วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คนเสื้อแดงไม่ใช่คนที่ควรถูกประนาม แต่เป็นคนที่เราต้องให้ความช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน

คนเสื้อแดงส่วนใหญ่แล้วมาจากสังคมส่วนที่อยู่ล่างสุดของประเทศไทย คือ ประชาชนในส่วนภูมิภาค คนกลุ่มนี้มีความคิดที่ไม่แปลกครับ เป็นความคิดที่เข้าใจง่าย ถ้าเราจะลองเข้าไปเรียนรู้ดูสักหน่อย แต่สิ่งที่ยากคงจะเป็นการพยายามเปลี่ยนแนวความคิดนั้น

เพราะสังคมในส่วนภูมิภาคอันห่างไกลนั้น การได้รับข่าวสารล้วนมาจากแหล่งข้อมูลเดียวกันคือ การกระจายเสียงภายในวงแคบ เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายเสียงของหมู่บ้าน หรือ การพูดกันปากต่อปาก นี้เป็นการปลูกฟังความคิดที่ง่ายที่สุด เพราะเมื่อไหร่ที่เรารับรู้ข้อมูลข่าวสารจากแหล่ใดแหล่งหรือ อย่างผูกขาด นั้นก็เป็นเสมือนการตัดขาดข่าวสารอื่นๆเพื่อการเปรียบเทียบ หรือการวิเคราะห์ เราจึงเห็นการผูกขาดของนักการเมืองท้องถิ่นในกิจการส่วนนี้ เพื่อหวังผลเฉพาะประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น

ผมอยากจะขอร้องพวกเราที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้หลากหลายกว่า อย่าได้กล่าวโทษประชาชนในส่วนภูมิภาคเหล่านี้เลย เพราะถ้าเป็นผม การที่เสพย์ข้อมูลเหล่านั้นตลอดเวลา ผมก็คงมีความคิดไม่ต่างจากนั้นมากนัก

แต่ที่เป็นสาเหตุจริงๆที่ทำให้ประชาชนส่วนนี้มีความเชื่ออย่างแนบแน่นอย่างนั้นก็คือ การเกิดปัญหาในช่วงปี พ.ศ. 2540 วิกฤตเศรษฐกิจที่เรียกได้ว่าใหญ่มากที่สุดตั้งแต่มีการเปิดประเทศ ระบบเศรษฐกิจล้มสลายเกือบ 2 ใน 3 ของประเทศ โรงงานอุตสาหกรรมลดความต้องการแรงงานมากกว่า 1 ล้านชีวิต และโดยส่วนใหญ่แล้ว แรงงานเหล่านี้ส่วนมากล้วนมาจากแหล่งเดียวกันคือ ประชากรในเขตภูมิภาค

แรงงานเหล่านี้ต้องแบกภาระเรื่องหนี้สินมากมาย บางคนถูกธนาคารยึดบ้าน ยึดรถ ครอบครัวแตกแยก แบกความอับอายกลับสู่บ้านเกิด สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงครับ บางคนสูญเสียจิตวิญญาณ บางคนท้อแท้จนไม่สามารถทำอะไรได้เลย

บวกกับปัญหาในครั้งนั้นมีมากกว่าเรื่องการเงิน แต่เป็นจุดเริ่มของปัญหาสังคมต่างๆมากมายโดยเฉพาะเรื่องของยาเสพย์ติด และ โจรผู้ร้าย เสมือนเป็นการซ้ำเติมคนที่ผิดหวังและตอกย้ำความล้มเหลวของคณะผู้ปกครองในยุคสัมยที่ตามมาด้วย

เราควรจะกล่าวโทษคนเหล่านี้หรือครับ

สำหรับผมแล้วไม่ครับ ผมเข้าใจและเห็นใจ

ประชาชนในกลุ่มนี้พยายามรอความหวัง ท่านเชื่อหรือไม่ครับ เขาเฝ้ารอความหวัง ทั้งครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง เพราะสังคมนี้คือสังคมของครอบครัวใหญ่ สิ่งที่เกิดกับลูกหลานของเขาคือความเป็นจริงที่พวกเขารับรู้ด้วยความรู้สึก ขอย้ำว่าด้วยความรู้สึกครับ

ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2545-2548 เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวเนื่องจากหยุดนิ่งมานาน มันเป็นความปกติของระบบโลกครับ ช่วงนั้นเป็นจังหวะที่ดีครับ ประชาชนที่เฝ้ารอความหวังเริ่มรู้สึกแล้วว่ารัฐบาลในช่วงนั้นสามารถให้สิ่งที่พวกเขาเฝ้ารอได้ สิ่งนี้เป็นความผิดของพวกเขาหรือครับ ผมคิดว่าไม่ครับ เวลานั้นพวกเราส่วนใหญ่รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ เพราะไม่มีใครให้ความรู้เรื่องระบบเศรษฐกิจโลกกับพวกเขาครับ พวกเขาได้รับข้อมูลเพียงแค่ รัฐบาลทำงานในช่วงนี้ สามารถให้สิ่งที่หวังได้

และสิ่งที่รัฐบาลจับทางได้คือ การเพิ่มแหล่งเงินทุนเข้าไปในกองทุนหมู่บ้านสิ่งนี้เกิดได้อย่างถูกจังหวะครับ ประชาชนต้องการแหล่งเงินทุน แต่เหล่าธนาคารต่างปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ที่เคยเป็นผู้ใช้แรงงานที่ตกงานเพราะมีประวัติเครดิตที่เสีย นี้คือ สิ่งกระตุ้นความรู้สึกถึงความเสื่อมล้ำกันของสังคม จึงมีคำศัพท์ที่ว่า กลุ่มอำมาตย์และไพร่

ประกอบกับในช่วงปี พ.ศ.2550-2552 เศรษฐกิจโลกตกต่ำอีกครั้ง เป็นช่วงเวลาที่แย่สำหรับรัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะนี้คือการตอกย้ำความคิดของประชาชน และเมื่อมีการกระจายข่าวสารที่เป็นการเติมเชื้อเพลิงของความเชื่อให้แรงมากขึ้น เหตุการณ์เมื่อปลายปี พ.ศ.2552-2553 จึงเกิดขึ้น

สิ่งที่สมควรโทษคือ การล้มเหลวของการให้ความรู้ การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง จากหน่วยงานรัฐบาลในช่วงเวลานั้น ผมเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ยากครับสำหรับการเปลี่ยนแนวความคิดของประชาชนที่ถูกปลูกฝังมานานนับ 10 ปี แต่นี้คือหนทางเดียวที่จะช่วยเหลือพวกเขาครับ แม้จะเป็นงานที่ยากและอาจจะถูกต่อต้านในช่วงแรก แต่เราก็จำเป็นต้องทำ

ครั้งหนึ่ง ในพื้นที่ราบสูงของภาคเหนือของประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ ปัญหาเรื่องของการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำไร่เลื่อนลอยจึงเกิดขึ้น และ พร้อมกันนั้นปัญหาการปลูกฝิ่นก็เกิดขึ้นตามมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเสด็จเพื่อขึ้นไปเยี่ยมเยือนประชาชนของพระองค์ ในพื้นที่เหล่านี้ พื้นที่ที่ไม่เคยมีนักการเมืองคนใดในประเทศเคยขึ้นไปดูแล เพราะองค์ทรงเข้าไปเห็นสภาพของปัญหาเหล่านั้น แม้ว่าพระองค์จะมีกำลังทหารเพื่อทำการปราบปรามแต่พระองค์ก็เลือกที่จะใช้กองกำลังนั้นเพื่อการป้องปรามมากกว่า

พระองค์ทรงทุ่มเทจิตวิญญาณและความรู้ความสามารถ เพื่อเข้าไปยังพื้นที่ที่เป็นปัญหาอย่างต่อเนื่องแม้บางครั้งจะถูกต่อต้านอย่างแรงก็ตามที่ พระองค์ก็ไม่เคยย่อท้อในสิ่งที่เป็นปัญหานั้น เพียงเพราะว่าประชาชนของพระองค์ต่อต้าน แต่กลับเป็นความเข้าใจและเริ่มให้มีการตั้งศูนย์วิจัยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆมากมาย จุดมุ่งหมายก็เพื่อการกระทำให้เป็นแบบอย่างที่สามารถมองเห็นได้ นี้คือการให้ความรู้ที่สามารถเข้าใจได้ด้วยการลงมือปฏิบัติให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

การที่พระองค์ทรงใช้ระยะเวลานานนับ 30ปี ก็เพื่อต้องการทำให้ประชาชนของพระองค์เข้าใจในสิ่งที่ต้องการพยายามสื่อสาร ความเชื่อไม่สามารถเลื่อนหายไปได้ในระยะเวลาอันสั้น นี้คือสิ่งที่เป็นความจริง พระองค์ทรงเข้าใจในส่วนนี้ ด้วยพระอัจฉริยะภาพของพระองค์เอง ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การปลูกฝิ่น จึงค่อยๆหมดหายไปจากสังคม

แนวทางในการทรงบำเพ็ญคุณประโยชน์เพื่อประชาชนของพระองค์ นั้นล้วนมาจาก การเข้าถึงประชาชนของพระองค์ เพื่อที่จะทรงเข้าใจในสิ่งที่ประชาชนคิด และรู้สึก เพื่อการวางแผนสำหรับการพัฒนาตามความเหมาะสมและตรงจุด



พวกเราผู้ที่เป็นประชาชนของพระองค์ ควรจะน้อมนำมาเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต และนี้คืออีกตัวอย่างที่พวกเราจะสามารถนำไปใช้กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีความหลงผิดได้

อย่าโทษในความคิดของคนเสื้อแดง สิ่งที่เราต้องทำให้มากคือ เข้าไปอยู่ท่ามกลางพวกเขา เพื่อไปอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ด้วยข้อมูลที่หลากหลายสำหรับการวิเคราะห์ แต่ขอย้ำว่า อย่าลืมสิ่งที่เราต้องกระทำ อย่าท้อแท้และหมดหวัง เพราะถ้าสิ่งที่เราตั้งใจทำนั้นมันสามารถช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ได้

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทความ สุึทธิชัย หยุ่น

ผมไม่แปลกใจ, แต่ค่อนข้างจะตกใจและหดหู่ในหัวใจเมื่อได้อ่านข่าวว่าการสำรวจครั้งล่าสุดยืนยันว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยเห็นว่า “นักการเมืองโกงไม่เป็นไร, ขอให้ทำงานได้เป็นพอ”

ความจริง, ผมสงสัยว่าค่านิยมอย่างนี้มีมาในสังคมไทยช้านานพอสมควร เพียงแต่ไม่สำแดง “อาการ” เด่นชัดเท่านั้น

แต่อาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ปรากฏให้เห็นมาตลอดในพฤติกรรมประจำวันของคนไทยในบางส่วนแล้วเป็นนิจสิน

พ่อแม่คนไหนไม่มี “เส้น” พอที่จะให้ลูกตัวเองเข้าโรงเรียนดี ๆ ดัง ๆ ได้, ก็กลายเป็นคนคนมีปัญหาในสายตาของลูก ๆ

เพราะครอบครัวไทยที่สั่งสอนให้ลูกหลานของตัวเองมีความภาคภูมิใจในความเป็นคน “ไร้เส้น” นั้นมีน้อยกว่าครอบครัวที่ตกอยู่ภายใต้ความเชื่อที่ว่าคำว่า “เจริญก้าวหน้า” ในหน้าที่งานการนั้นหมายถึงการมีเส้นมีสาย, ลัดคิว, และข้ามหัวคนอื่นไปได้ในการขยับขยายตำแหน่งแห่งตนของตนเอง

ลองวาดภาพว่าถ้าคุณเป็นผู้ปกครองของเด็กที่กลับจากโรงเรียนแล้วบอกคุณว่า “พ่อของเพื่อนเขามีเส้น จะให้เข้าโรงเรียนดัง ๆ ได้โดยไม่ต้องสอบ”

คุณจะบอกกับเด็กในการดูแลของคุณว่าอย่างไร?

พ่อแม่คนไทยไม่น้อยที่ได้ยินลูกหลานของตัวเองรายงานเช่นนี้แล้วจะรู้สึกว่าเป็นความผิดของตัวเองที่ไม่สามารถช่วยเด็กของตัวเองให้เข้าโรงเรียนที่ต้องการได้เพราะ “ไม่มีเส้นไม่มีสาย”

การแข่งขันในสังคมไทยวันนี้คือการสามารถไปถึงเป้าหมายได้ไม่คำนึงถึงวิธีการ

เหมือนอย่างที่นักการเมืองคนดังคนหนึ่งของไทยเราเคยประกาศเป็นสัจธรรมเอาไว้ว่า

“เป้าหมายสำคัญกว่าวิธีการ”

แปลว่าสำหรับคนไทยจำนวนหนึ่ง, การไปถึงจุดหมายปลายทางไม่ว่าจะเป็นความร่ำรวยหรือได้ตำแหน่งหน้าที่งานหรือการบรรลุเป้าหมายในชีวิตประจำวันนั้นมีความสำคัญยิ่งกว่าความถูกผิดชอบธรรม

อย่างที่โบราณเคยกล่าวไว้ว่า “ไม่ได้เล่ห์, ก็ต้องเอาด้วยกล”

นี่คือทัศนคติอันตรายที่นำไปสู่สภาพของสังคมไทยวันนี้ที่ยอมรับแล้วว่าคนจำนวนไม่น้อยยอมให้นักการเมืองฉัดฉลโกงกินและคอร์รับชั่นได้ “ตราบเท่าที่สามารถแสดงผลงานได้”

อย่างนี่ย่อมหมายความว่าคนไทยเหล่านี้เห็นว่าการสร้างผลงานที่ประจักษ์แก่ประชาชนนั้นไม่อาจจะทำได้ด้วยวิธีการซื่อสัตย์สุจริตแต่เดียงทางเดียวเสียแล้ว

หากแต่ต้องอาศัยวิธีการลดเลี้ยวเคี้ยวคดหรือหนทางที่ผิดกฎหมายหรือฝ่าฝืนศีลธรรมจึงจะถึงเป้าหมายได้...และเมื่อเป็นเช่นนั้น, พวกเขาก็พร้อมจะหลับตาข้างหนึ่ง ทำเป็นไม่เห็นความชั่วร้ายของผู้คนที่มีอำนาจ, เพื่อจะได้ชื่อว่าสร้างผลงานให้เป็นที่ประทับใจของประชาชน

ซึ่งก็ย่อมจะหมายความต่อไปอีกว่าในการเลือกตั้งนั้น, ประชาชนคนไทยจำนวนหนึ่งก็พร้อมที่จะไม่สนใจว่าผู้สมัครคนไหนเป็นคนดีคนไหนเป็นคนเลว, คนไหนเป็นคนยึดมั่นในความสุจริตยุติธรรมและคนไหนเป็นคนเต็มไปด้วยความฉ้อฉลกลโกง

เอาเป็นว่าคนเหล่านี้สามารถบันดาลในสิ่งที่ผู้ลงคะแนนเสียงเท่านั้นก็จะได้เสียงไป

เมื่อเป็นเช่นนี้, บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร?

ไม่ต้องสงสัยว่าประเทศชาติที่มีประชาชนจำนวนหนึ่งที่มีทัศนคติเช่นนี้จะกลายเป็นประเทศที่มีมาตรฐานศีลธรรมอย่างไร

เพราะหากชาติใดยอมให้คนโกงปกครองประเทศเพียงเพราะว่าเขาคนนั้นสามารถใช้อำนาจการเมืองที่ได้มาอย่างไม่สนใจจริยธรรมไป “เล่นแร่แปรธาตุ” ทรัพยากรของบ้านเมืองให้เป็นไปตามความประสงค์ของเขาแล้ว, ก็เท่ากับว่าสังคมนั้นเลิกเคารพในกติกาแห่งความถูกต้องชอบธรรม

แปลต่อไปว่าคนดีอยู่ไม่ได้, คนชั่วที่เข้าข่ายเป็นศรีธนญชัยและคนที่ยอมให้ความสกปรกโสมมเป็นหลักเกณฑ์ของประเทศชาติก็จะเจริญเฟื่องฟู

มาตรฐานเช่นนี้ไม่ยึดเอาความถูกต้อง, ความดี, ความมีศีลธรรมเป็นหลักในการปกครองและการอยู่ร่วมกัน หากแต่ยอมให้อำนาจเป็นสิ่งเดียวที่กำหนดความถูกผิดของประเทศชาติหรือที่ฝรั่งเรียกว่า Might is Right

คนที่เล่นเส้นเล่นสายได้จะมีโอกาสมากกว่าคนเก่งคนขยันแต่ไร้พรรคไร้พวกในแวดวงที่มีอิทธิพล

ท้ายสุดคนเลวก็ปกครองคนดี, คนชั่วก็กำหนดวาระแห่งชาติของคนมีศีลธรรมจรรยาบรรณ

ผมจึงอ่านข่าวการสำรวจความเห็นล่าสุดที่ว่าคนไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นที่เห็นว่าพวกเขายอมรับ “คนโกงที่เก่ง” ได้มากขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เพราะเท่ากับว่าคนไทยจำนวนนี้เริ่มจะไม่เชื่อว่า “คนเก่งที่ไม่โกง” นั้นน่าจะได้รับการสนับสนุนมากกว่าคนฉ้อฉลอย่างที่ปู่ย่าตายายของเราได้สอนได้สั่งมาตลอดหลายชั่วอายุคน

เท่ากับว่าสังคมไทยกำลังท้อแท้กับการทำความดี และยอมรับว่าความดีเริ่มจะสู้กับความชั่วไม่ได้

เรากำลังกลายเป็นสังคมยอมจำนน

และเรากำลังจะโทษว่าคนดีของเราสู้คนชั่วไม่ได้ และคนในสังคมกำลังจะแอบ ๆ เอาใจช่วยคนโกงมาปกครองบ้านเมืองอย่างอุ่นหนาฝาคั่งขึ้นกระนั้นหรือ?

ผมภาวนาวันละสามเวลาว่าผมวิเคราะห์อย่างนี้เพราะผมเพี้ยนไปเพราะกินยาผิด

ช่วยส่งผมไปหาหมอด้วยด่วนด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พระพุทธศาสนา : กระบวนทัศน์ในแก้ปัญหาวิกฤติการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม



ประเทศไทยนั้นเป็นสังคมหนึ่งซึ่งยอมรับพระพุทธศาสนา และได้รับการหล่อหลอมจากหลักธรรม คำสอนในพระพุทธศาสนามายาวนาน วิถีชีวิตของคนไทยส่วนใหญ่ตั้งแต่กำเนิดจนถึงตาย จึงเกี่ยวโยงสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระพุทธศาสนา แต่เมื่อสังคมโลกเปิดกว้างขึ้นทั้งในด้านสื่อสารมวลชน เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่นำพาให้สังคมไทยก้าวเข้าไปสู่กระแสแห่งยุคโลกาภิวัฒน์ ส่งผลให้สังคมไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติในหลายๆ ด้าน กล่าวคือ

1. วิกฤติการเมือง

2. วิกฤติด้านเศรษฐกิจ

3. วิกฤติด้านสังคม

4. วิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม

พระพุทธศาสนา จึงเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะสามารถนำหลักการสำคัญที่มีอยู่ในพระไตรปิฏกมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในแบบองค์รวม เพื่อจะทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างครบวงจร อันจะส่งผลดีกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติต่างๆ ของสังคมไทยต่อไป

วิกฤติต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนโยงใยถึงกันเป็นลูกโซ่ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดวิกฤติขึ้นในด้านใดด้านหนึ่งของสังคมนั้นหมายถึงว่า ผลพวงจากวิกฤตินั้นย่อมกระทบต่อระบบในสังคมนั้นด้วย เช่น บ้านเมืองปัจจุบันเกิดภาวะวิกฤติ เพราะเป็นผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจทรุดตัว นักการเมือง บุคคลในสังคมหวังเพื่อจะกอบโกยผลประโยชน์เป็นส่วนตัวมากขึ้น ประชาชนอดอยากมากขึ้น จึงเป็นภาวะวิกฤติทางสังคมเมื่อบุคคลในสังคมมีมากขึ้นความเห็นแก่ตัวมากขึ้น สภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวจึงไม่มีคนเอาใจใส่ดูแลจนเกิดเป็นภาวะวิกฤติทางสิ่งแวดล้อม ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะต้องนำกระบวนทัศน์ทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ในขณะนี้



1. วิกฤติทางการเมือง

1.1 ปัญหาทางการเมือง นักการเมืองมักมองเป็นเกมส์ทางการเมือง เล่นพรรคเล่นพวก มือใครยาวสาวได้สาวเอา แต่มักเป็นไปแบบเช้าชามเย็นชาม นักการเมืองส่วนมากมัดทุจริตและกอบโกยผลประโยชน์ ความไม่สามัคคีของนักการเมือง แม้จะหน่วยงานคอยตรวจสอบก็ตามที ก็เป็นไปอย่างไม่เต็มที่นักด้วยเกรงกลัวอำนาจและอิทธิพล ปัญหาอีกอย่างของการเมืองคือด้านการดำเนินนโยบายผิดพลาด อันเกิดผลเสียกับสังคมและประเทศชาติ ผู้บริหารประเทศยังไม่ได้มีการบริหารอย่างเต็มความรับผิดชอบ ยังมีการเล่นการเมืองมากเกินความจำเป็นซึ่งมีผลทำให้การดำเนินนโยบายต่างๆยังไม่ได้แก้ปัญหาที่แท้จริงของประเทศ บางครั้งนโยบายหลายๆ นโยบายก็ดูน่าจะดี แต่กลับไม่ได้ผลเต็มที่ซึ่งก็มีสาเหตุมาจากการไม่สามารถนำ นโยบายไปปฏิบัติกันอย่าง มีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล บ่อย ครั้งเป็น การดำเนินนโยบายเพื่อสร้างภาพให้แก่ ส่วนตน แต่ให้ความสำคัญของประสิทธิผลน้อยมาก หรือ แทบจะไม่ให้ความสำคัญเลย

ระบบราชการ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการส่งออก และ อีก หลายๆ ธุรกิจหน่วยงานต่างๆ มีการทำงานซ้ำซ้อนกัน ซึ่งอันที่จริงแล้ว โครงสร้างของระบบราชการก็ได้มีการ กำหนดไว้ดีแล้ว แต่ก็ไปผิดพลาดที่การปฏิบัติอีก เพราะต่างคนต่างพยายามสร้างผลงานให้โดดเด่น ในสายตา ของผู้บังคับบัญชา หรือแม้กระทั่งนักการเมือง จนลืมนึกถึงประชาชน แต่ ก็มีข้าราชการระดับกลาง และ ระดับล่างที่มีแนวความคิดที่ดี ๆ แต่ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้แสดงฝีมือเนื่องจากติดที่ระบบราชการที่ยังเป็นระบบศักดินา ผสมกับระบบอุปถัมภ์อยู่ตราบใดที่ผู้ใหญ่ในภาครัฐยังไม่ยอมรับความจริงเหล่านี้ ปัญหาของชาติไทยคงมีแต่การสูญเสียไปอย่างต่อเนื่อง

1.2 ผลกระทบต่อสังคมไทย

1) ในแง่ของปัจเจกบุคคล คนไทยย่อมประสบกับความไม่เชื่อมั่นในสถานะของประเทศ ไม่ไว้ใจในข้าราชการและนักการเมือง ในการบริหารของคณะรัฐบาลและความมั่นคงของประเทศ

2) ในแง่ของสังคม มุมมองโดยรวมของสังคมไทยย่อมไม่เป็นที่ไว้วางใจของชาวต่างชาติเท่าที่ควร ความเชื่อมั่นในรัฐบาลโดยรวมก็ลดลงตามลำดับ

3) ในแง่ของเศรษฐกิจ การบริหารด้านนโยบายของรัฐบาลเป็นผลโดยตรงด้านเศรษฐกิจของประเทศ หากรัฐบาลวางแนวนโยบายผิดพลาด ต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในรัฐบาล ย่อมเกิดเป็นวิกฤติเศรษฐกิจตามมาอย่างแน่นอน

4) ในแง่ของศาสนา ปัจจุบันกำลังเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างศาสนา อันเกิดจากการพยายามแทรกแซงกิจการพระพุทธศาสนา และพยายามลบล้างความเป็นพุทธศาสนาในหน่วยงานนั้นๆ ที่นักการเมืองบางคนเป็นรัฐมนตรี ดังที่เป็นข่าวในปัจจุบัน

1.3 พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาทางการเมือง

1) พระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงอธิปไตย ไว้ถึง 3 แบบ คือ อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธรรมาธิปไตย โดยประการหลัง ธรรมาธิปไตยปกครองโดยเน้นธรรมะเป็นใหญ่ ให้ผู้นำมีธรรมะ (มุขบุรุษที่ดี) และประชาชนมีธรรมะ (สัมมาชน) พระสุตตันตปิฎก เล่ม 20 หน้า 186 , เล่ม 11 หน้า 231

2) พระพุทธศาสนา เน้นเสรีภาพทางจิต เป็นศาสนาแรกที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน มีสิทธิพิจารณาคัดเลือกผู้นำ มีสิทธิในด้านต่างอันไม่ก่อความเดือดร้อนสู่ตนเองและผู้อื่น

3) พระพุทธศาสนา สอนให้รู้จักความพอดีในการปฏิบัติตน และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยปัญญา ในการดำเนินตามอริยสัจ 4 นักการเมืองควรนำไปปรับใช้ตามเหตุสถานการณ์นั้นๆ

4) พระพุทธศาสนา สอนให้รู้จักความสุจริต ในการปฏิบัติตนสมควรแก่หน้าที่ รู้กาล รู้เวลา รู้หน้าที่ของตน

ปัญหาความยัดแย้งทางการเมือง ความยัดแย้งทางการเมืองที่เป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่งนั้นอาจจะมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น ผลประโยชน์ขัดกัน ความคิดเห็นไม่ตรงกัน การขาดอุดมคติทางการเมืองที่แน่นอน เป็นต้น ในการแก้ปัญหานี้ ตามทัศนะของพุทธศาสนาแล้ว นักการเมืองจะต้องมีธรรมะสำหรับนักบริหาร นักปกครองซึ่งพระพุทธองค์ได้แสดงว่า เป็นคุณสมบัติของนักปกครองหรือผู้บริหารปรากฏในพระคัมภีร์ศาสนาหลายแห่งด้วยกัน แต่ในที่นี้จะขอนำมากล่าวเฉพาะที่ท่านได้แสดงไว้ใน อรรถกถาอัฏฐกนิบาตอังคุตตรนิกาย มีใจความว่าผู้ปกครองหรือนักบริหารนั้นจะต้องทำนุบำรุงประชาราษฏร์ด้วยหลักธรรมที่เรียกว่าราชสังคหวัตถุ 5 ประการ คือ

1. สัสสเมธะ ฉลาดสามารถในการบำรุงเกษตรกรรมและกสิกรรมเป็นต้น อันเป็นธัญญาหารให้เกิดผลผลิตที่ดี มีการส่งเสริมการเกษตรและกสิกรรมให้อุดมสมบูรณ์ อันจะเป็นประโยชน์พื้นฐานที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศทางด้านเศรษฐกิจ

2. ปุริสเมธะ ฉลาดสามารถในการบำรุงคน ส่งเสริมคัดเลือกคนมาทำงานให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของเขาและการงานที่จะทำนั้น ๆ พร้อมทั้งจัดสวัสดิการให้ดี เป็นต้น

3. สัมมาปาสะ ผูกประสานสงเคราะห์ประชาชนพลเมืองบ่วงคล้องใจคน คือการดูแลสุขทุกข์ของประชาชน ส่งเสริมอาชีพ เช่น จัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในทางพาณิชยกรรมหรือดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความเลื่อมล้ำหรือช่องว่างจนแตกแยกกัน ซึ่งเป็นการทำให้จิตใจของประชาชนเลื่อมใสในผู้ปกครอง

4. วาชเปยยะ พูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวานดูดดื่มใจ รู้จักพูดรู้จักชี้แจงแนะนำ รู้จักทักทายถามไถ่ทุกข์สุขของประชาชนทุกชั้น ด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดี ด้วยถ้อยคำที่ประกอบด้วยเหตุผล ที่เป็นหลักฐานมีประโยชน์ เป็นทางแห่งการสร้างสรรค์แก้ไขปัญหาเสริมความสามัคคีทำให้เกิดความเข้าใจดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ

5. นิรัคคฬะ บริหารประเทศชาติให้อยู่เย็นเป็นสุข โดยป้องกันและบำราบโจรผู้ร้าย ให้ประชาชนนอนตาหลับ โดยยึดหลักการที่ว่า "ความสุขของประชาชนคือยอดปรารถนาของตน" และในทีฆนิกายปาฏิกวรรคก็ได้แสดงไว้ว่า ผู้บริหารหรือนักปกครองที่ดีนั้น เมื่อปฏิบัติหน้าที่ พึงเว้นความลำเอียง (อคติ) หรือความประพฤติที่คลาดเคลื่อนจากธรรม 4 ประการ

1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ

2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง

3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา

4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะขลาดกลัว

นอกจากนี้ มีความประพฤติดีเป็นแบบฉบับในการดำรงชีวิตของนักปกครองเพราะการปกครองที่ดีคือ การให้แบบอย่างที่ดี ความตรงความคดของนักปกครองมีอิทธิพลต่อความประพฤติของประชาชน ความซื่อตรงของประชาชน ขึ้นอยู่กับความซื่อตรงของนักปกครอง การแก้ความคดของส่วนใหญ่จึงต้องเริ่มมาจากฝ่ายปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 ประเภทนี้ พระพุทธเจ้าตรัสยกตัวอย่างไว้ในโพธิราชชาดก ขุททกนิกายว่า

"เมื่อฝูงโคกำลังข้ามแม่น้ำ ถ้าโคจ่าฝูงไปคด โคนอกนั้นก็คดตาม ในหมู่มนุษย์ก็เช่นเดียวกันถ้าผู้ได้รับสมมติให้เป็นหัวหน้าเป็นผู้ปกครองไม่เป็นธรรม คนนอกนั้นก็ประพฤติไม่เป็นธรรม ดังนั้นเมื่อผู้ปกครองประพฤติไม่เป็นธรรม ชาวเมืองก็พลอยทุกข์กันไปทั่ว โดยนัยตรงกันข้าม เมื่อผู้ปกครองทรงไว้ซึ่งธรรม ชาวเมืองก็เป็นสุขกันไปทั่ว"



2. วิกฤติด้านเศรษฐกิจ

คนเราเมื่อเกิดมาแล้ว จะสามารถดำเนินชีวิตประจำวันไปได้อย่างมีความสุขความเจริญ ตลอดทั้งประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิต จำเป็นต้องอาศัยเครื่องอุปโภคบริโภคนานาชนิดอย่างน้อยก็ต้องอาศัยปัจจัยสี่ คือ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคและก็ต้องมีอย่างเพียงพอที่เรียกว่า อยู่ดีกินดีถ้าแต่ละคนมีการอยู่ดีกินดี ก็ย่อมจะทำให้สังคมมีความมั่นคง แต่ถ้าแต่ละคนซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมส่วนใหญ่มีความเดือนร้อนในเรื่องการกินดีอยู่ดี ก็ย่อมจะเป็นสาเหตุนำความอ่อนแอมาสู่สังคม สังคมย่อมมีแต่ความเดือดร้อน เป็นหนี้เป็นสินกันมาก มีการทำผิดกฏหมายบ้านเมืองมีโจรผู้ร้ายมากขึ้นปรากฎการณ์ทางสังคมเช่นนี้ สาเหตุที่แท้จริงก็เนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจ อันเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งในชีวิตประจำวันของมวลมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ต้องดิ้นรนในแต่ละวันก็ไม่ใช่อื่นไกลก็เพื่อปากเพื่อท้องที่เรียกว่า ทำมาหากินนั่งเอง

2.1 ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

1) ปัญหาการตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ได้ มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่เผชิญกับปัญหานี้ บางคนแม้มีหน้าที่การงานทำแล้ว บางคนจบการศึกษาเป็นผู้ใหญ่แล้ว บางคนถึงกับแต่งงานแล้ว บางคนมีงานทำได้รับเงินเดือนมากพอสมควรแต่ก็ไม่สามารถสร้างเนื้อสร้างตัวในทางเศรษฐกิจได้ บางคนแม้มีอายุมากถึงวัยกลางคนแล้ว หรือบางคนแม้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวยแต่ก็ยังไม่สามารถยืนอยู่ด้วยลำแข้งของตนเองในทางเศรษฐกิจได้ และบางคนเคยมีฐานะทางเศรษฐกิจอย่างไร แม้กาลเวลาจะล่วงเลยไปหลายปีก็ตาม ก็ยังคงสภาพฐานะเดิม ไม่สามารถยกฐานะทางเศรษฐกิจของตนให้สูงขึ้นกว่าเดิมได้ บุคคลต่าง ๆ ดังที่ได้ยกตัวอย่างมานี้เป็นผู้เผชิญกับปัญหาการตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ได้ทั้ง ๆ ที่สภาพแวดล้อมภายนอกและตัวเองก็สูงวัยพอสมควร น่าจะประสบความสำเร็จมากกว่านี้ ปัญหาการตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ได้น่าจะลดน้อยถอยลงมากกว่านี้ แม้มีครอบครัวแล้วก็ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่ หรือโตแล้วก็เหมือนไม่โต ชนิดที่เลี้ยงไม่รู้จักโต สำหรับปัญหาดังกล่าว ได้มีหลักคำสอนในทางพุทธศาสนา ซึ่งเป็นธรรมะเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจส่วนบุคคลและครอบครัวถ้าได้นำเอาไปเป็นแนวทางแห่งการประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจังและจริงใจในชีวิตประจำวันแล้ว ก็เชื่อได้ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการตั้งเนื้อตั้งตัวไม่ได้อย่างแน่นอน หลักธรรมดังกล่าว มีดังนี้

2) ปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญมากเป็นปัญหาหนึ่งก็คือ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน คนรวยก็รวยเหลือเกิน ส่วนคนจนก็จนมากเหลือเกิน หรือคนร่ำรวยมีจำนวนน้อยแต่มีรายได้มาก ขณะเดียวกัน คนจนมีจำนวนมากและมีรายได้ต่ำมาก เมื่อความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจมีเช่นนี้ ก็ย่อมทำให้คนจนมีความเดือนร้อนเป็นทุกข์และก็มีโอกาสที่จะยากจนมากยิ่งขึ้น เมื่ออยากจะทำอะไรก็มักจะติดขัดกลายเป็นอุปสรรคเป็นปัญหาไปเสียหมด และโอกาสที่จะต้องกู้หนี้ยืมสิ้นก็มีมากขึ้น ความยากจนก็ดี การกู้หนี้ยืมสินก็ดี ล้วนแต่เป็นสาเหตุแห่งความเดือดร้อนทั้งสิ้น

3) ความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ในการทำงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งของกลาง คือ เงินไวจับจ่ายใช้สอยบำบัดทุกข์บำรุงสุข เมื่อมีงานทำ ก็ย่อมจะได้เงินเป็นค่าตอบแทน ดังคำขวัญที่ว่า "งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" ก็ย่อมมีผู้ที่เป็นเจ้าของงานในฐานะนายจ้าง และผู้ทำงานในฐานะลูกจ้าง นานจ้างกับลูกจ้างนี้ ก็มักจะมีปัญหาขัดแย้งกันอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุความขัดแย้งอาจมีมากมายหลายอย่าง เช่น ลูกจ้างไม่สนใจและรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานเท่าที่ควร ขาดประสิทธิภาพในการทำงานหรือมีผลงานออกมาไม่เป็นที่พอใจของนายจ้าง ส่วนนายจ้างก็อาจจะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน นายจ้างใช้วิธีปกครองลูกจ้างไม่เป็นธรรม หรือไม่เข้าใจชีวิตจิตใจของลูกจ้างที่ต้องการเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้างเนื่องจากค่าจ้างต่ำไม่เพียงพอต่อการครองชีพและนายจ้างไม่ยอมขึ้นให้เล่านี้ เป็นต้น ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นสังเกตได้ว่าความขัดแย้งต่าง ๆ ถ้าฝ่ายหนึ่งได้อีกฝ่ายหนึ่งมักเสีย เช่น ถ้านายจ้างขึ้นค่าแรงค่าจ้างแก่ลูกจ้างนายจ้างก็จะรู้ว่า เป็นการเสีย เพราะต้นทุนสูงขึ้น เป็นต้น แต่ความขัดแย้งส่วนมากเกิดขึ้นเนื่องจากลูกจ้างรู้สึกว่า ถูกนายจ้างเอาเปรียบหรือปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ลูกจ้างจึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อเรียกร้องสิ่งที่ลูกจ้างต้องการทำให้เกิดสมาคมลูกจ้างและการนัดหยุดงาน เป็นต้น เพื่อให้มีกำลังต่อรองกับนายจ้างในการเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ ที่ตนต้องการ มีการรวมกำลังลูกจ้างเพื่อเจรจาต่อรองกับนายจ้างและใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น นัดหยุดงานก็เพื่อให้เกิดอำนาจการเจรจาต่อรอง กล่าวคือ ถ้าอำนาจการเจรจาต่อรองของฝ่ายใดมากว่าก็จะมีสิทธิมีเสียงมากกว่าในการเจรจา ด้วยเหตุนี้ ความขัดแย้งจึงมักจะเกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะในการอุตสาหกรรมและสาขาอื่น ๆ นอกจาการเกษตร การหยุดงาน หรือการทำลายซึ่งกันและกัน จึงเป็นเหตุการณ์ธรรมดา ในระบบเศรษฐกิจ เป็นการทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรมนุษย์ ตลอดทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไปอย่างน่าเสียดายเมื่อมีการหยุดงาน

4) ปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุม โจรผู้ร้ายปล้นทรัพย์สินของผู้อื่น นอกจากเป็นผู้ทำผิดกฎหมายบ้านเมืองเป็นอาชญากรนำความเดือนร้อนมาสู่สังคมแล้วยังเป็นผู้ประพฤติผิดศีลธรรมและทำลายเศรษฐกิจของชาติอีกด้วย เพราะเป็นผู้เบียดเบียนเจ้าทรัพย์และถ่วงความเจริญ คือ นอกจากตัวเองจะไม่ประกอบสัมมาอาชีวะแล้วยังขัดขวางผู้อื่นซึ่งทำการประกอบสัมมาอาชีวะเพื่อประโยชน์และความเจริญของบ้านเมืองการแก้ปัญหาโจรผู้ร้าย จะต้องแก้ให้ถูกจุดและผู้ที่จะแก้ไขได้ดี ได้แก่ผู้เป็นหัวหน้าฝูงชนผู้ปกครองหรือผู้บริหารบ้านเมืองโดยจะต้องแก้ไขที่ปัญหาเศรษฐกิจ

2.2 ผลกระทบต่อสังคมไทย

1) ในแง่ของปัจเจกบุคคล คนไทยย่อมกินอยู่อย่างแร้นแค้นอดอยาก ไม่สามารถตั้งตนได้ เป็นต้นไม่สามารถจะกระทำอะไรตามที่ต้องการ

2) ในแง่ของสังคม ย่อมก่อให้เกิดช่องว่างเหลื่อมล้ำกันระหว่างคนรวยกับคนจนเป็นภาระของสังคมที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ ก่อให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาประเทศ ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความไม่มั่นคงทางสังคม ก่อให้เกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาเช่น ปัญหาอาชญากรรม เป็นต้น

3) ในแง่ของการเมือง เศรษฐกิจของชาติย่อมเป็นตัววัดคุณภาพของประเทศ คุณภาพของนักปกครอง คุณภาพของประชาชน และการให้ความเชื่อมั่นระหว่างประเทศ





2.3 พุทธศาสนากับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า จุดประสงค์ของเศรษฐกิจนั้น ก็เพื่อบำบัดหรือสนองความต้องการของมนุษย์ให้เกิดความมั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ หรือจะกล่าวอย่างง่าย ๆ ก็เพื่อให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดี หรือมีมาตรฐานในการครองชีพสูงขึ้น ในทางเศรษฐกิจถือว่า ยิ่งมีการอยู่ดีกินดีด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคมากเพียงใด ชีวิตย่อมมีความสุขและสะดวกสบายมากเพียงนั้น และเชื่อว่า เมื่อมีสินค้า และมีการบริการที่ผลิตได้ให้แก่ประชาชนโดยทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ประชาชนก็จะมีความสุขและความเป็นอยู่ดีขึ้น ความสุขดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่าเป็นความสุขในด้านวัตถุ จะกล่าวว่าความมุ่งหมายของเศรษฐกิจก็เพื่อจะสร้างความสุขใจด้านวัตถุให้แก่มนุษย์นั่นเอง ก็ย่อมเป็นการถูกต้อง พุทธศาสนาก็มีความมุ่งหมายที่จะสร้างความสุขให้แก่มนุษย์เช่นเดียวกัน แต่พุทธศาสนาแบ่งความสุขออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ โลกิยสุข และโกุตตรสุข โลกิยสุข เป็นความสุขของปุถุชนหรือฆราวาสผู้ครองเรือน เป็นความสุขที่พัวพันกับทรัพย์สมบัติและวัตถุกามต่าง ๆ เป็นประเภทอามิสสุข คือสุขที่เจือด้วยอามิสสิ่งของ ความสุขทางเศรษฐกิจก็จัดอยู่ในความสุขประเภทนี้ เพราะเป็นความสุขของการแสดวงหาและได้สิ่งของมาบำบัดความต้องการ ส่วนโลกุตตรสุขเป็นความสุขของผู้สิ้นกิเลสาสวะ และสำเร็จอรหัตผลแล้ว เป็นความสุขที่เที่ยงแท้ ยั่งยืน ไม่พัวพันอยู่กับวัตถุกามหรืออารมณ์กามใด ๆ เป็นประเภทนิรามิสสุข หรือสุขไม่เจือด้วยอามิส ซึ่งเป็นควาสุขที่เกิดขึ้นได้จากการบรรเทาความต้องการหรือทะยานอยากเสียได้ เป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากากรให้เสียสละ จะกล่าวว่าเป็นหลักเศรษฐกิจชั้นสูงในทางพุทธศาสนาก็ได้

2.3.1 หลักของการพออยู่พอกินในพระพุทธศาสนา

1) ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ปัจจุบัน หรือหลักสร้างความสำเร็จทันตาเห็น บางทีท่านเรียกว่า หัวใจเศรษฐี (อุ.อา.กะ.สะ.) อันเป็นคำสอนให้ตั้งเนื้อตั้งตัวได้ในทางเศรษฐกิจ 4 ประการ คือ

(1) ต้องมีความหมั่น คือ มีความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ประกอบอาชีพอันสุจริต รู้จักใช้ปัญญาความสามารถจัดการดำเนินการไปให้ได้ผลดี ซึ่งเป็นทางให้ได้ทรัพย์ ข้อนี้ตรงกับหลักเศรษฐกิจข้อแรกคือ Production หลักผลิตกรรม

2) ต้องการรักษา คือ ต้องรู้จักเก็บคุ้มครองทรัพย์ หน้าที่การงานและผลงานที่ตนได้มาหรือได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียรนั้น ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสียโดยเฉพาะ ถ้าเป็นทรัพย์ ก็ต้องยิ่งรู้จักเก็บออม ข้อนี้ตรงกับหลัก Saving หลักเก็บออม

3) ต้องเลือกคบคนดีเป็นเพื่อน คือ เลือกคบแต่สุหทมิตร ได้แก่ มิตรแท้ เพื่อนจริง ที่มีอุปการคุณ สมานสุขทุกข์ แนะนำประโยชน์ให้และมีความรักใคร่จริงใจ ถ้าดำเนินธุรกิจเป็นบริษัทหรือสหกรณ์ ก็จำเป็นต้องเลือกสมาชิกที่ดี ตรงกับหลัก Cooperation หลักสหกรณ์

4) ต้องมีความเป็นอยู่เหมาะสม คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย เลี้ยงชีวิตแต่พอดีมิให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือย ตรงกับหลัก Household Budget งบประมาณประจำบ้านหรือการวางแผนการใช้จ่ายประจำครอบครัว นั่นเอง





2.3.2 การเว้นจากอบายมุข (เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์) 4 ประการ คือ

1) จากความเป็นนักเลงหญิงนักเที่ยวผู้หญิง (แม้แต่นักเลงชาย)

2) เว้นจากความเป็นนักเลงสุรานักดื่มนักเสพยาเสพติดประเภทต่าง ๆ

3) เว้นจากความเป็นนักเลงเล่นการพนัน

4) เว้นจากการคบคนชั่วเป็นมิตรสหาย

2.3.3 ต้องดำเนินตามกุลจิรัฏฐิติ เหตุที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่งดำรงอยู่ได้นาน 4 ประการ คือ

1) ของหาย รู้จักเสาะแสวงหาคืนมา

2) ของเก่าของชำรุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม

3) รู้จักประมาณความพอดีในการกินการใช้

4) พ่อบ้านแม่บ้านเป็นผู้มีศีลธรรม

เพียงเท่านี้ ก็สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจส่วนบุคคลหรือครอบครัวได้ เมื่อแก้ที่บุคคลหรือครอบครัวได้ ก็ชื่อว่าแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศชาติได้

2.3.4 หลักกตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณตนหรือรู้จักความพอดีในการแสวงหาทรัพย์ในทางที่ชอบไม่โลภมากจนเกินไป และเมื่อหามาได้แล้วก็ต้องรู้จักประมาณในการใช้จ่ายด้วยต้องไม่ให้ฟุ่มเฟือยจนเกินไป และต้องมีอัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักตนเอง คือ ต้องรู้ตัวอยู่เสมอว่าเรามีชาติตระกูลยศตำแหน่ง หน้าที่การงานความรู้ความสามารถแค่ไหนเพียงไร แล้วต้องประพฤติตนให้สมกับภาวะนั้น ๆ อย่าหลงตัวเอง อย่าลืมตัวเองเป็นเด็ดขาด เช่น เป็นนายจ้างจะต้องเอาใจใส่ดูแลในเรื่องค่าจ้างที่เป็นธรรมรวมทั้งสวัสดิการอื่น ๆ พระพุทธเจ้าได้ทรงวางวิธีที่นายจ้างจะพึงปฏิบัติต่อลูกจ้างไว้ 5 ประการ คือ

(1) จัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง เพศ วัย ความสามารถ

(2) ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่

(3) ให้สวัสดิการมีช่วยรักษาพยาบาลในเวลาเจ็บไข้ เป็นต้น

(4) มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้

(5) ปล่อยในสมัย คือ เลิกงานตามเวลา และให้โอกาสพักผ่อนรื่นเริงตามสมควร

การค้าขายเป็นอาชีพที่ยอมรับกันว่า เป็นอาชีพของพลเมืองดีประเภทหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงลักษณะของพ่อค้า ที่อาจสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ตนได้ว่า ต้องประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ

1) จักขุมา มีหูตาไว้กว้างขวาง สามารถจำแนกต้นทุน กำไร สินค้าต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีว่า สินค้าชนิดนี้ซื้อมาราคาเท่านี้ ขายราคาเท่านี้จะได้กำไรเท่าไร เป็นต้น

2) วิธูโร มีความชำนิชำนาญในการค้าเข้าใจในการซื้อสินค้าเข้า จำหน่ายสินค้าออก รอบรู้การตลาดอำนาจการซื้อของลูกค้า เป็นต้น ไม่ทำให้สินค้าของตนตกค้าง

4) นิสสยสัมปันโน เป็นคนมีหัวใจในทางการค้า และมีแหล่งเงินต่าง ๆ ให้การสนับสนุน เช่น คุ้นเคยกับเศรษฐีคฤหบดี นายธนาคารให้ความเชื่อถือ สนับสนุนในด้านทุนดำเนินการ เป็นต้น

2.4 หลักพุทธธรรมสำคัญ ที่ควรจะนำมาประยุกต์ได้กับลักษณะทั่วไปเศรษฐศาสตร ์

1) เน้นการพึ่งตนเอง : ความหมายในทางพุทธธรรมคือ ความสามารถในการพัฒนาตนเองด้วยการพิจารณาอย่างแยบคาย เห็นความเป็นจริงของความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ขณะที่ความหมายที่มักเข้าใจกันในทางเศรษฐศาสตร์คือ

2) เน้นการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท : เป็นข้อที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดทั้งในแง่ความหมายทางธรรม และยังนำมาประยุกต์กับเศรษฐกิจได้

3) เน้นอหิงสา หรือการละเว้นจากการสร้างเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความรุนแรง : ประโยชน์ข้อนี้ ก่อให้เกิดความร่วมมือกันแทนที่จะเป็นการแข่งขัน ซึ่งมีทางเป็นได้ และเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย แต่สิ่งที่ต้องขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิงคือ ความโลภ

4) เน้นการดำเนินชีวิต และประกอบอาชีพการงานที่เป็นประโยชน์ สุจริต มีมานะอดทน สัมมาอาชีวะ : ข้อนี้จะเน้นการผลิต-ไม่ผลิต การบริโภค-ไม่บริโภค ในลักษณะที่ไม่เป็นผลดีแก่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เป็นการปฏิบัติธรรมหรือหน้าที่ที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตส่วนหนึ่ง

5) เน้นการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น : ข้อนี้ถือเป็นหัวใจของพุทธธรรม ในการดำเนินชีวิตไปตามทางสายกลางมุ่งเน้นสันติสุข ท่ามกลางในทางเศรษฐกิจ ที่ต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือดเพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก ถ้าหันมาร่วมมือกันสังคมก็จะได้รับประโยชน์มหาศาล

6) พยายามละกิเลสและความโลภ : ความโลภนำไปสู่พฤติกรรมที่เน้นการเสี่ยง ที่มีผลกระทบต่อความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นสาเหตุสำคัญ ที่อาจจะนำความเสียหายในทางเศรษฐกิจมาสู่ตนเองและสังคม

7) การเน้นความซื่อสัตย์ สุจริต มีความละอาย และเกรงกลัวการกระทำความผิด : เน้นการมีจิตใจเป็นกุศลมีเจตนาหรือความตั้งใจดีต่อผู้อื่น จิตที่บริสุทธิ์ย่อมนำมาซึ่งจิตที่สงบและมีสติมั่นคง นำไปสู่ปัญญาและความพ้นทุกข ์

เหล่านี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของการนำเอาพุทธเศรษฐศาสตร์ ที่ได้จากพุทธธรรมไปประยุกต์ซึ่งอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน แต่ถ้าหากทำได้ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดีกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันจะเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมต่อไป



3. วิกฤติด้านสังคม

สภาพของสังคมไทยปัจจุบัน นับวันยิ่งเลวร้ายลงทุกที ตลอดทั้งปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และจริยธรรม ในด้านการสรรค์สร้างคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและสังคมก็หาได้ยากมากผิดกับเมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว การปฏิบัติตนของคนในสังคมปัจจุบันมีแต่สภาพของความเห็นแก่ตัวเอาแต่ได้ ไม่มีจิตใจเอื้อเฟื้อต่อกัน โดยเฉพาะสังคมในกรุงเทพฯ สังคมไทยเป็นสังคมของพระพุทธศาสนา แต่การอบรมสั่งสอนเยาวชนของชาติในด้านจริยธรรมลดน้อยลงหรืออาจจะหายไปในบ้างที่ เช่น ในรั้วมหาวิทยาลัย เมืองไทย ในอดีตเคยได้ชื่อว่าเมืองแห่งพระพุทธศาสนา เป็นสยามเมืองยิ้ม ประชาชนหน้าตาเบิกบาน ไม่เคร่งเครียดเหมือนในปัจจุบันที่รัฐบาลประกาศว่า ประชาชนยากจนข้นแค้น นายทุนข่มเหงคนจนข่มผู้ใช้แรงงาน มองดูสภาพสังคมที่เดือนร้อนอยู่ทุกวันนี้ เป็นอย่างไร ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น มีคนเข้าใจหรือยึดมั่นในพระพุทธศาสนามากน้อยแค่ไหน สภาพจริยธรรมศีลธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน จึงอับก็ว่าได้ ไม่ว่าสังคมจะมีสภาพทางสังคมมากน้อยเพียงใด แต่ในทุกสถาบันก็มีปัญหาด้วยกันแทบทั้งสิ้น

3.1 ปัญหาของสังคม

1) ปัญหาความแตกร้าวในครอบครัว ครอบครัวนับว่าเป็นสถาบันมูลฐานของสังคม สมาชิกของสังคมทุกคน ก็ถือกำเนิดเกิดก่อจากแต่ละครอบครัวนั่นเอง และเป็นสภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวคนมากที่สุดถ้าสัมพันธ์ภาพ หรือสภาพครอบครัวที่ดี ไม่พิการ หรือแตกร้าวปัญหาทางสังคมอื่นๆ เช่น การหย่าร้างคนจรนัด หรือโสเภณี ศีลธรรมเสื่อม เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่จะมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวมจะไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นปัญหาความแตกรัวในครอบครัว จึงนับว่าเป็นปัญหาสังคมทีสำคัญมากที่จะต้องได้รับการแก้ไขอีกหลาย ๆ ฝ่าย โดยรวดเร็วและถูก จึงนับว่าเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญมากที่จะต้องรับการแก้ไขจากหาย ๆ ฝ่าย โดยรวดเร็วและถูกต้องเพื่อผลประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกับของครอบครัวและสังคมโดยส่วนรวม

2) ปัญหาอาชญากรรมและทุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำวันในชีวิต คือความเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นอาจจะเกิดมาจากหลายสาเหตุหลายประการ เช่น สันดานเป็นอาชญากร ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

3. ปัญหาศีลธรรมเสื่อม ปัญหาข้อนี้จุดสำคัญที่ตัวเองของบุคคลแต่ละบุคคล เพราะตัวเองแต่ละคนมักจะวางเฉยต่อศีลธรรมดังนั้นจะเห็นได้ว่าผู้ที่ประพฤติผู้ที่ประพฤติทุจริต เช่น พวกขโมยก็ไม่อยากให้ใครมาขโมยพวกตนต่อไป พ่อค้าที่ขูดเลือดขูดเนื้อประชาชนก็ไม่อยากจะให้ข้าราชการมาใช้อำนาจนอกหน้าที่ขูดรีดเนื้อตน สามีที่ตบตีภรรยาได้ทุกวัน ๆ มีเพื่อบ้านมาระรานกัน ข้าราชการไม่มีความปราณี เจ้าที่ไม่ยุติธรรม นี้เป็นความจริงซึ่งสามารถพิจารณาเห็นได้ในสังคมทุกวันนี้

4. ปัญหาโสเภณี ปัญหาโสเภณีนับว่าเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญปัญหาหนึ่งในสังคมอารยะทุกสังคม

ล้วนมีหญิงโสเภณีเหมือนกันหมดสิ้น จึงกล่าวได้ว่าหญิงโสเภณีเป็นผลิตผลทางสังคมและก็กลายเป็นปัญหาสังคม เหตุที่หญิงโสเภณีมักอ้างในเมื่อถูกซักถามถึงเหตุที่ต้องมาเลี้ยงชีพแบบนี้ คือ

ก) ชีวิตทางครอบครัว มีสภาพไม่มั่นคง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะพ่อแม่ไม่รับผิดชอบเต็มที่ หรืออาจเกิดขึ้นจากความเสื่อมโทรมทางจิตใจก็ได้

ข) ชีวิตการแต่งงานไม่ราบรื่น เมื่อหย่าร้างกับสามี ต้องเลี้ยงตนเอง เมื่อไม่รู้ว่าจะหาวิธีใดเลี้ยงชีพจึงต้องหากินทางนี้

ค) ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในครอบครัว ต้องทำมาหากินแบบนี้ เพราะถือว่า จะช่วยผดุงฐานะทางเศรษฐกิจของบ้านได้

ง) เหตุผลส่วนตัวบางอย่าง

จ) เพราะถูกหลอกลวงไปโดยอ้างว่า จะให้ไปทำงานรับจ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่แล้วถูกบังคับให้ขายตัว เลยกลายเป็นโสเภณีไป

ฉ) เพราะปัญหาว่างงาน ก็เลยหันมาประกอบอาชีพนี้

ช) เพราะคบเพื่อนไม่ดี เลยถูกเพื่อชักชวนไปทำงานประเภทบริการอื่น ๆ ก่อน แล้วในที่สุดก็กลายเป็นบริการทางเพศ

ซ) เพราะผู้ปกครองหรือพ่อแม่บางคนยินยอมที่จะให้ไปกระกอบอาชีพเช่นนั้น เป็นต้น

สาเหตุต่าง ๆ ตามที่ยกมากล่าวพอเป็นตัวอย่างข้างต้นนี้แหละ ที่ทำให้เด็กเยาวชนหรือเด็กหญิง ตัวน้อย ๆ อายุ 12-18 ต้องกลายเป็นโสเภณีที่มีชีวิตจมปลักหมักหมมอยู่ในห้วงอเวจี ไม่มีอิสระในตัวโสเภณีบางคนถูกบังคับให้ทำงานชนิดไม่ได้พักผ่อนหลับนอนเพียงพอทั้งไม่ให้ลา ไม่ให้หยุด หรือไม่ให้มาสาย จนสุขภาพร่างกายทรุดโทรม ร่างโรย ตายด้านตั้งแต่เยาว์วัย ผลตอบสนองที่สังคมได้รับจากหญิงโสเภณี จนกลายเป็นปัญหาสังคมนั้น มีหลายประการ เช่น

1) การแพร่เชื้อโรค ผู้หญิงโสเภณี เป็นผู้สำส่อนทางเพศย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งกามโรคและโอกาสที่จะแพร่เชื้อกามโรคให้แก่ผู้ชายที่ไปเที่ยวผ่อนคลายความกำหนัดได้เป็นอย่างมากและง่ายดาย เช่น โรคเริม แผลริมอ่อน ฝีมะม่วง หนองในเทียม ซิฟิลิส โดยที่สุดแม้แต่เชื้อเอดส์

2) ทำลายความมั่นคงของครอบครัวไปติดกามโรคมา ก็อาจจะนำเชื้อมาเผยแพร่ให้สมาชิกของครอบครัว แทนที่จะติดโรคคนเดียวก็กลายเป็นสองคนหรือสามคน นอกจากจะเสียเงินไปเป็นค่าบำรุงบำเรอให้โสเภณีแล้วก็ต้องนำเงินทองมาใช้จ่ายเป็นค่ายารักษาโรค เป็นจำนวนมิใช่เล็กน้อยแทนที่จะได้นำเงินนั้นไปใช้จ่ายบำรุงความสุขแก่ครอบครัว และบางทีถึงกับครอบครัวแตกสลายลงเพราะภรรยาฟ้องหย่ากับสามีในเรื่องเช่นนี้ มักมีปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง หรือบางทีก็เกิดเป็นการทะเลาะกันเกิดระหองระแหงภายในครอบครัว ขาดความไว้วางใจกันในระหว่างคู่ครอง สมาชิกของครอบครัวขาดความอบอุ่นและมีปมด้อยเป็นการทำลายบรรยากาศความสุขในครอบครัวได้ ซึ่งก็เป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของครอบครัวอันเป็นสถาบันพื้นฐานที่สุดของสังคมนั่นเอง

3) เป็นต้นเหตุทำลายศีลธรรมจรรยาอันดีงามของสตรี เพราะผู้หญิงหรือสตรีโดยทั่ว ๆ ไป จะต้องเป็นผู้มีความละอาย มีกิริยามารยาทเรียบร้อยสมเป็นกุลสตรี แต่คุณธรรมจรรยาดังกล่าวจะหาได้ยากมากในพวกผู้หญิงโสเภณี มีแต่จะเป็นที่ปรากฏโดยทั่วไปว่า หญิงพวกนี้มีความละอายน้อยขาดจรรยา มารยาที่ดีงามและมีความประพฤติชั่วช้ากักขฬะหยาบโลน

3.2 ผลกระทบกับสังคมไทย

1) ในแง่ของปัจเจกบุคคล ย่อมทำให้ประชาชนมีสุขภาพจิตเสื่อมทรามลง สุขภาพบุคลิกภาพถดถอย ขาดสติปัญญาความรอบรู้ในการแก้ไขปัญหาชีวิต เป็นต้น

2) ในแง่ของสังคมส่วนรวม สังคมขาดความสงบสุข เนื่องจาก ปัญหาดังกล่าวข้างต้น

3) ในแง่ของการเมือง บุคคลในสังคมเป็นส่วนประกอบสำคัญในสถาบันทั้งปวง ผลอันโยงใยถึงกันย่อมก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในการเมือง ไม่เป็นที่ยอมรับในสายตาของชาวโลก

4) ในแง่ของเศรษฐกิจ ย่อมเป็นปัญหาระยะยาวอันเกิดจากพฤติกรรมของบุคคลในสังคม การว่างงาน การขาดรายได้ การประกอบอาชีพไม่สุจริต คุณภาพของบุคคลในสังคมย่อมส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของสังคมด้วย

3.3 พระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาสังคม

3.3.1 ปัญหาความแตกร้าวในครอบครัว อาจจะมาจากสาเหตุหลายอย่าง เช่นสาเหตุทางเศรษฐกิจบ้าง สุขภาพอนามัยบ้าง สิ่งแวดล้อมบ้างและสาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ การบกพร่องในหน้าที่ของบุคคล ไม่คนใดก็คนหนึ่ง หรือเกิดบกพร่องพอ ๆ กัน สาเหตุเหล่านี้น่าจะเป็นบทเรียนสำหรับผู้จะมีชีวิตครอบครัว ควรจะได้พิจารณาข้อคิดบางประการก่อนจะตัดสินใจแต่งงาน กล่าวคือ

1) ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จะต้องมีความรักความเข้าใจซึ่งกันและกัน

2) จะต้องมีความมั่นคงในทางการเงิน

3) จะต้องพร้อมที่จะอดทนในการเผชิญต่อความยุ่งยากอันจะพึงมีขึ้น

4) จะต้องไม่มีปัญหาในเรื่องสถานที่อยู่หรือบ้านพัก

5) ทั้งสองฝ่ายจะต้องแสดงความจริงใจต่อกัน

6) จะต้องมีความสมบูรณ์แห่งสุขภาพและการสนองความต้องการทางเพศ ทั้งนี้เพราะปัญหาที่จะนำไปสู่การแตกร้าวในครอบครัวโดยเฉพาะการหย่าร้างอันเกิดจากทางฝ่ายสามี ทางพุทธศาสนาได้กล่าวไว้ใน สังขปัตตชาดกว่ามี 8 อย่าง คือ

1) สามี เป็นคนเข็ญใจ 2) สามีเป็นขี้โรค

3) สามีเป็นคนแก่ 4) สามีเป็นคนขี้เมา

5) สามีเป็นคนโฉดเขลา 6) สามีเป็นคนเพิกเฉย

7) สามีไม่ทำมาหากิน 8) สามีหาทรัพย์มาเลี้ยงดูไม่ได้

สาเหตุจากปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นก็อาจจะแก้ได้โดยการงดจากอบายมุข (เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์) 4 ประการดังกล่าวไว้นั้น โดยเฉพาะข้อที่ 4 การเว้นจากการคบคนชั่วเป็นมิตรสหาย แล้วพยายามเลือกคบแต่เพื่อนที่ดีที่เป็นกัลยามิตร เพราะเพื่อนนั้นนับว่าเป็นสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่อิทธิพลและมีความสำคัญมาก คนทีได้ดีมีความสำเร็จในชีวิตได้นั้นก็เพราะมีเพื่อนดี หรือคบแต่เพื่อนดีนั่นเองดังที่กล่าวกันว่า "คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว" จะรู้ได้อย่างไรว่า เพื่อนดีที่จัดเป็นกัลยาณมิตรนั้น มีลักษณะอย่างไร พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดลักษณะของมิตรที่ดีและชั่วไว้มนทีฆนิกาย ปาฏิกวรรคว่า ลักษณะของเพื่อนที่ดี หรือเพื่อนแท้ มี 4 ประการคือ

1) เพื่อนที่มีอุปการะ 2) เพื่อนที่ร่วมสุขร่วมทุกข์

3) เพื่อนที่แนะนำประโยชน์ 4) เพื่อนที่มีความรักใคร่

3.3.2 สาเหตุมาจากการบกพร่องในหน้าที่ อาจจะแก้ได้โดยการรักษาหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด พ่อบ้านแม่เรือนต่างก็มีหน้าที่รับผิดชอบดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสเอาไว้ในทีฆนิกายปาฏิกวรรค ในฐานะของผู้เป็นสามี ก็ต้องทำหน้าที่ที่พึงทำต่อภรรยาดังนี้ เช่น ยกย่องให้เกียรติสมฐานะที่เป็นภรรยา ไม่แสดงอาการดูหมิ่นเหยียดหยามภรรยา ไม่เกี่ยวข้องกับสตรีอื่นในทางประเวณี เป็นต้น

ส่วนผู้เป็นภรรยา ก็ต้องทำหน้าที่ที่พึงทำเป็นการอนุเคราะห์สามีดังนี้ เช่น จัดการงานภายในบ้านในฐานะที่ตนเป็นแม่บ้านให้สะอาดเรียบร้อย สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี ไม่ประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึก ต่อความเป็นภรรยาสามี ได้แก่ การเกี่ยวข้องกับชายอื่นในทางชู้สาว หรือไม่หึงหวงจนเกิดเหตุ เป็นต้นพร้อมกันนั้นก็จะต้องนำเอาหลักธรรมสำหรับการครองเรือน คือ ฆราวาสธรรม 4 ประการ มาใช้ต่อกันในบ้านด้วย ดังนี้

1. สัจจะ ความจริงใจ คือ ซื่อสัตย์ต่อกัน ทั้งจริงใจ จริงวาจา และจริงในการกระทำ

2. ทมะ ฝึกตน คือ รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดตัดนิสัยแก้ไขข้อบกพร่องข้อขัดแย้ง ปรับตัวปรับใจเข้าหากัน

3. ขันติ อดทน คือ มีจิตใจเข้มแข็งหนักแน่น ไม่วู่ว่าม ทนต่อความล่วงล้ำกล้ำเกินกัน และร่วมกันอดทนต่อความเหนื่อยยาก ลำบากตรากตรำ ฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกัน

4. จาคะ เสียสละ คือ มีน้ำใจ สามารถเสียสละความสุขสำราญ ความพอใจ ส่วนตนเพื่อคู่ครองได้ เช่น อดหลับอดนอนพยาบาลกันในยามเจ็บไข้ เป็นต้น ตลอดจนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อญาติมิตรสหายของคู่ครองไม่ในแคบ

ฝ่ายพ่อบ้านหรือสามี ก็จะต้องเป็นผู้เห็นใจแม่บ้านหรือภรรยาเป็นกรณีพิเศษด้วย ทั้งนี้เพราะสตรีมี

ความทุกข์อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากผู้ชาย ซึ่งสามีจะต้องเข้าใจและพึงปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่เห็นอกเห็นใจด้วย เช่น ผู้หญิงต้องจากหมู่ญาติมาอยู่กับตระกูลของสามีทั้งที่เป็นเด็กสาว สามีควรให้ความอบอุ่นใจ ผู้หญิงมีระดู ซึ่งบางคราวก่อปัญหาให้เกิดความแปรปรวนทั้งจิตใจและร่างกาย ฝ่ายชายควรเข้าใจ ผู้หญิงมีครรภ์ ซึ่งยามนั้นต้องการความเอาใจใส่ บำรุงกายใจเป็นพิเศษ เป็นต้น สมาชิกครอบครัว ไม่ใช่มีแต่สามีภรรยาเท่านั้น สมาชิกที่สำคัญอีกจำพวกหนึ่งก็คือลูก ๆ ผู้ที่เป็นพ่อบ้านแม่บ้านหรือเป็นพ่อแม่จะต้องรักษาหน้าที่ของตนที่จะต้องมีต่อลูกโดยปฏิบัติหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด และยุติธรรมกับลูก ๆ ทุกคน หน้าที่ของพ่อแม่นั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสแนะเอาไว้ในทีฆนิกายปาฏิกวรรค ดังนี้ เช่น ห้ามไม่ให้ลูกทำชั่ว แนะนำให้ลูกตั้งอยู่ในความดี ให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น

3.3.3 ปัญหาอาชญากรรมและทุรกรรมต่าง ๆ สำหรับปัญหาอาชญากรรมและทุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำวันในชีวิต คือความเป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นอาจจะเกิดมาจากหลายสาเหตุหลายประการ เช่น สันดานเป็นอาชญากร ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

สำหรับสาเหตุจากปัญหาเศรษฐกิจและครอบครัว ได้กล่าวถึงวิธีแก้มาแล้วข้างต้น ซึ่งอาจจะนำมาใช้ในกรณีนี้ได้เช่นเดียวกัน ส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเช่น แหล่งจำหน่ายยาเสพติด เป็นต้น ถ้าจะให้ได้ผลดี ทางฝ่ายรัฐบาลหรือชนชั้นบริหารน่าจะได้จัดการแก้ไขให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ โดยรัฐบาลหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางฝ่ายบ้านเมือง อาจจะแก้ด้วยการนำเอาธรรมะไปเป็นหลักในการทำงาน เมื่อเห็นว่าสิ่งแวดล้อมใดที่ขัดกับหลักศีลธรรมและจารีตประเพณีที่ดีงาม ก็จัดการให้เป็นไปในทางดีเสีย ก็จะเป็นอุบายวิธีแก้ไขที่ได้ผลมากทางหนึ่ง

3.3.4 ปัญหาศีลธรรมเสื่อม สาเหตุแห่งศีลธรรมเสื่อมนั้น มีมากมายอาจจะมาจาส่วนตัว ส่วนครอบครัว สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ฯลฯ การแก้สาเหตุจากครอบครัว สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจนั้น ได้กล่าวไว้แล้ว แต่ในที่นี้นับว่าสำคัญมากที่สุดก็คือส่วนตัวแต่ละบุคคล จะเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขไปสู่การแก้ปัญหาศีลธรรมเสื่อม คือจะต้องจัดการกับตัวเราเองให้ได้อย่างน้อย 2 วิธี คือ

1) พยายามหัดหรือปลูกฝังให้เกิดความฝังใจในการรังเกียจความชั่วช้าต่าง ๆ และประทับใจในความนิยมชมชอบในคุณงามความดีทั้งในที่ลับและที่แจ้ง อาจจะโดยวิธีพิจารณาให้เห็นว่า ความชั่วเป็นตัวสกปรกเป็นของเสียของเหม็นสาบ ไม่มีใครชอบ

2) พิจารณาถึงเหตุผลในเรื่องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เทียบเคียงกันและกัน คนที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่นได้นั้น มักจะรู้เทียบเคียงอกเขาอกเราเสมอ จะเป็นการฝึกไม่ลืมตน และยังสามารถทำตนให้เป็นที่นิยมรักใคร่ของคนทั้งหลายได้ เพราะคนที่ลืมตนนั้นเมื่อตนเองเป็นฝ่ายได้เปรียบ เป็นฝ่ายเหนือคนอื่นก็มักจะข่มขู่หรือเหยียบผู้อื่นโดยปราศจากความปรานี

3.3.5 ปัญหาโสเภณี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวิชรญาณโรรส ได้ทรงรจนาไว้ในหนังสือเบญจศีลเบญจธรรม เกี่ยวกับผู้เที่ยวซุกซนชอบคบค้ากับหญิงแพศยา (โสณี) จะประสบความเสื่อมเสียประการต่าง ๆ คือ

1) ต้องเสียทรัพย์เป็นค่าบำเรอหญิงนั้นทุกคราวไป ทรัพย์ที่เสียไปนี้ ไม่ใช่สำหรับทำอุปการะโดยฐานเมตตาที่ได้ชื่อว่าเป็นอันจ่ายด้วยดี แต่เป็นค่าปรับเพราะลุอำนาจแก่กิเลสกาม

2) หญิงแพศยาผู้ประพฤติสำส่อนในกาม ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งโรค อันทำให้ร่างกายพิการไปต่าง ๆ เสียกำลังไม่แข็งแรง ที่สุดเสียชีวิต และโรคนี้ติดต่อกันได้ มีบุตรภายหลังแต่เป็นคนมักมีโรค ไม่แข็งแรง

3) เสี่ยงต่ออันตรายต่าง ๆ เพราะหญิงแพศยา ย่อมผูกสมัครรักกับชายหลายคน ฝ่ายชายต่างคนก็จะเกิดหึงหวงเกียจกันและกันขึ้นเองเป็นฐานะที่เขาจะเกิดวิวาทกันขึ้นแล้วทำลายกัน

ตามทรรศนะทางพุทธศาสนาแล้ว การจะแก้ปัญหาอะไรก็ตามจะต้องแก้ที่ต้นเหตุ แก้กันไปให้ถึงต้นเหตุจริง ๆ น่าจะได้สาวหาต้นเหตุของการเกิดโสเภณีอย่างแท้จริง น่าจะเป็นไปได้ที่ว่า เพราะตราบใดยังมีคนไปเที่ยวโสเภณี ตราบนั้นก็ต้องมีโสเภณีแน่ และหากยิ่งมีคนไปใช้บริการนี้มาก ก็ยิ่งเกิดโสเภณีมากยิ่งขึ้นแล้วทำไมจึงมีคนถึงมีอารมณ์ทางเพศรุนแรงเพิ่มขึ้น ก็เพราะ

1) สภาพสังคมที่อยู่รอบตัวเรานั่นเองส่งเสริมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นภาพยนต์ วีดีโอ ละคร เพลง การโฆษณา การจัดประกวดนางงามธิดาต่าง ๆ การกีฬา หนังสือพิมพ์รายวัน หนังสือลามกต่าง ๆ ทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ มีการเผยแพร่ยั่วยุกามราคะจัดยิ่งขึ้น ฉะนั้น ตราบใดที่การสื่อสารต่าง ๆ ยังป้อนภาพ-เสียง-สัมผัสที่เร่งเร้า ปลุกอารมณ์ทางเพศให้ระอุฮือโหมแก่ประชาชนอยู่ตลอดเวลาแล้ว ตราบนั้นปัญหาโสเภณีย่อมไม่มีวันลดน้อยลงไปได้ และโสเภณีมีแต่จะถูกเพิ่มจำนวนให้มารองรับอารมณ์กามของผู้ชายมากขึ้น พร้อมกันนั้น สื่อสารลามกต่าง ๆ ก็จะออกมาเอาใจลูกค้า กามตัณหาก็เพิ่มทวีคูณยิ่งขึ้นไปอีก

2) ตัวบุคคลแต่ละคน พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนให้รักษาศีล 5 เป็นนิจศีลสำหรับบุคคลทั่วไป มิให้ขาดมิให้ทำลาย ซึ่งในศีล 5 นั้น มีข้อที่ 3 ที่ให้มีเจตนางดเว้นจากประพฤติผิดในทางกามมีรายละเอียดดังกล่าวไว้ในบทที่ 2 ข้อที่ว่าด้วยเบญจศีลเบญจธรรม เมื่องดเว้นจากการประพฤติในกามนี้เป็นขั้นของศีล แต่จะมีธรรมควบคู่ด้วย คือ จะต้องมีกามสังวร ปติวัตร และสทารสันโดษ เพราะฉะนั้นบุคคลแต่ละคนนี้แหละที่เป็นต้นเหตุอันแท้จริงของการเกิดโสเภณีเพราะบุคคลแต่ละคนขาดธรรมคือกามสังวร ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแนะนำให้ "สังวรในกาม คือกิริยาที่ระมัดระวังไม่ประพฤติมักมากในกาม" ก็เพราะในด้านของปัจเจกชน หากไม่มีความสังวรในกามแล้วจิตใจก็จะหาความสงบมิได้ จะมีความกระวนกระวายแสวงหากามอยู่เรื่อยไป ทั้งจะวิจิตรพิศดารขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไม่มีขอบเขต เพราะว่าการเสพกามจะทำให้เต็มอิ่มนั้นไม่ได้ มันไม่เหมือนกับการกินข้าว ที่กินแล้วยังรู้จักอิ่ม แต่การเสพกามนี้เหมือนกับยาเสพติดอย่างหนึ่ง คือยิ่งเสพก็ยิ่งติด วิธีการที่ฉลาดกว่าในการที่จะทำให้อิ่มในกามให้เกิดขึ้นก็คือ วิธีตามแนวพุทธศาสนา คือการเสพกามให้น้อยลง น้อยลงเรื่อยๆ จนหยุดไปเอง

การจะถือหลักที่ว่า "น้ำมีไหล ไฟมีควัน ชายมีนารี สตรีมีบุรุษ" ก็เป็นธรรมดาของปุถุชน เพราะเมื่อเป็นผู้ใหญ่จบการศึกษามีหน้าที่การงานแล้วก็สามารถมีครอบครัว คือ มีสามี หรือภรรยา เป็นเพื่อนคู่ชิดมิตรคู่ใจเป็นคู่สร้างคู่สม มีความรักที่บริสุทธิ์ต่อกัน ซื่อสัตย์ต่อกันจริงใจต่อกัน เข้าใจกันและกัน อาจมีเพื่อนต่างเพศคบกัน ดูใจกัน สังเกตอุปนิสัยใจคอกันและกันก่อน และอย่าชิงสุกก่อนห่าม ถ้าจะให้ดีก็ต้องให้พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายรับรู้เห็นชอบด้วย จะได้มีหลักประกันหรือมีพยาน ชนิดที่เราเรียกกันว่า เข้าตามตรอก ออกตามประตูอย่าเข้าหลังบ้านออกทางหน้าต่าง ไม่ปลอดภัยแน่ จะต้องแน่ใจว่าเปแนความรักที่บริสุทธิ์จริงใจต่อกันให้มีสติสัมปชัญญะ อย่าให้ถึงขั้นมืดมน ดังที่กล่าวกันว่า "ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มิดมน" รักอย่างนี้มีเพื่อต่างเพศอย่างนี้มีจุดหมายที่แน่นอนเพื่อจรรโลงชีวิตคู่หรือชีวิตครอบครัวอย่างนี้ มีจุดหมายที่แน่นอน เพื่อจรรโลงชีวิตคู่หรือครอบครัวอย่างนี้ไม่มีความเสียหาย สังคมยอมรับปฏิบัติกันอยู่แล้ว



4. วิกฤติสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม (สามารถจับต้องและมองเห็นได้) และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ) มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ

4.1 ปัญหาสิ่งแวดล้อม หมายถึงปัญหาความเสื่อมโทรมในเชิงคุณภาพและปริมาณของสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม อันมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการพัฒนา ขอบเขตของปัญหาสิ่งแวดล้อมสามารถพิจารณาได้จากความรุนแรงของปัญหา มีถึง 4 ระดับด้วยกัน คือระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ทางธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่สองลักษณะด้วยกันคือ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติในรูปของการร่อยหรอหมดไปและความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ที่เรียกว่า ภาวะมลพิษ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นผลผลิตตามมาจากการที่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติต้องเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการกระทำของมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาความสูญเสียดุลยภาพของสิ่งแวดล้อมที่มีทีท่าว่าจะเลวร้ายลงทุกวัน อันจะต้องระดมความคิดและการกระทำช่วยกันแก้ไขทุกวันนี้ก็คือ

1) มลพิษทางอากาศ มาจากก๊าซหลายชนิด เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน สารไฮโดรคาร์บอนต่าง ๆ รวมทั้งอานุภาคบางชนิดและไอของตะกั่ว โรงงานอุตสาหกรรมและยวดยานพาหนะ ยิ่งหนาแน่นมากเท่าไร มลพิษในอากาศก็เพิ่มมากเท่านั้น
2) มลพิษทางน้ำ น้ำในแม่น้ำลำคลองปัจจุบันเน่าเสีย มีแนวโน้มมากขึ้น เพราะมนุษย์ได้ทิ้งขยะ สารเคมี ปุ๋ย ซากสัตว์ น้ำสกปรกจากโรงงาน ผงซักฟอก ฯลฯ มนุษย์จึงต้องเผชิญกับน้ำไม่บริสุทธิ์ที่ตนใช้ยังชีพและมนุษย์ก็ยังรู้ดีต่อไปว่า น้ำเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตอย่างหนึ่ง และน้ำที่ตนใช้ยังชีพกำลังจะเป็นพิษขึ้นทุกที แต่มนุษย์ก็ไม่หยุดยั้งในการทำน้ำให้เป็นพิษ เพราะความละเลย ความเห็นแก่ตัว มักง่าย และความไม่เอาใจใส่ของมนุษย์นั่นเอง แม่น้ำลำคลองต่าง ๆ จึงเน่าเหม็นเป็นจำนวนมาก

3) มลพิษทางดิน การที่ดินเกิดภาวะมลพิษมีที่มาจากหลายสาเหตุ เช่น มูลของสัตว์ การใช้ปุ๋ยเกินพอดี ตะกอนของเกลือ สารเคมี โดยเฉพาะขยะมูลฝอย ถ้ากองทิ้งไว้จะเกิดการสลายตัวทำให้เกิดสารอินทรีย์และ อนินทรีย์ พอฝนตกลงมาน้ำก็จะไหลไปบริเวณข้างเคียง สารต่าง ๆ ก็ตามไปด้วย ทำให้ละแวกนั้นมีพิษไปด้วย นอกจากนี้ขยะบางอย่างก็ยากต่อการทำลายหรือทำลายเพียงบางส่วน ซึ่งถ้าทิ้งไว้ที่ใดก็มักจะคงอยู่ในสภาพเช่นนั้น ถ้าเกิดใครมักง่ายทิ้งลงตามท่อระบายน้ำ จะทำให้เกิดการอุดตัน ถ้าทิ้งบงในแม่น้ำลำคลองจะทำให้ตื้นเขินและเป็นอันตรายต่อเรือที่สัญจรไปมา สิ่งที่สบายตัวยากที่กล่าวมาเช่น พลาสติก โลหะ ฝ้าย หนัง เป็นต้น
4) มลพิษทางอุณหภูมิ โลกปัจจุบัน นับวันอากาศจะแปรปรวนไปจากเดิม เพราะมนุษย์มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นการเสริมสร้างและทำลายมนุษย์ เช่น ระเบิดไฮโดรเจน ฝนเทียม การถางป่าตัดต้นไม้ ขาดความเย็น หรือการอยู่ในเมืองอย่างแออัดไม่มีต้นไม้ทำให้ฝนไม่ตก หรือความร้อนจากอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรต่าง ๆ ตลอดจนความร้อนจากดวงอาทิตย์ เป็นต้น

กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น

1) ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ

2) ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา

3) ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย

4.2 สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม

1) การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน

2) การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้นและผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ

1) ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ

2) ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง

4.3 ผลกระทบต่อสังคมไทย

1) ในแง่ของปัจเจกบุคคล ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดโรคภัยเบียดเบียน ก่อให้เกิดความรำคาญ สภาวทางจิตเสื่อม ฯลฯ จนกลายเป็นภาระปัญหาของสังคม

2) ในแง่ของสังคม ชุมชนโดยรวมไม่เป็นที่สัปปายะในการอยู่อาศัย การดิ้นรนแสวงหาที่อยู่ใหม่จึงเกิดขึ้น การทำลายก็เพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นสภาวะลูกโซ่ สังคมจึงเสื่อมทรามขึ้น

3) ในแง่ของการเมือง วิกฤติต่างๆ ย่อมมีผลในทางไม่ดี อาจเป็นช่องทางให้นักการเมืองและข้าราชการแสวงหาผลประโยชน์ หรือปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมกันมากที่สุด ดังนั้นประเทศใดเกิดภาวะวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมย่อมตกอยู่ในสายตาของชาวโลก เป็นที่แสดงว่าผู้นำของประเทศขาดประสิทธิภาพขาดนโยบายในการบริหารที่ดี เป็นต้น

4) ในแง่ของเศรษฐกิจ เมื่อเกิดวิกฤติต่างๆ ผลจากวิกฤตินั้นๆ ย่อมไม่เป็นที่ไว้วางใจของต่างชาติ การส่งออกระหว่างประเทศจึงชะงัก ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงต้องหมุนเวียนภายในประเทศ ประชาชนจึงมีรายได้น้อยลง หรือไปหลงในอบายมุขต่างๆมากขึ้น ก็จึงเป็นสาเหตุการเกิดวิกฤติอื่นๆ ตามมา เช่น วิกฤติด้านสังคม ด้านการเมือง เป็นต้น

4.4 พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

พระสงฆ์ในฐานะเป็นองค์กรหนึ่งของสังคม ในการช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังดำเนินไปอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ควรจะได้ทำความเข้าใจเรื่องความหมาย ขอบข่าย และสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมเสียก่อนแล้วจึงแสวงหาจุดที่เหมาะสมว่า พระสงฆ์ควรจะยืนอยู่ตรงไหนจึงจะเหมาะสมกับการให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กล่าวมานี้ ล้วนมีผลกระทบแก่การดำรงอยู่ของมนุษย์ในทุกๆด้าน มนุษย์ต้องการผืนดินในการผลิตอาหารธรรมชาติ แต่ขณะนี้ดินก็หมดประสิทธิภาพในการผลิต ทุกวันนี้ต้องสร้างปุ๋ยเคมี เพิ่มความอุดมให้แก่ดินซึ่งผิดธรรมชาติที่เคยเป็นมา ยิ่งเพิ่มปุ๋ยเคมีลงไปมากเท่าไรก็เป็นการทำลายดินมากเท่านั้น คงต้องใช้เวลานานต่อการย่อยสลายผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ต่าง ๆ ที่ทับถมอยู่บนแผ่นดิน ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินก็เสื่อมคุณภาพลงไปเรื่อย ๆ กว่าความอุดมสมบูรณ์จะกลับคืนมาก็คงจะใช้เวลานานพอสมควรทีเดียว

ชีวิตมนุษย์ต้องการน้ำเพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งหลับตาลงแต่ละวัน มนุษย์ต้องใช้น้ำในการอุปโภคบริโภคประจำวัน เช่น อาบ ดื่ม ทำความสะอาดร่างกาย และสิ่งต่าง ๆ ใช้ในการผลิตผลทางการเกษตรในไร่นา ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ใช้ในทางคมนาคม ยานพาหนะบรรทุกคน บรรทุกสิ่งของไปมา ติดต่อกันโดยไม่ต้องลงทุนอะไร ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ แต่เมื่อเกิดมลพิษทางน้ำ ประโยชน์การใช้งานเหล่านี้ย่อมลดลงและหมดไปในที่สุด แต่ความต้องการใช้ประโยชน์จากน้ำ มิได้หมดไปด้วย เมื่อความต้องการมีมากปัจจัยตอบสนองความต้องการมีน้อย การช่วงชิงสูง ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทะเลาะกันอย่างรุนแรงได้ในยุคพุทธกาลศากยะตระกูล กับโกลิยะตระกูลอันเป็นตระกูลฝ่ายพุทธมารดาและพุทธบิดา ก็ทะเลาะกันเรื่องน้ำ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จไปทรงห้ามบ่อย ๆ แต่พอพระพุทธองค์มิได้ทรงห้ามก็รบกันไม่มีวันหยุดหย่อน น้ำจึงมีความสำคัญต่อชีวิตมาแก่โบราณกาล การขัดแย้งกันมีมานาน หากใช้ทรัพยากรน้ำไม่เป็น น่ากลัวว่าในอนาคตจะมีการช่วงชิงจนเกิดความแตกแยกในสังคมขึ้นมาอีกเป็นแน่แท้

อากาศและอุณหภูมิก็มีความจำเป็นต่อชีวิตไม่น้อยไปกว่าสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ และสำคัญมากเสียด้วย มนุษย์ขาดน้ำยังพออยู่ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ ขาดอาหารอยู่ได้นานหลายวัน แต่ขาดอากาศบริสุทธิ์หายใจ ไม่ถึง 1 ชั่วโมงก็เสียชีวิตทันที หากไม่เสียชีวิตก็อาจจะพิการได้ หากอากาศเสียแผ่ขยายออกไปมาก ๆ ความเจ็บป่วยต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ง่าย กระทบกระเทือนสุขภาพก่อน พอนานเข้าก็เป็นอันตรายแก่ชีวิต หากอากาศเสียขยายไปอย่างรุนแรงมนุษย์อาจจะต้องตายจนสิ้นเผ่าพันธ์ก็ได้อุณหภูมิ ก็มีผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ไม่แพ้ สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ร่างกายที่ดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุขเพราะร่างกายมีอุณหภูมิสมดุลกับธาตุอื่น ๆ ในร่างกาย และอุณหภูมิในร่างกายย่อมมีความสัมพันธ์กับภายนอกอย่างใกล้ชิด หากอุณหภูมิภายนอกร้อนมากจนร่างกายไม่สามารถปรับตัวอยู่ได้ ก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างแน่นอน

หากมองปัญหาตามแนวพุทธศาสนาเราก็พบว่าขณะนี้ธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม กำลังมีปัญหาซึ่งอาจจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นทุกวันจนเข้าขั้นวิกฤตขึ้นไม่วันใดก็วันหนึ่ง ชีวิตมนุษย์ตามพุทธทัศนะประกอบขึ้นมาจากธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ตามกฏของธรรมชาติ ต้องอาศัย ธาตุ 4 ที่ส่งเข้าไปสู่ร่างกายและถ่ายเทออกมาต้องบริสุทธิ์และสมดุล ร่างกายจึงจะดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข ถ้าหากเสียดุลบ้างเล็กน้อย ร่างกายก็จะแสดงปฏิกิริยาออกมาในรูปของความอ่อนแอหรือป่วยไข้ ถ้ารุนแรงชีวิตจะแตกสลายทันที หากสิ่งแวดล้อมยังอยู่ในสภาพวะปกติบริสุทธิ์ สดใสตามธรรมชาติ ชีวิตมนุษย์ก็พลอยพบกับความสุขสดชื่นไปด้วย แต่ถ้าเมื่อไรมีความแปรปรวนมากๆ ชีวิตมนุษย์ก็จะประสบทุกข์มากยิ่งขึ้น ภารกิจแห่งการร่วมกันเผชิญปัญหา การค้นคว้าหาสาเหตุของปัญหาและทางแก้ให้พบ ซึ่งมั่นใจว่าทางแก้มีอยู่ จึงมิใช่เป็นหน้าที่ของมนุษย์เพียงคนใด คนหนึ่ง หรือกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของทุกชีวิต เพราะมันจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความดำรงอยู่ และการล้มสลายแห่งมนุษยชาติทีเดียว

ในอดีตวิถีไทย คือวิถีแห่งธรรม เพราะธรรม คือแนวทางที่สอนให้มนุษย์สร้างดุลยภาพแห่งชีวิตระหว่างตน ชุมชนและธรรมชาติรอบ ตัวว่าควรจะดำเนินชีวิตให้สอดคล้องสมดุลอย่างไร ตามความเชื่อ ตามวิถีทางพระศาสนาของตนอย่างไร แต่ ณ ปัจจุบันนี้ธรรม นั้น ได้ผันแปร เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เมื่อมนุษย์หันหลังที่จะเข้าใจธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ อันเป็นแม่บทแห่งธรรมมากขึ้น แล้วมุ่ง หน้าตักตวงทำลาย ธรรมชาติอย่างตะกละตะกลาม เมื่อมากเข้านานเข้าก็ยากที่ธรรมชาติจะทานทนได้หรือ เพียงพอกับความโลภ อันไร้ขีดจำกัดของมนุษย์ และยิ่งเมื่อวิถีชีวิตมนุษย์ เดินทางห่างไปจากธรรมชาติ หลงใหลในเทคโนโลยีนำพา อุตสาหกรรมเข้ามา ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายดุลยภาพที่เคยสอดประสานเป็นวิถีชีวิตที่กลมกลืนกับธรรมชาติภัยแห่งผลพวงนั้นก็เริ่มลุกลามดุลยภาพแห่งชีวิตนั้นจะขาดวิถีแห่งธรรมเสียมิได้ เพราะธรรมคือกรอบคิดหลักที่วางกระบวนการดำเนินชีวิต วางความหมาย แห่ง คุณค่าให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ อันสงบและเรียบง่าย เนื่องจากปัจจุบันป่าต้นน้ำ ถูกทำลาย ถูกบุกรุกแผ้วถางมากมาย ซึ่งทั้งหมดล้วนมาจากผลกระทบของการพัฒนาอย่างไม่ยั่งยืน อันขัดกับหลัก ปฏิบัติตามวิถี ชาวพุทธที่อยู่พอเพียงและเคารพธรรมชาติ
การพยายามดึงเอาสถาบันพระศาสนา ชุมชนและประชาคมเมือง ให้มาสนใจ รับรู้และศึกษา ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับสังคม ทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม และอื่นๆ

4.5 การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การอนุรักษ์ หมายถึง การเก็บรักษา สงวน ซ่อมแซม ปรับปรุงและใช้ประโยชน์ตามความต้องการอย่างมีเหตุผลต่อสิงแวดล้อม เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดคุณภาพสูงสุดในการสนองความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างถาวรต่อไป หลักการอนุรักษ์ การที่จะให้บรรลุเป้าหมาย คือ การที่จะทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้และอยู่คู่กับโลกตลอดไปนั้น มีหลักการอนุรักษ์ 7 ประการ คือ

1) ใช้อย่างฉลาด การจะใช้ ต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงผลดี ผลเสีย ความขากแคลนหรือความหายากในอนาคต อีกทั้งพิจารณาหลักเศรษฐศาสตร์ถึงต้นทุนและผลตอบแทนอย่างอย่างครบถ้วน

2) ประหยัด (เก็บ รักษา สงวน ) ของที่หายาก หมายถึง ทรัพยากรใดที่มีน้อยหรือหายาก ควรเก็บรักษาไว้มิให้สูญไป บางครั้งถ้ามีของบางชนิดที่พอจะใช้ได้ ต้องใช้อย่างประหยัด

3) ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหนือเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น (ซ่อมแซม ปรับปรุง) กล่าวคือ ทรัพยากรใดก็ตามมีสภาพล่อแหลมต่อการสูญเปล่า หรือจะหมดไปถ้าดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชา ควรหาทางปรับปรุงให้อยู่ในลักษณะที่ดีขึ้น

4) ปรับปรุงให้ดีกว่าสภาพธรรมชาติเดิม เช่น การปฏิรูปที่ดิน การปลูกพืชหมุนเวียน หลายอย่างจะทำให้ดินดีขึ้น

5) นำของใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น การนำขวดน้ำพลาสติก กระดาษหรือเศษเหล็กเป็นต้นกลับมาใช้ใหม่

6) ใช้สิ่งอื่นทดแทนทรัพยากรธรรมชาติบางอย่าง เช่น ใช้แกลบขี้เลื่อยและขยะเป็นเขื้อเพลิง การใช้ปูนซิเมนต์ในการก่อสร้างแทนไม้

7) ใช้เทคโนโลยีที่เหมาสมในการพัฒนา และต้องศึกษาผลได้ผลเสียอยางรอบคอบเสียก่อน เช่น การสร้างโรงไฟฟ้า หรือเขื่อน เป็นต้น

5. ข้อเสนอแนะ

พระพุทธศาสนาสอนเรื่องสันโดษ สันโดษ ความหมายตามตัวอักษรหมายถึง "ความยินดีในของของตน" (โดยไม่แย่งชิงกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น) คำว่าสันโดยที่นำเอามาใช้เป็นภาษาไทย มาจากภาษาสันสกฤตว่า สํโตษะ คือความยินดี ความพอใจพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมาย คำว่าสันโดษว่า "ความยินดีหรือความพอใจเท่าที่ตนมีอยู่; มักน้อย" (อัปปิจฉตา) ซึ่งตรงข้ามกับมหิจฉตา ที่แปลว่า "มักมาก" ในของของผู้อื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่นคำว่า สันโดษ หากเป็นภาษาบาลี มาจากศัพท์ว่า สนฺโตสะ และมีอีกศัพท์หนึ่งว่า สนฺตุฏฺฐิ (สันตุฎฐี) ซึ่งก็หมายถึง "ยินดีด้วยของของตน" เช่นกัน จะเห็นได้ พบได้ในพระพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า "สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ" แปลตามที่ท่านแปลกันมาว่า "ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง" และอีกบทหนึ่งว่า "ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฺฐพฺพํ" แปลว่า "ได้สิ่งใดพึงพอใจในสิ่งนั้น"มีข้อน่าสังเกตว่า "ตุฎฺฐพฺพํ" ที่แปลว่า "สันโดษ"แปลว่า "พอใจ" ก็ได้ ส่วนในปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (หน้า 774) มีว่า "สันโดษที่เป็นภาษาไทย มาจากภาษาบาลีว่า สนฺตุฏฺโฐ ภาษาสันสกฤตว่า สํตุษฺฎิ ก็มีความหมายเช่นเดียวกับที่ได้ยกนำมาเสนอ ตั้งแต่ตอนต้นแล้ว ในภาษาอังกฤษ คำว่า Contenment* และ Satisfaction** สำหรับContentedness ตรงกับคำว่า สันโดษ ซึ่งให้ความหมายว่า "พอใจ; สันโดษ; พอความต้องการ" ตามความหมายที่ผ่านมา คำว่า "สันโดษ" ไม่ได้แปลหรือมีความหมายว่า ไม่ให้พัฒนาตน สังคม หรือประเทศชาติ แต่ประการใด คำสอนเรื่อง "สันโดษ" เท่ากับสอนให้ "รู้จักพอ" คำว่า "สันโดษ" ทางพระพุทธศาสนามี 3 ประการ คือ

1) ยถาลาภสันโดษ ยินดีในสิ่งที่ตนได้มา โดยชอบด้วยศีลธรรมและนิติธรรม

2) ยถาพลสันโดษ ยินดีตามสมควรแก่กำลังกายและกำลังสุขภาพของตน ไม่ยินดีจนเกินกำลัง

3) ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร ตามที่เหมาะสมแก่ตน แก่ภาวะ ฐานะ และแนวทางในการดำเนินชีวิตของตน

สันโดษทั้ง 3 เป็นไปในปัจจัย 4 (สำหรับบรรพชิตคือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลาน เภสัชช์/สำหรับคฤหัสถ์ เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) จึงรวมเป็นสันโดษ 12 (3x4=12) สันโดษมีปรากฎอยู่ในพระคัมภีร์อรรถกถาและฎีกามากมาย ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง การสอนเรื่องสันโดษ เป็นการสอนมิให้มีความปรารถนามาก อยากมีมาก(มหิจฉตา) โลภมาก ในสิ่งที่ไม่ใช่สิทธิของตนอันที่จริงมีรถ 10 คัน ก็ใช้ได้ทีละคัน มีบ้าน 10 หลัง ก็นอนได้คืนละหลัง จะโลภมาก มักมาก ไปทำไมกัน คำสอนทางพระพุทธศาสนามีถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น 3 ปิฎก คือ

1) พระวินัยปิฎก 21,500 พระธรรมขันธ์

2) พระสุตตันตปิฎก 21,500 พระธรรมขันธ์

3) พระอภิธัมมปิฎก 42,000 พระธรรมขันธ์

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้ทรงสอนให้สันโดษ* เท่านั้น ยังมีคำสอนที่ให้ขยันหมั่นเพียร (อุฏฐานะ) มีความเพียร (วิริยะ/วายามะ) ให้มีการเก็บรักษา (อารักขา) คบเพื่อนดี (กัลยาณมิตร) เลี้ยงชีพชอบ เลี้ยงชีพพอสมควร ไม่ฟุ่มเฟือยเกินไป ไม่ฝืดเคืองเกินไป (สมชีวิตา) เลี้ยงชีวิต เลี้ยงครอบครัว พอเหมาะพอสม สันโดษ มิได้หมายความว่า สอนให้งอมืองอเท้า ไม่ขวนขวายศึกษาเล่าเรียน ไม่ประกอบการงานอาชีพแต่อย่างไร แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้อีกว่า ต้องมีอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)** คือคุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มีคำสอนที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) เช่นจักร 4 คือธรรมะที่นำชีวิตไปสู่ความรุ่งเรือง ดุจล้อรถนำรถไปสู่ที่หมายฉะนั้น (มีปฏิรูปเทสวาส อยู่ที่ในถิ่นที่ดี สัปปุริสปัสสยะ สมาคมกับสัตบุรุษ คือคนดี อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ทำดีไว้ก่อน) จักร 4 นี้ เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "พุทธธรรม" คือธรรมอันมีอุปการะมาก (Virtues of great assistance) ช่วยให้ชีวิตประสบความก้าวหน้า เจริญงอกงามไพบูลย์ตลอดไป วุฒิธรรม 4 คือ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ 4 มี (สัปปุริสสํเสวะ คบคนดีเป็นสัตบุรุษ สัทธัมมัสสวนะ ฟังพระสัทธรรม เอาใจใส่ในการศึกษาหาความรู้ โยนิโสมนสิการ คิดหาเหตุผลโดยถูกวิธี พิจารณาในใจโดยวิธีอันแยบคาย/แยบยล ธัมมานุธัมมปฏิบัติ ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม) พระพุทธศาสนามีภาษิตว่า มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ ความรู้จักประมาณ (ความรู้จักพอ) จำปรารถนาในที่ทั้งปวง เรามีมัชฌิมา ความรู้จักประมาณ ปฏิบัติแบบสายกลาง มีอัตตัญญุตา ให้รู้จักประมาณตน
พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติ มีชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง พัฒนาสังคม ประเทศชาติให้เจริญพัฒนามีมากมายครับ เพราะฉะนั้นมองอะไรอย่ามองด้านเดียว ต้องมองอย่างขึ้นที่สูงมอง หรือต้องมองอย่างนกมอง (bird's eye view) คำว่าสันโดษนี้ อาจได้แปลว่า "พอ, ความพอ, ความรู้จักพอ" คนรู้จักพอ จึงจะเป็นคนร่ำรวย คนไม่รู้จักพอจึงเป็นคนจนอยู่ตลอดกาล คนไม่รู้จักพอ จึงเท่ากับเป็นคนมีไม่พอ พอไม่มีนั่นเอง หากบุคคลในสังคมมีคำว่าพอแล้วย่อมไม่ก่อสร้างปัญหาใดๆ ให้กับสังคม ชุมชน และประเทศชาติ



6. บทสรุปและวิเคราะห์

ปัญหาทุกปัญหาที่สังคมโลกและทุกประเทศ รวมถึงสังคมไทยกำลังเผชิญอยู่นั้น เป็นบทเรียนราคาแพงที่ทุกคนได้รับ สาเหตุที่แท้จริงของทุกปัญหานั้นมาจากเหตุเพียงเหตุเดียว คือ ความด้อยคุณภาพของประชากร ทั้งระดับครอบครัว ระดับสังคม ระดับชาติ จำนวนประชากรที่มีคุณภาพต่ำเป็นจำนวนมากในสังคมเหล่านั้น ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องทำทุกวิถีทางที่จะสร้างคุณภาพที่สูงขึ้นไปแก่ประชาชนในสังคมไทย

ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้ เช่นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ก็เกิดจากฝีมือของคนเห็นแก่ตัว หวังเพื่อประโยชน์ส่วนตนทั้งสิ้น โดยไม่มองถึงความเดือดร้อนของคนอื่น เห็นความเดือดร้อนของคนอื่นเป็นเรื่องไกลตัว แต่ถ้าคนเราแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้ มองว่ามนุษย์เท่าเทียมกัน และคนเหล่านี้ไม่เอาเปรียบกันมีจิตสำนึกดี เชื่อว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมคงจะหายไป เพราะฉนั้นคนที่เอาเปรียบคนอื่น หรือเห็นแก่ตัวควรจะมองปัญหาสังคม และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เสีย แล้วปัญหาต่าง ๆ ก็จะไม่ตามมา จะแก้ไขปัญหาง่ายมาก เพียงแค่คนมีจิตสำนึก รู้จักคำว่า "หน้าที่ และมีวินัย " ปัญหาต่าง ๆ ก็คงไม่เป็นแบบวันนี้ และคงไม่ฝังรากจนเติบโตจนยากแก่การแก้ไข แต่ถ้าคิดจะแก้ไขก็คงไม่สายถ้าคิดจะทำ กระแสความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และอิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและบุคคลในสังคม ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และค่านิยม ควรที่ทุกฝ่ายทั้งอาณาจักรและศาสนจักรต้องประสานร่วมมือกันป้องกันแก้ไขปัญหาในระบบสังคม ค่านิยม อุดมการณ์ รวมทั้งคุณธรรม จริยธรรม และร่วมกันปลูกจิตสำนึกบุคคลในสังคมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมมากขึ้น

การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการนำเอาหลักธรรมทางศาสนาประยุกต์เข้ากับการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ควบคู่กับการสร้างคุณภาพชีวิตเยาวชนผู้เป็นประชากรใหม่ของสังคมในยุคต่อๆไป โดยสถาบันครอบครัวมีอิทธิพลต่อเยาวชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นสถาบันแรกที่ให้การอบรมทางด้านจิตใจ ให้ความรัก ความอบอุ่น เอาใจใส่ดูแล ทะนุถนอม ปกครองดูแลอย่างถูกต้องแล้วก็จะสามารถให้เยาวชนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและคุณธรรมได้อย่างแน่นอน อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาให้กับสังคม ส่งผลให้สังคมมีความสงบสุข เพราะเยาวชนในวันนี้ก็คือผู้นำและพัฒนาสังคมประเทศชาติในวันข้างหน้า







***************************







- เอกสารอ้างอิง

จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร . สวัสดิการสังคมทางแก้วิกฤตสังคมไทย . กรุงเทพฯ : บริษัทฟ้าอภัย , 2540.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) . ธรรมกับการพัฒนาชีวิต . กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม , 2539.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) . พุทธวิธีแก้ปัญหา เพื่อศตวรรษที่ 21 . กรุงเทพฯ :

มูลนิธิพุทธธรรม , 2539.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) . ธรรมนูญชีวิต . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา , 2540.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) . พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

กรมการศาสนา , 2542 .

สมพร สุขเกษม , ดร . ความจริงของชีวิต . กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา , 2542 .

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ . สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ . กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์กรมศาสนา , 2530 .

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รหัสลับ 11-11-11 คืออะไร

รหัสลับ 11-11-11 คืออะไร !!!

รหัสลับ 11-11-11 คืออะไร !!!

ดิฉันได้รับเอกสารเตือนชิ้นหนึ่งจากหลายคน หลายวงการ คนแรกส่งมาเป็นเดือนมาแล้ว ล่าสุดได้รับจากสยามมีเดีย หนังสือพิมพ์ของคนไทยในอเมริกา(สำนักงานอยู่แอลเอ ดิฉันเชื่อว่าหลายคนคงได้รับเช่นกัน เอสารชิ้นนั้นชื่อว่า รหัสลับ 11-11-11 ดิฉันตรองแล้วจึงตัดถ้อยคำไม่เหมาะสมออกเสีย แล้วนำลงเฉพาะที่เตือนกันไว้ ระวังไว้ เท่านั้น

“ จริง หรือไม่จริงก็ไม่รู้ แต่อ่านแล้วระวังไว้ไม่เสียหาย?

อะไรจะเกิดขึ้นในวันที่ 11-11-11 (รหัสหายนะ)

น้ำท่วมไม่ปล่อย แต่กักให้สูงเพื่อทะลัก และปิดกั้นทิศเหนือและอีสาน

เส้นทางภาคใต้กำลังจะถูกตัดขาด ในอีกสองสามวัน

คนอพยพหนีน้ำ กระจายออกไปนอกกทม.

น้ำดิบสำหรับผลิตประปากำลังจะปนเปื้อน กทม.จะขาดน้ำยังชีพ

ทหารเขมรพร้อมอาวุธปลอมตัวแฝงอยู่ในกทม. (โดยเฉพาะผ้าเหลือง)

อาหารกำลังจะถูกตัดขาด

เมืองกำลังจะถูกเผาอีกครั้งหนึ่ง

ทหารออกมาช่วยประชาชนจนอ่อนล้า เกินกว่าจะป้องกัน

เส้นทางส่งกำลังบำรุงถูกตัดขาดตามข้างบน

อาวุธถูกย้ายออกจากฐานที่ตั้งประจำเพราะหนีน้ำ

โจมตีภาคใต้หนักเข้าไว้ ทหารต้องห่วงหน้าพะวงหลัง

จ้าง,,,,,ปล้น เผา ภาคเหนือ

ทำไปทำไม ต้องล้มให้ได้.... เพราะขัดขวางทุกอย่างที่คิด

จึงทำทุกวิถีทาง ....แต่ก็ไม่สำเร็จ

คราวนี้เล่นแผนใหญ่ทำลายทุกอย่าง....

ไอ้ที่ทำไว้ไม่สำเร็จ.... จะมาเช็คบิลตอนนี้

11-11-11 พี่น้องชาวไทย ต้องคิด คิด และ คิด

ช่วยกันแพร่ข่าวแผนนี้ให้หนักเพื่อทำลายแผนการนี้ ทุกช่องทางที่มี

ให้พวกประสงค์ร้าย ต้องเปลี่ยนแผน ให้ รวนไปหมดอีกครั้ง “

นั่นคือข้อความทั้งหมด เหมือนคิดมากไป แต่ความจริงภัยธรรมชาติครั้งนี้ลุกลามเป็นมหาวิกฤติ เพราะคนที่มีอำนาจบริหารจัดการไม่ทำหน้าที่ ไม่แยกหลักรอง เช่น ขัดแข้งขัดขา กลัวเพื่อนได้หน้า ไม่ลุยแก้ปัญหาจริง ดิฉันฟังอ.ธงทองโฆษก ศปภ.ว่าที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ลอยหน้าลอยตาบอกว่า จะส่งเครื่องสูบน้ำให้กทม.มาติดต่อกัน ๗ วัน แล้วก็บอกว่าทยอยส่งเครื่องสูบน้ำ ให้กทม. /ต่อไปเป็นหน้าที่ของกทม.

ข้อสงสัยคืองบกลาง นายกฯสามารถสั่งซื้อได้ทำไมไม่สั่งซื้อด่วน ส่งด่วน(ถ้าต้องซื้อจากต่างประเทศ) ส่งเครื่องสูบน้ำลงทุกจุดที่มีปัญหาน้ำท่วมขัง ส่วนงานฟื้นฟู เยียวยา กำชับหน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งทำ ต้องแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด ไม่ใช่ปล่อยน้ำเดินทางไปเอง[1]

นี่คือ การบริหารแบบไม่บริหาร เดินโชว์ไปวันๆ ช่วงนี้ นายกฯ/รัฐมนตรี/ส.ส./ลูกทีม ต่างเดินสายช่วยเหลือ แจกของกันยกใหญ่ ฟังอภิปรายเมื่อวานยิ่งตระหนักถึงความไม่รับผิดชอบมากยิ่งขึ้น

เฮ้อ!!! บอกข่าว “รหัสลับ 11-11-11 (รหัสหายนะ)” ต่อไปไม่เสียหายค่ะ ไม่ใช่กระต่ายตื่นตูม เราระวัง แต่ไม่ระแวง หากวันไหนเกิดเหตุร้ายจริง เราก็ดูแลตัวเอง และทำหน้าที่ของเราสุดกำลังค่ะ

เป็นกำลังใจให้ทุกคนสู้วิกฤตินะคะ!!! ระวังแต่ไม่ต้องระแวงค่ะ

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Democratic complete independently.

Democratic complete independently.
The meaning of the word. "Bruce is a democratic right" seems to mean that the regime of rights and liberties of the people in order to have the opportunity to express. In their duties fully. And by this means we will see a democratic system is the default. The public has to decide on their representatives to act on it. Resource Management is happy to contribute to their (the election) until the size has to understand that. Democracy is the election. Without taking into account that in an election or voting process is corrupt or is distorted. In fact, the beginning of the democratic right to be free. Need to know about it. "Democracy" is a thorough one.
Phra Buddha said to teach fair "sovereignty" is as big as three of the Attatipati regarded himself as a big one Olkatipati The world is a big thumb's upon the reins of the fair is to be a big one on the whole. 3, then at first glance just now stumbling on Thai democracy, meaning that 1 and 2 is Attatipati and Olkatipati equate their power in the world (the majority) is the only The forgotten that Article 3 is to be justified. From the start, until the democratic process to complete independently. For this reason, Thailand's democracy is a vicious circle of repeated sequences to 79 years.
"Vicious circle" to start the voting public. That the election has bought the rights to sell music to represent the people. But it is not truly representative, but to come to their own personal gain and partisan. Okgkin to grab a massive government corruption, it does not treat people suffering Bmrugsuk. Shall not interfere with a fair process. People are not satisfied. Movement is marching rally. It was a coup to seize power by the military, economic collapse is not recognized internationally. Shred the constitution rewritten to emphasize the power of a great politician, without regard to effect. The public interest. The vote by the elected political parties and the previous one. I had bought the rights to sell music to their advantage to do Okgkin Tontun corruption. Repetitive sequences in this new nation that is 79 years.
Therefore, it is. "Bruce is a democratic right" to take "his thumb upon the reins of" is "legitimate" to change. "Vicious circle" is. "Range of legitimate" since the beginning of the process. People vote to choose a good moral support. Honesty and the ability to purchase without a sound sales. When it comes to representing their collective interests of the management of the nation and people. The selfish and partisan interests. No Okgkin no Tontun (because it does not invest), not corruption policy. Nation and its people prosperous. No protest rally against any fighter. Military coups since the country peacefully is not a good economy. I often rip and burn the Constitution. When the agent is the term they "know enough" and recruiting support to people with integrity, knowledge and ability to have the opportunity to contribute to the country what it is "full of the righteous," so-called "democracy is free. equipment ".
The struggle for democracy in Thailand 79 years is not a bad or defective system or constitution whatsoever, but as the "people" to be just and Olkatipati Attatipati only a democratic right for free. Must fall into the vicious circle continues to have a "thumb's upon the kidneys, and" is not "be justified as a" back-off and the vicious circle of political will, whenever it is politics that is. "Bruce is a democratic right" on the fly.

One group of private organizations in the power of love - Sara. The development of democracy.
ไหนว่าเป็นพวก " นักประชาธิปไตย " ไม่ใช่หรือเจอวิจารณ์แบบตรงไปตรงมา เจอความจริงแค่นี้ถึงกับต้องจัดชุดไล่ล่าเลยหรือไง ใครจะไปกลัวพวกมรึง......... แค่นี้ยังน้อยไปนะเนี่ย !!!! ความผิดพลาด 12 ประการ ของ ยิ่งลักษณ์ ในการแก้ปัญหาน้ำท่วม 1.ขาดประสบการณ์ในการบริหารราชการ และไม่เข้าใจในการใช้เครื่องมือทางฝ่ายบริหารที่มีอยู่ ทั้งในส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น 2.เลือกใช้กฎหมายที่มีอยู่ไม่ถูกต้องต่อสถานการณ์ โดยเฉพาะ พ.ร.บ.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งเป็นกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย ต้องให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บริหารจัดการ ขณะที่รัฐบาลเองไม่กล้าที่จะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมสถานการณ์ตั้งแต่ต้น 3.เรื่องกำหนดตัวบุคคล หรือจัดองค์กรในการเข้ามาดูแลศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ใช้คนไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องน้ำเข้ามาแก้ไข โดยเฉพาะ ผอ.ศปภ. แทนที่จะเป็นกระทรวงมหาดไทย แต่เป็นกระทรวงยุติธรรม 4.บทบาทของฝ่ายการเมืองมีลักษณะเป็นการทำเพื่อหวังผลทางการเมือง บนความทุกข์ของประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการแจกของ โดยแจกให้เฉพาะคนกลุ่มคนเสื้อแดง หรือผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลเป็นหลัก ทำให้เกิดความขัดแย้งของประชาชนในหลายจุด 5.ความไม่เข้าใจของนายกฯ และรัฐมนตรี และศปภ. ต่อภูมิศาสตร์ หรือภูมิสถาปัตย์ หรือกายภาพของประเทศ ว่าทิศทางเดินทางของน้ำควรเดินไปทางไหน ซึ่งไม่เข้าใจธรรมชาติของน้ำ และธรรมชาติของภูมิภาค 6.รัฐบาลไม่เลือกพื้นที่ หรือจัดระดับความสำคัญว่า รัฐบาลจะให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่สงวนไม่ให้เกิดความความเสียหาย แต่รัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป็นตัวตั้ง แทนที่จะเอามิติทางสังคมของประเทศไทยเป็นตัวตั้ง 7.การบริหารจัดการน้ำของนายกฯ แก้ปัญหาแบบคล้าย ๆ ขายผ้าเอาหน้ารอด คือการเอาคนในพื้นที่ไปอยู่ท้ายน้ำ และเอาคนไปอยู่เส้นทางน้ำผ่านทั้งหมด จึงทำให้ความเดือดร้อนของประชาชนเป็นทวีคูณ แม้แต่ ศปภ.ยังต้องอพยพและไปอยู่ท้ายน้ำเหมือนกับการอพยพประชาชน 8.รัฐบาล และ ศปภ.ปกปิดข้อมูลที่สำคัญบางอย่างกับประชาชน คือปริมาตรน้ำที่มีอยู่ พูดภาษาราชการเกินไป แทนที่จะบอกว่าขณะนี้ระดับไหนถึงไหน ขณะที่ปริมาตรน้ำเข้ามาใน กทม. แจ้งกันในเฟซบุ๊ก ทำให้ข้อมูลข่าวสารได้รับเพียงประชาชนคนชั้นกลางที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ประชาชนที่หาเช้ากินค่ำไม่เคยรับรู้เรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด 9.การเมืองระหว่างรัฐบาลกับผู้ว่าฯ กทม.ที่ใช้เวทีบริหารจัดการน้ำ มาชิงพื้นที่ทางการเมือง ส่งผลให้การบูรณาการทั้งระบบล้มเหลว 10.วิธีการของรัฐบาลที่เรียกว่าจับราชการแยกออกจากกัน ด้วยการสร้างอาณาจักรตำรวจ ขึ้นมาแข่งกับทหาร โดยมอบหมายภารกิจของทหารให้ตำรวจทำ แทนที่จะให้จับโจรผู้ร้าย 11.การสื่อสารของรัฐบาลไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในการนำเสนอให้ประชาชนได้รับรู้ ที่ผ่านมารัฐบาลเสนอข้อมูลแบบซ้ำไปซ้ำมา 12.เรื่องการขุดเจาะถนนเพื่อระบายน้ำถือว่ามีความจำเป็น แต่รัฐบาลปฏิเสธที่จะทำเรื่องดังกล่าว

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข้อเสียของระบบทุนนิยม

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่ภาคเอกชนในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต รวมถึงเศรษฐทรัพย์ต่างๆที่ตนหามาได้ มีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ

ส่วนผู้บริโภคสามารถที่จะเลือกอุปโภคบริโภคสินค้า และบริการต่างๆได้อย่างอิสระเสรี แต่ทั้งนี้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายหรือการดำเนินการใดๆจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของบุคคลอื่น

โดยระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะขับเคลื่อนได้ด้วยระบบการแข่งขันทางด้านราคาและระบบตลาด ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากร และกำหนดเศรษฐกิจว่า จะผลิตอะไร ผลิตเพื่อใคร และอย่างไร ส่วนการกระจายสินค้าและบริการ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ความต้องการของผู้บริโภคจะบอกถึงมูลค่า หรือเป็นตัวกำหนดราคาสินค้าและบริการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการชนิดหนึ่งมาก แต่ขณะเดียวกันสินค้าและบริการดังกล่าวมีน้อย ก็จะช่วยให้สินค้าและบริการนั้นมีราคาที่สูงตามไปด้วย เป็นต้น

โดยรัฐบาลจะมีหน้าที่ควบคุมกฎ กติกา และดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพื่อให้กลไกตลาดทำงานได้ และห้ามเข้ามาแทรกแซงหรือทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรแทนตลาด ปล่อยให้ตลาดจัดสรรทรัพยากรเองไปตามธรรมชาติ และทำหน้าที่ป้องกันประเทศเท่านั้น

ข้อดีของระบบทุนนิยม คือ ทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว เพราะประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สามารถเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามที่ตนถนัด, ส่วนกำไร และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินช่วยเป็นแรงจูงใจที่ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผลิตได้มากน้อยเท่าไรก็จะได้รับผลตอบแทนหรือรายได้เท่านั้น นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมทำให้เกิดการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์หรือเทคนิคใหม่ๆ อยู่เสมอ ดังนั้นจึงเกิดการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เพราะเป้าหมายสูงสุดของระบบนี้คือ กำไร และการครอบครองทางการตลาด

แต่ในขณะเดียวกันระบบทุนนิยมก็มีข้อบกพร่องเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมาก มีลักษณะการกระจุกตัวของรายได้หรือ “รวยกระจุก จนกระจาย” ซึ่งส่งผลให้เกิด ความยากจน, การว่างงาน, ความเสมอภาค จนเกิดการแย่งชิงทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกันอันเนื่องจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบ ตลอดจนราคาหรือกลไกตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจเพราะสินค้าและบริการบางอย่างมีการผูกขาดหรือเป็นสินค้าสาธารณะซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนมาก อาจ เสี่ยงกับภาวะการขาดทุน หรือไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ทำให้เอกชนไม่กล้าลงทุน ส่งผลให้รัฐบาลต้องเข้ามาดำเนินการแทน

ดังนั้นราคาจึงไม่สามารถเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรได้ อีกทั้งระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างสิ้นเปลือง, เปล่าประโยชน์, ไม่คุ้มค่า ตลอดจนสิ่งแวดล้อมเกิดความเสื่อมโทรม และถูกใช้ให้หมดไปกับปัจจุบันมาก โดยไม่คำนึงถึงคนรุ่นหลัง

นอกจากนี้ระบบทุนนิยมยังส่งผลกระทบทางด้านสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย การแลกเปลี่ยนสังคมวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทำให้ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองลดน้อยลง จนเกิดการสูญเสียวัฒนธรรมดั้งเดิมในที่สุด นอกจากนี้ค่านิยมในการบริโภคก็เปลี่ยนไป วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไปจากเดิม วัตถุนิยม และความมั่งคั่งเป็นสิ่งที่ใครๆก็อยากได้และปราถนา ทุกคนเห็นแก่ปากท้องตน มากกว่าญาติพี่น้องและส่วนรวม จนคุณธรรมและจริยธรรมเริ่มเสื่อมถอยลง จนนำไปสู่ปัญหาต่างๆมากมายในสังคมไทย

จะเห็นว่าระบบทุนนิยมมุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและตัวเลข เช่นตัวเลข GNP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ที่บ่งบอกแต่ปริมาณมากกว่าคุณภาพ แต่การพัฒนาเศรษฐกิจจะดูในเรื่องของการกระจายรายได้ ซึ่งประกอบไปด้วยเส้นความยากจน, ส่วนแบ่งรายได้, เส้น Lorenz และค่าสัมประสิทธิจินี, เรื่องของการศึกษา โดยมองจากอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชาชน ฯลฯ และเรื่องด้านสุขภาพอนามัย โดยมองผ่านอัตราการเกิดการตายของเด็กทารก ความยืนยาวของชีวิต ค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข การแพทย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจก็ไม่สามารถที่จะบอกได้ว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะสามารถแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากข้อบกพร่องของระบบทุนนิยมคือวิธีใด เพราะทุกครั้งที่มีการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ก็จะเกิดการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นหลายท่านจึงเชื่อว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่จะสามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดการแก้ไขปัญหาของระบบทุนนิยมได้

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สาเหตุแห่งมหาอุทกภัย ๒๕๕๔

สาเหตุแห่งมหาอุทกภัย ๒๕๕๔

(ระดับน้ำหน้าเขื่อนภูมิพล กันยายน ๒๕๕๔ ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต)

มีการถ่ายทอดข้อความของผู้ที่ใช้นามว่า “ชาวเขื่อน” ส่งถึงผมเช้านี้ (๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔) ความว่า

“รู้มั้ยว่าทำไมน้ำถึงท่วมเป็นวงกว้างขนาดนี้..
สาเหตู.. การจัดการบริหารน้ำผิดพลาด
ใครผิดพลาด.. นาย (ระบุชื่อ-ผมขอปิด) ทำไมถึงเป็นนายคนนี้ เพราะตอนน้ำท่วมช่วงแรกๆ นายคนนี้เป็นคนสั่งให้เขื่อน ทุกเขื่อนกักน้ำให้ไว้ให้มากที่สุด
แทนที่จะปล่อยให้ระบายน้ำออกจากเขื่อนตามหลักการที่เคยทำมา
เพื่อที่จะทำให้ระดับน้ำที่ท่วมในช่วงนั้นลดลง.. โดยไม่สนใจคำคัดค้านจาก ผอ.เขื่อนต่างๆ โดยเฉพาะเขื่อภูมิพล ที่พยายามโต้เถี่ยงคัดค้านมาโดยตลอด จนนายคนนี้ไม่สามารถโต้เถี่ยงจึงกล่าวออกมาว่า
นี่คือคำสั่ง ผมสั่ง.. คุณต้องทำ
แล้วเป็นไง.. น้ำเหนือที่ยังไม่หมดช่วงมรสุมตะวันออกลงมาที่เขื่อนต่างๆ เป็นจำนวนมาก
จะค่อยๆระบายก็ไม่ได้ ต้องกัก.. นี่เป็นคำสั่ง จนส่งผลดังปัจุบันที่ เป็นอยู่..
แล้วเราจะประนามใคร.. ช่วยกระจายเรื่องหน่อยเถอะครับ ชาวไทยจะได้ตาสว่าง..”

(ภาพถ่ายทางอากาศระหว่างบินสำรวจอุทกภัย กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ กลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ ขอบคุณภาพ : สุเทพ ทวะลี ทีมเฉพาะกิจ กรมประชาสัมพันธ์ ประจำศูนย์ ศปภ.ดอนเมือง)

อีกข้อความหนึ่งที่ผมได้รับพร้อมกัน

“..น้ำท่วมครั้งนี้ เกิดจากความผิดพลาดการบริหารน้ำทั้งหมด

คนที่ต้องรับผิดชอบ (ระบุชื่อ ๔ คน ๑ หน่วยงานระดับกรม – ผมขอปิด)

ความจริงที่ควรรู้

๑.ปริมาณน้ำไม่ได้มากกว่าปี ๔๙ และ ๓๘

๒. เพียงแต่น้ำมาเร็วกว่าปกติประมาณ ๔๕ วัน

๓. ทำให้มีการกักน้ำไว้ไม่ให้ไปท่วมนาที่ยังเก็บเกี่ยวไม่เสร็จ

๔. (ชื่อคน – ผมขอปิด) ไม่ยอมให้ผันน้ำไปท่าจีนตั้งแต่แรก ทำให้เกิดการแตกของบางโฉมศรี ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติหนัก

๕. อ้าย (ไม่บอกชื่อ แต่บอกสัญลักษณ์ให้รู้ว่าเป็นผู้ใด – ผมขอปิด) รู้ดี ดังนั้นตอนที่อ้าย (ระบุชื่อ – ผมขอปิด) มันออกมาโวย อ้าย (ไม่บอกชื่อ แต่บอกสัญลักษณ์ให้รู้ว่าเป็นผู้ใด – ผมขอปิด) มันจึงรีบออกมาห้ามเพราะม่ายงั้น จะความแตก เพราะงานนี้ (เสีย) หายเกินกว่าจะคาดคิด

๖. อ้าย (ชื่อคน – ผมขอปิด) สั่งไม่ปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพล ตั้งแต่แรกเพราะต้องการให้ตอนล่างเก็บเกี่ยวเสร็จ พอน้ำเหนือมามาก จนท่วมตัวเมืองเชียงใหม่จึงต้องปล่อยน้ำลงเขื่อนจนน้ำในเขื่อนเกิดวิกฤติ ต้องปล่อยน้ำจำนวนมาก ติดต่อกัน

๗. หลายพื้นที่มีการกักกันน้ำ โดยเน้นไม่ให้พื้นที่ฐานเสียงที่ยังเก็บเกี่ยวไม่เสร็จถูกน้ำท่วม ยิ่งเป็นการซ้ำเติม ให้น้ำมีมวลมากก้อนใหญ่และรุนแรง หลายพื้นที่ไม่เคยท่วมหรือท่วมหนักจึงโดนกันทั่ว

๘.มีการบริหารผิดพลาดที่อยุธยาทำให้ ตัวเมือง เกาะเมือง และนิคมวายวอด ฝีมือหลักของอ้าย (ชื่อคน – ผมขอปิด)

๙.ใบเสร็จทั้งหมดดูได้จาก ปริมาณน้ำของแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำสายอื่นๆ ที่มีการเก็บข้อมูล

๑๐. ผู้ได้รับความเสียหายควรฟ้องศาลปกครอง เรียกให้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบค่าเสียหาย เพราะเป็นการปฏิบัติงานผิดพลาดร้ายแรง รวมถึงม.๑๕๗

๑๑. ย้ำอีกครั้งว่าอย่าอ้างภัยธรรมชาติ เป็นฝีมือห่วย ๑๐๐%

สรุปต้องลากคอ (ระบุชื่อ ๔ คน ๑ อธิบดีหน่วยงานระดับกรม – ผมขอปิด) มารับโทษ โดยใช้หลักฐานจากข้อมูลน้ำทั้งหมด ซึงถ้าฟ้องศาลปกครอง ให้ศาลออกหมายเรียก เอกสารพวกนี้มาดูได้

ประเทศ (เสีย) หายขนาดนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ..”

สงครามยังไม่สงบ อย่าเพิ่งนับศพทหารครับ

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ถาม “นิติราด”.....ถาม.. “นิติราษฎร์”

13 คำถาม “นิติราด”.....ถาม.. “นิติราษฎร์”

กรณีวิวาทะผ่านเวทีสังคมออนไลน์และการประกาศตัวของ กลุ่มหรือคณะหรือหมู่ทะลวงฟัน หรืออะไรก็แล้วแต่ในนาม นิติราษฎร์ รวมทั้ง การปรากฏของ 23 คณาจารย์ที่ออกมาตอบโต้และตั้ง 15 คำถามให้นิติราษฎร์หาคำตอบ หลังจากนั้นเห็นบอกว่าขอเวลา 2 อาทิตย์ในการตอบคำถามนี้

ไหนๆก็ไหนๆแล้วการเปิดหน้าของนิติราษฎร์ เสนอแบบจุดพลุในสังคมประเทศไทย บนข้ออ้างของความชั่วร้ายของรัฐประหารเมื่อครั้ง 19 ก.ย.49 ตามเหตุผลผู้ที่อ้างตัวในการเป็นอาจารย์พรั่งพรูออกมากับข้อเสนอนั้น สรุปรวบยอดเอาเองครับว่าหากเป็นไปตามข้อเสนอนั้น เสนอเพื่ออะไรจุดรวบยอดสูงสุดคือใคร แล้วใครนั่งอยู่บนยอดสุดของปิรามิด

ขอถามแบบคำถามแบบ “นิติราด”บ้านนอก...ถึง “นิติราษฎร์”เมืองกรุง....เพื่อความกระจ่างครับ

1. ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย มีจริงหรือไม่ แล้วมันอยู่ที่ใด ?

2. การปฏิวัติครั้งที่ 1 เมื่อปี 2475 เป็นสิ่งที่ชัวร้ายหรือไม่ และถัดมาหลังจากนั้นการรัฐประหาร และการก่อกบฏ ทุกครั้งที่เกิดขึ้น จนเมื่อ 19 ก.ย.2549 เป็นสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งหมดใช่หรือไม่…?

3. รัฐบาลทุกรัฐบาลนับแต่ 2475 เป็นมรดกของความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติ และการรัฐประหารใช่หรือไม่….?

4. การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นบนธุรกิจการเมือง ใช้จ่ายเงินซื้อเสียง ครอบงำ หลอกลวง แจกผลประโยชน์ เมื่อชนะการเลือกตั้งแล้ว สามารถทำอย่างไรก็ได้ เพราะชนะการเลือกตั้ง และสามารถทำธุรกิจการเมืองกอบโกยผลประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้อง เป็นสิ่งที่ชอบธรรม เพราะเป็นเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกเข้ามาใช่หรือไม่....?

5. เมื่อระบบการเมืองครอบงำระบบการตรวจสอบจนง่อยเปลี้ย เสียขา ทำลายระบบถ่วงดุลอำนาจ คือฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และทำลายองค์กรอิสระจนล้มเหลวเช่นข้อความที่ว่า “กกต.เป็นของเรา” เป็นความถูกต้องชอบธรรมเพราะได้รับการเลือกตั้งมา ใช่หรือไม่....?

6. ระบบเผด็จการ ในสายตา “นิติราษฎร์” เป็นอย่างไร...?

7. หากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับนิติราษฎร์ แล้วเป็นผู้ปกครอง หรือผู้บริหาร หรือแสดงความเห็นในความเป็นจริงที่แตกต่าง มากกว่าความเพ้อฝัน เป็นเผด็จการและชื่นชอบในการรัฐประหารใช่หรือไม่….?

8. เหล่าตุลาการทั้งหลายที่ทำหน้าที่พิพากษาอรรถคดีความนั้นทำหน้าที่ภายใต้

สถาบันใด.....?

9. หากล้มคำพิพากษาคำตัดสินเหล่านั้นแล้วเท่ากับล้มสิ่งใดหรือ......?

10. เมื่อมีผู้กระทำผิดต่อชาติที่มีฐานะร่ำรวยมหาศาล มีอำนาจสามารถจัดระเบียบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ไว้ได้โดยสามารถครองประโยชน์จากผลรวบยอดไว้ได้เบ็ดเสร็จ รัฐฐาธิปัตย์ จะต้องปรับกฎหมายให้เข้ากับผู้กระทำผิด เพราะผู้นั้นไปทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม แต่ไม่ได้ทำผิดกฎหมายเช่นนั้นใช่หรือไม่...?

11. และว่าหากบรรพบุรุษของอาจารย์ผู้เป็นเลิศในทางกฎหมาย เป็นสมุนของขุนโจร หรือเป็นลูกหลานมหาโจร อาจารย์ผู้นั้นย่อมเป็นนักกฎหมายที่ปกป้องโจร และไม่สามารถเป็นอาจารย์ที่ดีได้ใช่หรือไม่....?

12. ฝูงชนที่มีจำนวนมากได้มีมติร่วมกันในการจัดหาพาน้ำมันมาคนละขวดแล้วจุดไฟให้กรุงเทพกลายเป็นทะเลเพลิง ในขณะที่คนที่ไม่เห็นด้วยเป็นเจ้าของกรุงเทพ เป็นเจ้าของตึกรามเหล่านั้น และเป็นคนที่อยู่คนละฝ่ายกับฝูงชนนั้น ไม่เห็นด้วย จะต้องยอมให้เผา เพราะเป็นเสียงส่วนใหญ่ ส่วนมากในที่นั้น เป็นสิ่งที่ชอบ เพราะเป็นเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ใช่หรือไม่....?

13. ทั้ง 13 ข้อนี้ “นิติราด” เห็นว่า ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องมีกฎหมาย ไม่ต้องต้องมีระเบียบ ไม่ต้องมีจริยธรรม คุณธรรม หลักนิติธรรม หลักนิติรัฐ ด้วยไม่มีความจำเป็นเพราะยึดถือเสียงส่วนใหญ่ เพราะ “ไม่มีเสียงใด ดังกว่าเสียงของประชาชน” เป็นสิ่งที่ “นิติราษฎร์” เห็นด้วยใช่หรือไม่…?

ทั้ง 12 คำถามนี้ “นิติราด” เห็นว่า “นิติราษฎร์” ควรตอบเป็นอย่างยิ่ง และเห็นต่อไปว่าในโลกของความเป็นจริงในประเทศไทย “การเลือกตั้ง" ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย หาก “นิติราษฎร์” เห็นว่า “เลือกตั้งชนะครองอำนาจรัฐแล้วชั่วได้” “นิติราด” ขอเสนอว่า..... “นิติราษฎร์”..ควรชักชวน ผู้ที่เห็นสมและผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากข้อเสนอของ “นิติราษฎร์” ไปหาซื้อแผ่นดินตั้งประเทศอาศัยใหม่เถิด..เงินซื้อทุกอย่างได้ถ้ามีมากพอเป็นความจริง...แผ่นดินไทยนี้ มีรากแก้ว และมีที่มาอย่างยาวนาน ความมั่นคงที่เกิดขึ้น แผ่นดินที่คงอยู่นี้ ทับถมด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของภูมิบรรพบุรุษมามากแล้ว

และบังเอิญว่า “นิติราด” รู้คุณแผ่นดินที่อาศัย รู้คุณทุนที่ได้ร่ำเรียนมา และรู้ถึงคุณค่าในความเป็นมนุษย์ว่าจะต้องดำรงอยู่ด้วย จริยธรรม คุณธรรม ความถูกต้อง ความเป็นจริง มากกว่าความเพ้อฝันที่ไม่เคยจับต้องได้ มนุษย์ มีแขนขาสมองเท่ากันทุกคน แต่สำนึกในความเป็นมนุษย์ และยอมรับความเป็นจริงโดยไม่มีสิ่งเคลือบแฝง มันแตกต่างกันโดยแท้./////

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลักธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE)

ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล
(GOOD GOVERNANCE)


หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality)
หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

หลักธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE)

ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล
(GOOD GOVERNANCE)


หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality)
หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

วิพากษ์เปรียบเทียบแบบบ้านๆ..นักวิชาการ........นักการเมือง...ชาวบ้าน..

ประชาธิปไตยบ้องตื้นกับประเทศไทยที่กำลังล่มสลาย......

18 ก.ย.54ปรากฎการณ์การนำเสนอประเด็นของกลุ่มนักวิชาการที่เรียกชื่อตัวเองว่า “คณะนิติราษฎร์” จุดพลุลูกใหญ่ที่ระเบิดขึ้นกลางอากาศ จะลบจะล้างสิ่งใดก็แล้วแต่หลังจากรัฐประหาร แต่การจุดพลุลุกนี้มันเปล่งแสงสีออกมาชัดเจนมาก จนแยกสีกันออกมาได้ว่าสีใดเปล่งประกายเจิดจ้า สีใดที่ถูกกลบลบเลือนไปบ้าง จริงๆแล้วการนำเสนอท่าทีเช่นนี้ของนักวิชาการ มีบ่อยครั้งแล้วแต่มุม แล้วแต่ตรรกะวิธีคิด ความเชื่อ หรืออุดมคติที่มี ที่ถูกปลูกฝังมาด้วยมโนวิธีใดๆก็แล้วแต่ เพียงแค่ว่าสิ่งที่นำเสนอออกมานั้นจะโดน หรือไม่โดนเท่านั้น ข้อเขียนวิพากษ์เรื่องนี้ขอออกตัวก่อนว่าเป็นการมองด้วยแว่นแบบไม่มีเลนซ์ให้เมื่อยตา เมื่อยประสาท

“นักวิชาการ” ถูกยกขึ้นหิ้งมาแต่ไหนแต่ไรในสังคมไทย ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นการให้เกียรติเสียมากกว่าที่จะทรงคุณค่าทางด้านวิชาการโดยแท้ นักวิชาการทุกคนเป็นเพียงแค่ “มนุษย์”คนหนึ่งที่ยังหนีไม่พ้นทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ทั้ง 5 ประการ เพียงแต่การก้าวเข้าสู่ความเป็นนักวิชาการนั้นมีหนทางที่ต้องอยู่กับตัวหนังสือที่สืบทอดกันมา เล่าต่อกันมา หรือถ้าพูดตามนักวิชาการคือ ทฤษฎี ที่บอกว่าเป็นการศึกษาและพิสูจน์ซ้ำๆมาแล้วจนยอมรับว่ามันเป็น “ทฤษฎี” ได้

สังคมไทยในปัจจุบัน หลายคนโหยหาความเป็นวิชาการที่ถูกนำเสนอมาแล้วตรงกับ “วิธีคิด” หรือ “ความเชื่อ” ของตัวเองนักวิชาการเหล่านั้นจะได้รับการยอมรับ แต่ถ้าบังอาจนำเสนอสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์อยู่ตรงข้ามกับความคิดของตัวเอง จะถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ “ไร้เหตุผล” สิ้นดี ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของการนำเสนอให้กับสังคมนั้นล้วนแต่ถูกพิจารณา บนโต๊ะทำงานที่มีหนังสือรายล้อม แอร์เย็นฉ่ำ อยู่ในห้องแคบๆเท่านั้น เป็นโลกแห่งมายาคติในทางวิชาการ เสมือนการเพ้อฝันว่ากำลังอยู่ในสังคมแห่งยูโธเปีย และไม่เคยสำนึกเลยว่า “ยูโธเปีย”แห่งนั้นมันไม่เคยมีอยู่จริงในโลกผุๆใบนี้

“นักการเมือง” ไม่ต้องมองที่ไหนเอาเป็นนักการเมืองไทยนี่แหละครับ ปัจจุบันกำลังถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้วอย่างชัดเจน ต้องยืนยันว่าแบ่งออกเป็น 3 ขั้ว คือ 1.ขั้วท่วงทำนองแบบประชาธิปัตย์ 2.ขั้วดุเดือด ดุดันแบบเพื่อไทย และ 3.คือขั้วที่เป็นรัฐบาล(เท่านั้น) ไม่ต้องอธิบายความกันมากว่า “นักการเมือง”ยุคนี้กำลังถูกกงล้อของทุนสามานต์ เข้ามาเบียดบดจนบทบาทของนักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ในอุดมคติที่ไม่เคยมี แม้ว่าจะพยายามไฝ่หาคล้ายกับว่ายิ่งหามันยิ่งห่างออกไปเรื่อยๆอย่างไม่รู้จบ ยิ่งมาอยู่ในยุคการผสมข้ามสายพันธ์ของทุนนิยมสามานต์กับคอมมิวนิสต์กลายพันธ์แล้ว ผลผลิตที่ออกมาอย่างที่เห็นในสังคมไทยถึงความ “จัญไร”ที่ทวีความยิ่งใหญ่เพิ่มขึ้นทุกวัน

“ชาวบ้าน” ผมกล้าพูดได้เต็มปากเพราะมีความเป็น “ชาวบ้าน”อย่างเต็มเปี่ยวปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมแบบบ้านๆ หรือชาวบ้านนับวัน “นักการเมือง” คือผู้ที่สร้างความแตกแยกให้กับชาวบ้าน จากเดิมสังคมแบบชาวบ้านเต็มไปด้วยความเกื้อหนุนการช่วยเหลือ สังคมที่ยิ้มแย้ม หลายเป็นสังคมที่หวาดระแรง แตกแยก สังคมชาวเมืองเหนือ มีแต่รอยยิ้ม ความนุ่มนวล อบอุ่น เชื่อมั่น สังคมชาวอีสานเต็มไปด้วยความจริงใจ เอื้ออาทรณ์ต่อกัน สังคมชาวใต้ เต็มไปด้วยความหวาดระแวงผู้ปกครอง แต่ยังมีความเป็นชาวใต้คือการเอาจริงเอาจัง และเป็นนักวิเคราะห์ ส่วนชาวกรุงเป็นพลังที่ซ่อนเร้น

แต่สิ่งที่แตกต่างกับนานาอารยะประเทศ ชาวบ้านหรือประชาชน จะใช้นักการเมืองเป็นเครื่องในการพัฒนาแสวงหาประโยชน์เพื่อสาธารณะจากทรัพยากรที่มีในประเทศ แต่ในประเทศไทยเป็นมุมที่แปลกประหลาด “นักการเมือง” สามารถใช้ชาวบ้านเป็นเครื่องมือในการเข้าสู่อำนาจ เข้าสู่ผลประโยชน์ ซึ่งเป็นหนทางที่กลับกันอย่างเห็นได้ชัด และแทนที่ “รัฐ” หรือ “นักการเมือง”จะปกป้องช่วยเหลือชาวบ้าน กลับกลายเป็นเรื่อง “กลับตาลปัด”ไปหมด

“ประชาธิปไตย” นักการเมืองหลายคน ใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” เป็นเครื่องมือให้ได้มาซึ่งอำนาจและ ผลประโยชน์ ทำให้ทฤษฎี “การเมือง” ผิดเพี้ยนไปมาก ตามทฤษฎีนี้บอกว่า การเมืองคือการจัดสรรค์ผลประโยชน์สาธารณะอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม แต่การเมืองแบบไทยๆ ประชาธิปไตยแบบไทยๆนั้นเอาแค่ว่า “ครอบครัวกู พี่น้องกู พรรค-พวกกู กูเท่านั้นที่ถูก กูได้ประโยชน์คือยุติธรรม กูเสียประโชน์คือไม่ยุติธรรม” ซึ่งในคำว่าประชาธิปไตยนี้ ขอยกเอาการธรรมวิเคราะห์การเมืองประชาธิปไตยของ ท่านพุทธทาส อินทปัญโญ มาเป็นอรรถาธิบายแทนคือ

“การเมือง คือสิ่งที่ตั้งจากฐาน อยู่นความทะเยอทะยาน ในการอยู่เติบ กินเติบ หรือความมัวเมาในความสุข ทางเนื้อหนังโดยปราศจากการนึกถึงโลกหน้า พระเป็นเจ้า และความตาย และมีอำนาจเป็นความถูกต้อง และประโยชน์ของตนเป็นความยุติธรรม และเป็นของใหม่เพิ่งเกิดขึ้นในโลก เมื่อเกิดปราถนาการอยู่เติบกินเติบกันขึ้นมาแล้วเท่านั้น”

“เผด็จการ กับประชาธิปไตยจึงไม่มีความหมายอันแตกต่างอะไรกัน เพราะเป็นการจัดเพื่อให้ฝ่ายของตน ได้มาซึ่งการอยู่เติบ กินเติบนั่นเอง แหละประชาธิปไตยนั้นเมื่อถึงคราวที่จะแสดงบทบาทอันจริงจังขึ้นมา ก็ได้มอบกำลังและอำนาจให้ใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มีอำนาจเด็ดขาด และนั่นก็คือ เผด็จการนั่นเอง แล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปตามอำนาจกิเลศของผู้มีอำนาจ จึงเห็นได้ว่าที่แท้นั้น ก็คือกิเลศาธิปไตยต่างหาก ที่บังคับกลุ่มชนให้เป็นไป”...........

ไม่ว่าใครในประเทศไทย ตอนนี้ที่อ้างเอาประชาธิปไตย มาปลุกเร้าปลุกระดม แท้จริงแล้วมันก็เพื่อความอยู่เติบกินเติบทั้งนั้น ชาวบ้านที่ไปเป็นเครื่องมือนั้นได้อะไรนอกจากกลับบ้านแล้วไปอยู่กับท้องนา วัวควาย หาเช้ากินค่ำกันเหมือนเดิม ส่วนนักประชาธิปไคยเงินเดือนกว่า 1 แสนบาท เบี้ยใบ้รายทาง เงินนอกเงินในอีกไม่รู้จะเท่าไหร่

นักประชาธิปไตย ไทยทั้งหลายไปดูเถอะครับไม่มีใครที่ฐานะจนๆสักรายล้วนแต่เมื่อเปิดบัญชีออกมาหลายสิบล้านขึ้นไปทั้งนั้น

ส่วนประเทศไทย...ที่เคยมีสิ่งสวยงามทั้งศิลปะ วัฒนธรรม ตั้งแต่โบราณ ผู้คนที่มีน้ำใจ มานับร้อยนับพันปี ตอนนี้นอกจากธรรมชาติ กำลังลงโทษคนทั้งประเทศแล้ว ทุกระบบกำลังถูกทำลายเพื่อสถาปนาระบอบใหม่ ประเทศไทยใหม่ ประเทศไทยแบบที่เราเคยเรียนรู้และอยู่กับมันมาชั่วชีวิตกำลังเปลี่ยนไป ผู้คนกำลังกลายเป็นทาสเงินตรา ประเทศไทยทุกอย่างซื้อได้ครับ (ถ้ามีเงินเพียงพอที่จะซื้อ)แล้วมันจะไม่ล้ม... ล่มได้อย่างไร./////

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน

กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน

แนวความคิดเกี่ยวกับระบบกษัตริย์ในสังคมไทย

นับตั้งแต่สุโขทัยเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนั้นเราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าพระมหากษัตริย์นั้นมีบทบาทต่อการพัฒนาทางสังคมไทย และการดำรงชีวิต ของชาวไทย ไม่มากก็น้อย ซึ่งแนวความคิดที่นำมาสู่ระบบกษัตริย์ไทยนั้นได้เริ่มต้นจากการเผยแพร่พุทธศาสนาจากประเทศอินเดีย ซึ่งในสมัยสุโขทัยนั้นได้มีแนวความคิดที่พระมหากษัตริย์จะยึดหลักของพระพุทธศาสนามาใช้ในการปกครอง โดยเพื่อที่จะบรรลุถึงคำว่า ธรรมราชา ซึ่งคำว่า ธรรมราชา นั้นมีความหมายทั่วไปคือ พระราชาผู้ทรงธรรม ธรรมในที่นี้นั้นคือคำสอนทางศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ ซึ่งคำสอนศาสนาพุทธได้แก่ ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และสังคหวัตถุ ในส่วนของศาสนาพราหมณ์นั้นปรากฏอยู่ในคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ ได้กล่าวว่า

“ป้องกันประชาชน บริจาคทาน บูชายัญ ศึกษา และความผูกพันจากวัตถุแห่งผัสสะ เป็นต้น คือหน้าที่ของกษัตริย์” “ปกป้องราชอาณาจักรโดยความเที่ยงธรรม เป็นหน้าที่ของผู้เป็นกษัตริย์ผู้ศึกษาพระเวท”

ต่อมาในปลายสมัยสุโขทัย ประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลของแนวความคิดเทวราช จากขอม ซึ่งขอมนั้นก็ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง แนวความคิดแบบเทวราชนั้นเป็นแนวความคิดตามคติความเชื่อของชาวอินเดียที่นับถือศาสนาพราหมณ์ และเป็นแนวความคิดระหว่าง ความเป็นกษัตริย์และการเป็นเทพ มาเชื่อมโยงกัน เพราะ แนวความคิดนี้ยกย่องพระมหากษัตริย์ให้ดำรงฐานะเป็นสมมติเทพ จึงทำให้พระมหากษัตริย์นั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี แตกต่างจากคนธรรมดาอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งแนวความคิดนี้ยังส่งผลให้พระมหากษัตริย์นั้นเริ่มมีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น

ต่อมาในสมัยอยุธยา แนวความคิดแบบเทวราชยังมีอยู่ แต่แนวความคิดเดิมแบบพุทธราชก็ยังมีอยู่เช่นกัน พระมหากษัตริย์อยุธยาจึงพยายามที่จะควบคู่ระหว่าง เทวราชและธรรมราชา ซึ่งจะเห็นได้จากการที่พระมหากษัตริย์นั้นยังทรงอยู่ในฐานะเป็นสมมติเทพเช่นเดิม แต่พระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยานั้นก็เริ่มนำแนวความคิดแบบธรรมราช เข้ามาประยุกต์ เช่น การแสดงให้เห็นว่าพระองค์นั้นเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกโดยถือการทำนุบำรุงพุทธศาสนาเป็นหลัก โดยการสร้างวัด เผยแผ่คำสั่งสอนทางพุทธศาสนา การทำเช่นนี้นั้นทำให้เป็นการเสริมสร้างบารมีและความชอบธรรมให้พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นมากยิ่งขึ้นทั้งในด้านการเมืองการปกครองและด้านศาสนา

จนต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้คลายความคิดเรื่องเทวราชลง แต่กลับไปเน้นในธรรมราชามากขึ้น ต่อมาหลังการ ปฏิวัติ 2475 ซึ่งนำพาประเทศไทยไปสู่การปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงทำให้อำนาจหน้าที่เดิมของพระมหากษัตริย์นั้นก็ได้ถูกโอนมาเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ในที่สุด


พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย

แม้ว่าเวลาถึง 70 กว่าปีแล้วที่ประเทศไทยได้ใช้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยนั้นยังคงอยู่ในพระราชสถานะที่ได้รับการยกย่อง และเทิดทูนจากคนไทยโดยส่วนใหญ่ มาโดยตลอด ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้ง 18 ฉบับ นั้นได้ระบุถึงพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ไทยเอาไว้ทั้งสิ้น 6 พระราชสถานะ คือ


· พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ

· พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ

· พระมหากษัตริย์ทรงถูกละเมิดมิได้

· พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก

· พระมหากษัตริย์ทรงเป็นจอมทัพไทย

· พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง และเป็นกลางทางการเมือง โดยพระองค์จะไม่ต้องรับผิด ชอบกิจกรรมทางการเมืองใดใดทั้งสิ้น

พระสถานะของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นไม่ได้เกิดจากการบัญญัติเป็นรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่การที่พระมหากษัตริย์ไทยนั้นได้รับการยกย่องและเคารพนับถือนั้น เป็นผลจากการขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยตั้งแต่อดีตกาล อีกทั้งยังได้รับการปลูกฝังแนวคิดเกี่ยวกับกษัตริย์มาโดยตลอด และเหตุผลที่สำคัญที่สุดคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าพระมหากษัตริย์ของไทยโดยมากนั้นทรงพร้อมพรั้งไปด้วยพระบารมี และปรีชาสามารถ อีกทั้งยังอยู่ในทรงดำรงอยู่ในทศพิศราชธรรมอีกด้วย อาจจะกล่าวได้ว่าหากประเทศไทยนั้นขาดพระมหากษัตริย์ไปก็เท่ากับว่า ประเทศไทยก็สุญเสียวัฒนธรรมที่เลอค่าของประเทศไทยไป หากขาดพระมหากษัตริย์ประเทศไทยก็คงจะตกอยู่ในอาณานิคมของชาติตะวันตก ดังนั้นพระมหากษัตริย์ไทยไม่เพียงแต่ไม่ถูกล้มล้าง แต่ยังได้รับการเคารพยกย่อง จากใจของคนไทยทั่วประเทศอีกด้วย

วิวัฒนาการของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของราชอาณาจักรไทย

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (Lèse Majesté Laws) ซึ่ง มีความหมายว่า กฎหมาย หรือข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการเอาผิดต่อการทำความผิดฐานล่วงละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นการกระทำผิดต่อพระเกียรติของพระมหากษัตริย์

แม้ว่าสังคมไทยในอดีตนั้นมีการเคารพและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ แต่ก็ไม่มีการบัญญัติ ขึ้นมาเป็นกฎหมาย จนกระทั่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ประชาชนนั้นมักติพระองค์ว่าพระองค์ทรงชรา จนทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้ทรงออก “ประกาศห้ามมิให้กราบบังคมทูลทัก อ้วน ผอม ดำขาว” ในปี พ.ศ. 2395

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ก็ได้ทรงตรา “พระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาท ร.ศ.118” ในปี พ.ศ.2442 ซึ่งเป็นการกำหนดโทษของผู้ที่มีการกระทำลักษณะที่หมิ่นประมาทด้วยการพูดหรือเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาต่อพระมหากษัตริย์ โดยมีใจความว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาทพระผู้เป็นเจ้าซึ่งดำรงสยามรัฐมณฑล กระษัตราธิราชเจ้า โดยกล่าวเจรจาด้วยปาก ฤาเขียนด้วยลายลักษณอักษร ฤากระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในที่เปิดเผย เมื่อพิจารณาเปนสัตย์ว่า ผู้นั้นกระทำผิดต่อข้อห้ามดังเช่นกล่าวมานี้แล้ว ก็ให้จำคุกไว้ไม่เกินกว่า 3 ปี ฤาให้ปรับเปนเงินไม่เกินกว่า1,500 บาท ฤาทั้งจำคุกและปรับด้วย”

และในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงยกเลิกพระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาท รศ.118 และได้ทรงตราใน “กฎหมายลักษณะอาญา รศ. 127” แทนซึ่งอยู่ในมาตราที่ 98 และ 100 มีใจความว่า

* มาตรา 98 : “ผู้ใดทนงองอาจ แสดงความอาฆาฏมาดร้าย หรือหมิ่นประมาทต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระมเหษีก็ดีมกุฏราชกุมารก็ดี ต่อผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในเวลารักษาราชการต่างพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่า 7 ปี แลให้ปรับไม่เกินกว่า 5,000 บาทด้วยอีกโสดหนึ่ง”

* มาตรา 100 : “ผู้ใดทะนงองอาจ แสดงความอาฆาตมาดร้าย หรือหมิ่นประมาทต่อพระราชโอรส พระราชธิดา ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ว่ารัชชกาลหนึ่งรัชชกาลใด ท่านว่าโทษของมันถึงจำคุกไม่เกินกว่า 3 ปี และให้ปรับไม่เกินกว่า 2,000 บาทด้วยอีกโสตหนึ่ง”

ต่อมาจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ยกเลิก กฎหมายลักษณะอาญา รศ. 127 แต่ก็ได้นำกฎหมายหมิ่น

พระบรมเดชานุภาพนั้นไปรวมอยู่ใน ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 โดยมาตรา 112 บัญญัติว่า
“ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี”

ต่อมา พ.ศ. 2519 พล ร.อ. สงัด ชลออยู่ (นายกรัฐมนตรี) ออกประกาศ “คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41” เมื่อวันที่21 ตุลาคม 2519 โดยข้อ 1 ระบุให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.. 2499 มาตรา 112 เป็น “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี” ซึ่งเป็นมาตราเดียวกับที่ใช้ในปัจจุบันนี้

กฎหมายที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ แห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญ
มาตรา 8 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้

ประมวลกฎหมายอาญา

หมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

มาตรา 107 ผู้ใดปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษ ประหารชีวิต ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์พระ มหากษัตริย์หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ กระทำ การใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต

มาตรา 108 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพ ของพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์ ผู้ กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต

ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ หรือรู้ว่ามีผู้จะกระทำการประทุษร้าย ต่อพระองค์หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ กระทำการใดอันเป็น การช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี

มาตรา 109 ผู้ใดปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือฆ่า ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษประหารชีวิตผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์ พระราชินีหรือรัชทายาท หรือเพื่อฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือจะฆ่าผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี

มาตรา 110 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพ ของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือ จำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์หรือ ชีวิต ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือ เสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะประทุษร้าย ต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือ ประทุษร้ายต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สิบสองปีถึงยี่สิบปี

มาตรา 111 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตาม มาตรา 107 ถึง มาตรา 110 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น

มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

**** หมายเหตุมาตรา 112 แก้ไขโดยคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ***

หมวด 4 ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ

มาตรา 130 ผู้ใดทำร้ายร่างกายหรือประทุษร้ายต่อเสรีภาพของ ราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาทหรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ซึ่งมีสัมพันธไมตรี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี

ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

มาตรา 131 ผู้ใดทำร้ายร่างกาย หรือประทุษร้ายต่อเสรีภาพของ ผู้แทนรัฐต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนักต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสิบปี

ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

มาตรา 132 ผู้ใดฆ่าหรือพยายามฆ่าบุคคลหนึ่งบุคคลใด ดังระบุ ไว้ใน มาตรา 130 หรือ มาตรา 131 ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือ จำคุกตลอดชีวิต

มาตรา 133 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 134 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 135 ผู้ใดกระทำการใด ๆ ต่อธงหรือเครื่องหมายอื่นใด อันมีความหมายถึงรัฐต่างประเทศซึ่งมีสัมพันธไมตรี เพื่อเหยียดหยามรัฐนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพขัดต่อหลักประชาธิปไตยหรือไม่

หลักการด้านอำนาจอธิปไตย

ตามหลักการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นของปวงชน เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้น ผู้มีอำนาจสูงสุด เป็นของประชาชนทุกคนร่วมกัน และประชาชนนั้นจะเป็นผู้ใช้อำนาจนี้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยพื้นฐาน ประชาชนจะใช้อำนาจอธิปไตยกำหนด ถอดถอน ผู้ปกครองของตนเอง โดยการตัดสินโดยเสียงข้างมาก แต่ก็เคารพเสียงข้างน้อยด้วย

โดยเมื่อนำกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาเปรียบเทียบกับหลักการประชาธิปไตยด้านอำนาจอธิปไตย จะเห็นได้ว่าการมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ก็ไม่ได้ทำให้ประชาชนมีอำนาจอธิปไตยลดน้อยลงแต่อย่างใด เพราะพระมหากษัตริย์ไทยนั้นไม่ได้ทรงมีอำนาจอธิปไตยมากกว่าประชาชนคนอื่นคนใด แต่เนื่องจากท่านดำรงอยู่ในฐานะประมุขแห่งรัฐ จึงทำให้พระองค์ดูราวกับว่าพระองค์ทรงมีอำนาจอธิปไตยเหนือประชาชนคนอื่น

หลักการด้านสิทธิและเสรีภาพ

มีหลายคนออกมาแสดงความคิดเห็นต่อ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ว่าค่อนข้างเป็นเผด็จการซึ่งขัดต่อหลักสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เพราะตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาราจักรไทย มาตรา 39

บุคคล ย่อมมี เสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และ การสื่อความหมาย โดยวิธีอื่น
การจำกัดเสรีภาพ ตาม วรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายเฉพาะ เพื่อรักษาความมั่นคง ของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือ ความเป็นอยู่ส่วนตัว ของ บุคคลอื่น เพื่อรักษา ความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดี ของ ประชาชน หรือ เพื่อป้องกัน หรือ ระงับ ความเสื่อมทราม ทางจิตใจ หรือ สุขภาพ ของ ประชาชน
การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือ สถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อลิดรอนเสรีภาพ ตาม มาตรานี้ จะกระทำมิได้
การให้นำข่าว หรือ บทความ ไปให้เจ้าหน้าที่ ตรวจ ก่อนนำไปโฆษณา ในหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือ วิทยุโทรทัศน์ จะกระทำมิได้ เว้นแต่ จะกระทำ ในระหว่างเวลาที่ ประเทศอยู่ใน ภาวะการสงคราม หรือ การรบ แต่ทั้งนี้ จะต้องกระทำ โดยอาศัยอำนาจ ตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย ซึ่ง ได้ตราขึ้น ตาม ความในวรรคสอง
เจ้าของ กิจการหนังสือพิมพ์ หรือ สื่อมวลชนอื่น ต้องเป็น บุคคล สัญชาติไทย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
การให้เงิน หรือ ทรัพย์สิน อย่างอื่น อุดหนุน หนังสือพิมพ์ หรือ สื่อมวลชนอื่น ของเอกชน รัฐ จะกระทำ มิได้ ได้ให้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นแก่ประชาชน แต่พอมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเข้ามา เขาก็ไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห้นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ เขาจึงเห็นว่ามันขัดต่อหลักการข้อนี้ แต่ก่อนที่เราจะมาตัดสินว่าจัดต่อหลักการข้อนี้หรือไม่ ก่อนอื่นจะต้องมาดูความหมายของคำว่า สิทธิและเสรีภาพของนักคิดชาวตะวันตกกันก่อน

เจเรมี่ เบนธัม (Jeremy Bentham 1748-1832) เจเรมี่ เบนธัม เป็นนักปรัชญา และนักปฎิรูปกฏหมายชาวอังกฤษ ซึ่งเขามีความความคิดทางด้านประโยชน์นิยมซึ่งส่งผลให้เขาไม่ยอมรับสิทธิขั้นพื้นฐาน เขาเชื่อว่าสิทธิและหน้าที่ทั้งหลายนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาในแต่ละกาลเทศะ สิทธิในทรรศนะของเขาหมายถึงหน้าที่ที่ผูกพันร่วมกันและการมีอยู่แห่งอำนาจที่สามารถบังคับสิทธิได้ด้วยการบังคับลงโทษในกรณีที่เกิดการฝ่าฝืน

โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679) ฮอบส์ ได้ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับมนุษย์โดยเขาเชื่อว่า “ธรรมชาติได้สร้างมนุษย์ขึ้นมามีความเท่าเทียมกันทั้งด้านร่างกายและจิตใจ1” ซึ่งความเท่าเทียมกันด้านร่างกายนั้นฮอบส์หมายถึง การที่ทุกคนมีความสามารถที่เท่าเทียมกันที่จะกระทำบางสิ่งบางอย่างต่อกันได้ไม่ว่าผู้นั้นจะมีความสามารถมากน้อยเพียงใด หากมีความสามารถน้อยก็สามารถที่จะใช้วิธีการอื่นเพื่อที่จะทำให้ตนเองสามารถเอาชนะได้ ส่วนทางด้านจิตใจ คือ ทุกคนนั้นเมื่อเกิดมาล้วนมีจิตใจที่เหมือนกัน แต่หลังจากนั้นก็ได้เรียนรู้จากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม จนทำให้เกิดความต่างกันของจิตใจ จะเห็นได้ว่าความเท่าเทียมทั้งสองนั้นนำไปสู่ แนวความคิดของสิทธิธรรมชาติ ฮอบส์คิดว่าทุกคนนั้นมีสิทธิธรรมชาติ ซึ่งก็คือ การกระทำการอะไรก็ตามเพื่อป้องกันรักษาความปลอดภัย และการมีชีวิตอยู่นั้นเป็นสิทธิที่แต่ละคนสามารถทำได้

จอห์น ล็อค (John Locke 1632-1704) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งลัทธิเสรีนิยม ล๊อคได้กล่าวเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพใน the Second Treatise ว่า “สภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะของเสรีภาพ แต่ไม่ได้เป็นสภาวะของความเป็นอิสระที่จะประพฤติโดยปราศจากการยับยั้ง...เพราะ...สภาวะธรรมชาติมีกฎของธรรมชาติมาควบคุม ซึ่งบอกให้ทุกคนทำตามหน้าที่ คือเหตุผลซึ่งกฎธรรมชาติสอนมนุษย์ทั้งหมดให้มาขอคำแนะนำ ที่ว่าคนทั้งหมดเท่าเทียมและเป็นอิสระจากการควบคุม ไม่ควรมีใครทำอันตรายคนอื่นในชีวิต สุขภาพ เสรีภาพ หรือการเป็นเจ้าของเรา” ซึ่งสรุปความหมายของสิทธิเสรีภาพของล๊อคได้ว่า มนุษย์ทุกคนนั้นต่างมีความเสมอภาคและลิทธิเหนือตน แต่ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรก็ได้ เพราะล๊อคคิดว่าสภาวะธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนต่างก็มีสิทธิตามธรรมชาติ รวมทั้งความเท่าเทียมกัน ที่มีอยู่มาตั้งแต่กำเนิด ทุกคนจึงไม่มีสิทธิใดที่จะละเมิดสิทธิของผู้อื่น

อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant 1724-1804) เป็นศาสตราจารย์ชาวเยอร์มัน คานท์นั้นเป็นคนที่มีความหลงใหลในเสรีภาพเป็นอย่างมาก เสรีภาพตามทรรศนะของคานท์ ก็คือ การเชื่อฟังกฎหมายที่สร้างบนพื้นฐานของเหตุผล ซึ่งกฎหมายนั้นจะทำให้เกิดเสรีภาพและอิสรภาพแก่บุคคลได้ ส่วนสิทธินั้นคานท์เน้นถึงสิทธิและหน้าที่ของคนว่า สิทธิในเสรีภาพและความเสมอภาค เป็นสิทธิที่อยู่เหนือเหตุผล แต่การมีสิทธิไม่ได้หมายถึงการทำตามอำเภอใจโดยไม่คำนึงผลกระทบต่อผู้อื่น สิทธิทุกอย่างนั้นย่อมหมายถึงการรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยคานท์จะเน้นหน้าที่มากกว่าสิทธิ

จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill 1806-1873) มิลล์เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ และนักการเมืองชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นคนที่มีศรัทธาลึกซึ้งต่อแนวทางเสรีภาพส่วนบุคคล โดยผลงานที่โดดเด่นที่สุดก็คือ On Liberty มิลล์เป็นนักปกป้องเสรีภาพตัวยง เขาเห็นว่า มนุษย์มีเสรีภาพทำได้ทุกอย่างตราบเท่าที่การกระทำนั้นไม่ทำร้ายหรือให้ร้ายผู้อื่น และมนุษย์นั้นมีเสรีภาพที่จะกระทำการอันใดเพื่อปกป้องตนเองต้องอาศัยกฎหมาย ส่วนเสรีภาพทางความคิดต่อการแสดงความคิดเห็นนั้นมิลล์คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และเสรีภาพนั้นจะเป็นหัวใจของความเป็นมนุษย์ ดังนั้นรัฐจึงไม่ควรแทรกแซงเสรีภาพประชาชน

มองเตสกิเออ (Montesquieu 1689-1755) เป็นนักกฎหมายชาวฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้เขียนหนังสือหลากหลายเล่ม แต่ หนังสือเล่มที่สามนั้นถือได้ว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญ คือ The Spirit of law หรือ เจตนารมณ์ของกฎหมายซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเสรีภาพว่า บุคคลพึงมีเสรีภาพตามกฎหมาย เสรีภาพทางการเมืองเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนมี และผู้ใดจะละเมิดมิได้ มองเตสกิเออ เห็นว่า เสรีภาพ คือสิ่งที่คนเราสามารถจะทำในสิ่งที่ตนต้องการ และไม่บังคับทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ โดยมีกฎหมายเป็นตัวกำหนด ส่วนความเท่าเทียมกันนั้น มองเตสกิเออได้มีแนวคิดว่า รัฐที่เป็นประชาธิปไตยนั้นต้องเคารพต่อความเสมอภาคของประชาชน หากประชาชนนั้นเกิดความไม่เท่าเทียมโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจก็จะเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม แต่มองเตสกิเออไม่ได้หมายว่าทุกคนจะมีความเท่าเทียมกันทุกเรื่อง แต่เขาเพียงแค่เสนอให้กฎหมายนั้นเป็นตัวกำหนดและควบคุมความไม่เสมอภาคของประชาชนไว้

ชอง ชากส์ รุสโซ (Jean-Jacque Rousseau 1712-1778) เป็นนักปรัชญาทางการเมืองที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษ ที่ 18 มีผลงานชิ้นสำคัญ คือ Social Contract หรือสัญญาประชาคม ซึ่งมีประโยคเริ่มต้นว่า “มนุษย์นั้นเกิดมากับเสรีภาพ แต่เขาได้ถูกพันธนาการไว้” (Man is born free and anywhere he is chain)

ซึ่งเขามีความคิดว่า สังคมนั้นทำให้มนุษย์ถูกกดขี่ และถูกลิดรอนเสรีภาพ เพราะเขาคิดว่าชนชั้นที่มีทรัพย์สินเหนือกว่าจะมีอำนาจที่เหนือกว่า จนทำให้มนุษย์นั้นได้ถูกพันธนาการจากผู้ที่เหนือกว่าในสังคม แต่สังคมก็จะสามารถให้เสรีภาพแก่สมาชิกได้คือการสร้างกฎร่วมกันโดยอยู่เป็นพื้นฐานของ เจตจำนงทั่วไป ซึ่งธรรมชาติของมนุษย์นั้นรักเสรีภาพ เขาจึงเรียกร้องให้มนุษย์กลับสู่ธรรมชาติ รุสโซยังถือว่าการสุญเสียความเท่าเทียม และเสรีภาพ นั้นเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดเพราะการขาดสิ่งดังกล่าวมนุษย์นั้นก็ไม่ต่างอะไรจากสัตว์เดรัจฉานหรือทาส อีกด้วย

ยอร์ช เฟเดอริค เฮเกล (G.W.F Hegel 1770-1831) เฮเกลเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และข้ารัฐการรัฐปรัสเซีย เฮเกลคิดว่าอิสรภาพคือเสรีภาพที่จะทำในสิ่งที่ควรทำ ส่วนเสรีภาพคือ ความจำเป็นในการยอมรับเสรีภาพ และเป็นการแสดงออกถึงความเป็นปัจเจก

ฮาโรลด์ เจ. ลาสคี (Harold J. Laski 1893-1950) ลาสคีนั้นเป็นนักการเมือง และนักปรัชญาทางการเมือง ซึ่งเขาได้มีแนวความคิดที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพเป็นจำนวนมาก ลาสคีมองว่าเสรีภาพนั้นก็คือผลของสิทธิ และสิทธิก็คือเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการยอมรับตอนเองว่าดีที่สุดของบุคคล เสรีภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดสิทธิ เพราะฉะนั้นเสรีภาพจึงหมายถึงการยอมรับถึงความต้องการอย่างมีขอบเขตที่คนเราจะให้ตนเองได้รับโอกาสที่ดีที่สุด เสรีภาพนั้นไม่ใช่เสรีภาพอย่างไรขอบเขต ไม่ใช่เป็นไปเพื่อที่จะทำลาย ดังนั้นเสรีภาพจึงต้องอยู่ในขอบเขตของสิทธิ อีกนัยหนึ่งนั้น เสรีภาพคือการเคารพต่อกฎหมาย

จากการศึกษาคำว่าสิทธิ และเสรีภาพจากนักปรัชญาในอดีต ผมจึงขอสรุปคำว่าสิทธิ และเสรีภาพโดยรวมว่า สิทธิและเสรีภาพ นั้นหมายถึง การกระทำใดๆก็ได้ที่ตนอยากทำ แต่จะต้องอยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย และการเคารพต่อสิทธิ และเสรีภาพของผู้อื่นโดยไม่กระทำการใดๆซึ่งทำร้าย หรือละเมิดต่อสิทธิของผู้อื่น โดยรัฐธรรมนูญ ได้บัญญัติถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงจะมีคือ

1. สิทธิเท่าเทียมกันของชายและหญิง
2. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน
3. สิทธิทางการเมือง ประชาชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง
4. สิทธิในทรัพย์สิน ประชาชนชาวไทยมีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนบุคคลได้
5. สิทธิในครอบครัว ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐในการดำรงชีวิตในครอบครัว
6. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ เมื่อได้รับความไม่เป็นธรรม
7. สิทธิในการรับการศึกษาขั้นมูลฐาน
8. สิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ เมื่อเห็นเจ้าพนักงานของหน่วยราชการทำ ไม่ถูกต้อง
และเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงมีคือ
1. เสรีภาพในการนับถือศาสนา
2. เสรีภาพในการประกอบอาชีพ
3. เสรีภาพในการพูด การเขียน การพิมพ์และโฆษณา
4. เสรีภาพในการเดินทางและเลือกที่อยู่อาศัย
5. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
6. เสรีภาพในการศึกษา
7. เสรีภาพในร่างกาย
8. เสรีภาพในการตั้งพรรคการเมือง

การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติสิทธิและเสรีภาพประกัน สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชน การมีสิทธิเสรีภาพดังกล่าวมิได้แสดงว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้ เพราะหากทุกคนคิดว่าตนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ สิ่งที่จะตามมาก็คือ กฎหมายทุกฉบับไม่สามารถที่จะนำมาบังคับได้ จนนำไปสู่ สังคมจะกลายเป็นอนาธิปไตย และทำให้สังคมความวุ่นวายขึ้นในที่สุด ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นที่จะต้องจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนบางประการ โดยสาเหตุสำคัญ 4 ประการที่รัฐจะจำเป็นต้องจำกัดมีดังนี้

1. การรักษาความมั่นคงของชาติ ป้องกันมิให้การใช้สิทธิของประชาชนกระทบกระเทือนต่อสถาบันชาติ

ศาสนาและพระมหากษัตริย์
2. การรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน ป้องกันมิให้มีการปลุกปั่นยุยงให้ประชาชนเกิดความตื่นกลัว หรือก่อความไม่สงบ หรือเผยแพร่สิ่งตีพิมพ์อนาจาร เป็นต้น
3. การป้องกันมิให้ประชาชนละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน เช่นการรุกล้ำอาคารสถานที่ การใช้เสียงดังเกินควร และการปล่อยเขม่าควันฝุ่นละออง ของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
4. การสนับสนุนให้รัฐสามารถปฏิบัติงานได้โดยสะดวก เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและความเป็นธรรมในสังคม เช่น เมื่อเกิดสงคราม รัฐจะจำกัดสิทธิของประชาชน โดยห้ามออกนอกบ้านเป็นบางเวลาหรือการเวนคืนที่ดินของประชาชนมาสร้างถนนหรือทางด่วน เป็นต้น

เมื่อนำความหมายของคำว่าสิทธิและเสรีภาพมาเปรียบเทียบกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจะเห็นได้ว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นเป็นการบัญญัติไว้เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐ เพราะพระมหากษัตริย์ก็ทรงมีสิทธิและเสรีภาพของพระองค์เช่นเดียวกับประชาชนธรรมดา หากประชาชนทั่วไปถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ ผู้ที่ละเมิดนั้นก็ต้องมีความผิด เพราะทุกคนต่างมีสิทธิและเสรีภาพของตน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 28 ที่มีใจความว่า บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน แต่เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์ไทยนั้นทรงดำรงอยู่ในฐานะที่สูงกว่าคนทั่วไป ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตราที่ 2 มีใจความว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั้นแสดงให้เห็นถึงฐานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ดังนั้นการปกป้องเกียรติ และศักดิ์ศรีของพระมหากษัตริย์นั้นก็เป็นเช่นเดียวกับการปกป้องเกียรติภูมิและความมั่นคงของรัฐด้วย จึงไม่แปลกที่ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตราที่ 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี จะรุนแรงและเฉียบขาดกว่าการดูหมิ่นประชาชนทั่วไป ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ผู้ใด ดูหมิ่น ผู้อื่น ซึ่งหน้า หรือ ด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน หนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

หลักการด้านความเสมอภาค

ก่อนที่จะนำหลักการด้านความเสมอภาคมาเปรียบเทียบ เราจะต้องเข้าใจและทราบถึงความหมายของคำว่า ความ

เสมอภาคกันก่อน“ความเสมอภาค” หมายถึง การที่ประชาชนทุกคน มีความเท่าเทียมกัน และทุกคนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน โดยหลักการที่ว่าด้วยความเสมอภาคนั้นจึงเป็นหลักการที่ว่ารัฐจะต้องเป็นหลักประกันให้แก่ประชาชนทุกคนโดยที่ทุคนนั้นจะต้องได้รับเท่าเทียมกัน โดยไม่นำข้อจำกัดทาง ศาสนา ฐานะ รูปร่างหน้าตา สีผิว เพศ มาใช้ ความเสมอภาคขั้นพื้นฐานของประชาชน มี ความเสมอภาคของผู้เลือกตั้ง ความเสมอภาคทางกฎหมาย ความเสมอภาคทางสังคม ความเสมอภาคทางโอกาส ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

มีบางกลุ่มเช่นเดียวกันได้กล่าวว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นขัดต่อด้านความเสมอภาคด้วย เพราะหากเสมอภาคเหตุใดโทษของการดูหมิ่นพระมหากษัตริย์จึงโทษหนักกว่าโทษของการดูหมิ่นประชาชนทั่วไป ก่อนที่เราจะได้รู้ถึงคำตอบต้องมาดูถึงภูมิหลัง ทางสังคมและวัฒนธรรม ว่านับตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ราว 600กว่าปี ประเทศไทยได้ถูกปกครองโดยกษัตริย์มาโดยตลอด จากนั้นจึงกลายมาเป็นประชาธิปไตย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าแนวความคิดเทวสิทธิกษัตริย์ นี้ยังคงมีอยู่กับประชาชนปัจจุบัน และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันยังทรงครองพระองค์อยู่ในทศพิธราชธรรม ประชาชนไทยจึงให้ความสำคัญกับความเป็นกษัตริย์เป็นอย่างมาก

จะเห็นได้ว่า สังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ได้ให้พระมหากษัตริย์นั้นดำรงอยู่ในฐานะที่สูงกว่าคนทั่วไป อีกทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตราที่ 2 มีใจความว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นั้นแสดงให้เห็นถึงฐานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ดังนั้นการปกป้องเกียรติ และศักดิ์ศรีของพระมหากษัตริย์นั้นก็เป็นเช่นเดียวกับการปกป้องเกียรติภูมิและความมั่นคงของรัฐด้วย การยกระดับประมุขแห่งรัฐ ให้เหนือกว่าประชาชนทั่วไป นั้นไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ในต่างประเทศที่ปกครองโดยระบอบราชาธิปไตย นั้นก็มีเนื้อหาในลักษณะที่ยกพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ว่าพระมหากษัตริย์นั้นทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ และที่เคารพสักการะ อีกทั้งจะล่วงละเมิดมิได้ เช่นเดียวกับประเทศไทย

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ ปี 1814 มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า The King’s person is

sacred; he cannot be censured or accused. The responsibility rests with his Council. (องค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ และจะถูกกล่าวหาหรือตรวจสอบมิได้)

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก ปี 1953 มาตรา 13 บัญญัติไว้ว่า The King shall not be

answerable for his actions ;his person shall be sacrosanct. The Ministers shall be responsible for the conduct of government; their responsibility shall be defined by statute. (พระมหากษัตริย์ไม่ต้องทรงรับผิดชอบจากการกระทำ องค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของรัฐบาลนั้นความรับผิดชอบของพวกเขาจะถูกกำหนดโดยพระราชบัญญัติ)

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยี่ยม ปี 1970 มาตรา 88 บัญญัติไว้ว่า The King’s person is

inviolable; his ministers are accountable. (องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานอันละเมิดมิได้ รัฐมนตรีต้องรับผิดชอบแทนพระมหากษัตริย์)

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน มาตรา 56 (3) บัญญัติไว้ว่า King is inviolable and shall

not be held accountable. His acts shall always be countersigned in the manner established in Article 64. (องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันละเมิดมิได้ และไม่ต้องทรงรับผิดชอบใดๆ ทางการเมือง)

- รัฐธรรมนูญแห่งราชรัฐลักเซมเบิร์ก มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า La personne du Grand-Duc est

inviolable. (องค์แกรนด์ดยุกทรงดำรงอยู่ในฐานะอันละเมิดมิได้)

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักภูฎาน มาตรา 2 (3) บัญญัติไว้ว่า 3. The title to the Golden

Throne of Bhutan shall vest in the legitimate descendants of Druk Gyalpo Ugyen Wangchuck asenshrined in the inviolable. (ราชบัลลังก์ของภูฏานจะมอบให้รัชทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมายของพระเจ้า Druk Gyalpo Ugyen Wangchuck ซึ่งอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพไม่สามารถที่จะล่วงละเมิดได้)

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฮัชไมด์จอร์แดน มาตรา 30 บัญญัติไว้ว่า The King is the Head

of the State and is immune from any liability and responsibility. (พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐและได้รับการยกเว้นจากความผิดและความรับผิดชอบใดๆ)

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา มาตรา 7 บัญญัติไว้ว่า The King of Cambodia shall

reign but shall not govern. The King shall be the Head of State for life. The King shall be inviolable.

(พระมหากษัตริย์ครองราชย์สมบัติ แต่ไม่ทรงยุ่งเกี่ยวทางการเมือง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพ และจะถูกล่วงละเมิดมิได้

- รัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น มาตรา 1 The Emperor shall be the symbol of the State and the unity of

the people, deriving his position from the will of the people with whom resides sovereign power.

(องค์สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นเครื่องแสดงแห่งรัฐ และความสามัคคีของคนในรัฐ ตำแหน่งของพระองค์ได้มาจากประชาชน และผู้ใช้อำนาจอธิปไตย)

- รัฐธรรมนูญแห่งมาเลเซีย มาตรา 32(1) There shall be a Supreme Head of the Federation, to be

called the Yang di-Pertuan Agong, who shall take precedence over all persons in the Federation and shall not be liable to any proceedings whatsoever in any court. ( ให้เรียกผู้นำสูงสุดว่า ยังดี-เปอร์ตวน อากง ซึ่งเป็นผู้ที่มีฐานะสูงสูงกว่าบุคคลในสมาพันธรัฐทุกคน และไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำใดใด)

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเลโซโธ มาตรา 44 (1) There shall be a King of Lesotho who

shall be a constitutional monarch and Head of State. ( พระมหากษัตริย์แห่งเลโซโธ นั้นเป็นประมุขของราชอาณาจักร เลโซโธ ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข)

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักสวาซีแลนด์ มาตรา 4 (1) King ( iNgwenyama )of Swaziland

is an hereditary Head of State and shall have such official name as shall be designated on the occasion of his accession to the Throne. (พระมหากษัตริย์แห่งสวาซีแลนด์ เป็นประมุขแห่งรัฐ โดยสืบสายมาจากบรรพบุรุษ และ ต้องมีชื่ออย่างเป็นทางการ หลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ครองราชย์สมบัติ)

- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสวีเดน มาตรา 7 The King cannot be prosecuted for his

actions. Neither can a Regent be prosecuted for his actions as Head of State. (พระมหากษัตริย์ นั้นไม่สามารถถูกฟ้องร้องจากการกระทำของพระองค์ และผู้สำเร็จราชการก็เช่นเดียวกับประมุขแห่งรัฐ)

หรือแม้แต่บางประเทศในประมวลกฎหมายอาญาก็ยังมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเหมือนไทยเช่นเดียวกัน อาทิเช่น

ประมวลกฎหมายอาญา ของประเทศนอร์เวย์

101. Any person who commits violence or any other assault against the King or the Regent, or is accessory thereto, shall be liable to imprisonment for a term of not less than two years. If serious injury to body or health is caused or attempted, imprisonment for a term not exceeding 21 years may be imposed.

Any person who defames the King or the Regent shall be liable to detention or imprisonment for a term not exceeding five years.

ผู้กระทำความผิดฐานใช้ความรุนแรงหรือทำร้ายร่างกายอื่นๆต่อกษัตริย์หรือผู้สำเร็จราชการหรือรัชทายาทจะต้องรับผิดชอบต่อการจำคุกในระยะไม่น้อยกว่าสองปี ถ้าบาดเจ็บสาหัสกายหรือสุขภาพ, มีโทษจำคุกในระยะไม่เกิน 21 ปี

ผู้ ใส่ร้ายป้ายสีทำให้เสื่อมเสีย ต่อกษัตริย์หรือผู้สำเร็จราชการจะต้องรับผิดชอบต่อการกักกันหรือจำคุกสำหรับคำไม่เกินห้าปี

ประมวลกฎหมายอาญา ของประเทศเนเธอร์แลนด์

Article 111: Intentional insulting of The King is prosecutable with a detention of maximum 5 years and/or a monetary fine of the fourth category.

Article 112: Intentional insulting of the spouse of The King, the Heir Apparent and the spouse of the Heir Apparent is prosecutable with a detention of maximum 4 years and/or a monetary fine of the fourth category.

Article 113: He who openly distributes written or imagined contents in which an insult is made of The King, the spouse of The King, the Heir Apparent, the spouse of the Heir Apparent or the Regent, or has these in stock and is aware of the insulting content of it, is prosecutable with a detention of maximum 1 year and/or a monetary fine of the third category.

มาตรา 111: การเจตนาดูหมิ่นดูแคลนพระมหากษัตริย์นั้นจะได้รับโทษ กักขังสูงสุด 5 ปีและหรือปรับเป็นเงินในชนิดที่สี่.

มาตรา 112: การเจตนาดูหมิ่นดูแคลนพระราชินี รัชทายาทและคู่สมรสของรัชทายาทมีโทษ กักขังสูงสุด 4 ปีและหรือปรับเป็นเงินในชนิดที่สี่.

มาตรา113: ผู้เขียน ผู้เปิดเผย หรือจำหน่าย สิ่งที่มีเนื้อหาที่ดูถูก ดูแคลน แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและคู่สมรสของรัชทายาท หรือผู้ที่มีในครอบครอง และมีส่วนในการกระทำเหล่านี้มีโทษ กักขังสูงสุด 1 ปีและหรือปรับเป็นเงินในชนิดที่สาม.

ด้วยเหตุนี้จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นไม่ขัดต่อหลักความเสมอภาค เลยแม้แต่น้อย

จากการเปรียบเทียบข้างต้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายหมิ่นกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นไม่ขัดต่อหลักอำนาจอธิปไตย หลักสิทธิและเสรีภาพ และความเสมอภาค หากมองความเป็นจริงถ้าทุกคนนั้นมี อำนาจอธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคที่เท่าเทียมกันทุกคน แล้วใครจะมาทำหน้าที่ปกครอง เพราะการที่ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพ อำนาจ และความเสมอภาคเท่ากัน นั้นเท่ากับว่าไม่มีใครสั่งให้คนนี้ทำตาม หรือสั่งลงโทษที่กระทำความผิด หากเป็นเช่นนั้นคำว่าประชาธิปไตยก็คงกลายเป็นระบอบอนาธิปไตย ทุกคนอยู่อย่างปัจเจก อยากทำอะไรก็ทำโดยไม่สนใจคนรอบข้าง จนทำให้ สังคมวุ่นวาย และการที่ประเทศไทยนั้นมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และการมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถ จนทำให้ประชาชนทั้งปวงศรัทธาและเลื่อมใส นั้นก็ถือได้ว่าประเทศไทยมีเอกลักษณ์ทางการเมืองแตกต่างชาติตะวันตกอื่นๆที่เห็นกษัตริย์นั้นเป็นเช่นเดียวกับคนชั้นสูง และคนรวยทั่วไป สามารถเขียนข่าว ด่าว่า เช่นไรก็ได้ แต่การที่ประเทศไทยไม่สามารถที่จะทำเช่นนั้นได้ถือได้ว่า เป็นการนำระบอบประชาธิปไตยของตะวันตก มาผสมผสานรวมกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมของไทยได้อย่างลงตัว บุคคลที่สงสัยและเคลือบแคลงกับกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนี้ว่าขัดต่อหลักประชาธิปไตยหรือไม่ และเห็นสมควรว่าควรยกเลิกทิ้งไป นั้น ก็คงจะหนีไม่พ้นพวกที่เติบโตมาจากต่างประเทศโดยลืมรากเหง้า ความเป็นไทย เอกลักษณ์และวัฒนธรรม ที่ถูกสืบทอดต่อกันมา เห็นว่ากษัตริย์ต่างประเทศนั้น ถูกว่ากล่าว มีปาปารัซซี่แอบถ่าย ได้โดยไม่มีความเคารพและเกรงใจในฐานะประมุขแห่งรัฐ เช่นนั้น บุคคลที่เคลือบแคลงก็ควรที่จะไปอยู่ในประเทศนั้น เพราะไม่เหมาะสมกับการเป็นคนไทยและใช้สัญชาติไทยต่อไป

ในส่วนของข้อเสนอแนะนั้น จะเห็นได้ว่ามีผู้ที่ต้องการเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศคงจะไม่ยินยอมให้คนเหล่านี้ใช้ข้ออ้างมายกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จนนำมาสู่การส่งเสริมให้คนเหล่านี้มีสิทธิโดยชอบกฎหมายในการ วิจารณ์ พระมหากษัตริย์ และทำให้พระองค์เสื่อมเสียพระเกียรติ แต่กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ใช้มาเป็นระยะเวลาเกือบ 30 ปี แล้ว จึงเห็นสมควรว่าควรปรับปรุงแก้ไขดังต่อไปนี้

- ควรมีการเพิ่มโทษของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้รุนแรงขึ้น เพื่อที่จะลดความพยายามกระทำ

ความผิดในโทษฐานนี้

- ในการตัดสินคดีนี้ควรมีการคำนึงถึง เจตนา ของบุคคลนั้นๆด้วยเพื่อไม่ให้ ผู้ไม่มีเจตนาเป็นเหยื่อของ

กฎหมายนี้ และใช้ข้ออ้างนี้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

- ควรตั้งหน่วยงานผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ขึ้นและให้หน่วยนี้มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองหนังสือหรือสื่อใน

ประเภทอื่นที่หมิ่นเหม่ต่อความผิดในโทษฐานดังกล่าว ก่อนที่จะนำเผยแพร่แก่สาธารณชน หากไม่ผ่านการรับรองก็ให้นำกลับไปแก้ไข หรือยกเลิกการเผยแพร่ต่อไป เพื่อเป็นการสกัดเนื้อหาของหนังสือและบทความก่อนได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วไปได้ทางหนึ่ง

- การฟ้องเพื่อดำเนินคดีต่อความผิดในโทษดังกล่าวควรมีหน่อยงานผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะ ซึ่งมีอำนาจ

ตรวจสอบ คำพูด บทความ บทสัมภาษณ์ อื่นๆ ที่ไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานนี้ แต่มีเนื้อหาที่ค่อนไปทางการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยที่หน่วยงานนี้ควรมีอำนาจในการเป็นผู้ฟ้องต่อเจ้าพนักงานแต่เพียงหน่วยงานเดียว เนื่องจากข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นใครๆก็สามารถเป็นผู้ฟ้องได้ จึงทำให้เกิดการนำข้อหานี้มาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง หากมีหน่วงงานเพื่อพิจารณาก่อนฟ้อง จะทำให้ลดการใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง อีกทั้งเมื่อมีการพิจารณาก่อนจะทำให้มีการคัดกรองก่อนนำไปสู่ขั้นตอนในชั้นศาล อีกด้วย



บรรณานุกรม

ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร. (2550). รัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดนัย ไชยโยธา. (2552). นักคิด นักรู้ และนักการเมือง จากอดีตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Nelson, Brian R. (2550). ความคิดทางการเมืองแบบตะวันตก จากโสกราติสถึงยุคอุดมการณ์. แปลโดย สมนึก ชูวิเชียร.

กรุงเทพฯ: เอ็มแอล ครีเอชั่น แอนด์ พริ้นติ้ง.

ไพโรจน์ พลเพชร และคณะ. (2547). รายงานวิจัย ฉบับสมบูรณ์ เรื่อง สิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยากร เชียงกูล. (2551). ปรัชญา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สายธาร.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2546). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมเกียรติ วันทะนะ. (2549). อุดมการณ์การเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศุนย์ส่งเสริม และฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ.

สมบัติ จันทรวงศ์; และ ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2523). แนวความคิดทางการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

เจษฎา พรไชยา. (2546). พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยกับประเทศอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (2550, 24 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา. เล่ม 124

ตอนที่ 47 ก.
ประชาไท. (2553). สัมภาษณ์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล : ว่าด้วยความพอดีของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ. สืบค้นเมื่อ 1
กุมภาพันธ์ 2553, จาก http://www.prachatai.com/journal/2009/08/25590

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2553). ความผิดฐาน “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ”: เอกลักษณ์ประชาธิปไตยไทยในกระแส

ประชาธิปไตยโลก. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2553, จาก http://www.kpi.ac.th/kpith/index.php?

option=com_content&task=view&id=286&Itemid=9

สำนักงานกฎหมาย พีศิริ. (2553). ประมวลกฎหมายอาญา. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2553, จาก http://www.peesirilaw.com/

index.php?lay=show&ac=article&Id=538614872&Ntype=10

ฟ้าเดียวกัน.(2553). วิวัฒนาการกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2553, จาก http://sameskyboard.com/index.php?showtopic=31185

SRP.(2553). การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2553,

จาก http://www2.srp.ac.th/~social/online/data/001.htm

Wikipedia. (2553). Lèse majesté. Retrieved February 1, 2010, from http://en.wikipedia.org/wiki/L%C3%A8se_ma

jest%C3%A9

Stortinget. (2553). Constitution of Norway. Retrieved February 5, 2010, from http://www.stortinget.no/en/In- English/About-the-Storting/The-Constitution/The-Constitution/.





Legislationline. (2553). Constitution of the Kingdom of Belgium (in English). Retrieved February 7,

2010, from http://www.legislationline.org/download/action/download/id/1744/file/b249d2a5

8a8d0b9a5630012da8a3.pdf.

Legislationline. (2553). Constitution of the Kingdom of Denmark (in English). Retrieved February 5, 2010, from

http://www.legislationline.org/download/action/download/id/1587/file/c57ee1ef8edd6198a252e187fdf2.htm/

Constitution. (2553). Constitution of Bhutan. Retrieved February 5, 2010, from http://www.constitution.bt/html/

constitution/articles.htm

Constitution. (2553). Constitution of Cambodia. Retrieved February 5, 2010, from http://www.constitution.org/

cons/cambodia.htm

Kinghussein. (2553). Constitution of Jordan. Retrieved February 5, 2010, from http://www.kinghussein.gov.jo/

constitution_jo.html

Salon. (2553). Constitution of Japan. Retrieved February 6, 2010, from http://www.solon.org/Constitutions/

Japan/English/english-Constitution.html

Worldstatesmen. (2553). Constitution of Brunei. Retrieved February 6, 2010, from http://www.worldstatesmen.org/

Brunei1984.PDF

Wikipedia. (2553). Constitution of Malaysia. Retrieved February 7, 2010, from http://en.wikisource.org/wiki/

Constitution_of_Malaysia

Parliament. (2553). Constitution of Lesotho. Retrieved February 10, 2010, from library2.parliament.go.th/

giventake/content_cons/lesotho.pdf

Theroyalforums. (2553). Lese Majesty And Other Insults to Queen Beatrix. Retrieved February 10, 2010,

from http://www.theroyalforums.com/forums/f158/lese-majesty-and-other-insults-to-queen-beatrix-16445.html

NIEW. (2553). Constitution of Swaziland. Retrieved February 10, 2010, from http://www.niew.gov.my/niew/

index.php?option=com_docman&task=doc_details&gid=258&Itemid=35&lang=en&color=purple

Riksdagen. (2553). Constisution of Sweden. Retrieved February 10, 2010, from http://www.riksdagen.se/templates

/R_PageExtended____6322.aspx