วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้ "....ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้..." ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ "จิตวิญญาณ" คือ "คุณค่า" มากกว่า "มูลค่า" ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ "คุณค่า" มากกว่า "มูลค่า" มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง "คุณค่า" จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น "ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด" และขจัดความสำคัญของ "เงิน" ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ "บุคคล" กับ "ระบบ" และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า "...ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร" ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้ 1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย 2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ 3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้ การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง "บุคคล" กับ "ระบบ" การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ "คุณค่า" ให้มากกว่า "มูลค่า" ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า "...บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร ...ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด ...ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้..." การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง "คุณค่า" มากกว่า "มูลค่า" จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง "บุคคล" กับ "ระบบ" เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่ "....ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้...." ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า "....ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร...." ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง 1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป 2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง " "เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ได้แชร์ รูปภาพ ของ Tatsuya Kung หากเป็นไปได้รบกวนเพื่อนผองน้องพี่ นร.ทั้งหลาย ช่วยอ่านเรื่องนี้หน่อยครับ พูดจริงๆนะ ช่วยอ่านหน่อย อ่านให้จบนะ ---- ขอบคุณ พี่โก๊ะ- แม่พิมพ์บล๊อคพระ โก๊ะ เพาะช่าง --- อ่านจบแล้วจะแชร์ได้ก็ขอบคุณมากๆๆครับ "ก่อนแม่จะสิ้นลมหายใจ" บ้านพักคนชราที่ผมไปเยี่ยมเยืยนมาหลังวันเกิดในเดือนที่แล้ว เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ไม่ใหญ่โตนัก ที่นี่ เป็นส่วนหนึ่งของวัดเล็กๆ ที่สมภารเจ้าอาวาส อดีตนักเรียนโรงเรียนเดียวกับผม ท่านเอาเงินที่ญาติโยมศรัทธาถวายท่านมาปลูกสร้าง เพื่อให้ผู้เฒ่า ผู้ชรา ได้มาพักอาศัยยามเมื่อขาดที่พึ่งพิง มีโยมผู้หญิงวัยกลางคน ไร้ญาติและสิ่งเกาะเกี่ยวทางโลก มาบำเพ็ญธรรมโดยไม่บวชชี ท่วงท่าเจรจาพาทีดูสำรวมราบเรียบ พร้อมเด็กวัดลูกชาวบ้านแถบนั้น แวะเวียนผลัด เปลี่ยนกันเป็นผู้ดูแลผู้ชราทั้งหญิงชาย ที่ถูกทอดทิ้งรวม13 ชีวิต ค่าจ้าง คนดูแล น้ำ ไฟ เสื้อผ้ายารักษาโรค ข้าวปลาอาหาร สมภารใจดี อดีตนักเรียนช่างกล ที่รอดตายมาจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516เหมาจ่าย คนเดียว โดยไม่เคยพิมพ์ฏีกาเรี่ยไรใคร พูดคุยกับท่านหลายเรื่องจนตอนจะลากลับผมควักเงิน 500 บาทใส่ซอง ถวายท่านเป็นค่าใช้ จ่าย ท่านจึงนึกอะไรขึ้นมาได้ ชวนผมเดินลงจากศาลา ไปที่บ้านพักคนชราแห่งนั้น เปิดนรกบนดินอีกขุมหนึ่ง ให้คนบาปอย่างผม มีดวงตาเห็นธรรม โดยไม่ต้องฟังเทศน์เทียบชาดกบทใดๆ หญิงชรารูปร่างเล็ก ผิวสองสีบอบบางทอดกาย เหยียดตรงบนเตียงเล็กๆ แต่สะอาด มีผ้าห่มผืนบางๆ ห่มปิดทรวงอกที่ยังกระเพื่อมเบาๆ ราวเครื่องยนต์ใกล้ดับอย่างเหนื่อยหน่าย แม่เฒ่าพยายามยกมือขึ้นประนมไหว้ เมื่อท่านสมภารพาผมมานั่งอยู่ข้างขอบเตียง กังวานน้ำเสียงแห่งพุทธบุตรผู้เมตตาเปล่งวาจา ถามไถ่อาการ และให้ศีลให้พรเบาๆ แต่เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ หยาดน้ำตาแห่งความปิติ ท่วมท้นดวงตาสีขาวขุ่น แล้วค่อยๆ ซึมเซาะรินไหลไปตามร่องขอบตา ที่เ่หี่ยวย่นบนใบหน้า เวทนาบังเกิดจนผมต้องเบือนหน้าหนี ผู้เฒ่าอายุ 91 ปี อาวุโสสูงสุดในจำนวน 13 คนชราของที่นี่ เรื่องราวทั้งหลายในอดีตยังเจิดจ้าอยู่ในความทรงจำ เหมือนเพิ่งเกิด เมื่อวาน....... แม่เฒ่ามีลูกชายสองคนและหญิงหนึ่งคน 60 ปี ที่ผ่านมาครอบครัวแม่เฒ่าจัดอยู่ในระดับผู้มีอันจะกินของจังหวัด สามี ของแม่เฒ่ามีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ก่อร่างสร้างตัวจากกรรมกรกินค่า แรงรายวัน โดยแม่เฒ่ารับจ้างทอผ้าอยู่ในโรงงงานแห่งหนึ่ง อดออมสะสมจนฐานะดีขึ้น สามารถสร้างหลักฐาน จนมีที่ดินบ้านช่องสมฐานะ แต่สามีก็ยังทำงานหนัก ไม่ยอมพัก หวังจะฟูมฟักลูก 3 คนให้อยู่อบอุ่น กินอิ่ม โดยไม่ต้องลำบาก ช่วงนั้นแม่เฒ่าเลิกทอผ้าแล้ว อยู่บ้านเลี้ยงลูก 3คน ที่อยู่ในวัยซวนไล่เรียงตามลำดับ เช้าวันหนึ่งเมื่อลูกชายคนโตอายุได้ 6 ขวบ สามีของแม่เฒ่าก็หลับไปไม่ตื่น มาร่ำลาหมอที่โรง พยาบาลบอกว่าสามีตับแข็งตายทั้งๆ ที่ไม่เคยแตะเหล้าซักหยด แม่เฒ่าเปลี่ยนสภาพบ้านพักเปิดเป็นร้านค้าโชห่วย ขายของสารพัดชนิด อดทนอด ออมเลี้ยงลูกทั้ง 3 คน ให้ร่ำเรียน จนจบปริญญา ครอบครัวอบอุ่น พี่น้องรักใคร่กันดี ไม่มีเค้าลางว่าจะแตกหัก ดั่งหนึ่งคนละสายเลือด ลูกชายคนโตแต่งงานไปกับลูกสาวเจ้าของร้านขายทองในตลาด ในชีวิตของแม่เฒ่า ไม่เคยมีความสุขครั้งไหน เหมือนวันที่ลูกชายแต่งงาน สมบัติที่มี แม่เฒ่าจัดแบ่งเป็นสามส่วนให้ลูกชายคนโตเปิดร้านขายทอง ตามที่สะใภ้ต้องการ ปีต่อมา ลูกคนที่สองแต่งสาวเข้าบ้านอีกคน แม่เฒ่ายกบ้านและที่ดินที่เปิดร้านขายของสองคูหาสามชั้น ให้เป็นสมบัติของลูกด้วยความยินดี โดยที่แม่เฒ่าขอสิทธิ์แค่อยู่อาศัย สองปีถัดมา ลูกสาวคนสุดท้องแต่งกับข้าราชการระดับหัวหน้ากองในจังหวัด แม่เฒ่ายกที่ดินและเงินสดก้อนสุดท้ายของแม่เฒ่า รับขวัญลูกเขยด้วย ความปรีดา สัตว์โลกทั้งหลายล้วนเวียนว่ายก่อเกิดเพื่อมาชดใช้กรรมเก่า สะใภ้คนที่สองเริ่มจุดประกายแห่งการแตกหัก ตั้งแต่แต่งเข้าบ้าน ไม่เคยแม้แต่เสียบปลั๊กหม้อหุงข้าว แม่เฒ่ากลายเป็นทาสในเรือน ซักผ้า ทำกับข้าว จัดสำรับคับค้อนตั้งโต๊ะ คอยท่าสองผัวเมียกินก่อนจนอิ่ม แม่เฒ่าจึงมีโอกาสได้กินของเหลือ ก่อนจะเก็บกวาดถ้วยชามไปล้าง กวาดเช็ดปัดถูบ้านช่องเรียบร้อยแล้วจึงได้พักผ่อน ด้วยการเดินออกไปคุยกับเพื่อนบ้านในวัยไล่เลี่ยกัน สะใภ้สองเข้มงวดแม้แต่ของสดทุกชนิด ที่ซื้อมาทำกับข้าว ต้องถามราคา แล้วยกไปชั่งน้ำหนักราคาสินค้า กับเงินทอนที่เหลือ ต้องตรงกับเงินที่ให้ไปตลาด แต่แม่เฒ่าก็ไม่เคยเก็บมาเป็นอารมณ์ แล้ววันหนึ่งสะใภ้สองก็จัดระเบียบการกินใหม่ หล่อนไปสั่งผูกปิ่นโต เพื่อกินกันแค่สองผัวเมีย แล้วสั่งให้ผัวจ่ายเงินให้แม่เฒ่าแค่วันละยี่สิบบาท ไปหากินเอาเองด้วยเหตุผลโง่ๆ คือต้องการประหยัด แต่ลึกๆ ในใจ ไม่ต้องการให้แม่ผัวเม้นเส่วนเกิน แม่เฒ่าคิดเอาเองว่าลูกๆ คงไม่อยากให้แม่เหนื่อย จึงน้อมรับประกาศิตลูกสะใภ้ด้วยดุษฏี สองสามวันต่อมาแม่เฒ่าก็ลืมสิ้น เพราะความรักลูก หลายครั้งที่แม่เฒ่าคิดถึงลูกชายคนโต ที่เปิดร้านขายทองในตลาด แม่เฒ่าจะเจียดเงินที่เก็บออมไว้ ซื้อผลไม้ที่ลูกชอบติดมือไปด้วย แต่ทุกครั้งที่แม่เฒ่าเดินเข้าไปในบ้าน สะใภ้ใหญ่จะมองอย่างเหยียดๆ แล้วเดินหนีเข้าห้องแอร์ ปิดประตูนอนดูโทรทัศน์ สั่งคนใช้ให้คอยสอดส่องเดินตามแม่เฒ่า เธอกลัวแม่ผัวขโมยของในบ้านจ ะคุยกับลูกชายนั่น ก็ออกอาการไม่ว่าง ถามคำตอบคำ เหมือนหนามตำโดนโคนลิ้นจนอ้าปากลำบากลำบน อึดอัดแม่ เกรงใจเมีย แกล้งถอดสร้อยคอทองคำเส้นโต ที่ห้อยแขวนพระเครื่องราคาแพง ในกรอบทองฝังเพชรพวงใหญ่ขึ้นมา ส่องทีละองค์ด้วยความเลื่อมใส และไม่แม้แต่จะชายตามองแม่เฒ่า ที่นั่งซึมอยู่ข้างตู้ทองอย่างเดียวดาย เก้ ๆ กัง ๆ อยู่พักใหญ่ ก็เดินออกจากบ้านลูกชายคนโตอย่างเหงาๆ โดยมีคนใช้ของลูก หิ้วถุงผลไม้ ตามมายัดคืนใส่มือ ระหว่างทาง ก็แวะทักทายคนรู้จักเพื่อรักษามารยาท แต่ในใจของแม่เฒ่า มันวังเวงจนจำไม่ได้ว่าพูดคุยกับใครไปบ้างระหว่างทาง ลูกสาวคนเล็ก ที่แม่เฒ่าทั้งรักทั้งหวงนั่น แทบไม่ต้องพูดถึง เธอยื่นคำขาดกับแม่เฒ่าตั้งแต้ครั้งแรกที่ไปเยี่ยมว่า ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องไปหา เพราะบ้านเธอมีแขกที่เป็นลูกน้องของผัว และพ่อค้าวานิชเข้าพบผัวของเธอ เพื่อขออำนวยความสะดวกในทางธุรกิจบ่อยๆ และผัวของหล่อนก็ค่อนข้างเจ้ายศเจ้าอย่าง ถ้าแม่เฒ่ารักลูก ก็ควรจะต้องรักษาเกียรติรักษาหน้าตาของผัวลูกด้วย แม่เฒ่าไม่เข้าใจ ว่าการรักษาหน้าตาของลูกเขยนั้น ต้องทำอย่างไร แม่เฒ่ายังเคยปลื้มกับคำชมของเพื่อนบ้าน เขาว่าแม่เฒ่าวาสนาดี ลูกเขยเป็นเจ้าคนนายคน แม่เฒ่าก็ได้แต่แอบปลื้ม ทั้งๆ ที่ไม่เข้าใจ ว่าทำไมการเป็นเจ้าคนนายคน จึงเหมือนกำแพงชนชั้น ปิดกั้นระหว่างความเป็นแม่ลูกจนหนักหนาสาหัสขนาดนั้น ร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าขนาดยักษ์ โผล่ขึ้นมารายรอบร้านค้าของลูกชายคนที่สอง กระทบธุรกิจของสองผัวเมีย จนทรวดเซ ของขายไม่ได้มากเหมือนเก่า ที่เอาอะไรมาวางก็ขายหมด ปัญหาและวิกฤติการเงินในบ้าน ส่งสัญญาณถึงขาลง สองผัวเมียเริ่มมีปากเสียงกันบ่อยครั้ง และแทบทุกครั้ง ลูกสะใภ้ก็จะฉวยโอกาสด่ากระทบแม่ผัวเป็นของแถมโดยไม่มีเหตุผล โดยที่ลูกชายก็ไม่ออกอาการปกป้องแม่เฒ่าแต่อย่างใด... 12 มิถุนายน ประมาณ 3 ทุ่มของคืนโลกาวินาศ ท้องฟ้ามืดครึ้มไปด้วยพยับเมฆ สลับกับเสียงฟ้าร้องดังกึกก้องเป็นระยะๆ ครู่ใหญ่ๆ ต่อมาสายฝนจึงโปรยปรายชุ่มฉ่ำน้ำนองไปทั่วเมือง ลูกชายลูกสะใภ้ออกไปกินข้าวนอกบ้านยังไม่กลับ ปล่อยแม่เฒ่าเฝ้าร้านค้าคนเดียว แม่เฒ่าจำได้ว่า วัยรุ่นสองคนขี่รถเครื่องฝ่าสายฝนมาจอดหน้าร้านขอซื้อเบียร์หนึ่งขวด แม่เฒ่ารับเงินแล้วเดินเข้าไปเก็บในลิ้นชัก โดยไม่ระแวงว่า สองวัยรุ่นแอบยกลังใส่บุหรี่ที่ลูกชายสั่งมายังไม่แกะกล่อง ช่วยกันแบกขึ้นรถขี่หายไปกับความมืด ก่อนสี่ทุ่มเล็กน้อย สองผัวเมียจึงขับรถกลับเข้าถึงบ้าน ช่วยกันเก็บของเข้าร้าน วางของทุกชิ้นเข้าที่ๆ เคยวาง เมื่อไม่เห็นลังบุหรี่ จึงหันไปตะโกนถามแม่เฒ่า ที่กำลังจุดธูปไหว้รูปสามีบนหิ้ง เพียงคำตอบที่แม่เฒ่าตอบว่าไม่เห็น ก่อนปักธูปลงกระถาง เสียงสบถด้วยคำหยาบของลูกชาย ก็ดังสวนสนั่นบ้าน ครู่เดียวทั้งลูกสะใภ้กับลูกชาย ก็สลับปากจิกหัวด่าแม่กึกก้องประสานเสียงกับสายลมนอกบ้าน ก่อนที่ทั้งคู่จะขับรถไปโรงพักแจ้งจับแม่ลักทรัพย์ ตำรวจพาแม่เฒ่าไปนั่งอยู่หน้าโต๊ะร้อยเวร แม่เฒ่าให้การไม่รู้ ด้วยซื่อบริสุทธิ์ โดยไม่ตัดพ้อต่อว่าลูกชายแม้แต่คำเดียว กว่าชั่วโมงในห้อง แอร์เย็นเฉียบ แต่ในอกในใจของร้อยเวรหนุ่มร้อนรุ่มเหมือนถูกไฟนรกแผดเผา ที่ต้องวิงวอนสองผัวเมียให้เห็นบาปบุญคุณโทษ แต่สองผัวเมียกลับโยนภาระตอกย้ำ ให้ตำรวจอบรมแม่เฒ่า ก่อนที่จะสะบัดก้นกลับไปบ้านโดยไม่ใส่ใจแม่เฒ่า ที่เปียกฝนนั่งสั่นสะท้าน ด้วยความหนาวเหน็บ สายฝนยังสาดซัดกระหน่ำหนักเหมือนฟ้าแตก ตำรวจยศนายดาบขับรถร้อยเวรมาส่งแม่เฒ่าที่บ้าน บ้านซึ่งประตูเหล็กถูกปิดสนิท แม่เฒ่าลงจากรถเดินฝ่าฝนถึงหน้าบ้าน แล้วแม่เฒ่าก็ตกใจสุดขีด กับภาพเบื้องหน้า ที่พื้นหน้าบ้าน เสื้อผ้าเก่าๆ ยัดแน่นอยู่ในถุง ถูกโยนออกมากองเรี่ยราดเหมือนขยะ บนกองเสื้อผ้าของแม่เฒ่า กระถางธูปและรูปถ่ายของสามี แตกกระจายเกลื่อนกราด หยาดฝนสาดซัดรูปถ่ายขาวดำของสามี จนเปียกปอนขาดวิ่น แม่เฒ่าก้มลงหยิบรูปของสามีมากอดแนบอก น้ำตาแห่งความรันทดทะลักล้นปนน้ำฝน ปวดร้าว เหมือนถูกฟ้าผ่าเข้ากลางใจ แม่เฒ่ากอดรูปนั้นไว้เหมือนจะปกป้องจากสายฝนสุดชีวิต สองเท้าออกก้าวช้าๆ เหมือนร่างไร้วิญญาณเข้าตลาดไป หยุดนิ่งอยู่หน้าร้านขายทองของลูกชายคนโต เหมือนเป็นการบอกลาแล้วลัดเลาะฝ่าความมืดและสายฝน ไปยืนอยู่หน้าบ้านลูกสาวคนเล็ก เก็บภาพแห่งความรักความทรงจำสุดท้ายเป็นครู่ใหญ่ จึงเดินจากไปท่ามกลางเสียงกึกก้องของฟ้าร้องระงม สลับกับเสียงฟ้าผ่าแน่นหนักเป็นระยะ ดั่งเจ้ากรรมนายเวรกำลังเร่งรีบกรีดนิ้วกัปนาท บรรเลงเพลงกรรมในอดีตชาติ ติดตามมาทวงคืน ให้แม่เฒ่าต้องชดใช้อย่างบอบช้ำยับเยิน รถกระบะเก่าๆ คันนั้นวิ่งฝ่าสายฝนมาจอดสงบนิ่งอยู่หน้ากุฏิพระของสมภารเจ้าวัดตอนตีสามเศษๆ คนขับรถพบแม่เฒ่าเดินโซซัดโซเซอยู่ข้างถนน เปล่าเปลี่ยวเดียวดาย ด้วยใจเมตตา เมื่อแม่เฒ่าต้องการมาที่นี่ จึงขับรถมาส่งด้วยความสังเวช แม่เฒ่ามักคุ้นกับสมภารวัดนี้มานานแล้ว ตั้งแต่เจ้าอาวาสองค์เก่ายังอยู่ นาทีสุดท้ายของการตัดสินใจครั้งใหญ่ของชีวิต จึงไม่มีที่ไหนอบอุ่นให้พึ่งพิงเหมือนร่มเงาฉัตรแก้วกงธรรมแห่งรัตนะทั้งสาม ฟ้าเริ่มขมุกขมัวใกล้ค่ำลงทุกขณะ ผมจำเป็นต้องบอกลาท่านสมภาร และแม่เฒ่า เจ้าของเรื่องราวน่าสลด นับแต่นาทีแรกที่แม่เฒ่ามาถึงที่นี่จนวันนี้ แม่เฒ่าไม่เคยออกไปนอกวัดเหมือนๆ กับที่ทั้งสามคนก็ไม่เคยออกติดตามถามหา จะรู้หรือไม่ก็แล้วแต่ ว่าแม่ซมซานมาอยู่วัด แต่ก็ไม่เคยปรากฏแม้แต่เงาของลูกทั้งสาม ผมจากลาออกมา ทั้งที่น้ำตาเปื้อนหน้า ประโยคสุดท้ายของแม่เฒ่าที่ฝากมา.. ' แม่จำลูกได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เกิดจนโตจ ะทุกข์จะสุข ก็คือลูกของแม่ แม่ให้โดยไม่เคยวาดหวังจะได้จากลูกทุกคนเป็นการตอบแทน ลูกเอ๋ย... เมื่อลูกยังเป็นทารก ทุกครั้งที่แนบอกดูดดื่มน้ำนมจากเต้า สองมือน้อยๆ ของเจ้าไขว่คว้าอยู่ไหวๆ วันนี้แม่สิ้นแรงแทบ สิ้นใจ จะมีมือของลูกคนไหน เอื้อมมาปิดตาให้แม่ก่อนสิ้นลม.....' หากเป็นไปได้รบกวนเพื่อนผองน้องพี่ นร.ทั้งหลาย ช่วยอ่านเรื่องนี้หน่อยครับ พูดจริงๆนะ ช่วยอ่านหน่อย อ่านให้จบนะ ---- ขอบคุณ พี่โก๊ะ- แม่พิมพ์บล๊อคพระ โก๊ะ เพาะช่าง --- อ่านจบแล้วจะแชร์ได้ก็ขอบคุณมากๆๆครับ "ก่อนแม่จะสิ้นลมหายใจ" บ้านพักคนชราที่ผมไปเยี่ยมเยืยนมาหลังวันเกิดในเดือนที่แล้ว เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ไม่ใหญ่โตนัก ที่นี่ เป็นส่วนหนึ่งของวัดเล็กๆ ที่สมภารเจ้าอาวาส อดีตนักเรียนโรงเรียนเดียวกับผม ท่านเอาเงินที่ญาติโยมศรัทธาถวายท่านมาปลูกสร้าง เพื่อให้ผู้เฒ่า ผู้ชรา ได้มาพักอาศัยยามเมื่อขาดที่พึ่งพิง มีโยมผู้หญิงวัยกลางคน ไร้ญาติและสิ่งเกาะเกี่ยวทางโลก มาบำเพ็ญธรรมโดยไม่บวชชี ท่วงท่าเจรจาพาทีดูสำรวมราบเรียบ พร้อมเด็กวัดลูกชาวบ้านแถบนั้น แวะเวียนผลัด เปลี่ยนกันเป็นผู้ดูแลผู้ชราทั้งหญิงชาย ที่ถูกทอดทิ้งรวม13 ชีวิต ค่าจ้าง คนดูแล น้ำ ไฟ เสื้อผ้ายารักษาโรค ข้าวปลาอาหาร สมภารใจดี อดีตนักเรียนช่างกล ที่รอดตายมาจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516เหมาจ่าย คนเดียว โดยไม่เคยพิมพ์ฏีกาเรี่ยไรใคร พูดคุยกับท่านหลายเรื่องจนตอนจะลากลับผมควักเงิน 500 บาทใส่ซอง ถวายท่านเป็นค่าใช้ จ่าย ท่านจึงนึกอะไรขึ้นมาได้ ชวนผมเดินลงจากศาลา ไปที่บ้านพักคนชราแห่งนั้น เปิดนรกบนดินอีกขุมหนึ่ง ให้คนบาปอย่างผม มีดวงตาเห็นธรรม โดยไม่ต้องฟังเทศน์เทียบชาดกบทใดๆ หญิงชรารูปร่างเล็ก ผิวสองสีบอบบางทอดกาย เหยียดตรงบนเตียงเล็กๆ แต่สะอาด มีผ้าห่มผืนบางๆ ห่มปิดทรวงอกที่ยังกระเพื่อมเบาๆ ราวเครื่องยนต์ใกล้ดับอย่างเหนื่อยหน่าย แม่เฒ่าพยายามยกมือขึ้นประนมไหว้ เมื่อท่านสมภารพาผมมานั่งอยู่ข้างขอบเตียง กังวานน้ำเสียงแห่งพุทธบุตรผู้เมตตาเปล่งวาจา ถามไถ่อาการ และให้ศีลให้พรเบาๆ แต่เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ หยาดน้ำตาแห่งความปิติ ท่วมท้นดวงตาสีขาวขุ่น แล้วค่อยๆ ซึมเซาะรินไหลไปตามร่องขอบตา ที่เ่หี่ยวย่นบนใบหน้า เวทนาบังเกิดจนผมต้องเบือนหน้าหนี ผู้เฒ่าอายุ 91 ปี อาวุโสสูงสุดในจำนวน 13 คนชราของที่นี่ เรื่องราวทั้งหลายในอดีตยังเจิดจ้าอยู่ในความทรงจำ เหมือนเพิ่งเกิด เมื่อวาน....... แม่เฒ่ามีลูกชายสองคนและหญิงหนึ่งคน 60 ปี ที่ผ่านมาครอบครัวแม่เฒ่าจัดอยู่ในระดับผู้มีอันจะกินของจังหวัด สามี ของแม่เฒ่ามีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ก่อร่างสร้างตัวจากกรรมกรกินค่า แรงรายวัน โดยแม่เฒ่ารับจ้างทอผ้าอยู่ในโรงงงานแห่งหนึ่ง อดออมสะสมจนฐานะดีขึ้น สามารถสร้างหลักฐาน จนมีที่ดินบ้านช่องสมฐานะ แต่สามีก็ยังทำงานหนัก ไม่ยอมพัก หวังจะฟูมฟักลูก 3 คนให้อยู่อบอุ่น กินอิ่ม โดยไม่ต้องลำบาก ช่วงนั้นแม่เฒ่าเลิกทอผ้าแล้ว อยู่บ้านเลี้ยงลูก 3คน ที่อยู่ในวัยซวนไล่เรียงตามลำดับ เช้าวันหนึ่งเมื่อลูกชายคนโตอายุได้ 6 ขวบ สามีของแม่เฒ่าก็หลับไปไม่ตื่น มาร่ำลาหมอที่โรง พยาบาลบอกว่าสามีตับแข็งตายทั้งๆ ที่ไม่เคยแตะเหล้าซักหยด แม่เฒ่าเปลี่ยนสภาพบ้านพักเปิดเป็นร้านค้าโชห่วย ขายของสารพัดชนิด อดทนอด ออมเลี้ยงลูกทั้ง 3 คน ให้ร่ำเรียน จนจบปริญญา ครอบครัวอบอุ่น พี่น้องรักใคร่กันดี ไม่มีเค้าลางว่าจะแตกหัก ดั่งหนึ่งคนละสายเลือด ลูกชายคนโตแต่งงานไปกับลูกสาวเจ้าของร้านขายทองในตลาด ในชีวิตของแม่เฒ่า ไม่เคยมีความสุขครั้งไหน เหมือนวันที่ลูกชายแต่งงาน สมบัติที่มี แม่เฒ่าจัดแบ่งเป็นสามส่วนให้ลูกชายคนโตเปิดร้านขายทอง ตามที่สะใภ้ต้องการ ปีต่อมา ลูกคนที่สองแต่งสาวเข้าบ้านอีกคน แม่เฒ่ายกบ้านและที่ดินที่เปิดร้านขายของสองคูหาสามชั้น ให้เป็นสมบัติของลูกด้วยความยินดี โดยที่แม่เฒ่าขอสิทธิ์แค่อยู่อาศัย สองปีถัดมา ลูกสาวคนสุดท้องแต่งกับข้าราชการระดับหัวหน้ากองในจังหวัด แม่เฒ่ายกที่ดินและเงินสดก้อนสุดท้ายของแม่เฒ่า รับขวัญลูกเขยด้วย ความปรีดา สัตว์โลกทั้งหลายล้วนเวียนว่ายก่อเกิดเพื่อมาชดใช้กรรมเก่า สะใภ้คนที่สองเริ่มจุดประกายแห่งการแตกหัก ตั้งแต่แต่งเข้าบ้าน ไม่เคยแม้แต่เสียบปลั๊กหม้อหุงข้าว แม่เฒ่ากลายเป็นทาสในเรือน ซักผ้า ทำกับข้าว จัดสำรับคับค้อนตั้งโต๊ะ คอยท่าสองผัวเมียกินก่อนจนอิ่ม แม่เฒ่าจึงมีโอกาสได้กินของเหลือ ก่อนจะเก็บกวาดถ้วยชามไปล้าง กวาดเช็ดปัดถูบ้านช่องเรียบร้อยแล้วจึงได้พักผ่อน ด้วยการเดินออกไปคุยกับเพื่อนบ้านในวัยไล่เลี่ยกัน สะใภ้สองเข้มงวดแม้แต่ของสดทุกชนิด ที่ซื้อมาทำกับข้าว ต้องถามราคา แล้วยกไปชั่งน้ำหนักราคาสินค้า กับเงินทอนที่เหลือ ต้องตรงกับเงินที่ให้ไปตลาด แต่แม่เฒ่าก็ไม่เคยเก็บมาเป็นอารมณ์ แล้ววันหนึ่งสะใภ้สองก็จัดระเบียบการกินใหม่ หล่อนไปสั่งผูกปิ่นโต เพื่อกินกันแค่สองผัวเมีย แล้วสั่งให้ผัวจ่ายเงินให้แม่เฒ่าแค่วันละยี่สิบบาท ไปหากินเอาเองด้วยเหตุผลโง่ๆ คือต้องการประหยัด แต่ลึกๆ ในใจ ไม่ต้องการให้แม่ผัวเม้นเส่วนเกิน แม่เฒ่าคิดเอาเองว่าลูกๆ คงไม่อยากให้แม่เหนื่อย จึงน้อมรับประกาศิตลูกสะใภ้ด้วยดุษฏี สองสามวันต่อมาแม่เฒ่าก็ลืมสิ้น เพราะความรักลูก หลายครั้งที่แม่เฒ่าคิดถึงลูกชายคนโต ที่เปิดร้านขายทองในตลาด แม่เฒ่าจะเจียดเงินที่เก็บออมไว้ ซื้อผลไม้ที่ลูกชอบติดมือไปด้วย แต่ทุกครั้งที่แม่เฒ่าเดินเข้าไปในบ้าน สะใภ้ใหญ่จะมองอย่างเหยียดๆ แล้วเดินหนีเข้าห้องแอร์ ปิดประตูนอนดูโทรทัศน์ สั่งคนใช้ให้คอยสอดส่องเดินตามแม่เฒ่า เธอกลัวแม่ผัวขโมยของในบ้านจ ะคุยกับลูกชายนั่น ก็ออกอาการไม่ว่าง ถามคำตอบคำ เหมือนหนามตำโดนโคนลิ้นจนอ้าปากลำบากลำบน อึดอัดแม่ เกรงใจเมีย แกล้งถอดสร้อยคอทองคำเส้นโต ที่ห้อยแขวนพระเครื่องราคาแพง ในกรอบทองฝังเพชรพวงใหญ่ขึ้นมา ส่องทีละองค์ด้วยความเลื่อมใส และไม่แม้แต่จะชายตามองแม่เฒ่า ที่นั่งซึมอยู่ข้างตู้ทองอย่างเดียวดาย เก้ ๆ กัง ๆ อยู่พักใหญ่ ก็เดินออกจากบ้านลูกชายคนโตอย่างเหงาๆ โดยมีคนใช้ของลูก หิ้วถุงผลไม้ ตามมายัดคืนใส่มือ ระหว่างทาง ก็แวะทักทายคนรู้จักเพื่อรักษามารยาท แต่ในใจของแม่เฒ่า มันวังเวงจนจำไม่ได้ว่าพูดคุยกับใครไปบ้างระหว่างทาง ลูกสาวคนเล็ก ที่แม่เฒ่าทั้งรักทั้งหวงนั่น แทบไม่ต้องพูดถึง เธอยื่นคำขาดกับแม่เฒ่าตั้งแต้ครั้งแรกที่ไปเยี่ยมว่า ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องไปหา เพราะบ้านเธอมีแขกที่เป็นลูกน้องของผัว และพ่อค้าวานิชเข้าพบผัวของเธอ เพื่อขออำนวยความสะดวกในทางธุรกิจบ่อยๆ และผัวของหล่อนก็ค่อนข้างเจ้ายศเจ้าอย่าง ถ้าแม่เฒ่ารักลูก ก็ควรจะต้องรักษาเกียรติรักษาหน้าตาของผัวลูกด้วย แม่เฒ่าไม่เข้าใจ ว่าการรักษาหน้าตาของลูกเขยนั้น ต้องทำอย่างไร แม่เฒ่ายังเคยปลื้มกับคำชมของเพื่อนบ้าน เขาว่าแม่เฒ่าวาสนาดี ลูกเขยเป็นเจ้าคนนายคน แม่เฒ่าก็ได้แต่แอบปลื้ม ทั้งๆ ที่ไม่เข้าใจ ว่าทำไมการเป็นเจ้าคนนายคน จึงเหมือนกำแพงชนชั้น ปิดกั้นระหว่างความเป็นแม่ลูกจนหนักหนาสาหัสขนาดนั้น ร้านสะดวกซื้อ และห้างสรรพสินค้าขนาดยักษ์ โผล่ขึ้นมารายรอบร้านค้าของลูกชายคนที่สอง กระทบธุรกิจของสองผัวเมีย จนทรวดเซ ของขายไม่ได้มากเหมือนเก่า ที่เอาอะไรมาวางก็ขายหมด ปัญหาและวิกฤติการเงินในบ้าน ส่งสัญญาณถึงขาลง สองผัวเมียเริ่มมีปากเสียงกันบ่อยครั้ง และแทบทุกครั้ง ลูกสะใภ้ก็จะฉวยโอกาสด่ากระทบแม่ผัวเป็นของแถมโดยไม่มีเหตุผล โดยที่ลูกชายก็ไม่ออกอาการปกป้องแม่เฒ่าแต่อย่างใด... 12 มิถุนายน ประมาณ 3 ทุ่มของคืนโลกาวินาศ ท้องฟ้ามืดครึ้มไปด้วยพยับเมฆ สลับกับเสียงฟ้าร้องดังกึกก้องเป็นระยะๆ ครู่ใหญ่ๆ ต่อมาสายฝนจึงโปรยปรายชุ่มฉ่ำน้ำนองไปทั่วเมือง ลูกชายลูกสะใภ้ออกไปกินข้าวนอกบ้านยังไม่กลับ ปล่อยแม่เฒ่าเฝ้าร้านค้าคนเดียว แม่เฒ่าจำได้ว่า วัยรุ่นสองคนขี่รถเครื่องฝ่าสายฝนมาจอดหน้าร้านขอซื้อเบียร์หนึ่งขวด แม่เฒ่ารับเงินแล้วเดินเข้าไปเก็บในลิ้นชัก โดยไม่ระแวงว่า สองวัยรุ่นแอบยกลังใส่บุหรี่ที่ลูกชายสั่งมายังไม่แกะกล่อง ช่วยกันแบกขึ้นรถขี่หายไปกับความมืด ก่อนสี่ทุ่มเล็กน้อย สองผัวเมียจึงขับรถกลับเข้าถึงบ้าน ช่วยกันเก็บของเข้าร้าน วางของทุกชิ้นเข้าที่ๆ เคยวาง เมื่อไม่เห็นลังบุหรี่ จึงหันไปตะโกนถามแม่เฒ่า ที่กำลังจุดธูปไหว้รูปสามีบนหิ้ง เพียงคำตอบที่แม่เฒ่าตอบว่าไม่เห็น ก่อนปักธูปลงกระถาง เสียงสบถด้วยคำหยาบของลูกชาย ก็ดังสวนสนั่นบ้าน ครู่เดียวทั้งลูกสะใภ้กับลูกชาย ก็สลับปากจิกหัวด่าแม่กึกก้องประสานเสียงกับสายลมนอกบ้าน ก่อนที่ทั้งคู่จะขับรถไปโรงพักแจ้งจับแม่ลักทรัพย์ ตำรวจพาแม่เฒ่าไปนั่งอยู่หน้าโต๊ะร้อยเวร แม่เฒ่าให้การไม่รู้ ด้วยซื่อบริสุทธิ์ โดยไม่ตัดพ้อต่อว่าลูกชายแม้แต่คำเดียว กว่าชั่วโมงในห้อง แอร์เย็นเฉียบ แต่ในอกในใจของร้อยเวรหนุ่มร้อนรุ่มเหมือนถูกไฟนรกแผดเผา ที่ต้องวิงวอนสองผัวเมียให้เห็นบาปบุญคุณโทษ แต่สองผัวเมียกลับโยนภาระตอกย้ำ ให้ตำรวจอบรมแม่เฒ่า ก่อนที่จะสะบัดก้นกลับไปบ้านโดยไม่ใส่ใจแม่เฒ่า ที่เปียกฝนนั่งสั่นสะท้าน ด้วยความหนาวเหน็บ สายฝนยังสาดซัดกระหน่ำหนักเหมือนฟ้าแตก ตำรวจยศนายดาบขับรถร้อยเวรมาส่งแม่เฒ่าที่บ้าน บ้านซึ่งประตูเหล็กถูกปิดสนิท แม่เฒ่าลงจากรถเดินฝ่าฝนถึงหน้าบ้าน แล้วแม่เฒ่าก็ตกใจสุดขีด กับภาพเบื้องหน้า ที่พื้นหน้าบ้าน เสื้อผ้าเก่าๆ ยัดแน่นอยู่ในถุง ถูกโยนออกมากองเรี่ยราดเหมือนขยะ บนกองเสื้อผ้าของแม่เฒ่า กระถางธูปและรูปถ่ายของสามี แตกกระจายเกลื่อนกราด หยาดฝนสาดซัดรูปถ่ายขาวดำของสามี จนเปียกปอนขาดวิ่น แม่เฒ่าก้มลงหยิบรูปของสามีมากอดแนบอก น้ำตาแห่งความรันทดทะลักล้นปนน้ำฝน ปวดร้าว เหมือนถูกฟ้าผ่าเข้ากลางใจ แม่เฒ่ากอดรูปนั้นไว้เหมือนจะปกป้องจากสายฝนสุดชีวิต สองเท้าออกก้าวช้าๆ เหมือนร่างไร้วิญญาณเข้าตลาดไป หยุดนิ่งอยู่หน้าร้านขายทองของลูกชายคนโต เหมือนเป็นการบอกลาแล้วลัดเลาะฝ่าความมืดและสายฝน ไปยืนอยู่หน้าบ้านลูกสาวคนเล็ก เก็บภาพแห่งความรักความทรงจำสุดท้ายเป็นครู่ใหญ่ จึงเดินจากไปท่ามกลางเสียงกึกก้องของฟ้าร้องระงม สลับกับเสียงฟ้าผ่าแน่นหนักเป็นระยะ ดั่งเจ้ากรรมนายเวรกำลังเร่งรีบกรีดนิ้วกัปนาท บรรเลงเพลงกรรมในอดีตชาติ ติดตามมาทวงคืน ให้แม่เฒ่าต้องชดใช้อย่างบอบช้ำยับเยิน รถกระบะเก่าๆ คันนั้นวิ่งฝ่าสายฝนมาจอดสงบนิ่งอยู่หน้ากุฏิพระของสมภารเจ้าวัดตอนตีสามเศษๆ คนขับรถพบแม่เฒ่าเดินโซซัดโซเซอยู่ข้างถนน เปล่าเปลี่ยวเดียวดาย ด้วยใจเมตตา เมื่อแม่เฒ่าต้องการมาที่นี่ จึงขับรถมาส่งด้วยความสังเวช แม่เฒ่ามักคุ้นกับสมภารวัดนี้มานานแล้ว ตั้งแต่เจ้าอาวาสองค์เก่ายังอยู่ นาทีสุดท้ายของการตัดสินใจครั้งใหญ่ของชีวิต จึงไม่มีที่ไหนอบอุ่นให้พึ่งพิงเหมือนร่มเงาฉัตรแก้วกงธรรมแห่งรัตนะทั้งสาม ฟ้าเริ่มขมุกขมัวใกล้ค่ำลงทุกขณะ ผมจำเป็นต้องบอกลาท่านสมภาร และแม่เฒ่า เจ้าของเรื่องราวน่าสลด นับแต่นาทีแรกที่แม่เฒ่ามาถึงที่นี่จนวันนี้ แม่เฒ่าไม่เคยออกไปนอกวัดเหมือนๆ กับที่ทั้งสามคนก็ไม่เคยออกติดตามถามหา จะรู้หรือไม่ก็แล้วแต่ ว่าแม่ซมซานมาอยู่วัด แต่ก็ไม่เคยปรากฏแม้แต่เงาของลูกทั้งสาม ผมจากลาออกมา ทั้งที่น้ำตาเปื้อนหน้า ประโยคสุดท้ายของแม่เฒ่าที่ฝากมา.. ' แม่จำลูกได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เกิดจนโตจ ะทุกข์จะสุข ก็คือลูกของแม่ แม่ให้โดยไม่เคยวาดหวังจะได้จากลูกทุกคนเป็นการตอบแทน ลูกเอ๋ย... เมื่อลูกยังเป็นทารก ทุกครั้งที่แนบอกดูดดื่มน้ำนมจากเต้า สองมือน้อยๆ ของเจ้าไขว่คว้าอยู่ไหวๆ วันนี้แม่สิ้นแรงแทบ สิ้นใจ จะมีมือของลูกคนไหน เอื้อมมาปิดตาให้แม่ก่อนสิ้นลม.....'