหุงข้าว แม่เฒ่ากลายเป็นทาสในเรือน ซักผ้า ทำกับข้าว จัดสำรับคับค้อนตั้งโต๊ะ คอยท่าสองผัวเมียกินก่อนจนอิ่ม แม่เฒ่าจึงมีโอกาสได้กินของเหลือ ก่อนจะเก็บกวาดถ้วยชามไปล้าง กวาดเช็ดปัดถูบ้านช่องเรียบร้อยแล้วจึงได้พักผ่อน ด้วยการเดินออกไปคุยกับเพื่อนบ้านในวัยไล่เลี่ยกัน สะใภ้สองเข้มงวดแม้แต่ของสดทุกชนิด ที่ซื้อมาทำกับข้าว ต้องถามราคา แล้วยกไปชั่งน้ำหนักราคาสินค้า กับเงินทอนที่เหลือ ต้องตรงกับเงินที่ให้ไปตลาด แต่แม่เฒ่าก็ไม่เคยเก็บมาเป็นอารมณ์ แล้ววันหนึ่งสะใภ้สองก็จัดระเบียบการกินใหม่ หล่อนไปสั่งผูกปิ่นโต เพื่อกินกันแค่สองผัวเมีย แล้วสั่งให้ผัวจ่ายเงินให้แม่เฒ่าแค่วันละยี่สิบบาท ไปหากินเอาเองด้วยเหตุผลโง่ๆ คือต้องการประหยัด แต่ลึกๆ ในใจ ไม่ต้องการให้แม่ผัวเม้นเส่วนเกิน แม่เฒ่าคิดเอาเองว่าลูกๆ คงไม่อยากให้แม่เหนื่อย จึงน้อมรับประกาศิตลูกสะใภ้ด้วยดุษฏี สองสามวันต่อมาแม่เฒ่าก็ลืมสิ้น เพราะความรักลูก หลายครั้งที่แม่เฒ่าคิดถึงลูกชายคนโต ที่เปิดร้านขายทองในตลาด แม่เฒ่าจะเจียดเงินที่เก็บออมไว้ ซื้อผลไม้ที่ลูกชอบติดมือไปด้วย แต่ทุกครั้งที่แม่เฒ่าเดินเข้าไปในบ้าน สะใภ้ใหญ่จะมองอย่างเหยียดๆ แล้วเดินหนีเข้าห้องแอร์ ปิดประตูนอนดูโทรทัศน์ สั่งคนใช้ให้คอยสอดส่องเดินตามแม่เฒ่า เธอกลัวแม่ผัวขโมยของในบ้านจ ะคุยกับลูกชายนั่น ก็ออกอาการไม่ว่าง ถามคำตอบคำ เหมือนหนามตำโดนโคนลิ้นจนอ้าปากลำบากลำบน อึดอัดแม่ เกรงใจเมีย แกล้งถอดสร้อยคอทองคำเส้นโต ที่ห้อยแขวนพระเครื่องราคาแพง ในกรอบทองฝังเพชรพวงใหญ่ขึ้นมา ส่องทีละองค์ด้วยความเลื่อมใส และไม่แม้แต่จะชายตามองแม่เฒ่า ที่นั่งซึมอยู่ข้างตู้ทองอย่างเดียวดาย เก้ ๆ กัง ๆ อยู่พักใหญ่ ก็เดินออกจากบ้านลูกชายคนโตอย่างเหงาๆ โดยมีคนใช้ของลูก หิ้วถุงผลไม้ ตามมายัดคืนใส่มือ ระหว่างทาง ก็แวะทักทายคนรู้จักเพื่อรักษามารยาท แต่ในใจของแม่เฒ่า มันวังเวงจนจำไม่ได้ว่าพูดคุยกับใครไปบ้างระหว่างทาง ลูกสาวคนเล็ก ที่แม่เฒ่าทั้งรักทั้งหวงนั่น แทบไม่ต้องพูดถึง เธอยื่นคำขาดกับแม่เฒ่าตั้งแต้ครั้งแรกที่ไปเยี่ยมว่า ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องไปหา เพราะบ้านเธอมีแขกที่เป็นลูกน้องของผัว และพ่อค้าวานิชเข้าพบผัวของเธอ เพื่อขออำนวยความสะดวกในทางธุรกิจบ่อยๆ และผัวของหล่อนก็ค่อนข้างเจ้ายศเจ้าอย่าง ถ้าแม่เฒ่ารักลูก ก็ควรจะต้องรักษาเกียรติรักษาหน้าตาของผัวลูกด้วย แม่เฒ่าไม่เข้าใจ ว่าการรักษาหน้าตาของลูกเขยนั้น ต้องทำอย่างไร แม่เฒ่ายังเคยปลื้มกับคำชมของเพื่อนบ้าน เขาว่าแม่เฒ่าวาสนาดี ลูกเขยเป็นเจ้าคนนายคน แม่เฒ่าก็ได้แต่แอบปลื้ม ทั้งๆ ที่ไม่เข้าใจ ว่าทำไมการเป็นเจ้าคนนายคน จึงเหมือนกำแพงชนชั้น ปิดกั้นระหว่างความเป็นแม่ลูกจนหนักหนาสาหัสขนาดนั้น ร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าขนาดยักษ์ โผล่ขึ้นมารายรอบร้านค้าของลูกชายคนที่สอง กระทบธุรกิจของสองผัวเมีย จนทรวดเซ ของขายไม่ได้มากเหมือนเก่า ที่เอาอะไรมาวางก็ขายหมด ปัญหาและวิกฤติการเงินในบ้าน ส่งสัญญาณถึงขาลง สองผัวเมียเริ่มมีปากเสียงกันบ่อยครั้ง และแทบทุกครั้ง ลูกสะใภ้ก็จะฉวยโอกาสด่ากระทบแม่ผัวเป็นของแถมโดยไม่มีเหตุผล โดยที่ลูกชายก็ไม่ออกอาการปกป้องแม่เฒ่าแต่อย่างใด... 12 มิถุนายน ประมาณ 3 ทุ่มของคืนโลกาวินาศ ท้องฟ้ามืดครึ้มไปด้วยพยับเมฆ สลับกับเสียงฟ้าร้องดังกึกก้องเป็นระยะๆ ครู่ใหญ่ๆ ต่อมาสายฝนจึงโปรยปรายชุ่มฉ่ำน้ำนองไปทั่วเมือง ลูกชายลูกสะใภ้ออกไปกินข้าวนอกบ้านยังไม่กลับ ปล่อยแม่เฒ่าเฝ้าร้านค้าคนเดียว แม่เฒ่าจำได้ว่า วัยรุ่นสองคนขี่รถเครื่องฝ่าสายฝนมาจอดหน้าร้านขอซื้อเบียร์หนึ่งขวด แม่เฒ่ารับเงินแล้วเดินเข้าไปเก็บในลิ้นชัก โดยไม่ระแวงว่า สองวัยรุ่นแอบยกลังใส่บุหรี่ที่ลูกชายสั่งมายังไม่แกะกล่อง ช่วยกันแบกขึ้นรถขี่หายไปกับความมืด ก่อนสี่ทุ่มเล็กน้อย สองผัวเมียจึงขับรถกลับเข้าถึงบ้าน ช่วยกันเก็บของเข้าร้าน วางของทุกชิ้นเข้าที่ๆ เคยวาง เมื่อไม่เห็นลังบุหรี่ จึงหันไปตะโกนถามแม่เฒ่า ที่กำลังจุดธูปไหว้รูปสามีบนหิ้ง เพียงคำตอบที่แม่เฒ่าตอบว่าไม่เห็น ก่อนปักธูปลงกระถาง เสียงสบถด้วยคำหยาบของลูกชาย ก็ดังสวนสนั่นบ้าน ครู่เดียวทั้งลูกสะใภ้กับลูกชาย ก็สลับปากจิกหัวด่าแม่กึกก้องประสานเสียงกับสายลมนอกบ้าน ก่อนที่ทั้งคู่จะขับรถไปโรงพักแจ้งจับแม่ลักทรัพย์ ตำรวจพาแม่เฒ่าไปนั่งอยู่หน้าโต๊ะร้อยเวร แม่เฒ่าให้การไม่รู้ ด้วยซื่อบริสุทธิ์ โดยไม่ตัดพ้อต่อว่าลูกชายแม้แต่คำเดียว กว่าชั่วโมงในห้อง แอร์เย็นเฉียบ แต่ในอกในใจของร้อยเวรหนุ่มร้อนรุ่มเหมือนถูกไฟนรกแผดเผา ที่ต้องวิงวอนสองผัวเมียให้เห็นบาปบุญคุณโทษ แต่สองผัวเมียกลับโยนภาระตอกย้ำ ให้ตำรวจอบรมแม่เฒ่า ก่อนที่จะสะบัดก้นกลับไปบ้านโดยไม่ใส่ใจแม่เฒ่า ที่เปียกฝนนั่งสั่นสะท้าน ด้วยความหนาวเหน็บ สายฝนยังสาดซัดกระหน่ำหนักเหมือนฟ้าแตก ตำรวจยศนายดาบขับรถร้อยเวรมาส่งแม่เฒ่าที่บ้าน บ้านซึ่งประตูเหล็กถูกปิดสนิท แม่เฒ่าลงจากรถเดินฝ่าฝนถึงหน้าบ้าน แล้วแม่เฒ่าก็ตกใจสุดขีด กับภาพเบื้องหน้า ที่พื้นหน้าบ้าน เสื้อผ้าเก่าๆ ยัดแน่นอยู่ในถุง ถูกโยนออกมากองเรี่ยราดเหมือนขยะ บนกองเสื้อผ้าของแม่เฒ่า กระถางธูปและรูปถ่ายของสามี แตกกระจายเกลื่อนกราด หยาดฝนสาดซัดรูปถ่ายขาวดำของสามี จนเปียกปอนขาดวิ่น แม่เฒ่าก้มลงหยิบรูปของสามีมากอดแนบอก น้ำตาแห่งความรันทดทะลักล้นปนน้ำฝน ปวดร้าว เหมือนถูกฟ้าผ่าเข้ากลางใจ แม่เฒ่ากอดรูปนั้นไว้เหมือนจะปกป้องจากสายฝนสุดชีวิต สองเท้าออกก้าวช้าๆ เหมือนร่างไร้วิญญาณเข้าตลาดไป หยุดนิ่งอยู่หน้าร้านขายทองของลูกชายคนโต เหมือนเป็นการบอกลาแล้วลัดเลาะฝ่าความมืดและสายฝน ไปยืนอยู่หน้าบ้านลูกสาวคนเล็ก เก็บภาพแห่งความรักความทรงจำสุดท้ายเป็นครู่ใหญ่ จึงเดินจากไปท่ามกลางเสียงกึกก้องของฟ้าร้องระงม สลับกับเสียงฟ้าผ่าแน่นหนักเป็นระยะ ดั่งเจ้ากรรมนายเวรกำลังเร่งรีบกรีดนิ้วกัปนาท บรรเลงเพลงกรรมในอดีตชาติ ติดตามมาทวงคืน ให้แม่เฒ่าต้องชดใช้อย่างบอบช้ำยับเยิน รถกระบะเก่าๆ คันนั้นวิ่งฝ่าสายฝนมาจอดสงบนิ่งอยู่หน้ากุฏิพระของสมภารเจ้าวัดตอนตีสามเศษๆ คนขับรถพบแม่เฒ่าเดินโซซัดโซเซอยู่ข้างถนน เปล่าเปลี่ยวเดียวดาย ด้วยใจเมตตา เมื่อแม่เฒ่าต้องการมาที่นี่ จึงขับรถมาส่งด้วยความสังเวช แม่เฒ่ามักคุ้นกับสมภารวัดนี้มานานแล้ว ตั้งแต่เจ้าอาวาสองค์เก่ายังอยู่ นาทีสุดท้ายของการตัดสินใจครั้งใหญ่ของชีวิต จึงไม่มีที่ไหนอบอุ่นให้พึ่งพิงเหมือนร่มเงาฉัตรแก้วกงธรรมแห่งรัตนะทั้งสาม ฟ้าเริ่มขมุกขมัวใกล้ค่ำลงทุกขณะ ผมจำเป็นต้องบอกลาท่านสมภาร และแม่เฒ่า เจ้าของเรื่องราวน่าสลด นับแต่นาทีแรกที่แม่เฒ่ามาถึงที่นี่จนวันนี้ แม่เฒ่าไม่เคยออกไปนอกวัดเหมือนๆ กับที่ทั้งสามคนก็ไม่เคยออกติดตามถามหา จะรู้หรือไม่ก็แล้วแต่ ว่าแม่ซมซานมาอยู่วัด แต่ก็ไม่เคยปรากฏแม้แต่เงาของลูกทั้งสาม ผมจากลาออกมา ทั้งที่น้ำตาเปื้อนหน้า ประโยคสุดท้ายของแม่เฒ่าที่ฝากมา.. ' แม่จำลูกได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เกิดจนโตจ ะทุกข์จะสุข ก็คือลูกของแม่ แม่ให้โดยไม่เคยวาดหวังจะได้จากลูกทุกคนเป็นการตอบแทน ลูกเอ๋ย... เมื่อลูกยังเป็นทารก ทุกครั้งที่แนบอกดูดดื่มน้ำนมจากเต้า สองมือน้อยๆ ของเจ้าไขว่คว้าอยู่ไหวๆ วันนี้แม่สิ้นแรงแทบ สิ้นใจ จะมีมือของลูกคนไหน เอื้อมมาปิดตาให้แม่ก่อนสิ้นลม.....'

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการแก้ตัว

1มค.56คนไทยจะเห็นการล้มศลายทางศก. แรงยิ่งกว่าฟองสบู่แตก ทั้งค่าแรง300ทั่วปท.-ขึ้นLPGจาก10บาทเป็น26บาท/กก.-หนี้สาธารณะพุ่งกว่ากรีซ ปี56เป็นต้นไปมีการคาดการณ์กันไว้ว่าน้ำมันจะพุ่งสูงขึ้นถึงลิตรละ70บาท เตรียมเนื้อเตรียมตัวให้ดี เพราะแน่นอนข้าวของจะแพงหูฉี่ ยิ่งกว่าวันนี้ ทฤษฎีการทำลายศก.ให้ถึงขีดต่ำสุดเป็นทฤษฎี ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ และล่าสุดเนปาล วาทะกรรม"ขนมปังกัับขนมเค๊ก" ทฤษฎีการทำลายศก.ให้ถึงขีดต่ำสุดเป็นทฤษฎี ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัสเซีย ฝรั่งเศส อังกฤษ และล่าสุดเนปาล วาทะกรรม"ขนมปังกัับขนมเค๊ก"รัฐถาธิปัตย์ หรือผู้ถือครองอำนาจสูงสุดตามรัฐธรรมนูญ คือในหลวง กำลังถูกพวกล้มเจ้าเข้าแทรกแทรง ยึดครอง ในองค์กรอิสระ มหาลัย ตามพระราชอำนาจ เสื้อแดงเหนือ อิสาน ปล่อยข่าวทำลายสภาบันทุกวัน จนมีวาทะกรรมที่ว่า "สู้กับฟ้าต้องอดทน" เกิดขึ้นอย่างดาดดื่น ทฤษฎีการแก้ตัว ของนักปรัชญตะวันตก ด้วยการโกหกซ้ำๆ ยังส่งผลให้เกิดวาทะกรรม"ในหลวงอยู่เหนือการเมือง" ทั้งที่ตามรธน.กษัตริย์คือผู้มีอำนาจการเมืองสูดสุดในการปกครอง ในรธน.หมวด1ทุกมาตราทุกฉบับระบุถึงพระราชอำนาจของกษัตริย์ตั้งแต่เปลี่ยนการปกครองเป็นต้นมา วาทะกรรมประชาธิปไตย จนทำให้คนหลงว่ากษัตริย์ไร้อำนาจ "กษัตริย์อยู่เหนือการเมือง"จึงเป็นผลพวงของทฤษฎีการแก้ตัว โกหกซ้ำๆ เพราะหลงไปว่ากษัตริย์ไร้อำนาจ แต่นายกคือผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ทฤษฎีการแก้ตัว โกหกซ้ำๆด้วยคำว่าประชาธิปไตยกรอกหูทุกวัน ยังส่งผลให้คนหลงอีกว่า ต้องเกิดเรื่องก่อนกษัตริย์จึงจะมาแก้ปัญหา ไม่เกิดไม่มาแก้ วาทะกรรม"ประชาธิปไตย"กลุ่มผู้ต่อต้านระบบกษัตริย์นำมาใช้เมื่อช่่วงก่อนเหตุการณ์ 24มิย.2475 และเหตุการณ์6ตค.16สุดท้ายก็โผล่ไปเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์กันจนหมดจนสิ้น 24มิย.2475 อำมาตย์ตรีปรีดี พนมยงค์ ไม่เห็นด้วยจะยกเลิกระบอบกษัตริย์ทันทีแม้จับราชวงค์เป็นตัวประกันอยู่ก็ตาม เพราะผู้จงรักภักดีในประเทศยังคงมีมากปท.จะรพกันล้มตายเหมือฝรั่งเศสที่เกิดยาวนานนานกว่า10ปี การเปลี่ยนการปกครองใน ฝรั่งเศส รัสเซีย เนปาล อังกฤษ หรือแม้กระทั่งไทยมีคนล้มตายเป็นแสนๆคน ในจีนล้มตายถึง10ล้านคนใน "ปฎิวัติประชาชน" วันนี้ใกล้วันที่5ธค.55การลดพระราชอำนาจ ลดความสำคัญของพระราชพิธี คือการสั่งห้ามจุดพรุแสดงความจงรักภักดี โดยคำสั่งมหาดไทย ผมพูดเรื่องตำรวจมาหลายปี ตอนนี้คงเห็นชัดเจนมากขึ้น เพราะในหลายประเทศตำรวจจะเป็นกลุ่มติดอาวุธสู้กับฝ่ายเจ้า หรือฝ่ายครองอำนาจ จนต้องมีการปลดตำรวจทั่งประเทศ ต่อมาก็มีทหารเข้าร่วม"สงครามกลางเมือง"วันนี้คนไทยคงได้พิสูจน์ทฤษฎี "ผู้ก่อการร้าย กลายเป็นผู้ก่อการดี ผู้ก่อการดีกลายเป็นผู้ก่อการร้าย"ของผมที่บอกมาตั้งแต่ปี 2552ปีแล้วว่ามันเป็นจริง วันที่ 6 ธันวาคม2555คนไทยจะได้เห็นทฤษฎีสุดท้ายของผม "มิตรจะกลายเป็นศัตรู ปชช.แห่ไล่ ไร้แผ่นดินอยู่" DSIจะแจ้งจับสุเทพ มาร์ค ข้อหาสั่งฆ่า ทำร้ายปชช."ปุตุชน"มองเห็นปัจจุบัน"อารยะ"มองเห็นอนาคต ข้อคิดเตือนใจนี้คงสะท้อนให้เห็นว่า ถ้าผู้นำมี วิสัยทัศน์ Vision จะมีความสามารถในการมองเห็นอนาคต USAมีกุนซือที่มีึความสารมารถมองเห็นอนาคต ปท.ที่มีพลเมืองเพียง 331ล้านคน หากเทียบกับจีนที่มีพลเมือง1300ล้านคน ก็เป็นมหาอำนาจได้เพราะเขามีVision ปลายทางที่ผมและอาจารย์ผมท่านมองเห็นคือ หากไม่เกิดอะไรขึ้นในเร็ววันนี้ "ก่อนสิงหาคม2556" เราจะไดเห็นการเปลี่ยนการปกครอง ผู้คนล้มตายนับแสนคน ตามหลักวิชาการเรียกทฤษีนี้ว่า"การเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์" เพราะปลายทางทุกประเทศในโลกที่เกิดการเปลี่ยนการปกครอง จะเกิดจากการ ชะล่าใจ ไม่สู้ หรือสู้อย่างไม่กำหนดยุทธ์ศาสตร์ที่แม่นยำ วาทะกรรมความดีชนะความชั่ว จึงใช้ไม่ได้กับประเืศที่จะทีการเปลี่ยนการปกครอง อย่างที่ จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส ล่าสุด เนปาล จึงเป็นตัวแบบที่ดี "จะรอเทพที่ไหนให้ช่วยผล รอกุศลที่ไหนให้ช่วยสร้าง มีแต่มือมีแต่ใจไม่จืดจาง ที่ต้องล้างที่ต้องรือลงมือทำ มือสะอาดชาติจึงไม่ล่ม " เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา นักศึกษาปริญญาเอก ปรัชญาผู้นำทางสังคม ธุรกิจและการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต 3ธันวาคม2555

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิวัฒนาการวงจรอุบาทว์ทางการเมืองไทย: จาก 2475 ถึง การเมืองหลังระบอบทักษิณ

บทความนี้ มีการอธิบายเพิ่มเติมสถาณการณ์การเปลี่ยนแปลงการเมืองล่าสุด จาก ๒๔๗๕ จน ถึง รัฐบาล ยิ่งลักษ์ ชิณวัตร วิวัฒนาการวงจรอุบาทว์ทางการเมืองไทย: จาก 2475 ถึง การเมืองหลังระบอบทักษิณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิวากร แก้วมณี[1] การศึกษาพัฒนาการทางการเมืองบ่อยครั้งจะเป็นการศึกษาเพื่อหาคำตอบของสถานภาพของการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยในระบบการเมือง ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาเร็วๆนี้การเมืองไทยมีข้อเท็จจริงของความขัดแย้งของกลุ่มทางการเมืองและสังคม พร้อมกับการมีการทำงานที่มีความต่อเนื่องของโครงสร้างทางการเมืองประชาธิปไตยตัวแทน-รัฐสภา ในที่ซึ่งคุณภาพของนักการเมืองและตัวแทนรัฐสภามีสภาพของการผูกขาดของกลุ่มชนชั้นธุรกิจ นายทุนท้องถิ่น เจ้าพ่อและผู้มีอิทธิพล ซึ่งมาพร้อมกับกระบวนการเลือกตั้งที่มีการใช้เงินทุนและการซื้อเสียง คุณภาพของนักการเมืองและการเปิดกว้างในการแข่งขันทางการเมืองมีนัยยะของการไม่พัฒนาการแตกต่างไปจากช่วงการเมืองไทยเดิมๆในอดีต ในอดีตที่ผ่านมาการเมืองไทยในยุคระบบราชการก็มีปัญหาในลักษณะเช่นเดียวกันคือปัญหาการผูกขาดอำนาจของระบบการเมืองไทยที่ถูกผูกขาดในมือของทหารและราชการ เครื่องมือทางการเมืองที่ใช้ในการได้มาซึ่งอำนาจคือ การทำรัฐประหารและการสร้างกฏระเบียบใดๆของรัฐผ่านรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และประกาศ อันนำมาซึ่งอำนาจของทหารและราชการ ในโลกปัจจุบันการผูกขาดดังกล่าวดูเหมือนจะคลี่คลายและถูกแทนที่การผูกขาดทางอำนาจในรูปแบบใหม่ (New Authoritarian)[2] พร้อมกับความซับซ้อนของการเติบโตขององคพยพในหลายระดับและมิติของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งมีข้อเท็จจริงของการเติบโตซึ่งความต้องการและการพัฒนาการทางอุดมการณ์ การเกิดกระแสของอำนาจภาพนอกรัฐ จากระบบการค้าการลงทุน ลัทธิและอุดมการทางการเมืองประชาธิปไตย ตลอดจนผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจและโครงสร้างการเมืองของประเทศมหาอำนาจที่กำลังเปลี่ยนแปลง ในงานบทความชิ้นนี้จะได้ทำการตรวจสอบพัฒนาการทางการเมืองของการเมืองไทยร่วมสมัยและจะได้ชี้ถึงพัฒนาการดังกล่าวว่าเกี่ยวพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการวิวัฒน์ของวงจรอุบาทว์ที่เกิดขึ้นในการเมืองไทย 1. จุดกำเนิดวงจรอุบาทว์การเมืองไทย จุดกำเนิดวงจรอุบาทว์ทางการเมืองไทยเป็นข้อสังเกตแบบแผนการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในยุคการเมืองระบบราชการ (bureaucratic politics) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการก่อตัวมาตั้งแต่สยามหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 หากแต่ข้อสังเกตแบบแผนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าวนั้นได้พัฒนาการเป็นแนวความคิด(หรือทฤษฎี)ที่สามารถที่จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยได้อย่างชัดเจนว่ามีแบบแผนการเปลี่ยนแปลงที่ย่ำอยู่กับที่[3] กระบวนการทางการเมืองของผู้มีอำนาจรัฐและอำนาจทางการเมืองในยุคระบอบราชการนั้นมาจากการทำรัฐประหารของทหาร โดยทหารจะทำการรักษาอำนาจเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อสร้างกติกาทางอำนาจผ่านการร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อกติกาทางอำนาจลงตัวอันเป็นการกำหนดสถานภาพทางอำนาจของรัฐบาล, อำนาจของรัฐสภา,และที่มาของสมาชิกรัฐสภา ที่มักจะถูกกำหนดให้สานต่ออำนาจของผู้ทำรัฐประหารผ่านกระบวนการที่ดูเหมือนเป็นประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งบ่อยครั้งจะมีการกำหนดให้มีสองสภา คือ สภาล่าง(สภาผู้แทนราษฎร)และสภาสูง ซึ่งสมาชิกรัฐสภาส่วนหนึ่งจะมาจากการแต่งตั้งจากผู้มีอำนาจในการทำรัฐประหาร ด้วยวิธีทางตรงหรือทางอ้อมก็ดี อันเป็นวิธีการสืบต่ออำนาจ หรือการผ่องถ่ายอำนาจสู่โครงสร้างทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจส่วนหนึ่งจะมีการปล่อยให้กลุ่มนักการเมืองและพรรคการเมืองเข้ามาร่วมใช้อำนาจด้วยการเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งโดยมากสมาชิกกลุ่มดังกล่าวนี้จะเข้าสู่อำนาจรัฐจากการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาล่างโดยทำหน้าที่ภายใต้อำนาจ และกรอบกติกา ตลอดจนผลประโยชน์ทางการเมืองที่ได้วางไว้แล้วโดยกลุ่มทหารที่ทำการยึดอำนาจ อย่างไรก็ดีหากการดำเนินการทางการเมืองที่ได้วางไว้แล้วผ่านการใช้อำนาจบริหาร นิติบัญญติ เกิดผลประโยชน์ทางการเมืองไม่ลงตัว ความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งจะนำไปสู่การท้าทายอำนาจของทหารกลุ่มใหม่ หรือกลุ่มเดิมที่ไม่สามารถทนต่อกระบวนการประชาธิปไตยที่มองว่าเป็นความขัดแย้งและก่อให้เกิดความสูญเสีย และวิกฤตการณ์ของชาติที่ต้องได้รับการแก้ไข และกระบวนการประชาธิปไตยไม่สามารถนำพาระบบให้ผ่านพ้นจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองรัฐสภาซึ่งในท้ายที่สุด รัฐบาล,รัฐสภา,รัฐธรรรมนูญตลอดจนกระบวนการประชาธิปไตยก็ถูกท้าทายอีกครั้งโดยวิธีการรัฐประหาร เมื่อเกิดรัฐประหารก็ถือเป็นการบรรจบของวงจร เกิดรัฐประหารอีกครั้งถืออาจถือเป็นการเริ่มต้นของกลุ่มทหารและกลุ่มการเมืองใหม่ที่ท้าทายกลุ่มการเมืองเก่า หรืออาจหมายถึงกลุ่มทหารกลุ่มเดิมที่ต้องการจัดสรรผลประโยชน์และจัดการกับกติกาใหม่ ที่บางครั้งกลุ่มนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งได้ถูกมองว่าได้ท้าทายอำนาจของทหารจนต้องยึดอำนาจกลับคืนมา หากพิจารณาการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในรูปแบบวงจรอุบาทว์พบว่า การรัฐประหารครั้งแรกที่ก่อการโดยจอมพล ป. พิบูลย์สงครามในปี 2476 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการรัฐประหาร ซึ่งก็น่าจะถือว่าเป็นการรัฐประหารที่มีจุดมุ่งหมายกระชับอำนาจของกลุ่มคณะราษฏรที่ยังมีการรวมตัวกันของสมาชิกอย่างหลวมๆ อันเป็นการเกรงกลัวการรื้อฟื้นอำนาจของฝ่ายเจ้าขึ้นมาอีกครั้ง ความชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบวงจรอุบาทว์ในช่วงการเมืองจาก 2475 ถึง 2490 นั้น ยังไม่ชัดเจนนัก เพราะเหตุว่า กลุ่มอำนาจที่จะมาท้าทายอำนาจของกลุ่มคณะราษฏรนั้นยังไม่ก่อตัวเป็นที่ชัดเจน ความขัดแย้งภาพในกลุ่มคณะราษฏรนั้นแม้ว่าจะมี แต่ผู้นำของกลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือจอมพล ป. ซึ่งมีอำนาจทางทหาร(บก) ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นนายปรีดี ซึ่งไม่มีอำนาจทางทหาร(บก)เป็นการหนุนหลังเป็นที่ประจักษ์เช่นกลุ่มจอมพล ป. ประกอบกับในช่วงเวลานั้น การก่อตัวของพลังทางการเมืองของนักการเมืองและพรรคการเมือง ที่เป็นส่วนหนึ่งของการท้าทายอำนาจทหารยังมีความอ่อนแอ เพราะการเลือกตั้ง,กระบวนการประชาธิปไตย และการจัดตั้งพรรคการเมือง ยังเพิ่งเป็นจุดเริ่มต้นจึงมีพลังทางการเมืองของพรรคการเมืองน้อยเกินกว่าที่ก่อการท้าทายผลประโยชน์และสร้างความขัดแย้งให้กับกลุ่มของคณะราษฏร นอกเสียจากความขัดแย้งของสองผู้นำในกลุ่มคณะราษฏรเสียเองซึ่งในช่วงหลังๆก็เป็นกลุ่มที่เริ่มจะใช้อำนาจผ่านพรรคการเมืองและกระบวนการรัฐสภามากขึ้นเรื่อยๆ Dhiwakorn Kaewmanee (2007) อธิบายว่า สงครามโลกครั้งที่สองยุติได้ส่งผลต่อการสุญเสียอำนาจของจอมพล ป. และทหาร และเป็นการเปิดช่องให้มีการพัฒนาการเมืองตามกระบวนการรัฐสภามากขึ้น นักการเมืองคณะราษฏรที่ไม่มีทหารเป็นฐานทางการเมืองจำเป็นต้องจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อท้าทายอำนาจของทหารในระบบการเมืองราชการ “..after having attaining the position of prime minister in 1946 for the first time, Pridi immediately drafted a new constitution. The revolutionary significance of the new constitution was the development of parliamentary forces. Contrary to the previous constitution, Pridi’s constitution primarily aimed to control the military and ensure the power of civilian government and parliament. …” (Dhiwakorn, 2007:103) ภาพ: วงจรอุบาทว์เก่า ลิขิต (2536:73) ความชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยมีความชัดเจนมากขึ้น ตึ้งแต่ปี 2490 เมื่อการเมืองรัฐบาลของกลุ่มปรีดี เกิดวิกฤติ มีการกล่าวหาและโจมตีความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาการคอรัปชั่นของรัฐบาล และปัญหาความสงสัยในการสิ้นพระชนม์ของรัชกาลที่ 8 จึงเป็นผลให้กลุ่มทหารได้ใช้อำนาจเข้ายึดอำนาจในปี 2490 กระบวนการวงจรอุบาทว์ได้เริ่มขึ้นตามด้วยการร่างรัฐธรรมนูญและการประกาศการเลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาลและการตรวจสอบและการทำงานในรัฐสภา ในช่วงเวลายุคนี้ การเมืองมีการผสมผสานของความขัดแย้งและการแข่งขันของนักการเมืองรัฐสภากับทหารและข้าราชการมากขึ้นในระดับหนึ่งซึ่งมีพลังของการขัดแย้ง ต่อรอง ทั้งนี้เพราะสมาชิกรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยได้อำนาจจากประชาชนจากการเลือกตั้งและคอยทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจของทหารและข้าราชการที่ใช้อำนาจฝ่ายบริหารโดยผ่านกระบวนการประชาธิปไตยจึงเป็นผลให้ทหารเข้าทำการยึดอำนาจและพยายามคุกคามกระบวนการประชาธิปไตยในช่วงการเมืองสฤษดิ์ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งในช่วงการเมืองนี้ว่า นักรัฐสภาที่ได้รับการเลือกตั้งที่เป็นฝ่ายค้านกับรัฐบาลได้ถูกทำร้ายและถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ นักการเมืองรัฐสภาจำนวนไม่น้อยถูกทำร้ายอย่างป่าเถื่อนจากผู้มีอำนาจจากภาครัฐ จนนำไปสู่การยึดอำนาจของทหารซึ่งไม่ประสงค์จะเปิดสภาที่จะมาคอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล สิ่งนิ้สะท้อนว่าการถ่วงดุลและกระบวนการประชาธิปไตยมีพลังไม่มากก็น้อยที่จะถ่วงดุล และตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาล 2. วงจรอุบาทว์ในยุคกึ่งประชาธิปไตย( Semi-democracy) ยุคการเมืองกึ่งประชาธิปไตย เป็นช่วงเวลาที่ทหารได้ลดบทบาททางการเมืองไปบางส่วนหลังจากที่ครองอำนาจรัฐและการเมืองมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2500 ต่อเนื่องมาจากรัฐภายใต้อำนาจของจอมพลสฤษดิ์ ต่อเนื่องมาจนถึงการท้าทายอำนาจจากการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในปี 2516 การท้าทายครั้งนั้นเป็นการจบยุคการที่ทหารมีอำนาจสูงสุดในการครอบงำอำนาจรัฐและอำนาจทางการเมือง ระบอบการเมืองหลังจากนั้นจึงเป็นการรวมกันของใช้อำนาจของทหารและนักรัฐสภา-พรรคการเมืองที่กลับเข้ามาสู่อำนาจอีกครั้ง อันเป็นที่เรียกว่า กึ่งประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึง เป็นการใช้อำนาจผสมผสานของอำนาจเผด็จการและอำนาจประชาธิปไตย(ชัยอนันต์ อ้างใน Dhiwakorn 2007:chapter 5) โดยอำนาจเผด็จการ หมายถึงอำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชนแต่เป็นอำนาจที่เกิดขึ้นจากรากฐานอำนาจของทหารและสถาบันราชการ ในขณะที่อำนาจประชาธิปไตยที่นักการเมือง พรรคการเมืองมีความเป็นตัวแทนได้อำนาจจากประชาชนผ่านกระบวนการประชาธิปไตยนั่นคือการเลือกตั้ง (แม้จะบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธ์ ยุติธรรม หรือ ไม่มีคุณภาพของการเลือกตั้งที่ดี ตรงนั้นวงการวิชาการยังไม่ก้าวหน้าพอที่เกิดคำถามนี้ในบริบททางวิชาการขณะนั้น ดู Diamond, 2005) พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้นำทางการเมืองขณะนั้นที่รักษาอำนาจกว่า 1 ทศวรรษด้วยระยะเวลาการทำงานถึง 3 รัฐบาล ซึ่งพลเอกเปรมมีสถานภาพการเป็นผู้นำทหารที่คอยประสานประโยชน์ของทหารภายใต้การทำงานที่ต่อเนื่องของกลไกประชาธิปไตย และกระบวนการรัฐสภา การเมืองในช่วงนี้ มีความต่อเนื่องของการเลือกตั้ง การทำงานของสภา การตรวจสอบถ่วงดุลของสมาชิกสภากับคณะรัฐมนตรี ในขณะที่ทหารก็ยังทรงอภิสิทธ์ในระบบการเมืองแบบกึ่งประชาธิปไตยในการร่วมใช้อำนาจการเมืองในฐานะสมาชิกรัฐสภาที่มาจากนายกรัฐมนตรี รวมถึงทหารยังเป็นหน่วยราชการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ บทบาททางราชการ รวมถึงสถานภาพทางสังคม สูงส่งเหนือกว่าบรรดาวิชาชีพและหน่วยราชการต่างๆ ในช่วงเวลา 1 ทศวรรษนี้ เป็นระยะเวลาที่ยาวเพียงพอและมีความต่อเนื่องอย่างไม่เคยเกิดมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทยที่กระบวนการประชาธิปไตยอย่างการเลือกตั้ง และกระบวนการทางรัฐสภา มีความต่อเนื่อง พร้อมๆกับการพัฒนาการของภาคประชาสังคมและบริบทในการเมืองโลกที่เอื้อต่อการเติบโตของกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทย(ดูรายละเอียดในงานอื่นของผู้เขียน Dhiwakorn 2007) ในช่วงเวลานี้พรรคการเมือง ก็มีการทำหน้าที่ในระบบการเมืองอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับความต่อเนื่องทางอำนาจของนักเลือกตั้ง (สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร) ในการสร้างกลไกทางการเลือกตั้งกับประชาชนและหัวคะแนน ตลอดจนการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจที่อิงแอบกับอำนาจรัฐที่ตนเองได้มา เป็นที่น่าสังเกตว่า อัตราส่วนของนักการเมืองที่เข้ามาในช่วงการเมืองกึ่งประชาธิปไตยมีพื้นฐานอาชีพของการเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น และผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นมากขึ้นเรื่อยๆ และนักการเมืองท้องถิ่นเหล่านั้นก็มักจะมีสายสัมพันธ์กับผู้นำพรรคการเมืองในระดับชาติจึงได้ถูกชักชวนให้เป็นผู้แทนในส่วนท้องถิ่นเมื่อมีการเลือกตั้ง และเพื่อจะชนะการเลือกตั้ง ซึ่งต้องมีกิจกรรมการรณรงค์หาเสียง การจ้างทีมงานเดินหาเสียง ค่าจ้างรถ ค่าทำป้ายประกาศต่างๆ เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการใช้เงินทุนเข้ามาเป็นทรัพยากรทางการเมือง รวมทั้งการต้องหาเงินทุนส่วนตัวเข้าสนับสนุนโครงการของราชการที่ยังไม่การจัดสรรเพียงพอและทั่วถึง ตลอดจนยังขาดประสิทธิภาพอย่างมากในการแก้ไขปัญหาและความต้องการของคนในท้องถิ่น ในขณะที่นักเลือกตั้งที่มีพื้นฐานจากราชการ ที่ในอดีตที่มักจะได้เปรียบจากเครือข่ายกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คนรู้จักนับหน้าถือตา อำนาจหน้าที่ที่เคยทำไว้เป็นบุญคุณ เป็นผลงานจากการใช้อำนาจและจัดสรรงบประมาณ อันเป็นบารมีที่สั่งสมมาครั้งทำราชการ เป็นทรัพยากรทางการเมือง อย่างไรก็ดีนักเลือกตั้งที่ใช้ทรัพยากรการเมืองระบบราชการ ได้เริ่มพ่ายแพ้อิทธิพลของ”เงิน” เรื่อยๆ การรณรงค์หาเสียงที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงประชาชนที่มากกว่าจะเป็นสิ่งที่ได้เปรียบ ดังนั้นนักเลือกตั้งจึงเริ่มตั้งแต่การทุ่มทุนที่มากกว่าในการรณรงค์หาเสียง การลงทุนในป้ายประกาศที่มีจำนวนมากและกระจายในพื้นที่เพียงพอ การใช้เงินเป็นค่าจ้างทีมงาน รถประกาศหาเสียง การเข้าอุปถัมป์ในโครงการต่างๆของวัด ตำบล หมู่บ้าน ชาวบ้าน การแจกสิ่งของของที่ระลึก การเลี้ยงอาหารการกินในโอกาสต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างบารมีอันซื้อหามาได้ด้วยเงินทุนที่ต้องเพิ่มปริมาณให้มาก ซึ่งไม่รวมถึงการ “การซื้อเสียง” โดยตรงซึ่งเป็นพัฒนาการการเมืองที่เกิดขึ้นที่หลังจาก“การใช้เงินซื้อบารมี” ที่เกิดขึ้นก่อนการซื้อเสียงและมีมาอย่างนมนานในสังคมและรัฐไทย 3. ยุคการเมืองระบอบธุรกิจการเมือง(Money Politics) และวงจรอุบาทว์ใหม่(New Political Vicious Circle)[4] เงินทุน(Money)เป็นทรัพยากรที่นักการเลือกตั้งจำเป็นต้องใช้ในการรณรงค์หาเสียง แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า อดีตข้าราชการที่ลงมาเป็นนักเลือกตั้งจะมีต้นทุนที่เป็นต่อมีอยู่เดิม อันเกิดจากการเป็นที่รู้จักและการสะสมบารมีจากการดำรงตำแหน่งหน้าที่ราชการ รวมถึงอดีตข้าราชการที่มีความใกล้ชิดหรืออยู่ในพรรคเดียวกันกับผู้มีอำนาจรัฐในส่วนกลางก็มักจะได้รับการช่วยเหลือการรณรงค์การเลือกตั้งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและกลไกต่างๆของรัฐ การใช้เงินที่เป็นทรัพยากรทางการเมืองที่สามารถสร้างอำนาจและบารมีนั้น มีการใช้ไม่เว้นแต่การสร้างจากวงการราชการ การใช้เงินและอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรในตำแหน่งหน้าที่สามารถสร้างอำนาจบารมีผ่านระบบอุปถัมป์ที่มีมาอย่างนมนานก่อนหน้าช่วงเวลากึ่งประชาธิปไตยในสังคมไทย ซึ่งจำเป็นต้องมีการถกเถี่ยงว่าเริ่มต้นมาจากนักธุรกิจหรือข้าราชการเองหรือไม่ เป็นที่น่าสังเกตอีกว่า การซื้อเสียงมีลักษณะในแนวทางเช่นเดี่ยวกับการติดสินบนซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดคู่กับรัฐไทยมาอย่างนมนานคือการใช้เงินตอบแทนสิ่งที่ตัวเองต้องการเป็นสิ่งตอบแทน มากกว่านี้ข้าราชการก็เคยใช้เงินในรูปของการจัดสรรงบประมาณของรัฐเพื่อสร้างบารมีและระบบอุมถัมป์ ซึ่งเป็นพื้นฐานการสร้างความนิยมในภายหลังเมื่อลงรับเลือกตั้งแข่งขันกับกับการเมืองที่มาจากภาคธุรกิจ มากกว่านี้ ข้าราชการก็มักจะใช้อำนาจหน้าที่ของตนแทรกแซงการเลือกตั้ง อาทิ ในรูปแบบของคำสั่งกระทรวงมหาดไทย หรือกองทัพให้ช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปเป็นนักรัฐสภา[5] งานวิจัยของ ชาญณวุติ ไชยรักษา เรื่อง นักการเมืองถิ่นพิษณุโลก (2549) ได้สะท้อนภาพดังนี้ว่า การอยู่ในตำแหน่งอำนาจหน้าที่และเคยสร้างบุณคุณและบารมีมาแล้ว เอื้อต่อการได้รับการช่วยเหลือจากระบบราชการ และได้รับควานิยมในท้ายที่สุด “การเลือกตั้งเมื่อ 6 มค 2489 คราวนี้ พระยาสุนทรพิพิธ ซึ่งเคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกอยู่ 7 ปี กำนันผู้ใหญ่บ้านได้รับการแต่งตั้งจากท่านผู้นี้ บางที่กำนันเก่าซึ่งเป็นบิดาของกำนันใหม่ ก็ได้รับการแต่งตั้งจากท่านผู้นี้เหมือนกัน ส่วนข้าราชการบนศาลากลางและศาลอำเภอทุกแห่งนั้น ร้อยทั้งร้อยเคารพนิยมท่านเจ้าคุณทั้งนั้น เป็นระเบียบกระทรวงมหาดไทยให้นายอำเภอประชุมอบรมราษฎรทุกตำบลให้รู้จักและเข้าใจการเลือกตั้ง .....ท่านผู้สมัครที่เป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดไปปรากฎตัวและปราศัยแก่ราษฎรในตำบลที่สำคัญทุกแห่ง....” (จงกล ไกรฤกษ์ 2546 ในชาญณวุต 2549:69) และ งานชาญณวุต ยังสะท้อนอีกว่า จอมพล ป.ได้ใช้เงินงบประมาณของรัฐจัดสรรมาจนกลายเป็นอำนาจ บารมีของตระกูลพิบูลสงครามที่ส่งผลให้น้องภรรยาได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร “น.ท.ทินกร (น้องภรรยานายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้รับการเลือกตั้งประการหนึ่ง คือทุนทางสังคม (social capital) ในฐานะที่ตระกูลพิบูลสงครามให้การช่วยเหลืออุปถัมป์นำงบประมาณมาจัดสรรเพื่อพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกโดยตลอด” (ชาญณวุติ 2549 ทำการย้ำข้อมูลโดยผู้เขียน) อย่างไรก็ดี การใช้เงินในรูปแบบ ”การซื้อเสียง” จ่ายเงินกับผู้สนับสนุนเริ่มปรากฎขึ้นบ้างในบางพื้นที่ในปี 2512 โดยในระดับหัวคะแนนจะได้คนละ 500 และประชาชนจะได้คนละ 100 ซึ่งการหาเสียงด้วยการใช้เงินทุนยังต้องผสมผสานกับช่องว่างการพัฒนาที่ทางรัฐเข้าไม่ถึงและไม่มีงบประมาณ นักเลือกตั้งจึงใช้เงินทุนส่วนตัวสร้างบารมีและคะแนนเสียงจากเงินทุนของตนเอง เพื่อไปทำกิจกรรมสาธาณะเพื่อสร้างความนิยม บารมี และระบบอุมถัมป์ ด้วยการไปบูรณะ ซ่อมแซมหรือตัดถนนให้แก่ประชาชนที่มีปัญหาเรื่องการคมนาคมในช่วงเวลาการหาเสียงเลือกตั้ง นักเลือกตั้งจะต้องหาเงินทุนเพื่อช่วยเหลืองานชาวบ้าน เช่นการบูรณะวัด โรงเรียน ที่เริ่มเป็นช่องทางการได้คะแนนนิยมอย่างหนึ่ง (คำสัมภาษณ์ นายอนันต์ ภักด์ประไพ อดีต ส.ส. พิษณุโลก ในชาญณวุต 2549) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สอดพร้องจากการยืนยันของนายชวน หลีกภัย ว่าการซื้อเสี่ยงแบบมีหัวคะแนนมีปรากฎในการเลือกตั้งที่ภาคใต้ในช่วงทศวรรษ 2510 (Dhiwakorn, 2007:chap. 5) แต่ยุคการแข่งขันการเมืองที่มีสูงและมีการใช้เงินเข้ามา มีข้อสังเกตด้วยว่าไม่ได้เกิดเฉพาะกับนักเลือกตั้งที่มาจากภาคธุรกิจ อดีตทหารอย่างพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ก็ได้รับการตั้งข้อสงสัยของการเป็นจุดเริ่มต้นการใช้เงินมหาศาลทุมลงไปซื้อเสียงตรงๆกับผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ด จนเป็นที่กล่าวขวัญของ”โรคร้อยเอ็ด” ในการเลือกตั้งในปี 2522 และแพร่หลายไปสู่การเลือกตั้งในภาคอีสานในอีกหลายๆจังหวัด (การสัมภาษณ์ อาจารย์ชาญชัย รัตนวิบูลย์) การใช้เงินมีความจำเป็นต่อการสร้างอำนาจการเมืองและการใช้อย่างเป็นระบบมากขึ้นเรื่อยๆของนักเลือกตั้งนับตั้งแต่การเมืองระบอบกึ่งประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะไม่เพียงแต่เป็นช่วงเวลาที่มีสมาชิกสภาล่าง ที่มาจากภาคธุรกิจมากขึ้นตามที่ผาสุก พงษ์ไพจิตรเคยถก หากแต่เป็นช่วงเวลาที่ผู้นำทหารและข้าราชการเริ่มแสวงหาอำนาจการเมืองผ่านกระบวนการประชาธิปไตยที่เป็นอีกช่องทางหนึ่งของการได้มาซึ่งอำนาจนอกเหนือจากการพึ่งผิงที่มาอำนาจแต่เพียงอำนาจของทหารและกองทัพ(ตัวอย่างเช่น พลเอกเกียงศักดิ์ ชมะนันท์, พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก,พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นต้น ตัวอย่างของผู้นำกระทรวงมหาดไทย คือ นายพิศาล มูลศาสตร์สาทร เป็นต้น) การใช้เงินมีความต่อเนื่องมากขึ้นผันตรงกับบริบททางการเมืองที่เกี่ยวกับความต่อเนื่องของระบอบประชาธิปไตยที่มีมหาอำนาจเป็นผู้คอยกำหนดและพิทักษ์ประกอบกับลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่เพิ่มพลังอำนาจของเงินเหนือพลังอำนาจราชการและความมั่นคงที่มีอยู่เดิม(ดู รายละเอียดประเด็นนี้ใน Dhiwakorn 2007:chap. 4) พรรคการเมืองในช่วงเวลาตั้งทศวรรษ 1990 ได้ยกระดับการใช้เงินทุนในการระดมทุนและแสวงหาผลประโยชน์อย่างชัดเจนเพื่อกิจการรักษาอำนาจทางการเมืองในนามของสถาบันมากกว่าในนามของปัจเจกบุคคลที่เป็นผู้นำหรือแกนนำพรรคที่คอยสนับสนุนทุนรอนกับพรรคการเมือง ดังจะเห็นจากการเกิดอภิมหาโปรเจค และพรรคการเมืองที่มีอำนาจขณะนั้นในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ถูกท้าทายจากอำนาจของทหารในปี 2535และถูกตั้งข้อหาการทุจริตคอรัปชั่นและนักการเมืองก็ถูกยึดทรัพย์กันเป็นจำนวนมาก ระบอบธุรกิจการเมืองที่มีลักษณะเด่นของการเพิ่มจำนวนนักธุรกิจ นายทุน ผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นในอำนาจนิติบัญญติ ผ่านการเลือกตั้ง การเป็นแกนนำของพรรค และมีอำนาจรัฐบาลผ่านกระบวนการประชาธิปไตยระบบตัวแทนรัฐสภา เริ่มเข้ามามีบทบาทเหนือระบบราชการมากขึ้นเรื่อยๆ จากความต่อเนื่องของระบอบประชาธิปไตยตัวแทน-เลือกตั้ง ได้เพิ่มความรุนแรงของการใช้เงินระบบการเมือง ผสมผสานกับวัฒนธรรมการเมืองของคนไทยที่สามารถสร้างบารมีได้ง่ายจากการใช้เงินแสวงหา เริ่มตั้งแต่การใช้เงินซื้อเสียงและสรรหารูปแบบการใช้เงินสร้างบารมี ตามด้วย พรรคการเมืองซื้อนักการเมืองในพื้นที่เข้าพรรคเพื่อให้มีเสียงข้างมากในรัฐสภา และผันตรงกับจำนวนที่จะต่อรองกับตำแหน่งรัฐมนตรี ดังนั้น รัฐมนตรีและพรรคการเมืองที่ได้อำนาจรัฐบาลก็จะทำหน้าที่อย่างหนึ่งคือการแสวงหาเงินทุนเข้าพรรคและเข้ากลุ่มก้อนทางการเมืองของตนเพื่อที่เลี้ยงรักษาอำนาจฐานเสียงของตนไว้ต่อรองกับตำแหน่งและผลประโยชน์ 4. รัฐธรรมนูญปี 2540 7ปี จากรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ จนถึงรัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (1990-1997) แม้ว่าจะมีการขาดช่วงของการใช้อำนาจของเหล่านักการเมือง นักเลือกตั้งบ้าง แต่ก็เป็นเพียงระยะเวลาสั้นมากที่ไม่สามารถขจัดการพัฒนาอิทธิพลของระบอบการใช้เงินที่เริ่มกลายเป็นระบบและสถาบัน(institutionalizing)ในการเมืองไทยภายใต้การการยึดอำนาจของทหารที่เรียกกลุ่มตัวเองว่า ร.ส.ช. อย่างไรก็ดี หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิณและการมีนายกรัฐมนตรีพระราชทาน กระบวนการประชาธิปไตยและนักการเมือง พรรคการเมืองก็กลับมีบทบาทในระบบการเมืองอีกครั้งอย่างต่อเนื่องจนถึงขั้นมีกระแสความพยายามที่จะทบทวนกติกาในระบบการเมืองซึ่งสะท้อนการเติบโตของภาคประชาสังคมไทย กลุ่มการเมือง พรรคการเมือง ที่ร่วมส่งตัวแทนเข้ามาร่างรัฐธรรมนูญ 2540 รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกและฉบับเดี่ยวในปัจจุบันที่ภาคประชาสังคม พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง นักวิชาการ มีส่วนร่วมในการร่างมากที่สุดในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญนี้ได้มีส่วนกำหนดกติกาให้นักเลือกตั้งมีอำนาจเหนือกว่าอำนาจของทหารและข้าราชการอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนซึ่งเป็นการสะท้อนอำนาจที่เป็นจริงในระบบการเมืองในขณะนั้น ในหลายๆมาตราที่สำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุที่มาของอำนาจรัฐสภา ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอำนาจของรัฐบาลที่มีอำนาจเหนือระบบราชการ ได้เป็นต้นเหตุขจัดอำนาจของราชการออกจากอำนาจรัฐสภาเกือบจะสมบูรณ์และกำหนดให้อำนาจที่เคยเป็นอำนาจของทหารและราชการไว้ต่อรองอำนาจในกระบวนการประชาธิปไตยนั้น กลับกำหนดให้นักการเลือกตั้งเข้ามามีอำนาจทั้งอำนาจสภาสูง และสภาล่างอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าอำนาจของสภาสูงจะมีความพยายามกำหนดให้เป็นกลางจากอิทธิพลของพรรคการเมือง แต่ก็ส่อความล้มเหลวว่า อำนาจสภาสูงไม่สามารถตัดขาดจากอิทธิพลของพรรคการเมืองได้ อันส่งผลให้รัฐธรรมนูญปี 2540 เอื้อให้พรรคการเมืองมีอำนาจอย่างสมบูรณ์อย่างที่ไม่มีมาก่อนและก่อให้เกิดการขาดการถ่วงดุลใดๆจากอำนาจราชการอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และมีข้อเท็จจริงอีกว่า รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดจะเอื้อต่อการผูกขาดอำนาจของพรรคการเมือง และเป็นไปได้ยากที่จะกำหนดอำนาจหน้าที่ของสภาสูงให้ทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจของสภาล่างและพรรคการเมือง และส่งผลต่อมาต่อการแต่งตั้งองค์กรทางการเมืองต่างๆ ที่ตามมา อาทิ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ในท้ายที่สุดก็ไม่หลุดไปจากอิทธิพลของพรรคการเมือง ซึ่งนำไปสู่การฉีกรัฐธรรมนูญ และเกิด สมาชิกสภาสูง ที่มาจากการแต่งตั้งอีกครั้งใน รัฐธรรมนูญปี 2550[6] 5. ธุรกิจการเมือง นโยบายประชานิยม และการเมืองระบอบทักษิณ[7] การเมืองในระบอบทักษิณเป็นพัฒนาการสูงสุดของระบอบธุรกิจการเมือง[8] ซึ่งในระบอบธุรกิจการเมืองนั้นมีลักษณะเด่นคือ เป็นการเมืองที่ถูกครอบงำโดยอิทธิพลของนักธุรกิจและผลประโยชน์ธุรกิจ และเงินทุนเป็นปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญในการได้มาซึ่งอำนาจการเมือง ระบอบการเมืองธุรกิจนี้จะมีการใช้กลไกประชาธิปไตยเป็นแรงขับเคลื่อนทางการเมืองซึ่งอาจมีลักษณะของประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์หรืออาจมีลักษณะเป็นเผด็จการโดยกลุ่มทุน( capital authoritarian) ซึ่งพัฒนาการของระบอบนี้ก็พัฒนาการแทนที่การเมืองระบอบราชการ ผ่านช่วงเวลาการเมืองกึ่งประชาธิปไตยและเริ่มมีความเด่นชัดมากหลังยุคการเมืองที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ วางมือทางการเมือง และมีการพัฒนาการสูงสุดหลังปี 2544 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการใช้เงินทุนสูงขึ้นมากในการลงทุนเพื่อการเมือง (การให้สัมภาษณ์ของพระรักเกียรติ ในhttp://www.youtube.com/watch?v=r72Fy7MOOHQ) นักการเมืองมีต้นทุนในการใช้จ่ายในการหาเสียงมากขึ้นและมีการซื้อเสียงกระจายไปทั่ว วงเงินลงทุนเพื่อการได้มาซึ่งอำนาจมีวงเงินสูงขึ้นมากหลายเท่าจากเดิมซึ่งน่าจะเกิน 5-10 เท่าจากจุดเริ่มต้นของจุดกำเนิดธุรกิจการเมืองในต้นทศวรรษ 2530 (พระรักเกียรติhttp://www.youtube.com/watch?v=r72Fy7MOOHQ) นักการเมืองและพรรคการเมืองที่ประสงค์เข้าสู่อำนาจต้องหาเงินมหาศาลมาใช้เป็นทุนเพื่อดึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรเข้ามาสร้างกลุ่มหรือมุ้งการเมืองเพื่อต่อรองให้ได้ตำแหน่งรัฐมนตรี อย่างไรก็ดี ธุรกิจการเมืองก็ยังปรากฎเป็นลักษณะที่สำคัญของการเมืองระบอบทักษิณ ที่มีลักษณะที่เกี่ยวพันธ์คือ ผลประโยชน์การเมืองและนักธุรกิจเป็นเป้าหมายหลักของนักเลือกตั้งและนักการเมืองที่จะเข้าสภา เงินทุนเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ชัดเจน ในระบอบการเมืองทักษิณ มีการพัฒนาแนวความคิดในหมู่นักการเมืองว่า การเมืองคือการลงทุนอย่างหนึ่งและการเมืองมีผลประโยชน์มหาศาลให้กับนักการเมือง นักธุรกิจเข้าไปกอบโกย และที่สำคัญมากไปกว่านั้น นักธุรกิจ นายทุนจากอดีตที่ผ่านมาจะใช้เงินทุนเป็นเครื่องมือทางอ้อมในการมีอิทธิพลทางการเมือง แต่กลับเข้ามาเป็นนักการเมืองและผู้มีอำนาจรัฐและอำนาจการเมืองโดยตรง และเข้ามากำหนดนโยบายสาธารณะโดยตรง และทำให้ผู้มีอำนาจรัฐและการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดสรรทรัพยากร โอกาสและสร้างกฎระเบียบในการแข่งขันของตลาด อันเป็นยุคที่ สมัคร สุนทรเวช เรียกว่า “ยุคเสี่ยเล่นเอง” (คำสัมภาษณ์ของพระรักเกียรติ ในhttp://www.youtube.com/watch?v=r72Fy7MOOHQ) หรือ ที่ ผาสุก พงษ์ไพจิตร เรียกว่า “ระบอบไทคูนคือรัฐ” (tycoon คือ นักธุรกิจที่มีเงินและอำนาจสูง) (ผาสุก 2548) และนักธุรกิจและนายทุนในการเมืองระบอบทักษิณนี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างนักธุรกิจในกลุ่มของรัฐบาลกับนักธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเดี่ยวกับรัฐบาล เนื่องจากนักธุรกิจที่ไม่ให้การสนับสนุนเงินทุนกับพรรคการเมืองของรัฐบาลจะไม่ได้รับประโยชน์จากการจัดสรรทรัพยากรและกฎระเบียบจากรัฐบาลอย่างเท่าเที่ยม ซึ่งเป็นปัญหาของการเมืองระบอบทักษิณที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะเส้นแบ่งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของประชาชนไม่ชัด (Dhiwakorn 2007) กระบวนการการได้มาซึ่งอำนาจของระบอบทักษิณ เริ่มต้นจาก ดร.ทักษิณ ชินวัตร ประสพความสำเร็จในการสร้างกลไกพรรคการเมือง เพื่อดำเนินกิจการการได้มาซึ่งอำนาจรัฐผ่านพรรคการเมือง ผ่านการเลือกตั้งและกระบวนการในระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา และใช้เงินทุนเป็นแรงขับเคลื่อนเพื่อแสวงหาและรักษาอำนาจ พรรคการเมืองไทยรักไทยที่ ดร.ทักษิณจัดตั้งขึ้นนั้น พัฒนาความเป็นองค์กรการเมืองที่จัดการอย่างเป็นระบบ เหมือนการจัดการในระบบบริษัทเอกชน พรรคการเมืองทำหน้าที่ส่วนหนึ่งคือการแสวงหาผลประโยชน์และเงินทุนขับเคลื่อนการเมืองและการรักษาอำนาจรัฐและอำนาจทางการเมือง นักการเมืองและนักการเลือกตั้งเปรียบเสมือนสมาชิกบริษัทที่สามารถถูกซื้อตัว ได้รับเงินสนับสนุนการหาเสียง เงินเดือนจากพรรค(พระรักเกี่ยรติ ในhttp://www.youtube.com/watch?v=r72Fy7MOOHQ) และรับนโยบาย เทคนิคการหาเสียง อุปกรณ์การหาเสียง ตลอดจนการขับเคลื่อนนโยบายอย่างเป็นระบบอย่างกับการสั่งตรงจากบริษัทแม่ (ชาญณวุฒ 2549) การเมืองถูกมองว่าเป็นเรื่องของการลงทุนและธุรกิจอย่างหนึ่ง นักการเมืองใช้อำนาจรัฐเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองและพวกพ้อง โดยในรายได้ส่วนหนึ่งจะถูกผันไปเพื่อการลงทุนในการเมืองต่อไปอีก โดยมีการใช้นโยบายประชานิยมขยายฐานเสียงทางการเมืองตามแนวความคิดระบบตลาด ในแง่หนึ่ง เกิดข้อดีในเรื่องของบทบาทของพรรคการเมือง ความต่อเนื่องของระบอบและกระบวนการประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ตลอดจนนโยบายพรรคการเมืองที่มีความชัดเจนในแง่ผลประโยชน์ต่อกลุ่มสังคมในระบบการเมือง ในแง่หนึ่งซึ่งอาจมองเป็นข้อเสียคือความเป็นอิสระและอำนาจของนักเลือกตั้ง สส จำต้องอยู่ในอิทธิพลของพรรคการเมืองและเจ้าของพรรคการเมืองซึ่งได้สร้างและพัฒนาระบบและลำดับขั้นของความอาวุโสภายในพรรคอย่างเป็นระบบ ระบบการเมืองของการเมืองไทยซึ่งเคยมีปัญหาเรื่องเสถี่ยรภาพของพรรคการเมืองและมีภาพของความอ่อนแอ กลับได้พัฒนาเป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทและอิทธิพลมากเหนือสมาชิกที่รักษาผลประโยชน์ในพื้นที่และเอื้อต่อการใช้อำนาจได้ง่ายของนายทุนพรรคหรือเจ้าของพรรคการเมือง วงจรอุบาทว์การเมืองใหม่จึ่งได้เริ่มต้นขึ้น จากการที่พรรครวบรวมเงินสนับสนุน นำไปสู่เผด็จการอำนาจนิยมใช้เงิน ใช้มาเพื่อควบคุมประชาชนและระบบการเมือง (electoral Authoritarianism) นักการเมืองเข้าพรรคการเมือง เพื่อให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง ซึ่งการเลือกตั้งจะเป็นเครื่องมือของเผด็จการในคาบนักเลือกตั้ง เมื่อได้อำนาจรัฐสภาหลังการเลือกตั้ง ก็จะจัดตั้งรัฐบาล ตั้ง ครม และจะใช้อำนาจรัฐทำการคอรัปชั่น หรือดำเนินนโยบายที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เพื่อส่วนหนึ่งสะสมเป็นเงินทุนสำหรับลงทุนในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ในขณะที่นักการเมือง ครม หลายคนเป็นนักธุรกิจที่มาเล่นการเมืองโดยตรงก็ได้โอกาสจากกฎระเบียบการตัดสินใจของรัฐเอื้อให้การลงทุนของตนได้เปรียบคู่แข่งขันในตลาดและบริจาคเงินเหล่านี้เข้าสูงพรรคการเมืองและรักษากลุ่มการเมืองของตน กลายเป็นการได้มาซึ่งอำนาจรัฐและการเมืองโดยการใช้เงินทุนเป็นวงจรอุบาทว์ตามที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้ในงานวิชาการก่อนหน้าตามแผนภาพ (Dhiwakorn 2007: 234) นอกจากนี้ การเมืองตามระบอบทักษิณ มีการพัฒนานโยบายการเมืองของพรรคการเมืองเพื่อเข้าแข่งขันการเลือกตั้งโดยตั้งเป็นนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้ลงคะแนนเสียงในผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในระยะสั้นนั้น ถูกมองว่า เป็นนโยบายที่ประสพความสำเร็จในการเข้าถึงชนชั้นล่างและคนจนและเป็นนโยบายที่กีดกันอิทธิพลของชนชั้นกลางซึ่งมีบทบาทน้อยกว่าในระบบการเมือง แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ นโยบายประชานิยมของทักษิณ นั้นไม่เพียงเพราะเป็นนโยบายที่ประสพความสำเร็จได้จาการดึงดูดผลประโยชน์ของคนจน อย่างที่เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ[9] นำเสนอ หากเป็นพัฒนาการของการที่นักเลือกตั้งที่ได้อำนาจรัฐ มีอำนาจในการกำหนดนโยบายผันตรงเอาเงินและผลประโยชน์ของรัฐที่เคยมีมาสร้างเป็นระบบให้เกิดบารมีและอำนาจจากระบบอุปถัมป์ที่มีมาอย่างช้านานในสังคมไทยให้กับพรรคและผู้นำพรรค ให้เกิดเป็นบุณคุณ บารมีที่ติดไปเป็นความรู้สึกของผู้คน วัฒนธรรมการเมืองที่ติดยึดในบุณคุณและระบบอุปถัมป์ต่างหากที่ยังมีความเข้มข้นในพื้นที่ชนบทและบางภาคของไทย(เช่น เหนือและอีสาน)จึงส่งผลให้ภูมิภาคดังกล่าวทำการสนับสนุนพรรคการเมืองและผู้นำที่นำนโยบายประชานิยมมานำเสนอ ในช่วงเวลาของรัฐบาลอภิสิทธ์แม้ว่าจะมีความพยามจะใช้นโยบายประชานิยม แต่ไม่ส่งผลต่อคะแนนเสียงตรงนี้อาจเป็นผลเพราะประสิทธิภาพการนำนโยบายเหล่านั้นไปปฎิบัติยังไม่เกิดประสิทธิภาพเพียงพอ ในอดตีที่ผ่านมา มรว คึกฤทธ์ ปราโมช เคยใช้นโยบายเงินผัน เพื่อใช้สร้างคะแนนเสียงให้มากขึ้นกับพรรคการเมืองของตนมาแล้ว แต่ลักษณะการนำนโยบายปฎิบัติยังมีอย่างจำกัดในประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีนโยบายประชานิยมระบอบทักษิณ ก็คือ วิวัฒนาการการใช้นโยบายของรัฐ และเงินงบประมาณ-ทรัพยากร สร้างคะแนนสียงในรูปแบบการสร้าบารมีให้แก่พรรคและผู้นำพรรค การใช้นโยบายดังกล่าวสอดพร้องกับวัฒนธรรการเมืองไทยแบบอุปถัมป์และการจดจำบุณคุณของคนไทย อันส่งผลให้นโยบายประชานิยมจึงประสพความสำเร็จเป็นเครืองมือของนักการเมืองได้อย่างลงตัว 6. การเมืองหลังยุคทักษิณ-การเมืองกึ่งประชาธิปไตยใหม่ (New Semi-Democracy)? งานของลิขิต ธีระเวคิน (ดู ลิขิต 2550:222-233) ผาสุก พงษ์จิตรและคริส เบเคอร์ (ดู 2546:497-505) เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (Anek1992) เคยยอมรับจุดจบของการเมืองระบอบราชการและการเมืองกึ่งประชาธิปไตย เมื่อการเมืองไทยสะท้อนความจริงของการลดลงของอำนาจทหาร ตลอดจนเกิดความต่อเนื่องของกระบวนการประชาธิปไตยรัฐสภาเกือบกว่า 1 ทศวรรษ (1991-2001) แม้ว่าช่วงเวลานั้น ทิวากร แก้วมณี (Dhiwakorn 2007) เกษีตร เตชะพีระ(2551:125-6) จะมีการตั้งข้อสังเกตปัญหาคุณภาพของประชาธิปไตยไทย ที่ผาสุกและทิวากร ได้เห็นการครอบงำของนักธุรกิจในการเมืองไทยและปัญหาของกระบวนการเลือกตั้งที่ไม่ส่อให้เห็นความเท่าเที่ยมกันของคนในสังคมในการเข้าสู่อำนาจรัฐและอำนาจทางการเมือง เกษียร(2551)ได้เห็นการใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือของเผด็จการที่มาในรูปของนักเลือกตั้งระบอบประชาธิปไตยในการผูกขาดอำนาจในสภาด้วยรูปแบบการเลือกตั้งที่เป็นปัญหาในวงจรอุบาทว์ใหม่ การเมืองในช่วงทักษิณซึ่งสะท้อนความอ่อนแอที่ระบบการเมืองในแง่คุณภาพประชาธิปไตย (Quality of Democracy)หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือการไม่ได้เป็นปัญหาที่รูปแบบของประชาธิปไตย การเมืองช่วงทักษิณมีข้อเท็จจริงของความเป็นเผด็จการทางรัฐสภา (อาจจะต้องมีการถกในความหมายของเผด็จการและประชาธิปไตยเพิ่มเติม) ปัญหาการคุกคามสื่อ การแทรกแซงองค์กลาง และปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในรูปแบบของผลประโยชน์ทับซ้อน (ดู McCargo& Ukrist 2005;Dhiwakorn 2007) ในขณะเดียวกันภาคประชาสังคมได้ถูกปนเปลือด้วยนโยบายประชาสังคมที่ยิ่งทำให้การเมืองแบบรัฐสภาก่อปัญหาความเป็น”เผด็จการด้วยการเลือกตั้ง” (electoral authoritarian)(เกษียร 2551:126 ) กลุ่มทหารที่เรียกตัวเองว่า คมช จึงมีความพยายามที่จะขจัดวงจรอุบาทว์ใหม่นี้โดยทำการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งนับตั้งแต่วันนั้นก็ได้เป็นสาเหตุของความขัดแย้งของกลุ่มที่สนับสนุนทักษิณ กับกลุ่มที่ไม่สนับสนุนทักษิณ อันที่จริงหากมองตามทฤษฎีเศรษศาสตร์ทางการเมืองที่ ผาสุก พงษ์ไพจิตร อธิบายว่า ความขัดแย้งทางการเมือง เกิดขึ้นเพราะความขัดแย้งของกลุ่มทุน ระหว่างกลุ่มทุนที่ได้ประโยชน์จากการเมืองระบอบทักษิณกับกลุ่มทุนที่สูญเสียประโยชน์จากระบอบทักษิณ หากแต่ว่า หากไม่มองในแง่เศรษฐศาสตร์การเมือง การเมืองหลังระบอบทักษิณ คือการยืนยันการยังไม่สิ้นสุดของอำนาจระบบราชการและทหาร แต่เป็นการเปิดเผยรากเหง้าของอำนาจของทหารและข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวพันธ์กับสถาบันการเมืองอื่นๆที่มีอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย และการเมืองหลังทักษิณจึงเป็นการเมืองของการยืนยันการต่อสู้ระหว่างอำนาจระบบทหารและระบบราชการที่เกี่ยวพันธ์กับสถาบันการเมืองอื่นๆอีกในรัฐไทย กับอำนาจการเมืองของนักการเมืองและนักรัฐสภา กล่าวอีกอย่างหนึ่ง การต่อสู้ของอำนาจทหารข้าราชการนี้ได้เปิดเผยความเป็นจริงทางการเมืองอย่างหนึ่งที่สำคัญว่า อำนาจของทหารมีการยึดโยงกับอำนาจของสถาบันการเมืองที่มีความต่อเนื่องของไทย ซึ่งการเมืองในช่วง 1990 เป็นเพียงการเมืองที่เป็นความสัมพันธ์ของอำนาจทหารและอำนาจนักเลือกตั้ง แต่การเมืองหลังทักษิณสะท้อนการแข่งขันที่นักเลือกตั้งจะต้องท้าทายกับอำนาจที่เป็นพันธมิตรกับทหาร ซึ่งอำนาจเหล่านี้มีความมั่นคงและมีการพัฒนาการที่ไม่เคยมีการท้าทายมาก่อนเลย นับตั้งแต่ทหารได้สร้างมาตั้งแต่ยุคการปกครองทหารของสฤษดิ์ ธณะรัชน์ (Thak 1976; Peleggi 2007)[10] ความขัดแย้งของเหลืองและแดงเป็นสภาพการยื้อแย่งมวลชนของฝ่าย ฝ่ายอำนาจราชการและทหาร และพรรคการเมืองที่พัฒนาการมาในยุคราชการ(ประชาธิปปัตย์) และ อำนาจของนักการเมือง- นักรัฐสภาในระบอบทักษิณที่สามารถขยายอำนาจผ่านเงินทุนและนโยบายประชานิยมที่มีฐานเสียงที่คนจน และผู้มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่มีความเชื่อเรื่องเสรีภาพและความเท่าเที่ยมโดยที่ ฝ่ายอำนาจราชการทหาร ถูกเรียกใหม่ในช่วงเวลานี้ว่า อำนาจอมาตยาธิปไตย ที่มีความหมายเป็นนัยของอำนาจที่เหนือกว่าอำนาจการเมืองของทหารข้าราชการปกติ หากเป็นอำนาจการเมืองของทหารที่ร่วมเป็นพันธมิตรกับสถาบันการเมืองที่มีอำนาจการเมืองตามวัฒนธรรมการเมืองแบบเทวราชาของสังคมไทย “ยุคของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ก็เริ่มมีนักธุรกิจเข้าสู่วงการเมืองดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไม่น้อย และเมื่อมาถึงยุคของรัฐบาล พตท ดร.ทักษิณ ก็ยิ่งเห็นได้ชัด .....เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 จนนำไปสู่การตั้งรัฐบาลและจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นการชะงักงันของธณาธิปไตยและเห็นได้ชัดว่ารัฐบาลที่ตั้งขึ้นมานั้นประกอบไปด้วยข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ ในแง่หนึ่งคือความพยายามเข้ามาแก้ปัญหาโดยกลุ่มอำมาตยาธิปไตย.....” (ลิขิต 2550:259) การเมืองไทยที่ร่วมสมัยนี้จึงเป็นยุคที่ยืนยันของการที่สังคมไทยยังไม่ก้าวพ้น สังคมการเมืองกึ่งประชาธิปไตย ที่มีคุณลักษณะใหม่ ที่แต่เดิม กึ่งประชาธิปไตยจะเป็นการร่วมใช้อำนาจของอำนาจทหารราชการกับอำนาจของนักการเมืองผ่านการมีตัวแทนการใช้อำนาจคือพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ แต่ กึ่งประชาธิปไตยใหม่ เป็นการสะท้อนและเปิดเผยระบบการเมืองของการแข่งขันและขัดแย้งของอำนาจอมาตยาธิปไตย-เทวราชาและอำนาจนักการเมืองจากธุรกิจการเมืองและวงจรอุบาทว์ใหม่ โดยมีมิติใหม่คือการแย่งมวลชนอันเป็นพัฒนาการทางการเมืองไทยในยุคนี้ที่ภาคประชาสังคมมีการเติบโตมากขึ้นไปกว่าเดิม ดังนั้นการเรียกร้องหลังยุคทักษิณนอกจากจะเป็นการเรียกร้องที่มีความแตกต่างจากอดีตคือการเรียกร้องกติกาของรัฐและการเมืองปกติ ที่มีการแตะต้องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ แต่การเรียกร้องร่วมสมัยนี้เป็นการต้องการแตะต้องอำนาจที่มีความเชื่อว่าเป็นอำนาจที่อยู่เบื้องหลังอำนาจของทหารและราชการปกติ (กองทัพ) โดยมีความเชื่อว่า การแก้ไขกติกานี้ผ่านการแก้ไขกฎหมายและรับธรรมนูญจะทำให้เกิดการพัฒนาการทางการเมืองเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ในการเมืองช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ การอยู่ร่วมกันของสองกลุ่มการเมืองมีการปรับท่าที่ไปมาก โดยสภาพการเมืองทั่วไปรัฐบาลได้รับการยอมรับจากประชาชนจากผลสำรวจของโพลในหลายสำนัก แม้ว่ารัฐบาลจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความล้มเหลวของนโยบายประชานิยมในหลายๆนโยบาย การเมืองในช่วงรัฐบาลนี้เห็นได้ว่าความขัดแย้งที่มีสภาพแข็งกร้าวทำลายร้างต่อกันซึ่งหน้าได้ถูกทำให้ภาพบรรเทาเบาบางในลักษณะประนีประนอมหรืออาจเป็นการประสานประโยชน์กันมากขึ้นซึ่งจะเป็นไปในช่วงเวลาสั้น ทั้งสองขั้วอำนาจทางการเมืองได้มีการปรับโครงสร้างการเปลี่ยนถ่ายอำนาจและดูเหมือนกระบวนการเปลี่ยนถ่านอำนาจนั้นมีความคืบหน้าและต่อเนื่องจึงเป็นผลให้การท้าทายอำนาจด้วยวิธีการแข็งกร้าวจำเป็นต้องได้รับการทบทวนจากทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ดี ฝ่ายทุนทักษิณในช่วงนี้พยายามลดการเผชิญหน้า แต่กำลังสะสมทรัพยากรจากการค้าการลงทุนของการที่รัฐไทยกำลังก้าวเข้าสู่เขตการค้าอาเซียน การเปิดประเทศพม่า และการขยายเขตการค้าจากจีน ซึ่งจะนำโอกาสมหาศาลสู่กลุ่มนายทุนที่กำลังมีอำนาจรัฐ(บาล) ซึ่งพูดกันง่ายๆว่า ทั้งสองกลุ่มการเมืองกำลังพัฒนาการยุทธศาสตร์การแข่งขันและความขัดแย้งที่พร้อมจะประทุได้อย่างรุนแรงและกว้างขวางได้มากกว่าเดิม สรุป บทความสั้นนี้ยังมีข้อจำกัดในการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาวงจรอุบาทว์และเป็นบทความที่สั้นในการให้ความกระจ่างทั้งในแง่แนวความคิดและทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่นี้ที่มีการตั้งข้อกังขาเกี่ยวกับ”ประชาธิปไตยเพียงแต่รูปแบบ”และประชาธิปไตยแบบเป็นตัวแทนทางรัฐสภาว่ายังมีข้อสงสัยว่าจะเป็นพัฒนาการการเมืองได้อย่างไร บทความนี้หลายส่วนมีการกล่าวถึงแนวความคิดและการถกเถียง แต่เป็นการนำเสนอซ้ำกับงานวิจัยของผู้เขียนที่เคยนำเสนอมาก่อนในบางจุดที่ได้มีการอธิบายและแสดงหลักฐานในการนำเสนอมาก่อนหน้านี้จึงไม่ได้นำมาเสนอให้เกิดความเยิ่นเย้อในงานชิ้นนี้อีก ดังนั้นบทความนี้อาจจะจำกัดในแง่หลักฐานการถกในประเด็นทางแนวความคิดที่มีการพัฒนาการในหลายจุดจากงานวิชาการของผู้เขียนที่เคยนำเสนอมาก่อนแล้ว อย่างไรก็ดี ในงานชิ้นนี้ก็มีความตั้งใจก่อให้เกิดการถกเถียงกันต่อไปในวงวิชาการไทยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ว่าด้วยการพัฒนาการเมืองไทยของวงจรอุบาทว์ ในงานชิ้นนี้ มีการนำเสนอวงจรอุบาทว์ทั้งเก่าและใหม่ ที่ได้ปรากฎและใคร่นำเสนอวงจรอุทวาทว์ว่าด้วยช่วงเวลาของระบอบกึ่งประชาธิปไตยใหม่ไทย ที่เป็นส่วนผสมของการเมืองระบอบราชการกับระบอบการเมืองธุรกิจ ซึ่งส่วนผสมนี้มันอาจจะเร็วเกินไปที่จะเสนอมาในรูปแบบของวงจร เพราะ ช่วงเวลาการเกิดรัฐประหารที่ย้ำเป็นวงจรในสังคมไทยยังไม่เกิดขึ้นอีกนับแต่ปี 2549 แต่อย่างไรก็ดี หากมีการเกิดรัฐประหารอีกครั้งวงจรข้างใต้นี้จะเป็นตัวอธิบายได้ดีถึงการเข้าสู่ยุคของวงจรอุบาทว์ว่าด้วยระบอบกึ่งประชาธิปไตยใหม่ของไทย บรรณานุกรม กรุงเทพธุรกิจ, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙, ดร.ผาสุกชี้ขั้วอำนาจธุรกิจ – การเมืองกระจุกตัว ต้นตอความขัดแย้งและวิกฤติ กรุงเทพธุรกิจ, ๘ มีนาคม ๒๕๔๙, ผ่าประชานิยม ฉบับผาสุก ตอบทำไมทักษิณครองใจคนจน เกษียร เตชะพีระ, ทางแพร่งและพงหนาม ทางสู่อธิปไตยไทย, กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ มติชน 2551. ชาญณวุฒ ไชยรักษา. นักการเมืองถิ่นจังหวัดพิษณุโลก. พิมพ์ครั้งที่ 1. สถาบันพระปกเกล้า: อาคารศูนย์สัมมนา 3 ชั้น 5 ในบริเวณสถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน ผาสุก พงษ์ไพจิตรและคริส เบเคอร์, เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ, กรุงเทพ สำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม, 2546 ผาสุก พงษ์ไพจิตร, ผาสุก ชี้ทุน ๒ กลุ่มขัดแย้งก่อวิกฤติการเมือง,ใน www.ftawatch.org ผาสุก พงษ์ไพจิตร, ธุรกิจการเมืองหลังปี ๒๕๔๔ ระบอบไทคูนคือรัฐ, มติชนรายวัน ๘ ธันวาคม ๒๕๔๘ ลิขิต ธีนเวคิน, วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย, กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์ ๒๕๕๐. Akin Rabibhadana. 1969. The Organization of Thai society in the early Bangkok Period: 1982 - 1873. Ithaca, NY: Department of Asian Studies, Cornell University Almond, Gabriel A. 1974. Comparative Politics Today: A World View. Boston, MA: Little, Brown & Co Anusorn Limmanee. 1995. Political Business Cycle in Thailand, 1979-1992: General Election and Currency in Circulation. Bangkok: Institute of Thai Studies, Chulalongkorn University Anek Laothamatas. 1988. "Business and Politics in Thailand: New Patterns of Influence". Asian Survey, Vol. 28, No. 4, pp. 451-470, Reprinted in John Ravenhill. 1995. The Political Economy of Southeast Asia 3: Singapore, Indonesia, Malaysia, the Philippines and Thailand. Aldershot: Elgar ________ . 1992. Business Associations and the New Political Economy in Thailand: From Bureaucratic Polity to Liberal Corporatism. Boulder, CO: Westview Press ________ . 1996. "A Tale of Two Democracies". In The Politics of Elections in Southeast Asia, edited by Robert H. Taylor. Cambridge: Woodrow Wilson Center Press Baker Christopher J. 2005. A History of Thailand. Cambridge: Cambridge University Press Bastian, Adolf. 1867. Reisen in Siam im Jahre 1863. Jena: Hermann Costenoble [German] Batson, Benjamin A. 1974. Siam’s Political Future: Document from the end of Absolute Monarchy. Ithaca, NY: Cornell University Bobbio, Noberto. 1988. "Gramsci and the Concept of Civil Society". In Civil Society and the State: New European Perspectives, edited by John Keane. London: Verso, pp. 73-100 Bowring, John. 1969. The Kingdom and People of Siam, Vol. 1-2. Kuala Lumpur: Oxford University Press [Reprint of the 1857 Edition, org. The Kingdom and People of Siam, with a Narrative of the Mission to that Country in 1855. London: John W. Parker & Son] Chai-anan Samudavanija. 1982. The Thai Young Turks. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies ________ . 1987a. "The Bureaucracy". In Government and Politics of Thailand, edited by Xuto Somsakdi. Oxford: Oxford University Press ________ . 1997. "Old Soldiers never die, They are just bypassed". In Political Change in Thailand: Democracy and Participation, edited by Kevin Hewison. London: Routledge, pp. 42-57 ________ . 2002. Thailand: State-Building, Democracy and Globalization. Bangkok: Institute of Public Policy Studies Charnvit Kasetsiri. 1976. The Rise of Ayudhya: A History of Siam in the 14. and 15. Century. Kuala Lumpur: Oxford University Press Cox, Robert. 1987. Production, Power, and the World Order: Social Forces in the Making of History. New York: Columbis University Press Czempiel, Ernst-Otto. 1981. Internationale Politik: Ein Konfliktmodell. Paderborn: Schoeningh [German] Darling, Frank C. 1961. American Influence on the Evolution of Constitutional Government in Thailand. Washington, DC: The American University ________ . 1965. Thailand and the United States. Washington DC: Public Affairs Press ________ . 1977. "Thailand in 1976: Another defeat for constitutional democracy". In Asian Survey, Vol.17, No. 2, pp. 116-132 Dhiwakorn Kaewnamee, The Evolution of the Thai State, 2007 Hewison, Kevin. 1986. Industry Prior to Industrialization: Thailand. Paper presented at the Conference on Industrializing Elite in Southeast Asia, 8-12 December 1986, Sukkothai, Thailand ________ . 1989. Bankers and Bureaucrats: Capital and the Role of the State in Thailand. New Haven, CT: Yale University Southeast Asia Studies ________ . 1993a. "Of Regimes, State and Pluralities: Thai Politics enters the 1990s". In Southeast Asia in the 1990s: Authoritarianism, Democracy, and Capitalism, edited by Kevin Hewison et al. St. Leonards, Australia: Allen & Unwin ________ . 1993b. Southeast Asia in the 1990s: Authoritarianism, Democracy, and Capitalism. St. Leonards, Australia: Allen & Unwin ________ . 1996. "Emerging Social Forces in Thailand: New Political and Economic Roles". In The New Rich in Asia: Mobile Phones, Mc Donald’s and Middle Class Revolution, edited by Richard Robinson and David S. G. Goodman. London: Routledge, pp. 137-160 ________ . 2001. "Thailand’s Capitalism: Development through Boom and Bust". In The Political Economy of South East Asia: Conflicts, Crisis and Change, edited by Garry Rodan et al. Oxford: Oxford University Press ________ . 2004. "Crafting Thailand’s new Social Contract". In The Pacific Review. Vol. 17, No. 4, pp. 503-522 ________ and Maniemai Thongyou. 2000. "Developing Provincial Capitalism: A Profile of the Economic and Political Roles of a New Generation in Khon Kaen, Thailand". In Money & Power in Provincial Thailand, edited by Ruth McVey, Chapter 8. Singapore: Nordic Institute of Asian Studies Huntington, Samuel P. 1957. The Soldier and the State: A Theory and Politics of Civil-Military Relations. Cambridge, MA: The Belknap Press of Harvard University ________ . 1968. Political Order in Changing Societies. New Haven, CT: Yale University Press ________ . 1970."Social and Institutional Dynamics in One-Party Systems". In Authoritarian Politics in Modern Society: The Dynamics of One-Party Systems, edited by Samuel P. Huntington and Clement H. Moore. New York: Basic Books ________ . 1991. The Third Wave: Democratization in the late Twentieth Century. Norman, OK: University of Oklahoma Press Keohane, Rober O. and Joseph Nye. 1977. Power and Interdependence: World Politics in Transition. Boston, MA: Little, Brown and Company ________ . 2004. The Rise and Decline of Thai Absolutism. London: RoutledgeCurzon Laird, John. 2000. Money Politics, Globalization and Crisis: The Case of Thailand. Singapore: Graham Brash Likhit Dhiravegin. 1972. Political Attitudes of the Bureaucratic Elite and Modernization in Thailand. Bangkok: Thai Watana Panich ________ . 1974. Siam and Colonialism 1855-1909: An Analysis of Diplomatic Relations. Bangkok: Thai Watana Panich ________ . 1978. The Bureaucratic Elite of Thailand. Bangkok: Thai Khadi Research Institute, Thammasat University ________ . 1984. Social Change and Contemporary Thai Politics: An Analysis of the Inter-relationship between the Society and the Polity. Bangkok: Faculty of Political Science, Thammasat University ________ . 1992. Demi-Democracy: The Evolution of Thai Political System. Singapore: Times Academic Press Maurizio,Peleggt. Thailand The Worldly Kingdom.Singapore:Originally published in Great Britain in 2007 by Reakion Books,London First published in 2007 by Talisman and Reaktion Books. McCargo D. and Ukrist Pathmanand,The Thaksinization of Thailand,Copenhagen:NIAS 2005. Morell, David. 1972a. "Thailand: Military Checkmate". In Asian Survey, Vol. 12, No. 2, pp. 156-167 Neher, Clark D. 1970. "Thailand: The Politics of Continuity". In Asian Survey, Vol. 10, No. 2, pp. 161-168 Pasuk Phongpaichit and Baker, Christopher J. 1992. "Technocrats, Businessmen, and Generals: Democracy and Economic Policy-Making in Thailand". In The Dynamics of Economic Policy Reform in South-East and the South-West Pacific, edited by Andrew J MacIntyre. Singapore: Oxford University Press, pp. 10-31 ________ and Sungsidh Piriyarangsan. 1994. Corruption and Democracy in Thailand. Chiang Mai: Silkworm Books ________ and Baker, Christpoher J. 1995. Thailand: Economy and Politics. Kuala Lumpur: Oxford University Press Putnam, Robert. 1993. Making Democracy Work: Civic Traditions in Modern Italy. Princeton, NJ: Princeton University Press ________ , et al. 2005. Parliaments and Political Change in Asia. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies Suchit Bunbongkarn. 1987a. "Political Institutions and Processes". In Government and Politics of Thailand, edited by Somsakdi Xuto. Oxford: Oxford University Press ________ . 1989. Capital Accumulation in Thailand: 1955-1985. Tokyo: Centre for East Asian Cultural Studies ________ . 1993. Business Groups in Developing Economies. Tokyo: Institute of Developing Economies Ukrist Pathmanand. 2001. "Globalization and Democratic Development in Thailand: The New Path of the Military, Private Sector, and Civil Society". In Contemporary Southeast Asia, Vol. 23, No. 1, pp. 24-42 ________ . 2002. From Shinawatra Group of Companies to the Thaksin Shinawatra Government: The Politics of Money and Power Merge. Paper presented at conference on crony capitalism, Quezon City, 17 -18 January 2002 [1] ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และอาจารย์พิเศษทางรัฐศาสตร์ University of Freiburg, Germany จบการศึกษา Dr.Phil., University of Freiburg, Germany, รม (การปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รบ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) จุฬาฯ. ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์ชาญชัย รัตนวิบูลย์ที่ได้กรุณาอ่านบทความนี้และได้แสดงความคิดเห็นด้านข้อมูลและแนวความคิดที่ก่อให้เกิดการพัฒนาแนวความคิดของงานชิ้นนี้ และขอขอบคุณ รศ. ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ที่ได้ทิ้งปัญหาให้ผู้เขียนต้องขบคิดและพัฒนาการงานให้ดีมากยิ่งขึ้น. [2] การถกเถี่ยงนี้กรุณาดูงานเพิ่มเติมของ O’Donnell, The Quality of Democracy, 2004; Larry Diamond, Assessing the Quality of Democracy, 2005;Benjamin R.Barber, Strong Democracy, 2003. [3] รศ. ธโสธร ตู้ทองคำ แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การเปลี่ยนแปลงที่เป็นวงจรนั้นอาจจะไม่ได้เป็นการย่ำอยู่กับที่แต่เป็นการพัฒนาการ นั้นทางผู้เขียนก็เห็นด้วยส่วนหนึ่งว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยอาจมองได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในหลายมิติ แต่หากจะพิจารณาอีกมิติที่แตกต่างจาก รศ. ธโสธร จะพบว่า การสร้างทฤษฎีทางรัฐศาสตร์นั้นมีความพยายามอยู่เหลือเกินที่จะสร้างแนวความคิดให้เป็นความทั่วไป (generalization) ซึ่งก็หมายความว่า คุณภาพและปริมาณ และความแตกต่างจะถูกพิจารณาในแง่ของการสร้าง แบบแผนการเปลี่ยนแปลง (pattern) ซึ่งแน่นอนว่า หากมองการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในแง่ของ pattern แล้วก็ยังสามารถเห็นภาพของการกลับเข้ามาหรือการหมุนเวี่ยนของการใช้อำนาจของทหารและนักการเมืองที่เป็นไปตามวงจรอุบาทว์ได้แม้ช่วงเวลาการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าไรแล้วก็ตาม [4] มีข้อสังเกตจากผู้รับฟังการนำเสนอผลงานชิ้นนี้ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า วงจรอุบาทว์ของผู้เขียนมีความแตกต่างจากวงจรอุบาทว์ที่ ศาตราจารย์ชัยอนันต์เคยนำเสนอไว้ก่อนแล้วอย่างไรนั้น ผู้เขียนใคร่ชี้แจงเพิ่มเติมว่า งานของผู้เขียนในปี 2007 ในหนังสือ The Evolution of the Thai State ได้เสนอแผนภาพวงจรการใช้เงิน ไม่ใช่การใช้ปืน เป็นเครื่องมือการรักษาอำนาจ ในบริบทที่เขียนงานชิ้นนั้น เป็นบริบทที่ดูเหมือนทหารจะลดความสำคัญลงไปอย่างเห็นได้ชัด (งานวิจัยเสร็จปี ค.ศ. 2007) นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจเหนือข้าราชการและระบบราชการ การรักษาอำนาจของนักการเมืองนั้นใช้เงินเป็นทรัพยากรในการรักษาอำนาจ แตกต่างจากทหารที่ใช้กำลังและอิทธิพลของทหารในการรักษาอำนาจ และนี่คือความแตกต่างที่ชัดเจนของตัวแบบผู้เขียน อย่างไรก็ดีงานชิ้นนี้ได้มีพัฒนาการเพิ่มเติม ที่จำเป็นต้องนำอำนาจและอิทธิพลของทหารกลับเข้ามาในบริบทที่บทบาทของการรัฐประหารกลับมา ตัวแบบจึงเป็นการพัฒนาประสมประสานของตัวแบบเก่าและตัวแบบใหม่ซึ่งปรากฏในแผนภาพในท้ายงาน [5] ตัวอย่างกรณีนายสุชน ชามพูนท ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพภาคที่สามให้ได้เป็น สส พิษณุโลกเพราะ จอมพลประภาส จารุเสถียร “ฝากมา”(ดู ชาณณวุต 2549:79) และอ่านเพิ่มใน จงกล ไกรฤกษ์ 2546. [6] มีการตั้งคำถามจากผู้รับฟังการนำเสนอผลงานชิ้นนี้ที่สอบถามความเป็นประชาธิปไตยของรัฐธรรมนูญว่า รัฐธรรมนูญปีใด ระหว่าง 2540 และ 2550 ว่ารัฐธรรมนูญใดมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่า การตอบคำถามข้อนี้ ผู้เขียนเห็นว่า เป็นการตอบที่ยากมากๆ เท่าๆ กับความรู้ที่เรากำลังสับสนจากการตีความในแง่มุมที่แตกต่างว่าอะไรคือประชาธิปไตยกันแน่ ผู้เขียนเห็นว่า ประชาธิปไตยมีหลายมิติ และมีหลายเฉด การจะมองแต่การร่างประชาธิปไตยที่ยึดแต่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างเดี่ยวคงไม่พอ คงต้องมองเงือนไขประสิทธิภาพของการรักษาความเป็นประชาธิปไตยที่จะต้องการขึ้นจริงด้วย หากมาตราทุกมาตราของรัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตย (ซึ่งก็ไม่รู้ใครจะตัดสินได้) แต่เมื่อนำมาปฎิบัติใช้มันไม่ก่อให้เกิดประชาธิปไตยในสังคม เราก็ตัดสินยากว่า รัฐธรรมนูญนั้นเป็นรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยหรือไม่ หรือ เราควรมาถามกันใหม่ไหม ว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริงคืออะไร ก่อนที่จะมาพูดกันถึงรัฐธรรมนูญสองฉบับนี้ [7] มีนักวิชาการอย่าง อัมมาร สยามวารา อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ ศิโครตม์ คล้ามไพบูลย์ ชัยวัตน์ สถาอานันต์ ที่มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การเมืองในช่วงรัฐบาลทักษิณ ไม่สมควรเรียก หรือให้ความหมายเป็นระบอบอะไรที่ใหม่และเป็นการพิเศษ เพราะ มีระยะเวลาการปกครองไม่มาก และไม่มีปรัชญาอะไรเป็นหลักพื้นฐาน (ดู เกษียร 94-5) [8] ผาสุก ให้ความหมายของ Money Politics ว่า กระบวนการที่นักการเมืองใช้เงินผันตัวเองเป็นหนึ่งในคณะรัฐมาตรีเพื่อจะได้ใช้อภิสิทธ์จากตำแหน่งดำเนินการและกำหนดนโยบายเอื้อให้ตนเองและพรรคพวกแสวงหารายได้และกำไรได้คุ้มกับการลงทุนที่เกิดขึ้น ในรูปแบบใบอนุญาต สัมปทาน เงินอุดหนุน และสิทธิพิเศษต่างๆ [9] ดู www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q1/2006march08p8.htm. (4 มิ.ย 2555). [10] ประเด็นนี้ ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ แห่งอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สอบถามผู้เขียนตอนนำเสนอผลงาน ว่า วงจรอุบาทว์ควรมีการใส่สถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมสถาบันทหาร หรือ อยู่เบื้องหลังอำนาจของทหารได้หรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่า ในแง่วิชาการเราอาจจะทำได้บนพื้นฐานการไม่ผิดกฎหมายของสังคม การพยายามเชื่อมโยงบางสถาบันที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญไม่ให้เกี่ยวข้องกับการเมือง อาจจะเป็นการถูกต้องทางวิชาการแต่เห็นว่าอาจจะไม่ถูกต้องในแง่การขัดกับกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งผู้เขียนก็เห็นด้วยกับท่าน ดร.สุธาชัยในประเด็นทางวิชาการที่พยายามนำเสนอ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คนเสื้อแดงไม่ใช่คนที่ควรถูกประนาม แต่เป็นคนที่เราต้องให้ความช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน

คนเสื้อแดงส่วนใหญ่แล้วมาจากสังคมส่วนที่อยู่ล่างสุดของประเทศไทย คือ ประชาชนในส่วนภูมิภาค คนกลุ่มนี้มีความคิดที่ไม่แปลกครับ เป็นความคิดที่เข้าใจง่าย ถ้าเราจะลองเข้าไปเรียนรู้ดูสักหน่อย แต่สิ่งที่ยากคงจะเป็นการพยายามเปลี่ยนแนวความคิดนั้น

เพราะสังคมในส่วนภูมิภาคอันห่างไกลนั้น การได้รับข่าวสารล้วนมาจากแหล่งข้อมูลเดียวกันคือ การกระจายเสียงภายในวงแคบ เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายเสียงของหมู่บ้าน หรือ การพูดกันปากต่อปาก นี้เป็นการปลูกฟังความคิดที่ง่ายที่สุด เพราะเมื่อไหร่ที่เรารับรู้ข้อมูลข่าวสารจากแหล่ใดแหล่งหรือ อย่างผูกขาด นั้นก็เป็นเสมือนการตัดขาดข่าวสารอื่นๆเพื่อการเปรียบเทียบ หรือการวิเคราะห์ เราจึงเห็นการผูกขาดของนักการเมืองท้องถิ่นในกิจการส่วนนี้ เพื่อหวังผลเฉพาะประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น

ผมอยากจะขอร้องพวกเราที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้หลากหลายกว่า อย่าได้กล่าวโทษประชาชนในส่วนภูมิภาคเหล่านี้เลย เพราะถ้าเป็นผม การที่เสพย์ข้อมูลเหล่านั้นตลอดเวลา ผมก็คงมีความคิดไม่ต่างจากนั้นมากนัก

แต่ที่เป็นสาเหตุจริงๆที่ทำให้ประชาชนส่วนนี้มีความเชื่ออย่างแนบแน่นอย่างนั้นก็คือ การเกิดปัญหาในช่วงปี พ.ศ. 2540 วิกฤตเศรษฐกิจที่เรียกได้ว่าใหญ่มากที่สุดตั้งแต่มีการเปิดประเทศ ระบบเศรษฐกิจล้มสลายเกือบ 2 ใน 3 ของประเทศ โรงงานอุตสาหกรรมลดความต้องการแรงงานมากกว่า 1 ล้านชีวิต และโดยส่วนใหญ่แล้ว แรงงานเหล่านี้ส่วนมากล้วนมาจากแหล่งเดียวกันคือ ประชากรในเขตภูมิภาค

แรงงานเหล่านี้ต้องแบกภาระเรื่องหนี้สินมากมาย บางคนถูกธนาคารยึดบ้าน ยึดรถ ครอบครัวแตกแยก แบกความอับอายกลับสู่บ้านเกิด สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงครับ บางคนสูญเสียจิตวิญญาณ บางคนท้อแท้จนไม่สามารถทำอะไรได้เลย

บวกกับปัญหาในครั้งนั้นมีมากกว่าเรื่องการเงิน แต่เป็นจุดเริ่มของปัญหาสังคมต่างๆมากมายโดยเฉพาะเรื่องของยาเสพย์ติด และ โจรผู้ร้าย เสมือนเป็นการซ้ำเติมคนที่ผิดหวังและตอกย้ำความล้มเหลวของคณะผู้ปกครองในยุคสัมยที่ตามมาด้วย

เราควรจะกล่าวโทษคนเหล่านี้หรือครับ

สำหรับผมแล้วไม่ครับ ผมเข้าใจและเห็นใจ

ประชาชนในกลุ่มนี้พยายามรอความหวัง ท่านเชื่อหรือไม่ครับ เขาเฝ้ารอความหวัง ทั้งครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง เพราะสังคมนี้คือสังคมของครอบครัวใหญ่ สิ่งที่เกิดกับลูกหลานของเขาคือความเป็นจริงที่พวกเขารับรู้ด้วยความรู้สึก ขอย้ำว่าด้วยความรู้สึกครับ

ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2545-2548 เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวเนื่องจากหยุดนิ่งมานาน มันเป็นความปกติของระบบโลกครับ ช่วงนั้นเป็นจังหวะที่ดีครับ ประชาชนที่เฝ้ารอความหวังเริ่มรู้สึกแล้วว่ารัฐบาลในช่วงนั้นสามารถให้สิ่งที่พวกเขาเฝ้ารอได้ สิ่งนี้เป็นความผิดของพวกเขาหรือครับ ผมคิดว่าไม่ครับ เวลานั้นพวกเราส่วนใหญ่รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ เพราะไม่มีใครให้ความรู้เรื่องระบบเศรษฐกิจโลกกับพวกเขาครับ พวกเขาได้รับข้อมูลเพียงแค่ รัฐบาลทำงานในช่วงนี้ สามารถให้สิ่งที่หวังได้

และสิ่งที่รัฐบาลจับทางได้คือ การเพิ่มแหล่งเงินทุนเข้าไปในกองทุนหมู่บ้านสิ่งนี้เกิดได้อย่างถูกจังหวะครับ ประชาชนต้องการแหล่งเงินทุน แต่เหล่าธนาคารต่างปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ที่เคยเป็นผู้ใช้แรงงานที่ตกงานเพราะมีประวัติเครดิตที่เสีย นี้คือ สิ่งกระตุ้นความรู้สึกถึงความเสื่อมล้ำกันของสังคม จึงมีคำศัพท์ที่ว่า กลุ่มอำมาตย์และไพร่

ประกอบกับในช่วงปี พ.ศ.2550-2552 เศรษฐกิจโลกตกต่ำอีกครั้ง เป็นช่วงเวลาที่แย่สำหรับรัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะนี้คือการตอกย้ำความคิดของประชาชน และเมื่อมีการกระจายข่าวสารที่เป็นการเติมเชื้อเพลิงของความเชื่อให้แรงมากขึ้น เหตุการณ์เมื่อปลายปี พ.ศ.2552-2553 จึงเกิดขึ้น

สิ่งที่สมควรโทษคือ การล้มเหลวของการให้ความรู้ การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง จากหน่วยงานรัฐบาลในช่วงเวลานั้น ผมเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ยากครับสำหรับการเปลี่ยนแนวความคิดของประชาชนที่ถูกปลูกฝังมานานนับ 10 ปี แต่นี้คือหนทางเดียวที่จะช่วยเหลือพวกเขาครับ แม้จะเป็นงานที่ยากและอาจจะถูกต่อต้านในช่วงแรก แต่เราก็จำเป็นต้องทำ

ครั้งหนึ่ง ในพื้นที่ราบสูงของภาคเหนือของประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ ปัญหาเรื่องของการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำไร่เลื่อนลอยจึงเกิดขึ้น และ พร้อมกันนั้นปัญหาการปลูกฝิ่นก็เกิดขึ้นตามมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเสด็จเพื่อขึ้นไปเยี่ยมเยือนประชาชนของพระองค์ ในพื้นที่เหล่านี้ พื้นที่ที่ไม่เคยมีนักการเมืองคนใดในประเทศเคยขึ้นไปดูแล เพราะองค์ทรงเข้าไปเห็นสภาพของปัญหาเหล่านั้น แม้ว่าพระองค์จะมีกำลังทหารเพื่อทำการปราบปรามแต่พระองค์ก็เลือกที่จะใช้กองกำลังนั้นเพื่อการป้องปรามมากกว่า

พระองค์ทรงทุ่มเทจิตวิญญาณและความรู้ความสามารถ เพื่อเข้าไปยังพื้นที่ที่เป็นปัญหาอย่างต่อเนื่องแม้บางครั้งจะถูกต่อต้านอย่างแรงก็ตามที่ พระองค์ก็ไม่เคยย่อท้อในสิ่งที่เป็นปัญหานั้น เพียงเพราะว่าประชาชนของพระองค์ต่อต้าน แต่กลับเป็นความเข้าใจและเริ่มให้มีการตั้งศูนย์วิจัยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆมากมาย จุดมุ่งหมายก็เพื่อการกระทำให้เป็นแบบอย่างที่สามารถมองเห็นได้ นี้คือการให้ความรู้ที่สามารถเข้าใจได้ด้วยการลงมือปฏิบัติให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

การที่พระองค์ทรงใช้ระยะเวลานานนับ 30ปี ก็เพื่อต้องการทำให้ประชาชนของพระองค์เข้าใจในสิ่งที่ต้องการพยายามสื่อสาร ความเชื่อไม่สามารถเลื่อนหายไปได้ในระยะเวลาอันสั้น นี้คือสิ่งที่เป็นความจริง พระองค์ทรงเข้าใจในส่วนนี้ ด้วยพระอัจฉริยะภาพของพระองค์เอง ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การปลูกฝิ่น จึงค่อยๆหมดหายไปจากสังคม

แนวทางในการทรงบำเพ็ญคุณประโยชน์เพื่อประชาชนของพระองค์ นั้นล้วนมาจาก การเข้าถึงประชาชนของพระองค์ เพื่อที่จะทรงเข้าใจในสิ่งที่ประชาชนคิด และรู้สึก เพื่อการวางแผนสำหรับการพัฒนาตามความเหมาะสมและตรงจุด



พวกเราผู้ที่เป็นประชาชนของพระองค์ ควรจะน้อมนำมาเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต และนี้คืออีกตัวอย่างที่พวกเราจะสามารถนำไปใช้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความหลงผิดได้

อย่าโทษในความคิดของคนเสื้อแดง สิ่งที่เราต้องทำให้มากคือ เข้าไปอยู่ท่ามกลางพวกเขา เพื่อไปอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ด้วยข้อมูลที่หลากหลายสำหรับการวิเคราะห์ แต่ขอย้ำว่า อย่าลืมสิ่งที่เราต้องกระทำ อย่าท้อแท้และหมดหวัง เพราะถ้าสิ่งที่เราตั้งใจทำนั้นมันสามารถช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ได้

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทความ สุึทธิชัย หยุ่น

ผมไม่แปลกใจ, แต่ค่อนข้างจะตกใจและหดหู่ในหัวใจเมื่อได้อ่านข่าวว่าการสำรวจครั้งล่าสุดยืนยันว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยเห็นว่า “นักการเมืองโกงไม่เป็นไร, ขอให้ทำงานได้เป็นพอ”

ความจริง, ผมสงสัยว่าค่านิยมอย่างนี้มีมาในสังคมไทยช้านานพอสมควร เพียงแต่ไม่สำแดง “อาการ” เด่นชัดเท่านั้น

แต่อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ปรากฏให้เห็นมาตลอดในพฤติกรรมประจำวันของคนไทยในบางส่วนแล้วเป็นนิจสิน

พ่อแม่คนไหนไม่มี “เส้น” พอที่จะให้ลูกตัวเองเข้าโรงเรียนดี ๆ ดัง ๆ ได้, ก็กลายเป็นคนคนมีปัญหาในสายตาของลูก ๆ

เพราะครอบครัวไทยที่สั่งสอนให้ลูกหลานของตัวเองมีความภาคภูมิใจในความเป็นคน “ไร้เส้น” นั้นมีน้อยกว่าครอบครัวที่ตกอยู่ภายใต้ความเชื่อที่ว่าคำว่า “เจริญก้าวหน้า” ในหน้าที่งานการนั้นหมายถึงการมีเส้นมีสาย, ลัดคิว, และข้ามหัวคนอื่นไปได้ในการขยับขยายตำแหน่งแห่งตนของตนเอง

ลองวาดภาพว่าถ้าคุณเป็นผู้ปกครองของเด็กที่กลับจากโรงเรียนแล้วบอกคุณว่า “พ่อของเพื่อนเขามีเส้น จะให้เข้าโรงเรียนดัง ๆ ได้โดยไม่ต้องสอบ”

คุณจะบอกกับเด็กในการดูแลของคุณว่าอย่างไร?

พ่อแม่คนไทยไม่น้อยที่ได้ยินลูกหลานของตัวเองรายงานเช่นนี้แล้วจะรู้สึกว่าเป็นความผิดของตัวเองที่ไม่สามารถช่วยเด็กของตัวเองให้เข้าโรงเรียนที่ต้องการได้เพราะ “ไม่มีเส้นไม่มีสาย”

การแข่งขันในสังคมไทยวันนี้คือการสามารถไปถึงเป้าหมายได้ไม่คำนึงถึงวิธีการ

เหมือนอย่างที่นักการเมืองคนดังคนหนึ่งของไทยเราเคยประกาศเป็นสัจธรรมเอาไว้ว่า

“เป้าหมายสำคัญกว่าวิธีการ”

แปลว่าสำหรับคนไทยจำนวนหนึ่ง, การไปถึงจุดหมายปลายทางไม่ว่าจะเป็นความร่ำรวยหรือได้ตำแหน่งหน้าที่งานหรือการบรรลุเป้าหมายในชีวิตประจำวันนั้นมีความสำคัญยิ่งกว่าความถูกผิดชอบธรรม

อย่างที่โบราณเคยกล่าวไว้ว่า “ไม่ได้เล่ห์, ก็ต้องเอาด้วยกล”

นี่คือทัศนคติอันตรายที่นำไปสู่สภาพของสังคมไทยวันนี้ที่ยอมรับแล้วว่าคนจำนวนไม่น้อยยอมให้นักการเมืองฉัดฉลโกงกินและคอร์รับชั่นได้ “ตราบเท่าที่สามารถแสดงผลงานได้”

อย่างนี่ย่อมหมายความว่าคนไทยเหล่านี้เห็นว่าการสร้างผลงานที่ประจักษ์แก่ประชาชนนั้นไม่อาจจะทำได้ด้วยวิธีการซื่อสัตย์สุจริตแต่เดียงทางเดียวเสียแล้ว

หากแต่ต้องอาศัยวิธีการลดเลี้ยวเคี้ยวคดหรือหนทางที่ผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนศีลธรรมจึงจะถึงเป้าหมายได้...และเมื่อเป็นเช่นนั้น, พวกเขาก็พร้อมจะหลับตาข้างหนึ่ง ทำเป็นไม่เห็นความชั่วร้ายของผู้คนที่มีอำนาจ, เพื่อจะได้ชื่อว่าสร้างผลงานให้เป็นที่ประทับใจของประชาชน

ซึ่งก็ย่อมจะหมายความต่อไปอีกว่าในการเลือกตั้งนั้น, ประชาชนคนไทยจำนวนหนึ่งก็พร้อมที่จะไม่สนใจว่าผู้สมัครคนไหนเป็นคนดีคนไหนเป็นคนเลว, คนไหนเป็นคนยึดมั่นในความสุจริตยุติธรรมและคนไหนเป็นคนเต็มไปด้วยความฉ้อฉลกลโกง

เอาเป็นว่าคนเหล่านี้สามารถบันดาลในสิ่งที่ผู้ลงคะแนนเสียงเท่านั้นก็จะได้เสียงไป

เมื่อเป็นเช่นนี้, บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร?

ไม่ต้องสงสัยว่าประเทศชาติที่มีประชาชนจำนวนหนึ่งที่มีทัศนคติเช่นนี้จะกลายเป็นประเทศที่มีมาตรฐานศีลธรรมอย่างไร

เพราะหากชาติใดยอมให้คนโกงปกครองประเทศเพียงเพราะว่าเขาคนนั้นสามารถใช้อำนาจการเมืองที่ได้มาอย่างไม่สนใจจริยธรรมไป “เล่นแร่แปรธาตุ” ทรัพยากรของบ้านเมืองให้เป็นไปตามความประสงค์ของเขาแล้ว, ก็เท่ากับว่าสังคมนั้นเลิกเคารพในกติกาแห่งความถูกต้องชอบธรรม

แปลต่อไปว่าคนดีอยู่ไม่ได้, คนชั่วที่เข้าข่ายเป็นศรีธนญชัยและคนที่ยอมให้ความสกปรกโสมมเป็นหลักเกณฑ์ของประเทศชาติก็จะเจริญเฟื่องฟู

มาตรฐานเช่นนี้ไม่ยึดเอาความถูกต้อง, ความดี, ความมีศีลธรรมเป็นหลักในการปกครองและการอยู่ร่วมกัน หากแต่ยอมให้อำนาจเป็นสิ่งเดียวที่กำหนดความถูกผิดของประเทศชาติหรือที่ฝรั่งเรียกว่า Might is Right

คนที่เล่นเส้นเล่นสายได้จะมีโอกาสมากกว่าคนเก่งคนขยันแต่ไร้พรรคไร้พวกในแวดวงที่มีอิทธิพล

ท้ายสุดคนเลวก็ปกครองคนดี, คนชั่วก็กำหนดวาระแห่งชาติของคนมีศีลธรรมจรรยาบรรณ

ผมจึงอ่านข่าวการสำรวจความเห็นล่าสุดที่ว่าคนไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นที่เห็นว่าพวกเขายอมรับ “คนโกงที่เก่ง” ได้มากขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เพราะเท่ากับว่าคนไทยจำนวนนี้เริ่มจะไม่เชื่อว่า “คนเก่งที่ไม่โกง” นั้นน่าจะได้รับการสนับสนุนมากกว่าคนฉ้อฉลอย่างที่ปู่ย่าตายายของเราได้สอนได้สั่งมาตลอดหลายชั่วอายุคน

เท่ากับว่าสังคมไทยกำลังท้อแท้กับการทำความดี และยอมรับว่าความดีเริ่มจะสู้กับความชั่วไม่ได้

เรากำลังกลายเป็นสังคมยอมจำนน

และเรากำลังจะโทษว่าคนดีของเราสู้คนชั่วไม่ได้ และคนในสังคมกำลังจะแอบ ๆ เอาใจช่วยคนโกงมาปกครองบ้านเมืองอย่างอุ่นหนาฝาคั่งขึ้นกระนั้นหรือ?

ผมภาวนาวันละสามเวลาว่าผมวิเคราะห์อย่างนี้เพราะผมเพี้ยนไปเพราะกินยาผิด

ช่วยส่งผมไปหาหมอด้วยด่วนด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พระพุทธศาสนา : กระบวนทัศน์ในแก้ปัญหาวิกฤติการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม



ประเทศไทยนั้นเป็นสังคมหนึ่งซึ่งยอมรับพระพุทธศาสนา และได้รับการหล่อหลอมจากหลักธรรม คำสอนในพระพุทธศาสนามายาวนาน วิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ตั้งแต่กำเนิดจนถึงตาย จึงเกี่ยวโยงสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระพุทธศาสนา แต่เมื่อสังคมโลกเปิดกว้างขึ้นทั้งในด้านสื่อสารมวลชน เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่นำพาให้สังคมไทยก้าวเข้าไปสู่กระแสแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ ส่งผลให้สังคมไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติในหลายๆ ด้าน กล่าวคือ

1. วิกฤติการเมือง

2. วิกฤติด้านเศรษฐกิจ

3. วิกฤติด้านสังคม

4. วิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม

พระพุทธศาสนา จึงเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะสามารถนำหลักการสำคัญที่มีอยู่ในพระไตรปิฏกมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในแบบองค์รวม เพื่อจะทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างครบวงจร อันจะส่งผลดีกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติต่างๆ ของสังคมไทยต่อไป

วิกฤติต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนโยงใยถึงกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นในด้านใดด้านหนึ่งของสังคมนั้นหมายถึงว่า ผลพวงจากวิกฤตินั้นย่อมกระทบต่อระบบในสังคมนั้นด้วย เช่น บ้านเมืองปัจจุบันเกิดภาวะวิกฤติ เพราะเป็นผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจทรุดตัว นักการเมือง บุคคลในสังคมหวังเพื่อจะกอบโกยผลประโยชน์เป็นส่วนตัวมากขึ้น ประชาชนอดอยากมากขึ้น จึงเป็นภาวะวิกฤติทางสังคมเมื่อบุคคลในสังคมมีมากขึ้นความเห็นแก่ตัวมากขึ้น สภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวจึงไม่มีคนเอาใจใส่ดูแลจนเกิดเป็นภาวะวิกฤติทางสิ่งแวดล้อม ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะต้องนำกระบวนทัศน์ทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ในขณะนี้



1. วิกฤติทางการเมือง

1.1 ปัญหาทางการเมือง นักการเมืองมักมองเป็นเกมส์ทางการเมือง เล่นพรรคเล่นพวก มือใครยาวสาวได้สาวเอา แต่มักเป็นไปแบบเช้าชามเย็นชาม นักการเมืองส่วนมากมัดทุจริตและกอบโกยผลประโยชน์ ความไม่สามัคคีของนักการเมือง แม้จะหน่วยงานคอยตรวจสอบก็ตามที ก็เป็นไปอย่างไม่เต็มที่นักด้วยเกรงกลัวอำนาจและอิทธิพล ปัญหาอีกอย่างของการเมืองคือด้านการดำเนินนโยบายผิดพลาด อันเกิดผลเสียกับสังคมและประเทศชาติ ผู้บริหารประเทศยังไม่ได้มีการบริหารอย่างเต็มความรับผิดชอบ ยังมีการเล่นการเมืองมากเกินความจำเป็นซึ่งมีผลทำให้การดำเนินนโยบายต่างๆยังไม่ได้แก้ปัญหาที่แท้จริงของประเทศ บางครั้งนโยบายหลายๆ นโยบายก็ดูน่าจะดี แต่กลับไม่ได้ผลเต็มที่ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากการไม่สามารถนำ นโยบายไปปฏิบัติกันอย่าง มีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล บ่อย ครั้งเป็น การดำเนินนโยบายเพื่อสร้างภาพให้แก่ ส่วนตน แต่ให้ความสำคัญของประสิทธิผลน้อยมาก หรือ แทบจะไม่ให้ความสำคัญเลย

ระบบราชการ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการส่งออก และ อีก หลายๆ ธุรกิจหน่วยงานต่างๆ มีการทำงานซ้ำซ้อนกัน ซึ่งอันที่จริงแล้ว โครงสร้างของระบบราชการก็ได้มีการ กำหนดไว้ดีแล้ว แต่ก็ไปผิดพลาดที่การปฏิบัติอีก เพราะต่างคนต่างพยายามสร้างผลงานให้โดดเด่น ในสายตา ของผู้บังคับบัญชา หรือแม้กระทั่งนักการเมือง จนลืมนึกถึงประชาชน แต่ ก็มีข้าราชการระดับกลาง และ ระดับล่างที่มีแนวความคิดที่ดี ๆ แต่ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้แสดงฝีมือเนื่องจากติดที่ระบบราชการที่ยังเป็นระบบศักดินา ผสมกับระบบอุปถัมภ์อยู่ตราบใดที่ผู้ใหญ่ในภาครัฐยังไม่ยอมรับความจริงเหล่านี้ ปัญหาของชาติไทยคงมีแต่การสูญเสียไปอย่างต่อเนื่อง

1.2 ผลกระทบต่อสังคมไทย

1) ในแง่ของปัจเจกบุคคล คนไทยย่อมประสบกับความไม่เชื่อมั่นในสถานะของประเทศ ไม่ไว้ใจในข้าราชการและนักการเมือง ในการบริหารของคณะรัฐบาลและความมั่นคงของประเทศ

2) ในแง่ของสังคม มุมมองโดยรวมของสังคมไทยย่อมไม่เป็นที่ไว้วางใจของชาวต่างชาติเท่าที่ควร ความเชื่อมั่นในรัฐบาลโดยรวมก็ลดลงตามลำดับ

3) ในแง่ของเศรษฐกิจ การบริหารด้านนโยบายของรัฐบาลเป็นผลโดยตรงด้านเศรษฐกิจของประเทศ หากรัฐบาลวางแนวนโยบายผิดพลาด ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล ย่อมเกิดเป็นวิกฤติเศรษฐกิจตามมาอย่างแน่นอน

4) ในแง่ของศาสนา ปัจจุบันกำลังเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างศาสนา อันเกิดจากการพยายามแทรกแซงกิจการพระพุทธศาสนา และพยายามลบล้างความเป็นพุทธศาสนาในหน่วยงานนั้นๆ ที่นักการเมืองบางคนเป็นรัฐมนตรี ดังที่เป็นข่าวในปัจจุบัน

1.3 พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาทางการเมือง

1) พระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงอธิปไตย ไว้ถึง 3 แบบ คือ อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธรรมาธิปไตย โดยประการหลัง ธรรมาธิปไตยปกครองโดยเน้นธรรมะเป็นใหญ่ ให้ผู้นำมีธรรมะ (มุขบุรุษที่ดี) และประชาชนมีธรรมะ (สัมมาชน) พระสุตตันตปิฎก เล่ม 20 หน้า 186 , เล่ม 11 หน้า 231

2) พระพุทธศาสนา เน้นเสรีภาพทางจิต เป็นศาสนาแรกที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน มีสิทธิพิจารณาคัดเลือกผู้นำ มีสิทธิในด้านต่างอันไม่ก่อความเดือดร้อนสู่ตนเองและผู้อื่น

3) พระพุทธศาสนา สอนให้รู้จักความพอดีในการปฏิบัติตน และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยปัญญา ในการดำเนินตามอริยสัจ 4 นักการเมืองควรนำไปปรับใช้ตามเหตุสถานการณ์นั้นๆ

4) พระพุทธศาสนา สอนให้รู้จักความสุจริต ในการปฏิบัติตนสมควรแก่หน้าที่ รู้กาล รู้เวลา รู้หน้าที่ของตน

ปัญหาความยัดแย้งทางการเมือง ความยัดแย้งทางการเมืองที่เป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่งนั้นอาจจะมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น ผลประโยชน์ขัดกัน ความคิดเห็นไม่ตรงกัน การขาดอุดมคติทางการเมืองที่แน่นอน เป็นต้น ในการแก้ปัญหานี้ ตามทัศนะของพุทธศาสนาแล้ว นักการเมืองจะต้องมีธรรมะสำหรับนักบริหาร นักปกครองซึ่งพระพุทธองค์ได้แสดงว่า เป็นคุณสมบัติของนักปกครองหรือผู้บริหารปรากฏในพระคัมภีร์ศาสนาหลายแห่งด้วยกัน แต่ในที่นี้จะขอนำมากล่าวเฉพาะที่ท่านได้แสดงไว้ใน อรรถกถาอัฏฐกนิบาตอังคุตตรนิกาย มีใจความว่าผู้ปกครองหรือนักบริหารนั้นจะต้องทำนุบำรุงประชาราษฏร์ด้วยหลักธรรมที่เรียกว่าราชสังคหวัตถุ 5 ประการ คือ

1. สัสสเมธะ ฉลาดสามารถในการบำรุงเกษตรกรรมและกสิกรรมเป็นต้น อันเป็นธัญญาหารให้เกิดผลผลิตที่ดี มีการส่งเสริมการเกษตรและกสิกรรมให้อุดมสมบูรณ์ อันจะเป็นประโยชน์พื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจ

2. ปุริสเมธะ ฉลาดสามารถในการบำรุงคน ส่งเสริมคัดเลือกคนมาทำงานให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของเขาและการงานที่จะทำนั้น ๆ พร้อมทั้งจัดสวัสดิการให้ดี เป็นต้น

3. สัมมาปาสะ ผูกประสานสงเคราะห์ประชาชนพลเมืองบ่วงคล้องใจคน คือการดูแลสุขทุกข์ของประชาชน ส่งเสริมอาชีพ เช่น จัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในทางพาณิชยกรรมหรือดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความเลื่อมล้ำหรือช่องว่างจนแตกแยกกัน ซึ่งเป็นการทำให้จิตใจของประชาชนเลื่อมใสในผู้ปกครอง

4. วาชเปยยะ พูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวานดูดดื่มใจ รู้จักพูดรู้จักชี้แจงแนะนำ รู้จักทักทายถามไถ่ทุกข์สุขของประชาชนทุกชั้น ด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดี ด้วยถ้อยคำที่ประกอบด้วยเหตุผล ที่เป็นหลักฐานมีประโยชน์ เป็นทางแห่งการสร้างสรรค์แก้ไขปัญหาเสริมความสามัคคีทำให้เกิดความเข้าใจดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ

5. นิรัคคฬะ บริหารประเทศชาติให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยป้องกันและบำราบโจรผู้ร้าย ให้ประชาชนนอนตาหลับ โดยยึดหลักการที่ว่า "ความสุขของประชาชนคือยอดปรารถนาของตน" และในทีฆนิกายปาฏิกวรรคก็ได้แสดงไว้ว่า ผู้บริหารหรือนักปกครองที่ดีนั้น เมื่อปฏิบัติหน้าที่ พึงเว้นความลำเอียง (อคติ) หรือความประพฤติที่คลาดเคลื่อนจากธรรม 4 ประการ

1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ

2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง

3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา

4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะขลาดกลัว

นอกจากนี้ มีความประพฤติดีเป็นแบบฉบับในการดำรงชีวิตของนักปกครองเพราะการปกครองที่ดีคือ การให้แบบอย่างที่ดี ความตรงความคดของนักปกครองมีอิทธิพลต่อความประพฤติของประชาชน ความซื่อตรงของประชาชน ขึ้นอยู่กับความซื่อตรงของนักปกครอง การแก้ความคดของส่วนใหญ่จึงต้องเริ่มมาจากฝ่ายปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 ประเภทนี้ พระพุทธเจ้าตรัสยกตัวอย่างไว้ในโพธิราชชาดก ขุททกนิกายว่า

"เมื่อฝูงโคกำลังข้ามแม่น้ำ ถ้าโคจ่าฝูงไปคด โคนอกนั้นก็คดตาม ในหมู่มนุษย์ก็เช่นเดียวกันถ้าผู้ได้รับสมมติให้เป็นหัวหน้าเป็นผู้ปกครองไม่เป็นธรรม คนนอกนั้นก็ประพฤติไม่เป็นธรรม ดังนั้นเมื่อผู้ปกครองประพฤติไม่เป็นธรรม ชาวเมืองก็พลอยทุกข์กันไปทั่ว โดยนัยตรงกันข้าม เมื่อผู้ปกครองทรงไว้ซึ่งธรรม ชาวเมืองก็เป็นสุขกันไปทั่ว"



2. วิกฤติด้านเศรษฐกิจ

คนเราเมื่อเกิดมาแล้ว จะสามารถดำเนินชีวิตประจำวันไปได้อย่างมีความสุขความเจริญ ตลอดทั้งประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิต จำเป็นต้องอาศัยเครื่องอุปโภคบริโภคนานาชนิดอย่างน้อยก็ต้องอาศัยปัจจัยสี่ คือ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคและก็ต้องมีอย่างเพียงพอที่เรียกว่า อยู่ดีกินดีถ้าแต่ละคนมีการอยู่ดีกินดี ก็ย่อมจะทำให้สังคมมีความมั่นคง แต่ถ้าแต่ละคนซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมส่วนใหญ่มีความเดือนร้อนในเรื่องการกินดีอยู่ดี ก็ย่อมจะเป็นสาเหตุนำความอ่อนแอมาสู่สังคม สังคมย่อมมีแต่ความเดือดร้อน เป็นหนี้เป็นสินกันมาก มีการทำผิดกฏหมายบ้านเมืองมีโจรผู้ร้ายมากขึ้นปรากฎการณ์ทางสังคมเช่นนี้ สาเหตุที่แท้จริงก็เนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจ อันเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งในชีวิตประจำวันของมวลมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ต้องดิ้นรนในแต่ละวันก็ไม่ใช่อื่นไกลก็เพื่อปากเพื่อท้องที่เรียกว่า ทำมาหากินนั่งเอง

2.1 ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

1) ปัญหาการตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ได้ มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่เผชิญกับปัญหานี้ บางคนแม้มีหน้าที่การงานทำแล้ว บางคนจบการศึกษาเป็นผู้ใหญ่แล้ว บางคนถึงกับแต่งงานแล้ว บางคนมีงานทำได้รับเงินเดือนมากพอสมควรแต่ก็ไม่สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวในทางเศรษฐกิจได้ บางคนแม้มีอายุมากถึงวัยกลางคนแล้ว หรือบางคนแม้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวยแต่ก็ยังไม่สามารถยืนอยู่ด้วยลำแข้งของตนเองในทางเศรษฐกิจได้ และบางคนเคยมีฐานะทางเศรษฐกิจอย่างไร แม้กาลเวลาจะล่วงเลยไปหลายปีก็ตาม ก็ยังคงสภาพฐานะเดิม ไม่สามารถยกฐานะทางเศรษฐกิจของตนให้สูงขึ้นกว่าเดิมได้ บุคคลต่าง ๆ ดังที่ได้ยกตัวอย่างมานี้เป็นผู้เผชิญกับปัญหาการตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ได้ทั้ง ๆ ที่สภาพแวดล้อมภายนอกและตัวเองก็สูงวัยพอสมควร น่าจะประสบความสำเร็จมากกว่านี้ ปัญหาการตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ได้น่าจะลดน้อยถอยลงมากกว่านี้ แม้มีครอบครัวแล้วก็ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่ หรือโตแล้วก็เหมือนไม่โต ชนิดที่เลี้ยงไม่รู้จักโต สำหรับปัญหาดังกล่าว ได้มีหลักคำสอนในทางพุทธศาสนา ซึ่งเป็นธรรมะเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจส่วนบุคคลและครอบครัวถ้าได้นำเอาไปเป็นแนวทางแห่งการประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังและจริงใจในชีวิตประจำวันแล้ว ก็เชื่อได้ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ได้อย่างแน่นอน หลักธรรมดังกล่าว มีดังนี้

2) ปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญมากเป็นปัญหาหนึ่งก็คือ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน คนรวยก็รวยเหลือเกิน ส่วนคนจนก็จนมากเหลือเกิน หรือคนร่ำรวยมีจำนวนน้อยแต่มีรายได้มาก ขณะเดียวกัน คนจนมีจำนวนมากและมีรายได้ต่ำมาก เมื่อความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมีเช่นนี้ ก็ย่อมทำให้คนจนมีความเดือนร้อนเป็นทุกข์และก็มีโอกาสที่จะยากจนมากยิ่งขึ้น เมื่ออยากจะทำอะไรก็มักจะติดขัดกลายเป็นอุปสรรคเป็นปัญหาไปเสียหมด และโอกาสที่จะต้องกู้หนี้ยืมสิ้นก็มีมากขึ้น ความยากจนก็ดี การกู้หนี้ยืมสินก็ดี ล้วนแต่เป็นสาเหตุแห่งความเดือดร้อนทั้งสิ้น

3) ความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ในการทำงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งของกลาง คือ เงินไวจับจ่ายใช้สอยบำบัดทุกข์บำรุงสุข เมื่อมีงานทำ ก็ย่อมจะได้เงินเป็นค่าตอบแทน ดังคำขวัญที่ว่า "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" ก็ย่อมมีผู้ที่เป็นเจ้าของงานในฐานะนายจ้าง และผู้ทำงานในฐานะลูกจ้าง นานจ้างกับลูกจ้างนี้ ก็มักจะมีปัญหาขัดแย้งกันอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุความขัดแย้งอาจมีมากมายหลายอย่าง เช่น ลูกจ้างไม่สนใจและรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานเท่าที่ควร ขาดประสิทธิภาพในการทำงานหรือมีผลงานออกมาไม่เป็นที่พอใจของนายจ้าง ส่วนนายจ้างก็อาจจะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน นายจ้างใช้วิธีปกครองลูกจ้างไม่เป็นธรรม หรือไม่เข้าใจชีวิตจิตใจของลูกจ้างที่ต้องการเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้างเนื่องจากค่าจ้างต่ำไม่เพียงพอต่อการครองชีพและนายจ้างไม่ยอมขึ้นให้เล่านี้ เป็นต้น ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นสังเกตได้ว่าความขัดแย้งต่าง ๆ ถ้าฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งมักเสีย เช่น ถ้านายจ้างขึ้นค่าแรงค่าจ้างแก่ลูกจ้างนายจ้างก็จะรู้ว่า เป็นการเสีย เพราะต้นทุนสูงขึ้น เป็นต้น แต่ความขัดแย้งส่วนมากเกิดขึ้นเนื่องจากลูกจ้างรู้สึกว่า ถูกนายจ้างเอาเปรียบหรือปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ลูกจ้างจึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อเรียกร้องสิ่งที่ลูกจ้างต้องการทำให้เกิดสมาคมลูกจ้างและการนัดหยุดงาน เป็นต้น เพื่อให้มีกำลังต่อรองกับนายจ้างในการเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ ที่ตนต้องการ มีการรวมกำลังลูกจ้างเพื่อเจรจาต่อรองกับนายจ้างและใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น นัดหยุดงานก็เพื่อให้เกิดอำนาจการเจรจาต่อรอง กล่าวคือ ถ้าอำนาจการเจรจาต่อรองของฝ่ายใดมากว่าก็จะมีสิทธิมีเสียงมากกว่าในการเจรจา ด้วยเหตุนี้ ความขัดแย้งจึงมักจะเกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะในการอุตสาหกรรมและสาขาอื่น ๆ นอกจาการเกษตร การหยุดงาน หรือการทำลายซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุการณ์ธรรมดา ในระบบเศรษฐกิจ เป็นการทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรมนุษย์ ตลอดทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไปอย่างน่าเสียดายเมื่อมีการหยุดงาน

4) ปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุม โจรผู้ร้ายปล้นทรัพย์สินของผู้อื่น นอกจากเป็นผู้ทำผิดกฎหมายบ้านเมืองเป็นอาชญากรนำความเดือนร้อนมาสู่สังคมแล้วยังเป็นผู้ประพฤติผิดศีลธรรมและทำลายเศรษฐกิจของชาติอีกด้วย เพราะเป็นผู้เบียดเบียนเจ้าทรัพย์และถ่วงความเจริญ คือ นอกจากตัวเองจะไม่ประกอบสัมมาอาชีวะแล้วยังขัดขวางผู้อื่นซึ่งทำการประกอบสัมมาอาชีวะเพื่อประโยชน์และความเจริญของบ้านเมืองการแก้ปัญหาโจรผู้ร้าย จะต้องแก้ให้ถูกจุดและผู้ที่จะแก้ไขได้ดี ได้แก่ผู้เป็นหัวหน้าฝูงชนผู้ปกครองหรือผู้บริหารบ้านเมืองโดยจะต้องแก้ไขที่ปัญหาเศรษฐกิจ

2.2 ผลกระทบต่อสังคมไทย

1) ในแง่ของปัจเจกบุคคล คนไทยย่อมกินอยู่อย่างแร้นแค้นอดอยาก ไม่สามารถตั้งตนได้ เป็นต้นไม่สามารถจะกระทำอะไรตามที่ต้องการ

2) ในแง่ของสังคม ย่อมก่อให้เกิดช่องว่างเหลื่อมล้ำกันระหว่างคนรวยกับคนจนเป็นภาระของสังคมที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ ก่อให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาประเทศ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความไม่มั่นคงทางสังคม ก่อให้เกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาเช่น ปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น

3) ในแง่ของการเมือง เศรษฐกิจของชาติย่อมเป็นตัววัดคุณภาพของประเทศ คุณภาพของนักปกครอง คุณภาพของประชาชน และการให้ความเชื่อมั่นระหว่างประเทศ





2.3 พุทธศาสนากับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า จุดประสงค์ของเศรษฐกิจนั้น ก็เพื่อบำบัดหรือสนองความต้องการของมนุษย์ให้เกิดความมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ หรือจะกล่าวอย่างง่าย ๆ ก็เพื่อให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดี หรือมีมาตรฐานในการครองชีพสูงขึ้น ในทางเศรษฐกิจถือว่า ยิ่งมีการอยู่ดีกินดีด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคมากเพียงใด ชีวิตย่อมมีความสุขและสะดวกสบายมากเพียงนั้น และเชื่อว่า เมื่อมีสินค้า และมีการบริการที่ผลิตได้ให้แก่ประชาชนโดยทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ประชาชนก็จะมีความสุขและความเป็นอยู่ดีขึ้น ความสุขดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่าเป็นความสุขในด้านวัตถุ จะกล่าวว่าความมุ่งหมายของเศรษฐกิจก็เพื่อจะสร้างความสุขใจด้านวัตถุให้แก่มนุษย์นั่นเอง ก็ย่อมเป็นการถูกต้อง พุทธศาสนาก็มีความมุ่งหมายที่จะสร้างความสุขให้แก่มนุษย์เช่นเดียวกัน แต่พุทธศาสนาแบ่งความสุขออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ โลกิยสุข และโกุตตรสุข โลกิยสุข เป็นความสุขของปุถุชนหรือฆราวาสผู้ครองเรือน เป็นความสุขที่พัวพันกับทรัพย์สมบัติและวัตถุกามต่าง ๆ เป็นประเภทอามิสสุข คือสุขที่เจือด้วยอามิสสิ่งของ ความสุขทางเศรษฐกิจก็จัดอยู่ในความสุขประเภทนี้ เพราะเป็นความสุขของการแสดวงหาและได้สิ่งของมาบำบัดความต้องการ ส่วนโลกุตตรสุขเป็นความสุขของผู้สิ้นกิเลสาสวะ และสำเร็จอรหัตผลแล้ว เป็นความสุขที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน ไม่พัวพันอยู่กับวัตถุกามหรืออารมณ์กามใด ๆ เป็นประเภทนิรามิสสุข หรือสุขไม่เจือด้วยอามิส ซึ่งเป็นควาสุขที่เกิดขึ้นได้จากการบรรเทาความต้องการหรือทะยานอยากเสียได้ เป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากากรให้เสียสละ จะกล่าวว่าเป็นหลักเศรษฐกิจชั้นสูงในทางพุทธศาสนาก็ได้

2.3.1 หลักของการพออยู่พอกินในพระพุทธศาสนา

1) ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน หรือหลักสร้างความสำเร็จทันตาเห็น บางทีท่านเรียกว่า หัวใจเศรษฐี (อุ.อา.กะ.สะ.) อันเป็นคำสอนให้ตั้งเนื้อตั้งตัวได้ในทางเศรษฐกิจ 4 ประการ คือ

(1) ต้องมีความหมั่น คือ มีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ประกอบอาชีพอันสุจริต รู้จักใช้ปัญญาความสามารถจัดการดำเนินการไปให้ได้ผลดี ซึ่งเป็นทางให้ได้ทรัพย์ ข้อนี้ตรงกับหลักเศรษฐกิจข้อแรกคือ Production หลักผลิตกรรม

2) ต้องการรักษา คือ ต้องรู้จักเก็บคุ้มครองทรัพย์ หน้าที่การงานและผลงานที่ตนได้มาหรือได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียรนั้น ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสียโดยเฉพาะ ถ้าเป็นทรัพย์ ก็ต้องยิ่งรู้จักเก็บออม ข้อนี้ตรงกับหลัก Saving หลักเก็บออม

3) ต้องเลือกคบคนดีเป็นเพื่อน คือ เลือกคบแต่สุหทมิตร ได้แก่ มิตรแท้ เพื่อนจริง ที่มีอุปการคุณ สมานสุขทุกข์ แนะนำประโยชน์ให้และมีความรักใคร่จริงใจ ถ้าดำเนินธุรกิจเป็นบริษัทหรือสหกรณ์ ก็จำเป็นต้องเลือกสมาชิกที่ดี ตรงกับหลัก Cooperation หลักสหกรณ์

4) ต้องมีความเป็นอยู่เหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย เลี้ยงชีวิตแต่พอดีมิให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือย ตรงกับหลัก Household Budget งบประมาณประจำบ้านหรือการวางแผนการใช้จ่ายประจำครอบครัว นั่นเอง





2.3.2 การเว้นจากอบายมุข (เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์) 4 ประการ คือ

1) จากความเป็นนักเลงหญิงนักเที่ยวผู้หญิง (แม้แต่นักเลงชาย)

2) เว้นจากความเป็นนักเลงสุรานักดื่มนักเสพยาเสพติดประเภทต่าง ๆ

3) เว้นจากความเป็นนักเลงเล่นการพนัน

4) เว้นจากการคบคนชั่วเป็นมิตรสหาย

2.3.3 ต้องดำเนินตามกุลจิรัฏฐิติ เหตุที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่งดำรงอยู่ได้นาน 4 ประการ คือ

1) ของหาย รู้จักเสาะแสวงหาคืนมา

2) ของเก่าของชำรุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม

3) รู้จักประมาณความพอดีในการกินการใช้

4) พ่อบ้านแม่บ้านเป็นผู้มีศีลธรรม

เพียงเท่านี้ ก็สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจส่วนบุคคลหรือครอบครัวได้ เมื่อแก้ที่บุคคลหรือครอบครัวได้ ก็ชื่อว่าแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศชาติได้

2.3.4 หลักกตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณตนหรือรู้จักความพอดีในการแสวงหาทรัพย์ในทางที่ชอบไม่โลภมากจนเกินไป และเมื่อหามาได้แล้วก็ต้องรู้จักประมาณในการใช้จ่ายด้วยต้องไม่ให้ฟุ่มเฟือยจนเกินไป และต้องมีอัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักตนเอง คือ ต้องรู้ตัวอยู่เสมอว่าเรามีชาติตระกูลยศตำแหน่ง หน้าที่การงานความรู้ความสามารถแค่ไหนเพียงไร แล้วต้องประพฤติตนให้สมกับภาวะนั้น ๆ อย่าหลงตัวเอง อย่าลืมตัวเองเป็นเด็ดขาด เช่น เป็นนายจ้างจะต้องเอาใจใส่ดูแลในเรื่องค่าจ้างที่เป็นธรรมรวมทั้งสวัสดิการอื่น ๆ พระพุทธเจ้าได้ทรงวางวิธีที่นายจ้างจะพึงปฏิบัติต่อลูกจ้างไว้ 5 ประการ คือ

(1) จัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง เพศ วัย ความสามารถ

(2) ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่

(3) ให้สวัสดิการมีช่วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้ เป็นต้น

(4) มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้

(5) ปล่อยในสมัย คือ เลิกงานตามเวลา และให้โอกาสพักผ่อนรื่นเริงตามสมควร

การค้าขายเป็นอาชีพที่ยอมรับกันว่า เป็นอาชีพของพลเมืองดีประเภทหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงลักษณะของพ่อค้า ที่อาจสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ตนได้ว่า ต้องประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ

1) จักขุมา มีหูตาไว้กว้างขวาง สามารถจำแนกต้นทุน กำไร สินค้าต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีว่า สินค้าชนิดนี้ซื้อมาราคาเท่านี้ ขายราคาเท่านี้จะได้กำไรเท่าไร เป็นต้น

2) วิธูโร มีความชำนิชำนาญในการค้าเข้าใจในการซื้อสินค้าเข้า จำหน่ายสินค้าออก รอบรู้การตลาดอำนาจการซื้อของลูกค้า เป็นต้น ไม่ทำให้สินค้าของตนตกค้าง

4) นิสสยสัมปันโน เป็นคนมีหัวใจในทางการค้า และมีแหล่งเงินต่าง ๆ ให้การสนับสนุน เช่น คุ้นเคยกับเศรษฐีคฤหบดี นายธนาคารให้ความเชื่อถือ สนับสนุนในด้านทุนดำเนินการ เป็นต้น

2.4 หลักพุทธธรรมสำคัญ ที่ควรจะนำมาประยุกต์ได้กับลักษณะทั่วไปเศรษฐศาสตร ์

1) เน้นการพึ่งตนเอง : ความหมายในทางพุทธธรรมคือ ความสามารถในการพัฒนาตนเองด้วยการพิจารณาอย่างแยบคาย เห็นความเป็นจริงของความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ขณะที่ความหมายที่มักเข้าใจกันในทางเศรษฐศาสตร์คือ

2) เน้นการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท : เป็นข้อที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดทั้งในแง่ความหมายทางธรรม และยังนำมาประยุกต์กับเศรษฐกิจได้

3) เน้นอหิงสา หรือการละเว้นจากการสร้างเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความรุนแรง : ประโยชน์ข้อนี้ ก่อให้เกิดความร่วมมือกันแทนที่จะเป็นการแข่งขัน ซึ่งมีทางเป็นได้ และเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย แต่สิ่งที่ต้องขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิงคือ ความโลภ

4) เน้นการดำเนินชีวิต และประกอบอาชีพการงานที่เป็นประโยชน์ สุจริต มีมานะอดทน สัมมาอาชีวะ : ข้อนี้จะเน้นการผลิต-ไม่ผลิต การบริโภค-ไม่บริโภค ในลักษณะที่ไม่เป็นผลดีแก่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เป็นการปฏิบัติธรรมหรือหน้าที่ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตส่วนหนึ่ง

5) เน้นการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น : ข้อนี้ถือเป็นหัวใจของพุทธธรรม ในการดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลางมุ่งเน้นสันติสุข ท่ามกลางในทางเศรษฐกิจ ที่ต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก ถ้าหันมาร่วมมือกันสังคมก็จะได้รับประโยชน์มหาศาล

6) พยายามละกิเลสและความโลภ : ความโลภนำไปสู่พฤติกรรมที่เน้นการเสี่ยง ที่มีผลกระทบต่อความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นสาเหตุสำคัญ ที่อาจจะนำความเสียหายในทางเศรษฐกิจมาสู่ตนเองและสังคม

7) การเน้นความซื่อสัตย์ สุจริต มีความละอาย และเกรงกลัวการกระทำความผิด : เน้นการมีจิตใจเป็นกุศลมีเจตนาหรือความตั้งใจดีต่อผู้อื่น จิตที่บริสุทธิ์ย่อมนำมาซึ่งจิตที่สงบและมีสติมั่นคง นำไปสู่ปัญญาและความพ้นทุกข ์

เหล่านี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการนำเอาพุทธเศรษฐศาสตร์ ที่ได้จากพุทธธรรมไปประยุกต์ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน แต่ถ้าหากทำได้ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันจะเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมต่อไป



3. วิกฤติด้านสังคม

สภาพของสังคมไทยปัจจุบัน นับวันยิ่งเลวร้ายลงทุกที ตลอดทั้งปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และจริยธรรม ในด้านการสรรค์สร้างคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคมก็หาได้ยากมากผิดกับเมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว การปฏิบัติตนของคนในสังคมปัจจุบันมีแต่สภาพของความเห็นแก่ตัวเอาแต่ได้ ไม่มีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อกัน โดยเฉพาะสังคมในกรุงเทพฯ สังคมไทยเป็นสังคมของพระพุทธศาสนา แต่การอบรมสั่งสอนเยาวชนของชาติในด้านจริยธรรมลดน้อยลงหรืออาจจะหายไปในบ้างที่ เช่น ในรั้วมหาวิทยาลัย เมืองไทย ในอดีตเคยได้ชื่อว่าเมืองแห่งพระพุทธศาสนา เป็นสยามเมืองยิ้ม ประชาชนหน้าตาเบิกบาน ไม่เคร่งเครียดเหมือนในปัจจุบันที่รัฐบาลประกาศว่า ประชาชนยากจนข้นแค้น นายทุนข่มเหงคนจนข่มผู้ใช้แรงงาน มองดูสภาพสังคมที่เดือนร้อนอยู่ทุกวันนี้ เป็นอย่างไร ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น มีคนเข้าใจหรือยึดมั่นในพระพุทธศาสนามากน้อยแค่ไหน สภาพจริยธรรมศีลธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน จึงอับก็ว่าได้ ไม่ว่าสังคมจะมีสภาพทางสังคมมากน้อยเพียงใด แต่ในทุกสถาบันก็มีปัญหาด้วยกันแทบทั้งสิ้น

3.1 ปัญหาของสังคม

1) ปัญหาความแตกร้าวในครอบครัว ครอบครัวนับว่าเป็นสถาบันมูลฐานของสังคม สมาชิกของสังคมทุกคน ก็ถือกำเนิดเกิดก่อจากแต่ละครอบครัวนั่นเอง และเป็นสภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวคนมากที่สุดถ้าสัมพันธ์ภาพ หรือสภาพครอบครัวที่ดี ไม่พิการ หรือแตกร้าวปัญหาทางสังคมอื่นๆ เช่น การหย่าร้างคนจรนัด หรือโสเภณี ศีลธรรมเสื่อม เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่จะมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวมจะไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นปัญหาความแตกรัวในครอบครัว จึงนับว่าเป็นปัญหาสังคมทีสำคัญมากที่จะต้องได้รับการแก้ไขอีกหลาย ๆ ฝ่าย โดยรวดเร็วและถูก จึงนับว่าเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญมากที่จะต้องรับการแก้ไขจากหาย ๆ ฝ่าย โดยรวดเร็วและถูกต้องเพื่อผลประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกับของครอบครัวและสังคมโดยส่วนรวม

2) ปัญหาอาชญากรรมและทุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำวันในชีวิต คือความเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นอาจจะเกิดมาจากหลายสาเหตุหลายประการ เช่น สันดานเป็นอาชญากร ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

3. ปัญหาศีลธรรมเสื่อม ปัญหาข้อนี้จุดสำคัญที่ตัวเองของบุคคลแต่ละบุคคล เพราะตัวเองแต่ละคนมักจะวางเฉยต่อศีลธรรมดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ที่ประพฤติผู้ที่ประพฤติทุจริต เช่น พวกขโมยก็ไม่อยากให้ใครมาขโมยพวกตนต่อไป พ่อค้าที่ขูดเลือดขูดเนื้อประชาชนก็ไม่อยากจะให้ข้าราชการมาใช้อำนาจนอกหน้าที่ขูดรีดเนื้อตน สามีที่ตบตีภรรยาได้ทุกวัน ๆ มีเพื่อบ้านมาระรานกัน ข้าราชการไม่มีความปราณี เจ้าที่ไม่ยุติธรรม นี้เป็นความจริงซึ่งสามารถพิจารณาเห็นได้ในสังคมทุกวันนี้

4. ปัญหาโสเภณี ปัญหาโสเภณีนับว่าเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญปัญหาหนึ่งในสังคมอารยะทุกสังคม

ล้วนมีหญิงโสเภณีเหมือนกันหมดสิ้น จึงกล่าวได้ว่าหญิงโสเภณีเป็นผลิตผลทางสังคมและก็กลายเป็นปัญหาสังคม เหตุที่หญิงโสเภณีมักอ้างในเมื่อถูกซักถามถึงเหตุที่ต้องมาเลี้ยงชีพแบบนี้ คือ

ก) ชีวิตทางครอบครัว มีสภาพไม่มั่นคง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะพ่อแม่ไม่รับผิดชอบเต็มที่ หรืออาจเกิดขึ้นจากความเสื่อมโทรมทางจิตใจก็ได้

ข) ชีวิตการแต่งงานไม่ราบรื่น เมื่อหย่าร้างกับสามี ต้องเลี้ยงตนเอง เมื่อไม่รู้ว่าจะหาวิธีใดเลี้ยงชีพจึงต้องหากินทางนี้

ค) ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในครอบครัว ต้องทำมาหากินแบบนี้ เพราะถือว่า จะช่วยผดุงฐานะทางเศรษฐกิจของบ้านได้

ง) เหตุผลส่วนตัวบางอย่าง

จ) เพราะถูกหลอกลวงไปโดยอ้างว่า จะให้ไปทำงานรับจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่แล้วถูกบังคับให้ขายตัว เลยกลายเป็นโสเภณีไป

ฉ) เพราะปัญหาว่างงาน ก็เลยหันมาประกอบอาชีพนี้

ช) เพราะคบเพื่อนไม่ดี เลยถูกเพื่อชักชวนไปทำงานประเภทบริการอื่น ๆ ก่อน แล้วในที่สุดก็กลายเป็นบริการทางเพศ

ซ) เพราะผู้ปกครองหรือพ่อแม่บางคนยินยอมที่จะให้ไปกระกอบอาชีพเช่นนั้น เป็นต้น

สาเหตุต่าง ๆ ตามที่ยกมากล่าวพอเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้แหละ ที่ทำให้เด็กเยาวชนหรือเด็กหญิง ตัวน้อย ๆ อายุ 12-18 ต้องกลายเป็นโสเภณีที่มีชีวิตจมปลักหมักหมมอยู่ในห้วงอเวจี ไม่มีอิสระในตัวโสเภณีบางคนถูกบังคับให้ทำงานชนิดไม่ได้พักผ่อนหลับนอนเพียงพอทั้งไม่ให้ลา ไม่ให้หยุด หรือไม่ให้มาสาย จนสุขภาพร่างกายทรุดโทรม ร่างโรย ตายด้านตั้งแต่เยาว์วัย ผลตอบสนองที่สังคมได้รับจากหญิงโสเภณี จนกลายเป็นปัญหาสังคมนั้น มีหลายประการ เช่น

1) การแพร่เชื้อโรค ผู้หญิงโสเภณี เป็นผู้สำส่อนทางเพศย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งกามโรคและโอกาสที่จะแพร่เชื้อกามโรคให้แก่ผู้ชายที่ไปเที่ยวผ่อนคลายความกำหนัดได้เป็นอย่างมากและง่ายดาย เช่น โรคเริม แผลริมอ่อน ฝีมะม่วง หนองในเทียม ซิฟิลิส โดยที่สุดแม้แต่เชื้อเอดส์

2) ทำลายความมั่นคงของครอบครัวไปติดกามโรคมา ก็อาจจะนำเชื้อมาเผยแพร่ให้สมาชิกของครอบครัว แทนที่จะติดโรคคนเดียวก็กลายเป็นสองคนหรือสามคน นอกจากจะเสียเงินไปเป็นค่าบำรุงบำเรอให้โสเภณีแล้วก็ต้องนำเงินทองมาใช้จ่ายเป็นค่ายารักษาโรค เป็นจำนวนมิใช่เล็กน้อยแทนที่จะได้นำเงินนั้นไปใช้จ่ายบำรุงความสุขแก่ครอบครัว และบางทีถึงกับครอบครัวแตกสลายลงเพราะภรรยาฟ้องหย่ากับสามีในเรื่องเช่นนี้ มักมีปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง หรือบางทีก็เกิดเป็นการทะเลาะกันเกิดระหองระแหงภายในครอบครัว ขาดความไว้วางใจกันในระหว่างคู่ครอง สมาชิกของครอบครัวขาดความอบอุ่นและมีปมด้อยเป็นการทำลายบรรยากาศความสุขในครอบครัวได้ ซึ่งก็เป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานที่สุดของสังคมนั่นเอง

3) เป็นต้นเหตุทำลายศีลธรรมจรรยาอันดีงามของสตรี เพราะผู้หญิงหรือสตรีโดยทั่ว ๆ ไป จะต้องเป็นผู้มีความละอาย มีกิริยามารยาทเรียบร้อยสมเป็นกุลสตรี แต่คุณธรรมจรรยาดังกล่าวจะหาได้ยากมากในพวกผู้หญิงโสเภณี มีแต่จะเป็นที่ปรากฏโดยทั่วไปว่า หญิงพวกนี้มีความละอายน้อยขาดจรรยา มารยาที่ดีงามและมีความประพฤติชั่วช้ากักขฬะหยาบโลน

3.2 ผลกระทบกับสังคมไทย

1) ในแง่ของปัจเจกบุคคล ย่อมทำให้ประชาชนมีสุขภาพจิตเสื่อมทรามลง สุขภาพบุคลิกภาพถดถอย ขาดสติปัญญาความรอบรู้ในการแก้ไขปัญหาชีวิต เป็นต้น

2) ในแง่ของสังคมส่วนรวม สังคมขาดความสงบสุข เนื่องจาก ปัญหาดังกล่าวข้างต้น

3) ในแง่ของการเมือง บุคคลในสังคมเป็นส่วนประกอบสำคัญในสถาบันทั้งปวง ผลอันโยงใยถึงกันย่อมก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในการเมือง ไม่เป็นที่ยอมรับในสายตาของชาวโลก

4) ในแง่ของเศรษฐกิจ ย่อมเป็นปัญหาระยะยาวอันเกิดจากพฤติกรรมของบุคคลในสังคม การว่างงาน การขาดรายได้ การประกอบอาชีพไม่สุจริต คุณภาพของบุคคลในสังคมย่อมส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของสังคมด้วย

3.3 พระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาสังคม

3.3.1 ปัญหาความแตกร้าวในครอบครัว อาจจะมาจากสาเหตุหลายอย่าง เช่นสาเหตุทางเศรษฐกิจบ้าง สุขภาพอนามัยบ้าง สิ่งแวดล้อมบ้างและสาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ การบกพร่องในหน้าที่ของบุคคล ไม่คนใดก็คนหนึ่ง หรือเกิดบกพร่องพอ ๆ กัน สาเหตุเหล่านี้น่าจะเป็นบทเรียนสำหรับผู้จะมีชีวิตครอบครัว ควรจะได้พิจารณาข้อคิดบางประการก่อนจะตัดสินใจแต่งงาน กล่าวคือ

1) ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จะต้องมีความรักความเข้าใจซึ่งกันและกัน

2) จะต้องมีความมั่นคงในทางการเงิน

3) จะต้องพร้อมที่จะอดทนในการเผชิญต่อความยุ่งยากอันจะพึงมีขึ้น

4) จะต้องไม่มีปัญหาในเรื่องสถานที่อยู่หรือบ้านพัก

5) ทั้งสองฝ่ายจะต้องแสดงความจริงใจต่อกัน

6) จะต้องมีความสมบูรณ์แห่งสุขภาพและการสนองความต้องการทางเพศ ทั้งนี้เพราะปัญหาที่จะนำไปสู่การแตกร้าวในครอบครัวโดยเฉพาะการหย่าร้างอันเกิดจากทางฝ่ายสามี ทางพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ใน สังขปัตตชาดกว่ามี 8 อย่าง คือ

1) สามี เป็นคนเข็ญใจ 2) สามีเป็นขี้โรค

3) สามีเป็นคนแก่ 4) สามีเป็นคนขี้เมา

5) สามีเป็นคนโฉดเขลา 6) สามีเป็นคนเพิกเฉย

7) สามีไม่ทำมาหากิน 8) สามีหาทรัพย์มาเลี้ยงดูไม่ได้

สาเหตุจากปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นก็อาจจะแก้ได้โดยการงดจากอบายมุข (เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์) 4 ประการดังกล่าวไว้นั้น โดยเฉพาะข้อที่ 4 การเว้นจากการคบคนชั่วเป็นมิตรสหาย แล้วพยายามเลือกคบแต่เพื่อนที่ดีที่เป็นกัลยามิตร เพราะเพื่อนนั้นนับว่าเป็นสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่อิทธิพลและมีความสำคัญมาก คนทีได้ดีมีความสำเร็จในชีวิตได้นั้นก็เพราะมีเพื่อนดี หรือคบแต่เพื่อนดีนั่นเองดังที่กล่าวกันว่า "คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว" จะรู้ได้อย่างไรว่า เพื่อนดีที่จัดเป็นกัลยาณมิตรนั้น มีลักษณะอย่างไร พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดลักษณะของมิตรที่ดีและชั่วไว้มนทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคว่า ลักษณะของเพื่อนที่ดี หรือเพื่อนแท้ มี 4 ประการคือ

1) เพื่อนที่มีอุปการะ 2) เพื่อนที่ร่วมสุขร่วมทุกข์

3) เพื่อนที่แนะนำประโยชน์ 4) เพื่อนที่มีความรักใคร่

3.3.2 สาเหตุมาจากการบกพร่องในหน้าที่ อาจจะแก้ได้โดยการรักษาหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด พ่อบ้านแม่เรือนต่างก็มีหน้าที่รับผิดชอบดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ในทีฆนิกายปาฏิกวรรค ในฐานะของผู้เป็นสามี ก็ต้องทำหน้าที่ที่พึงทำต่อภรรยาดังนี้ เช่น ยกย่องให้เกียรติสมฐานะที่เป็นภรรยา ไม่แสดงอาการดูหมิ่นเหยียดหยามภรรยา ไม่เกี่ยวข้องกับสตรีอื่นในทางประเวณี เป็นต้น

ส่วนผู้เป็นภรรยา ก็ต้องทำหน้าที่ที่พึงทำเป็นการอนุเคราะห์สามีดังนี้ เช่น จัดการงานภายในบ้านในฐานะที่ตนเป็นแม่บ้านให้สะอาดเรียบร้อย สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี ไม่ประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึก ต่อความเป็นภรรยาสามี ได้แก่ การเกี่ยวข้องกับชายอื่นในทางชู้สาว หรือไม่หึงหวงจนเกิดเหตุ เป็นต้นพร้อมกันนั้นก็จะต้องนำเอาหลักธรรมสำหรับการครองเรือน คือ ฆราวาสธรรม 4 ประการ มาใช้ต่อกันในบ้านด้วย ดังนี้

1. สัจจะ ความจริงใจ คือ ซื่อสัตย์ต่อกัน ทั้งจริงใจ จริงวาจา และจริงในการกระทำ

2. ทมะ ฝึกตน คือ รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดตัดนิสัยแก้ไขข้อบกพร่องข้อขัดแย้ง ปรับตัวปรับใจเข้าหากัน

3. ขันติ อดทน คือ มีจิตใจเข้มแข็งหนักแน่น ไม่วู่ว่าม ทนต่อความล่วงล้ำกล้ำเกินกัน และร่วมกันอดทนต่อความเหนื่อยยาก ลำบากตรากตรำ ฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกัน

4. จาคะ เสียสละ คือ มีน้ำใจ สามารถเสียสละความสุขสำราญ ความพอใจ ส่วนตนเพื่อคู่ครองได้ เช่น อดหลับอดนอนพยาบาลกันในยามเจ็บไข้ เป็นต้น ตลอดจนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อญาติมิตรสหายของคู่ครองไม่ในแคบ

ฝ่ายพ่อบ้านหรือสามี ก็จะต้องเป็นผู้เห็นใจแม่บ้านหรือภรรยาเป็นกรณีพิเศษด้วย ทั้งนี้เพราะสตรีมี

ความทุกข์อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากผู้ชาย ซึ่งสามีจะต้องเข้าใจและพึงปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่เห็นอกเห็นใจด้วย เช่น ผู้หญิงต้องจากหมู่ญาติมาอยู่กับตระกูลของสามีทั้งที่เป็นเด็กสาว สามีควรให้ความอบอุ่นใจ ผู้หญิงมีระดู ซึ่งบางคราวก่อปัญหาให้เกิดความแปรปรวนทั้งจิตใจและร่างกาย ฝ่ายชายควรเข้าใจ ผู้หญิงมีครรภ์ ซึ่งยามนั้นต้องการความเอาใจใส่ บำรุงกายใจเป็นพิเศษ เป็นต้น สมาชิกครอบครัว ไม่ใช่มีแต่สามีภรรยาเท่านั้น สมาชิกที่สำคัญอีกจำพวกหนึ่งก็คือลูก ๆ ผู้ที่เป็นพ่อบ้านแม่บ้านหรือเป็นพ่อแม่จะต้องรักษาหน้าที่ของตนที่จะต้องมีต่อลูกโดยปฏิบัติหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด และยุติธรรมกับลูก ๆ ทุกคน หน้าที่ของพ่อแม่นั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสแนะเอาไว้ในทีฆนิกายปาฏิกวรรค ดังนี้ เช่น ห้ามไม่ให้ลูกทำชั่ว แนะนำให้ลูกตั้งอยู่ในความดี ให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น

3.3.3 ปัญหาอาชญากรรมและทุรกรรมต่าง ๆ สำหรับปัญหาอาชญากรรมและทุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำวันในชีวิต คือความเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นอาจจะเกิดมาจากหลายสาเหตุหลายประการ เช่น สันดานเป็นอาชญากร ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

สำหรับสาเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจและครอบครัว ได้กล่าวถึงวิธีแก้มาแล้วข้างต้น ซึ่งอาจจะนำมาใช้ในกรณีนี้ได้เช่นเดียวกัน ส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเช่น แหล่งจำหน่ายยาเสพติด เป็นต้น ถ้าจะให้ได้ผลดี ทางฝ่ายรัฐบาลหรือชนชั้นบริหารน่าจะได้จัดการแก้ไขให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ โดยรัฐบาลหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางฝ่ายบ้านเมือง อาจจะแก้ด้วยการนำเอาธรรมะไปเป็นหลักในการทำงาน เมื่อเห็นว่าสิ่งแวดล้อมใดที่ขัดกับหลักศีลธรรมและจารีตประเพณีที่ดีงาม ก็จัดการให้เป็นไปในทางดีเสีย ก็จะเป็นอุบายวิธีแก้ไขที่ได้ผลมากทางหนึ่ง

3.3.4 ปัญหาศีลธรรมเสื่อม สาเหตุแห่งศีลธรรมเสื่อมนั้น มีมากมายอาจจะมาจาส่วนตัว ส่วนครอบครัว สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ฯลฯ การแก้สาเหตุจากครอบครัว สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจนั้น ได้กล่าวไว้แล้ว แต่ในที่นี้นับว่าสำคัญมากที่สุดก็คือส่วนตัวแต่ละบุคคล จะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่การแก้ปัญหาศีลธรรมเสื่อม คือจะต้องจัดการกับตัวเราเองให้ได้อย่างน้อย 2 วิธี คือ

1) พยายามหัดหรือปลูกฝังให้เกิดความฝังใจในการรังเกียจความชั่วช้าต่าง ๆ และประทับใจในความนิยมชมชอบในคุณงามความดีทั้งในที่ลับและที่แจ้ง อาจจะโดยวิธีพิจารณาให้เห็นว่า ความชั่วเป็นตัวสกปรกเป็นของเสียของเหม็นสาบ ไม่มีใครชอบ

2) พิจารณาถึงเหตุผลในเรื่องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เทียบเคียงกันและกัน คนที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้นั้น มักจะรู้เทียบเคียงอกเขาอกเราเสมอ จะเป็นการฝึกไม่ลืมตน และยังสามารถทำตนให้เป็นที่นิยมรักใคร่ของคนทั้งหลายได้ เพราะคนที่ลืมตนนั้นเมื่อตนเองเป็นฝ่ายได้เปรียบ เป็นฝ่ายเหนือคนอื่นก็มักจะข่มขู่หรือเหยียบผู้อื่นโดยปราศจากความปรานี

3.3.5 ปัญหาโสเภณี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวิชรญาณโรรส ได้ทรงรจนาไว้ในหนังสือเบญจศีลเบญจธรรม เกี่ยวกับผู้เที่ยวซุกซนชอบคบค้ากับหญิงแพศยา (โสณี) จะประสบความเสื่อมเสียประการต่าง ๆ คือ

1) ต้องเสียทรัพย์เป็นค่าบำเรอหญิงนั้นทุกคราวไป ทรัพย์ที่เสียไปนี้ ไม่ใช่สำหรับทำอุปการะโดยฐานเมตตาที่ได้ชื่อว่าเป็นอันจ่ายด้วยดี แต่เป็นค่าปรับเพราะลุอำนาจแก่กิเลสกาม

2) หญิงแพศยาผู้ประพฤติสำส่อนในกาม ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งโรค อันทำให้ร่างกายพิการไปต่าง ๆ เสียกำลังไม่แข็งแรง ที่สุดเสียชีวิต และโรคนี้ติดต่อกันได้ มีบุตรภายหลังแต่เป็นคนมักมีโรค ไม่แข็งแรง

3) เสี่ยงต่ออันตรายต่าง ๆ เพราะหญิงแพศยา ย่อมผูกสมัครรักกับชายหลายคน ฝ่ายชายต่างคนก็จะเกิดหึงหวงเกียจกันและกันขึ้นเองเป็นฐานะที่เขาจะเกิดวิวาทกันขึ้นแล้วทำลายกัน

ตามทรรศนะทางพุทธศาสนาแล้ว การจะแก้ปัญหาอะไรก็ตามจะต้องแก้ที่ต้นเหตุ แก้กันไปให้ถึงต้นเหตุจริง ๆ น่าจะได้สาวหาต้นเหตุของการเกิดโสเภณีอย่างแท้จริง น่าจะเป็นไปได้ที่ว่า เพราะตราบใดยังมีคนไปเที่ยวโสเภณี ตราบนั้นก็ต้องมีโสเภณีแน่ และหากยิ่งมีคนไปใช้บริการนี้มาก ก็ยิ่งเกิดโสเภณีมากยิ่งขึ้นแล้วทำไมจึงมีคนถึงมีอารมณ์ทางเพศรุนแรงเพิ่มขึ้น ก็เพราะ

1) สภาพสังคมที่อยู่รอบตัวเรานั่นเองส่งเสริมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นภาพยนต์ วีดีโอ ละคร เพลง การโฆษณา การจัดประกวดนางงามธิดาต่าง ๆ การกีฬา หนังสือพิมพ์รายวัน หนังสือลามกต่าง ๆ ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ มีการเผยแพร่ยั่วยุกามราคะจัดยิ่งขึ้น ฉะนั้น ตราบใดที่การสื่อสารต่าง ๆ ยังป้อนภาพ-เสียง-สัมผัสที่เร่งเร้า ปลุกอารมณ์ทางเพศให้ระอุฮือโหมแก่ประชาชนอยู่ตลอดเวลาแล้ว ตราบนั้นปัญหาโสเภณีย่อมไม่มีวันลดน้อยลงไปได้ และโสเภณีมีแต่จะถูกเพิ่มจำนวนให้มารองรับอารมณ์กามของผู้ชายมากขึ้น พร้อมกันนั้น สื่อสารลามกต่าง ๆ ก็จะออกมาเอาใจลูกค้า กามตัณหาก็เพิ่มทวีคูณยิ่งขึ้นไปอีก

2) ตัวบุคคลแต่ละคน พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนให้รักษาศีล 5 เป็นนิจศีลสำหรับบุคคลทั่วไป มิให้ขาดมิให้ทำลาย ซึ่งในศีล 5 นั้น มีข้อที่ 3 ที่ให้มีเจตนางดเว้นจากประพฤติผิดในทางกามมีรายละเอียดดังกล่าวไว้ในบทที่ 2 ข้อที่ว่าด้วยเบญจศีลเบญจธรรม เมื่องดเว้นจากการประพฤติในกามนี้เป็นขั้นของศีล แต่จะมีธรรมควบคู่ด้วย คือ จะต้องมีกามสังวร ปติวัตร และสทารสันโดษ เพราะฉะนั้นบุคคลแต่ละคนนี้แหละที่เป็นต้นเหตุอันแท้จริงของการเกิดโสเภณีเพราะบุคคลแต่ละคนขาดธรรมคือกามสังวร ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแนะนำให้ "สังวรในกาม คือกิริยาที่ระมัดระวังไม่ประพฤติมักมากในกาม" ก็เพราะในด้านของปัจเจกชน หากไม่มีความสังวรในกามแล้วจิตใจก็จะหาความสงบมิได้ จะมีความกระวนกระวายแสวงหากามอยู่เรื่อยไป ทั้งจะวิจิตรพิศดารขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่มีขอบเขต เพราะว่าการเสพกามจะทำให้เต็มอิ่มนั้นไม่ได้ มันไม่เหมือนกับการกินข้าว ที่กินแล้วยังรู้จักอิ่ม แต่การเสพกามนี้เหมือนกับยาเสพติดอย่างหนึ่ง คือยิ่งเสพก็ยิ่งติด วิธีการที่ฉลาดกว่าในการที่จะทำให้อิ่มในกามให้เกิดขึ้นก็คือ วิธีตามแนวพุทธศาสนา คือการเสพกามให้น้อยลง น้อยลงเรื่อยๆ จนหยุดไปเอง

การจะถือหลักที่ว่า "น้ำมีไหล ไฟมีควัน ชายมีนารี สตรีมีบุรุษ" ก็เป็นธรรมดาของปุถุชน เพราะเมื่อเป็นผู้ใหญ่จบการศึกษามีหน้าที่การงานแล้วก็สามารถมีครอบครัว คือ มีสามี หรือภรรยา เป็นเพื่อนคู่ชิดมิตรคู่ใจเป็นคู่สร้างคู่สม มีความรักที่บริสุทธิ์ต่อกัน ซื่อสัตย์ต่อกันจริงใจต่อกัน เข้าใจกันและกัน อาจมีเพื่อนต่างเพศคบกัน ดูใจกัน สังเกตอุปนิสัยใจคอกันและกันก่อน และอย่าชิงสุกก่อนห่าม ถ้าจะให้ดีก็ต้องให้พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายรับรู้เห็นชอบด้วย จะได้มีหลักประกันหรือมีพยาน ชนิดที่เราเรียกกันว่า เข้าตามตรอก ออกตามประตูอย่าเข้าหลังบ้านออกทางหน้าต่าง ไม่ปลอดภัยแน่ จะต้องแน่ใจว่าเปแนความรักที่บริสุทธิ์จริงใจต่อกันให้มีสติสัมปชัญญะ อย่าให้ถึงขั้นมืดมน ดังที่กล่าวกันว่า "ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มิดมน" รักอย่างนี้มีเพื่อต่างเพศอย่างนี้มีจุดหมายที่แน่นอนเพื่อจรรโลงชีวิตคู่หรือชีวิตครอบครัวอย่างนี้ มีจุดหมายที่แน่นอน เพื่อจรรโลงชีวิตคู่หรือครอบครัวอย่างนี้ไม่มีความเสียหาย สังคมยอมรับปฏิบัติกันอยู่แล้ว



4. วิกฤติสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ

4.1 ปัญหาสิ่งแวดล้อม หมายถึงปัญหาความเสื่อมโทรมในเชิงคุณภาพและปริมาณของสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม อันมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการพัฒนา ขอบเขตของปัญหาสิ่งแวดล้อมสามารถพิจารณาได้จากความรุนแรงของปัญหา มีถึง 4 ระดับด้วยกัน คือระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่สองลักษณะด้วยกันคือ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติในรูปของการร่อยหรอหมดไปและความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ที่เรียกว่า ภาวะมลพิษ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นผลผลิตตามมาจากการที่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติต้องเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการกระทำของมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาความสูญเสียดุลยภาพของสิ่งแวดล้อมที่มีทีท่าว่าจะเลวร้ายลงทุกวัน อันจะต้องระดมความคิดและการกระทำช่วยกันแก้ไขทุกวันนี้ก็คือ

1) มลพิษทางอากาศ มาจากก๊าซหลายชนิด เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน สารไฮโดรคาร์บอนต่าง ๆ รวมทั้งอานุภาคบางชนิดและไอของตะกั่ว โรงงานอุตสาหกรรมและยวดยานพาหนะ ยิ่งหนาแน่นมากเท่าไร มลพิษในอากาศก็เพิ่มมากเท่านั้น
2) มลพิษทางน้ำ น้ำในแม่น้ำลำคลองปัจจุบันเน่าเสีย มีแนวโน้มมากขึ้น เพราะมนุษย์ได้ทิ้งขยะ สารเคมี ปุ๋ย ซากสัตว์ น้ำสกปรกจากโรงงาน ผงซักฟอก ฯลฯ มนุษย์จึงต้องเผชิญกับน้ำไม่บริสุทธิ์ที่ตนใช้ยังชีพและมนุษย์ก็ยังรู้ดีต่อไปว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตอย่างหนึ่ง และน้ำที่ตนใช้ยังชีพกำลังจะเป็นพิษขึ้นทุกที แต่มนุษย์ก็ไม่หยุดยั้งในการทำน้ำให้เป็นพิษ เพราะความละเลย ความเห็นแก่ตัว มักง่าย และความไม่เอาใจใส่ของมนุษย์นั่นเอง แม่น้ำลำคลองต่าง ๆ จึงเน่าเหม็นเป็นจำนวนมาก

3) มลพิษทางดิน การที่ดินเกิดภาวะมลพิษมีที่มาจากหลายสาเหตุ เช่น มูลของสัตว์ การใช้ปุ๋ยเกินพอดี ตะกอนของเกลือ สารเคมี โดยเฉพาะขยะมูลฝอย ถ้ากองทิ้งไว้จะเกิดการสลายตัวทำให้เกิดสารอินทรีย์และ อนินทรีย์ พอฝนตกลงมาน้ำก็จะไหลไปบริเวณข้างเคียง สารต่าง ๆ ก็ตามไปด้วย ทำให้ละแวกนั้นมีพิษไปด้วย นอกจากนี้ขยะบางอย่างก็ยากต่อการทำลายหรือทำลายเพียงบางส่วน ซึ่งถ้าทิ้งไว้ที่ใดก็มักจะคงอยู่ในสภาพเช่นนั้น ถ้าเกิดใครมักง่ายทิ้งลงตามท่อระบายน้ำ จะทำให้เกิดการอุดตัน ถ้าทิ้งบงในแม่น้ำลำคลองจะทำให้ตื้นเขินและเป็นอันตรายต่อเรือที่สัญจรไปมา สิ่งที่สบายตัวยากที่กล่าวมาเช่น พลาสติก โลหะ ฝ้าย หนัง เป็นต้น
4) มลพิษทางอุณหภูมิ โลกปัจจุบัน นับวันอากาศจะแปรปรวนไปจากเดิม เพราะมนุษย์มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นการเสริมสร้างและทำลายมนุษย์ เช่น ระเบิดไฮโดรเจน ฝนเทียม การถางป่าตัดต้นไม้ ขาดความเย็น หรือการอยู่ในเมืองอย่างแออัดไม่มีต้นไม้ทำให้ฝนไม่ตก หรือความร้อนจากอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรต่าง ๆ ตลอดจนความร้อนจากดวงอาทิตย์ เป็นต้น

กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น

1) ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ

2) ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา

3) ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย

4.2 สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม

1) การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน

2) การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้นและผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ

1) ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ

2) ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง

4.3 ผลกระทบต่อสังคมไทย

1) ในแง่ของปัจเจกบุคคล ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดโรคภัยเบียดเบียน ก่อให้เกิดความรำคาญ สภาวทางจิตเสื่อม ฯลฯ จนกลายเป็นภาระปัญหาของสังคม

2) ในแง่ของสังคม ชุมชนโดยรวมไม่เป็นที่สัปปายะในการอยู่อาศัย การดิ้นรนแสวงหาที่อยู่ใหม่จึงเกิดขึ้น การทำลายก็เพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นสภาวะลูกโซ่ สังคมจึงเสื่อมทรามขึ้น

3) ในแง่ของการเมือง วิกฤติต่างๆ ย่อมมีผลในทางไม่ดี อาจเป็นช่องทางให้นักการเมืองและข้าราชการแสวงหาผลประโยชน์ หรือปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากที่สุด ดังนั้นประเทศใดเกิดภาวะวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมย่อมตกอยู่ในสายตาของชาวโลก เป็นที่แสดงว่าผู้นำของประเทศขาดประสิทธิภาพขาดนโยบายในการบริหารที่ดี เป็นต้น

4) ในแง่ของเศรษฐกิจ เมื่อเกิดวิกฤติต่างๆ ผลจากวิกฤตินั้นๆ ย่อมไม่เป็นที่ไว้วางใจของต่างชาติ การส่งออกระหว่างประเทศจึงชะงัก ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงต้องหมุนเวียนภายในประเทศ ประชาชนจึงมีรายได้น้อยลง หรือไปหลงในอบายมุขต่างๆมากขึ้น ก็จึงเป็นสาเหตุการเกิดวิกฤติอื่นๆ ตามมา เช่น วิกฤติด้านสังคม ด้านการเมือง เป็นต้น

4.4 พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

พระสงฆ์ในฐานะเป็นองค์กรหนึ่งของสังคม ในการช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังดำเนินไปอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ควรจะได้ทำความเข้าใจเรื่องความหมาย ขอบข่าย และสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมเสียก่อนแล้วจึงแสวงหาจุดที่เหมาะสมว่า พระสงฆ์ควรจะยืนอยู่ตรงไหนจึงจะเหมาะสมกับการให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กล่าวมานี้ ล้วนมีผลกระทบแก่การดำรงอยู่ของมนุษย์ในทุกๆด้าน มนุษย์ต้องการผืนดินในการผลิตอาหารธรรมชาติ แต่ขณะนี้ดินก็หมดประสิทธิภาพในการผลิต ทุกวันนี้ต้องสร้างปุ๋ยเคมี เพิ่มความอุดมให้แก่ดินซึ่งผิดธรรมชาติที่เคยเป็นมา ยิ่งเพิ่มปุ๋ยเคมีลงไปมากเท่าไรก็เป็นการทำลายดินมากเท่านั้น คงต้องใช้เวลานานต่อการย่อยสลายผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ต่าง ๆ ที่ทับถมอยู่บนแผ่นดิน ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินก็เสื่อมคุณภาพลงไปเรื่อย ๆ กว่าความอุดมสมบูรณ์จะกลับคืนมาก็คงจะใช้เวลานานพอสมควรทีเดียว

ชีวิตมนุษย์ต้องการน้ำเพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับตาลงแต่ละวัน มนุษย์ต้องใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคประจำวัน เช่น อาบ ดื่ม ทำความสะอาดร่างกาย และสิ่งต่าง ๆ ใช้ในการผลิตผลทางการเกษตรในไร่นา ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้ในทางคมนาคม ยานพาหนะบรรทุกคน บรรทุกสิ่งของไปมา ติดต่อกันโดยไม่ต้องลงทุนอะไร ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่เมื่อเกิดมลพิษทางน้ำ ประโยชน์การใช้งานเหล่านี้ย่อมลดลงและหมดไปในที่สุด แต่ความต้องการใช้ประโยชน์จากน้ำ มิได้หมดไปด้วย เมื่อความต้องการมีมากปัจจัยตอบสนองความต้องการมีน้อย การช่วงชิงสูง ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทะเลาะกันอย่างรุนแรงได้ในยุคพุทธกาลศากยะตระกูล กับโกลิยะตระกูลอันเป็นตระกูลฝ่ายพุทธมารดาและพุทธบิดา ก็ทะเลาะกันเรื่องน้ำ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปทรงห้ามบ่อย ๆ แต่พอพระพุทธองค์มิได้ทรงห้ามก็รบกันไม่มีวันหยุดหย่อน น้ำจึงมีความสำคัญต่อชีวิตมาแก่โบราณกาล การขัดแย้งกันมีมานาน หากใช้ทรัพยากรน้ำไม่เป็น น่ากลัวว่าในอนาคตจะมีการช่วงชิงจนเกิดความแตกแยกในสังคมขึ้นมาอีกเป็นแน่แท้

อากาศและอุณหภูมิก็มีความจำเป็นต่อชีวิตไม่น้อยไปกว่าสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ และสำคัญมากเสียด้วย มนุษย์ขาดน้ำยังพออยู่ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ขาดอาหารอยู่ได้นานหลายวัน แต่ขาดอากาศบริสุทธิ์หายใจ ไม่ถึง 1 ชั่วโมงก็เสียชีวิตทันที หากไม่เสียชีวิตก็อาจจะพิการได้ หากอากาศเสียแผ่ขยายออกไปมาก ๆ ความเจ็บป่วยต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ง่าย กระทบกระเทือนสุขภาพก่อน พอนานเข้าก็เป็นอันตรายแก่ชีวิต หากอากาศเสียขยายไปอย่างรุนแรงมนุษย์อาจจะต้องตายจนสิ้นเผ่าพันธ์ก็ได้อุณหภูมิ ก็มีผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ไม่แพ้ สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ร่างกายที่ดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุขเพราะร่างกายมีอุณหภูมิสมดุลกับธาตุอื่น ๆ ในร่างกาย และอุณหภูมิในร่างกายย่อมมีความสัมพันธ์กับภายนอกอย่างใกล้ชิด หากอุณหภูมิภายนอกร้อนมากจนร่างกายไม่สามารถปรับตัวอยู่ได้ ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างแน่นอน

หากมองปัญหาตามแนวพุทธศาสนาเราก็พบว่าขณะนี้ธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม กำลังมีปัญหาซึ่งอาจจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นทุกวันจนเข้าขั้นวิกฤตขึ้นไม่วันใดก็วันหนึ่ง ชีวิตมนุษย์ตามพุทธทัศนะประกอบขึ้นมาจากธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ตามกฏของธรรมชาติ ต้องอาศัย ธาตุ 4 ที่ส่งเข้าไปสู่ร่างกายและถ่ายเทออกมาต้องบริสุทธิ์และสมดุล ร่างกายจึงจะดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข ถ้าหากเสียดุลบ้างเล็กน้อย ร่างกายก็จะแสดงปฏิกิริยาออกมาในรูปของความอ่อนแอหรือป่วยไข้ ถ้ารุนแรงชีวิตจะแตกสลายทันที หากสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในสภาพวะปกติบริสุทธิ์ สดใสตามธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์ก็พลอยพบกับความสุขสดชื่นไปด้วย แต่ถ้าเมื่อไรมีความแปรปรวนมากๆ ชีวิตมนุษย์ก็จะประสบทุกข์มากยิ่งขึ้น ภารกิจแห่งการร่วมกันเผชิญปัญหา การค้นคว้าหาสาเหตุของปัญหาและทางแก้ให้พบ ซึ่งมั่นใจว่าทางแก้มีอยู่ จึงมิใช่เป็นหน้าที่ของมนุษย์เพียงคนใด คนหนึ่ง หรือกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของทุกชีวิต เพราะมันจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความดำรงอยู่ และการล้มสลายแห่งมนุษยชาติทีเดียว

ในอดีตวิถีไทย คือวิถีแห่งธรรม เพราะธรรม คือแนวทางที่สอนให้มนุษย์สร้างดุลยภาพแห่งชีวิตระหว่างตน ชุมชนและธรรมชาติรอบ ตัวว่าควรจะดำเนินชีวิตให้สอดคล้องสมดุลอย่างไร ตามความเชื่อ ตามวิถีทางพระศาสนาของตนอย่างไร แต่ ณ ปัจจุบันนี้ธรรม นั้น ได้ผันแปร เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เมื่อมนุษย์หันหลังที่จะเข้าใจธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ อันเป็นแม่บทแห่งธรรมมากขึ้น แล้วมุ่ง หน้าตักตวงทำลาย ธรรมชาติอย่างตะกละตะกลาม เมื่อมากเข้านานเข้าก็ยากที่ธรรมชาติจะทานทนได้หรือ เพียงพอกับความโลภ อันไร้ขีดจำกัดของมนุษย์ และยิ่งเมื่อวิถีชีวิตมนุษย์ เดินทางห่างไปจากธรรมชาติ หลงใหลในเทคโนโลยีนำพา อุตสาหกรรมเข้ามา ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายดุลยภาพที่เคยสอดประสานเป็นวิถีชีวิตที่กลมกลืนกับธรรมชาติภัยแห่งผลพวงนั้นก็เริ่มลุกลามดุลยภาพแห่งชีวิตนั้นจะขาดวิถีแห่งธรรมเสียมิได้ เพราะธรรมคือกรอบคิดหลักที่วางกระบวนการดำเนินชีวิต วางความหมาย แห่ง คุณค่าให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ อันสงบและเรียบง่าย เนื่องจากปัจจุบันป่าต้นน้ำ ถูกทำลาย ถูกบุกรุกแผ้วถางมากมาย ซึ่งทั้งหมดล้วนมาจากผลกระทบของการพัฒนาอย่างไม่ยั่งยืน อันขัดกับหลัก ปฏิบัติตามวิถี ชาวพุทธที่อยู่พอเพียงและเคารพธรรมชาติ
การพยายามดึงเอาสถาบันพระศาสนา ชุมชนและประชาคมเมือง ให้มาสนใจ รับรู้และศึกษา ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับสังคม ทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม และอื่นๆ

4.5 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์ หมายถึง การเก็บรักษา สงวน ซ่อมแซม ปรับปรุงและใช้ประโยชน์ตามความต้องการอย่างมีเหตุผลต่อสิงแวดล้อม เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดคุณภาพสูงสุดในการสนองความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างถาวรต่อไป หลักการอนุรักษ์ การที่จะให้บรรลุเป้าหมาย คือ การที่จะทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้และอยู่คู่กับโลกตลอดไปนั้น มีหลักการอนุรักษ์ 7 ประการ คือ

1) ใช้อย่างฉลาด การจะใช้ ต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงผลดี ผลเสีย ความขากแคลนหรือความหายากในอนาคต อีกทั้งพิจารณาหลักเศรษฐศาสตร์ถึงต้นทุนและผลตอบแทนอย่างอย่างครบถ้วน

2) ประหยัด (เก็บ รักษา สงวน ) ของที่หายาก หมายถึง ทรัพยากรใดที่มีน้อยหรือหายาก ควรเก็บรักษาไว้มิให้สูญไป บางครั้งถ้ามีของบางชนิดที่พอจะใช้ได้ ต้องใช้อย่างประหยัด

3) ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหนือเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น (ซ่อมแซม ปรับปรุง) กล่าวคือ ทรัพยากรใดก็ตามมีสภาพล่อแหลมต่อการสูญเปล่า หรือจะหมดไปถ้าดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชา ควรหาทางปรับปรุงให้อยู่ในลักษณะที่ดีขึ้น

4) ปรับปรุงให้ดีกว่าสภาพธรรมชาติเดิม เช่น การปฏิรูปที่ดิน การปลูกพืชหมุนเวียน หลายอย่างจะทำให้ดินดีขึ้น

5) นำของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น การนำขวดน้ำพลาสติก กระดาษหรือเศษเหล็กเป็นต้นกลับมาใช้ใหม่

6) ใช้สิ่งอื่นทดแทนทรัพยากรธรรมชาติบางอย่าง เช่น ใช้แกลบขี้เลื่อยและขยะเป็นเขื้อเพลิง การใช้ปูนซิเมนต์ในการก่อสร้างแทนไม้

7) ใช้เทคโนโลยีที่เหมาสมในการพัฒนา และต้องศึกษาผลได้ผลเสียอยางรอบคอบเสียก่อน เช่น การสร้างโรงไฟฟ้า หรือเขื่อน เป็นต้น

5. ข้อเสนอแนะ

พระพุทธศาสนาสอนเรื่องสันโดษ สันโดษ ความหมายตามตัวอักษรหมายถึง "ความยินดีในของของตน" (โดยไม่แย่งชิงกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น) คำว่าสันโดยที่นำเอามาใช้เป็นภาษาไทย มาจากภาษาสันสกฤตว่า สํโตษะ คือความยินดี ความพอใจพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมาย คำว่าสันโดษว่า "ความยินดีหรือความพอใจเท่าที่ตนมีอยู่; มักน้อย" (อัปปิจฉตา) ซึ่งตรงข้ามกับมหิจฉตา ที่แปลว่า "มักมาก" ในของของผู้อื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่นคำว่า สันโดษ หากเป็นภาษาบาลี มาจากศัพท์ว่า สนฺโตสะ และมีอีกศัพท์หนึ่งว่า สนฺตุฏฺฐิ (สันตุฎฐี) ซึ่งก็หมายถึง "ยินดีด้วยของของตน" เช่นกัน จะเห็นได้ พบได้ในพระพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า "สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ" แปลตามที่ท่านแปลกันมาว่า "ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง" และอีกบทหนึ่งว่า "ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺฐพฺพํ" แปลว่า "ได้สิ่งใดพึงพอใจในสิ่งนั้น"มีข้อน่าสังเกตว่า "ตุฎฺฐพฺพํ" ที่แปลว่า "สันโดษ"แปลว่า "พอใจ" ก็ได้ ส่วนในปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (หน้า 774) มีว่า "สันโดษที่เป็นภาษาไทย มาจากภาษาบาลีว่า สนฺตุฏฺโฐ ภาษาสันสกฤตว่า สํตุษฺฎิ ก็มีความหมายเช่นเดียวกับที่ได้ยกนำมาเสนอ ตั้งแต่ตอนต้นแล้ว ในภาษาอังกฤษ คำว่า Contenment* และ Satisfaction** สำหรับContentedness ตรงกับคำว่า สันโดษ ซึ่งให้ความหมายว่า "พอใจ; สันโดษ; พอความต้องการ" ตามความหมายที่ผ่านมา คำว่า "สันโดษ" ไม่ได้แปลหรือมีความหมายว่า ไม่ให้พัฒนาตน สังคม หรือประเทศชาติ แต่ประการใด คำสอนเรื่อง "สันโดษ" เท่ากับสอนให้ "รู้จักพอ" คำว่า "สันโดษ" ทางพระพุทธศาสนามี 3 ประการ คือ

1) ยถาลาภสันโดษ ยินดีในสิ่งที่ตนได้มา โดยชอบด้วยศีลธรรมและนิติธรรม

2) ยถาพลสันโดษ ยินดีตามสมควรแก่กำลังกายและกำลังสุขภาพของตน ไม่ยินดีจนเกินกำลัง

3) ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร ตามที่เหมาะสมแก่ตน แก่ภาวะ ฐานะ และแนวทางในการดำเนินชีวิตของตน

สันโดษทั้ง 3 เป็นไปในปัจจัย 4 (สำหรับบรรพชิตคือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลาน เภสัชช์/สำหรับคฤหัสถ์ เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) จึงรวมเป็นสันโดษ 12 (3x4=12) สันโดษมีปรากฎอยู่ในพระคัมภีร์อรรถกถาและฎีกามากมาย ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง การสอนเรื่องสันโดษ เป็นการสอนมิให้มีความปรารถนามาก อยากมีมาก(มหิจฉตา) โลภมาก ในสิ่งที่ไม่ใช่สิทธิของตนอันที่จริงมีรถ 10 คัน ก็ใช้ได้ทีละคัน มีบ้าน 10 หลัง ก็นอนได้คืนละหลัง จะโลภมาก มักมาก ไปทำไมกัน คำสอนทางพระพุทธศาสนามีถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น 3 ปิฎก คือ

1) พระวินัยปิฎก 21,500 พระธรรมขันธ์

2) พระสุตตันตปิฎก 21,500 พระธรรมขันธ์

3) พระอภิธัมมปิฎก 42,000 พระธรรมขันธ์

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้ทรงสอนให้สันโดษ* เท่านั้น ยังมีคำสอนที่ให้ขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานะ) มีความเพียร (วิริยะ/วายามะ) ให้มีการเก็บรักษา (อารักขา) คบเพื่อนดี (กัลยาณมิตร) เลี้ยงชีพชอบ เลี้ยงชีพพอสมควร ไม่ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ฝืดเคืองเกินไป (สมชีวิตา) เลี้ยงชีวิต เลี้ยงครอบครัว พอเหมาะพอสม สันโดษ มิได้หมายความว่า สอนให้งอมืองอเท้า ไม่ขวนขวายศึกษาเล่าเรียน ไม่ประกอบการงานอาชีพแต่อย่างไร แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้อีกว่า ต้องมีอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)** คือคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มีคำสอนที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) เช่นจักร 4 คือธรรมะที่นำชีวิตไปสู่ความรุ่งเรือง ดุจล้อรถนำรถไปสู่ที่หมายฉะนั้น (มีปฏิรูปเทสวาส อยู่ที่ในถิ่นที่ดี สัปปุริสปัสสยะ สมาคมกับสัตบุรุษ คือคนดี อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ทำดีไว้ก่อน) จักร 4 นี้ เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "พุทธธรรม" คือธรรมอันมีอุปการะมาก (Virtues of great assistance) ช่วยให้ชีวิตประสบความก้าวหน้า เจริญงอกงามไพบูลย์ตลอดไป วุฒิธรรม 4 คือ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ 4 มี (สัปปุริสสํเสวะ คบคนดีเป็นสัตบุรุษ สัทธัมมัสสวนะ ฟังพระสัทธรรม เอาใจใส่ในการศึกษาหาความรู้ โยนิโสมนสิการ คิดหาเหตุผลโดยถูกวิธี พิจารณาในใจโดยวิธีอันแยบคาย/แยบยล ธัมมานุธัมมปฏิบัติ ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม) พระพุทธศาสนามีภาษิตว่า มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ ความรู้จักประมาณ (ความรู้จักพอ) จำปรารถนาในที่ทั้งปวง เรามีมัชฌิมา ความรู้จักประมาณ ปฏิบัติแบบสายกลาง มีอัตตัญญุตา ให้รู้จักประมาณตน
พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติ มีชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง พัฒนาสังคม ประเทศชาติให้เจริญพัฒนามีมากมายครับ เพราะฉะนั้นมองอะไรอย่ามองด้านเดียว ต้องมองอย่างขึ้นที่สูงมอง หรือต้องมองอย่างนกมอง (bird's eye view) คำว่าสันโดษนี้ อาจได้แปลว่า "พอ, ความพอ, ความรู้จักพอ" คนรู้จักพอ จึงจะเป็นคนร่ำรวย คนไม่รู้จักพอจึงเป็นคนจนอยู่ตลอดกาล คนไม่รู้จักพอ จึงเท่ากับเป็นคนมีไม่พอ พอไม่มีนั่นเอง หากบุคคลในสังคมมีคำว่าพอแล้วย่อมไม่ก่อสร้างปัญหาใดๆ ให้กับสังคม ชุมชน และประเทศชาติ



6. บทสรุปและวิเคราะห์

ปัญหาทุกปัญหาที่สังคมโลกและทุกประเทศ รวมถึงสังคมไทยกำลังเผชิญอยู่นั้น เป็นบทเรียนราคาแพงที่ทุกคนได้รับ สาเหตุที่แท้จริงของทุกปัญหานั้นมาจากเหตุเพียงเหตุเดียว คือ ความด้อยคุณภาพของประชากร ทั้งระดับครอบครัว ระดับสังคม ระดับชาติ จำนวนประชากรที่มีคุณภาพต่ำเป็นจำนวนมากในสังคมเหล่านั้น ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องทำทุกวิถีทางที่จะสร้างคุณภาพที่สูงขึ้นไปแก่ประชาชนในสังคมไทย

ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้ เช่นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ก็เกิดจากฝีมือของคนเห็นแก่ตัว หวังเพื่อประโยชน์ส่วนตนทั้งสิ้น โดยไม่มองถึงความเดือดร้อนของคนอื่น เห็นความเดือดร้อนของคนอื่นเป็นเรื่องไกลตัว แต่ถ้าคนเราแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้ มองว่ามนุษย์เท่าเทียมกัน และคนเหล่านี้ไม่เอาเปรียบกันมีจิตสำนึกดี เชื่อว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมคงจะหายไป เพราะฉนั้นคนที่เอาเปรียบคนอื่น หรือเห็นแก่ตัวควรจะมองปัญหาสังคม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เสีย แล้วปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่ตามมา จะแก้ไขปัญหาง่ายมาก เพียงแค่คนมีจิตสำนึก รู้จักคำว่า "หน้าที่ และมีวินัย " ปัญหาต่าง ๆ ก็คงไม่เป็นแบบวันนี้ และคงไม่ฝังรากจนเติบโตจนยากแก่การแก้ไข แต่ถ้าคิดจะแก้ไขก็คงไม่สายถ้าคิดจะทำ กระแสความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และอิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและบุคคลในสังคม ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และค่านิยม ควรที่ทุกฝ่ายทั้งอาณาจักรและศาสนจักรต้องประสานร่วมมือกันป้องกันแก้ไขปัญหาในระบบสังคม ค่านิยม อุดมการณ์ รวมทั้งคุณธรรม จริยธรรม และร่วมกันปลูกจิตสำนึกบุคคลในสังคมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น

การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการนำเอาหลักธรรมทางศาสนาประยุกต์เข้ากับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ควบคู่กับการสร้างคุณภาพชีวิตเยาวชนผู้เป็นประชากรใหม่ของสังคมในยุคต่อๆไป โดยสถาบันครอบครัวมีอิทธิพลต่อเยาวชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสถาบันแรกที่ให้การอบรมทางด้านจิตใจ ให้ความรัก ความอบอุ่น เอาใจใส่ดูแล ทะนุถนอม ปกครองดูแลอย่างถูกต้องแล้วก็จะสามารถให้เยาวชนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและคุณธรรมได้อย่างแน่นอน อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาให้กับสังคม ส่งผลให้สังคมมีความสงบสุข เพราะเยาวชนในวันนี้ก็คือผู้นำและพัฒนาสังคมประเทศชาติในวันข้างหน้า







***************************







- เอกสารอ้างอิง

จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร . สวัสดิการสังคมทางแก้วิกฤตสังคมไทย . กรุงเทพฯ : บริษัทฟ้าอภัย , 2540.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) . ธรรมกับการพัฒนาชีวิต . กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม , 2539.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) . พุทธวิธีแก้ปัญหา เพื่อศตวรรษที่ 21 . กรุงเทพฯ :

มูลนิธิพุทธธรรม , 2539.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) . ธรรมนูญชีวิต . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา , 2540.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) . พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

กรมการศาสนา , 2542 .

สมพร สุขเกษม , ดร . ความจริงของชีวิต . กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา , 2542 .

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ . สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ . กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์กรมศาสนา , 2530 .