วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ข้อเสียของระบบทุนนิยม

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เสรีภาพแก่ภาคเอกชนในการเลือกดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต รวมถึงเศรษฐทรัพย์ต่างๆที่ตนหามาได้ มีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ

ส่วนผู้บริโภคสามารถที่จะเลือกอุปโภคบริโภคสินค้า และบริการต่างๆได้อย่างอิสระเสรี แต่ทั้งนี้เสรีภาพดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายหรือการดำเนินการใดๆจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของบุคคลอื่น

โดยระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะขับเคลื่อนได้ด้วยระบบการแข่งขันทางด้านราคาและระบบตลาด ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการจัดสรรทรัพยากร และกำหนดเศรษฐกิจว่า จะผลิตอะไร ผลิตเพื่อใคร และอย่างไร ส่วนการกระจายสินค้าและบริการ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ความต้องการของผู้บริโภคจะบอกถึงมูลค่า หรือเป็นตัวกำหนดราคาสินค้าและบริการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการชนิดหนึ่งมาก แต่ขณะเดียวกันสินค้าและบริการดังกล่าวมีน้อย ก็จะช่วยให้สินค้าและบริการนั้นมีราคาที่สูงตามไปด้วย เป็นต้น

โดยรัฐบาลจะมีหน้าที่ควบคุมกฎ กติกา และดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เพื่อให้กลไกตลาดทำงานได้ และห้ามเข้ามาแทรกแซงหรือทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรแทนตลาด ปล่อยให้ตลาดจัดสรรทรัพยากรเองไปตามธรรมชาติ และทำหน้าที่ป้องกันประเทศเท่านั้น

ข้อดีของระบบทุนนิยม คือ ทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว เพราะประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สามารถเลือกตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามที่ตนถนัด, ส่วนกำไร และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินช่วยเป็นแรงจูงใจที่ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผลิตได้มากน้อยเท่าไรก็จะได้รับผลตอบแทนหรือรายได้เท่านั้น นอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมทำให้เกิดการคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์หรือเทคนิคใหม่ๆ อยู่เสมอ ดังนั้นจึงเกิดการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เพราะเป้าหมายสูงสุดของระบบนี้คือ กำไร และการครอบครองทางการตลาด

แต่ในขณะเดียวกันระบบทุนนิยมก็มีข้อบกพร่องเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมาก มีลักษณะการกระจุกตัวของรายได้หรือ “รวยกระจุก จนกระจาย” ซึ่งส่งผลให้เกิด ความยากจน, การว่างงาน, ความเสมอภาค จนเกิดการแย่งชิงทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกันอันเนื่องจากความสามารถที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ผู้ที่มีความสามารถสูงกว่าจะเป็นผู้ได้เปรียบ ตลอดจนราคาหรือกลไกตลาดยังไม่ใช่เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพียงพอสำหรับการจัดสรรทรัพยากรของระบบเศรษฐกิจเพราะสินค้าและบริการบางอย่างมีการผูกขาดหรือเป็นสินค้าสาธารณะซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนมาก อาจ เสี่ยงกับภาวะการขาดทุน หรือไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ ทำให้เอกชนไม่กล้าลงทุน ส่งผลให้รัฐบาลต้องเข้ามาดำเนินการแทน

ดังนั้นราคาจึงไม่สามารถเข้ามาทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรได้ อีกทั้งระบบการแข่งขันหรือกลไกราคาอาจทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจอย่างสิ้นเปลือง, เปล่าประโยชน์, ไม่คุ้มค่า ตลอดจนสิ่งแวดล้อมเกิดความเสื่อมโทรม และถูกใช้ให้หมดไปกับปัจจุบันมาก โดยไม่คำนึงถึงคนรุ่นหลัง

นอกจากนี้ระบบทุนนิยมยังส่งผลกระทบทางด้านสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย การแลกเปลี่ยนสังคมวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทำให้ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเองลดน้อยลง จนเกิดการสูญเสียวัฒนธรรมดั้งเดิมในที่สุด นอกจากนี้ค่านิยมในการบริโภคก็เปลี่ยนไป วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไปจากเดิม วัตถุนิยม และความมั่งคั่งเป็นสิ่งที่ใครๆก็อยากได้และปราถนา ทุกคนเห็นแก่ปากท้องตน มากกว่าญาติพี่น้องและส่วนรวม จนคุณธรรมและจริยธรรมเริ่มเสื่อมถอยลง จนนำไปสู่ปัญหาต่างๆมากมายในสังคมไทย

จะเห็นว่าระบบทุนนิยมมุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและตัวเลข เช่นตัวเลข GNP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ที่บ่งบอกแต่ปริมาณมากกว่าคุณภาพ แต่การพัฒนาเศรษฐกิจจะดูในเรื่องของการกระจายรายได้ ซึ่งประกอบไปด้วยเส้นความยากจน, ส่วนแบ่งรายได้, เส้น Lorenz และค่าสัมประสิทธิจินี, เรื่องของการศึกษา โดยมองจากอัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชาชน ฯลฯ และเรื่องด้านสุขภาพอนามัย โดยมองผ่านอัตราการเกิดการตายของเด็กทารก ความยืนยาวของชีวิต ค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข การแพทย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามทั้งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจก็ไม่สามารถที่จะบอกได้ว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะสามารถแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากข้อบกพร่องของระบบทุนนิยมคือวิธีใด เพราะทุกครั้งที่มีการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ก็จะเกิดการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นหลายท่านจึงเชื่อว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่จะสามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดการแก้ไขปัญหาของระบบทุนนิยมได้

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สาเหตุแห่งมหาอุทกภัย ๒๕๕๔

สาเหตุแห่งมหาอุทกภัย ๒๕๕๔

(ระดับน้ำหน้าเขื่อนภูมิพล กันยายน ๒๕๕๔ ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต)

มีการถ่ายทอดข้อความของผู้ที่ใช้นามว่า “ชาวเขื่อน” ส่งถึงผมเช้านี้ (๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๔) ความว่า

“รู้มั้ยว่าทำไมน้ำถึงท่วมเป็นวงกว้างขนาดนี้..
สาเหตู.. การจัดการบริหารน้ำผิดพลาด
ใครผิดพลาด.. นาย (ระบุชื่อ-ผมขอปิด) ทำไมถึงเป็นนายคนนี้ เพราะตอนน้ำท่วมช่วงแรกๆ นายคนนี้เป็นคนสั่งให้เขื่อน ทุกเขื่อนกักน้ำให้ไว้ให้มากที่สุด
แทนที่จะปล่อยให้ระบายน้ำออกจากเขื่อนตามหลักการที่เคยทำมา
เพื่อที่จะทำให้ระดับน้ำที่ท่วมในช่วงนั้นลดลง.. โดยไม่สนใจคำคัดค้านจาก ผอ.เขื่อนต่างๆ โดยเฉพาะเขื่อภูมิพล ที่พยายามโต้เถี่ยงคัดค้านมาโดยตลอด จนนายคนนี้ไม่สามารถโต้เถี่ยงจึงกล่าวออกมาว่า
นี่คือคำสั่ง ผมสั่ง.. คุณต้องทำ
แล้วเป็นไง.. น้ำเหนือที่ยังไม่หมดช่วงมรสุมตะวันออกลงมาที่เขื่อนต่างๆ เป็นจำนวนมาก
จะค่อยๆระบายก็ไม่ได้ ต้องกัก.. นี่เป็นคำสั่ง จนส่งผลดังปัจุบันที่ เป็นอยู่..
แล้วเราจะประนามใคร.. ช่วยกระจายเรื่องหน่อยเถอะครับ ชาวไทยจะได้ตาสว่าง..”

(ภาพถ่ายทางอากาศระหว่างบินสำรวจอุทกภัย กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ กลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ ขอบคุณภาพ : สุเทพ ทวะลี ทีมเฉพาะกิจ กรมประชาสัมพันธ์ ประจำศูนย์ ศปภ.ดอนเมือง)

อีกข้อความหนึ่งที่ผมได้รับพร้อมกัน

“..น้ำท่วมครั้งนี้ เกิดจากความผิดพลาดการบริหารน้ำทั้งหมด

คนที่ต้องรับผิดชอบ (ระบุชื่อ ๔ คน ๑ หน่วยงานระดับกรม – ผมขอปิด)

ความจริงที่ควรรู้

๑.ปริมาณน้ำไม่ได้มากกว่าปี ๔๙ และ ๓๘

๒. เพียงแต่น้ำมาเร็วกว่าปกติประมาณ ๔๕ วัน

๓. ทำให้มีการกักน้ำไว้ไม่ให้ไปท่วมนาที่ยังเก็บเกี่ยวไม่เสร็จ

๔. (ชื่อคน – ผมขอปิด) ไม่ยอมให้ผันน้ำไปท่าจีนตั้งแต่แรก ทำให้เกิดการแตกของบางโฉมศรี ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติหนัก

๕. อ้าย (ไม่บอกชื่อ แต่บอกสัญลักษณ์ให้รู้ว่าเป็นผู้ใด – ผมขอปิด) รู้ดี ดังนั้นตอนที่อ้าย (ระบุชื่อ – ผมขอปิด) มันออกมาโวย อ้าย (ไม่บอกชื่อ แต่บอกสัญลักษณ์ให้รู้ว่าเป็นผู้ใด – ผมขอปิด) มันจึงรีบออกมาห้ามเพราะม่ายงั้น จะความแตก เพราะงานนี้ (เสีย) หายเกินกว่าจะคาดคิด

๖. อ้าย (ชื่อคน – ผมขอปิด) สั่งไม่ปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพล ตั้งแต่แรกเพราะต้องการให้ตอนล่างเก็บเกี่ยวเสร็จ พอน้ำเหนือมามาก จนท่วมตัวเมืองเชียงใหม่จึงต้องปล่อยน้ำลงเขื่อนจนน้ำในเขื่อนเกิดวิกฤติ ต้องปล่อยน้ำจำนวนมาก ติดต่อกัน

๗. หลายพื้นที่มีการกักกันน้ำ โดยเน้นไม่ให้พื้นที่ฐานเสียงที่ยังเก็บเกี่ยวไม่เสร็จถูกน้ำท่วม ยิ่งเป็นการซ้ำเติม ให้น้ำมีมวลมากก้อนใหญ่และรุนแรง หลายพื้นที่ไม่เคยท่วมหรือท่วมหนักจึงโดนกันทั่ว

๘.มีการบริหารผิดพลาดที่อยุธยาทำให้ ตัวเมือง เกาะเมือง และนิคมวายวอด ฝีมือหลักของอ้าย (ชื่อคน – ผมขอปิด)

๙.ใบเสร็จทั้งหมดดูได้จาก ปริมาณน้ำของแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำสายอื่นๆ ที่มีการเก็บข้อมูล

๑๐. ผู้ได้รับความเสียหายควรฟ้องศาลปกครอง เรียกให้รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบค่าเสียหาย เพราะเป็นการปฏิบัติงานผิดพลาดร้ายแรง รวมถึงม.๑๕๗

๑๑. ย้ำอีกครั้งว่าอย่าอ้างภัยธรรมชาติ เป็นฝีมือห่วย ๑๐๐%

สรุปต้องลากคอ (ระบุชื่อ ๔ คน ๑ อธิบดีหน่วยงานระดับกรม – ผมขอปิด) มารับโทษ โดยใช้หลักฐานจากข้อมูลน้ำทั้งหมด ซึงถ้าฟ้องศาลปกครอง ให้ศาลออกหมายเรียก เอกสารพวกนี้มาดูได้

ประเทศ (เสีย) หายขนาดนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ..”

สงครามยังไม่สงบ อย่าเพิ่งนับศพทหารครับ

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ถาม “นิติราด”.....ถาม.. “นิติราษฎร์”

13 คำถาม “นิติราด”.....ถาม.. “นิติราษฎร์”

กรณีวิวาทะผ่านเวทีสังคมออนไลน์และการประกาศตัวของ กลุ่มหรือคณะหรือหมู่ทะลวงฟัน หรืออะไรก็แล้วแต่ในนาม นิติราษฎร์ รวมทั้ง การปรากฏของ 23 คณาจารย์ที่ออกมาตอบโต้และตั้ง 15 คำถามให้นิติราษฎร์หาคำตอบ หลังจากนั้นเห็นบอกว่าขอเวลา 2 อาทิตย์ในการตอบคำถามนี้

ไหนๆก็ไหนๆแล้วการเปิดหน้าของนิติราษฎร์ เสนอแบบจุดพลุในสังคมประเทศไทย บนข้ออ้างของความชั่วร้ายของรัฐประหารเมื่อครั้ง 19 ก.ย.49 ตามเหตุผลผู้ที่อ้างตัวในการเป็นอาจารย์พรั่งพรูออกมากับข้อเสนอนั้น สรุปรวบยอดเอาเองครับว่าหากเป็นไปตามข้อเสนอนั้น เสนอเพื่ออะไรจุดรวบยอดสูงสุดคือใคร แล้วใครนั่งอยู่บนยอดสุดของปิรามิด

ขอถามแบบคำถามแบบ “นิติราด”บ้านนอก...ถึง “นิติราษฎร์”เมืองกรุง....เพื่อความกระจ่างครับ

1. ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย มีจริงหรือไม่ แล้วมันอยู่ที่ใด ?

2. การปฏิวัติครั้งที่ 1 เมื่อปี 2475 เป็นสิ่งที่ชัวร้ายหรือไม่ และถัดมาหลังจากนั้นการรัฐประหาร และการก่อกบฏ ทุกครั้งที่เกิดขึ้น จนเมื่อ 19 ก.ย.2549 เป็นสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งหมดใช่หรือไม่…?

3. รัฐบาลทุกรัฐบาลนับแต่ 2475 เป็นมรดกของความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิวัติ และการรัฐประหารใช่หรือไม่….?

4. การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นบนธุรกิจการเมือง ใช้จ่ายเงินซื้อเสียง ครอบงำ หลอกลวง แจกผลประโยชน์ เมื่อชนะการเลือกตั้งแล้ว สามารถทำอย่างไรก็ได้ เพราะชนะการเลือกตั้ง และสามารถทำธุรกิจการเมืองกอบโกยผลประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้อง เป็นสิ่งที่ชอบธรรม เพราะเป็นเสียงส่วนใหญ่ที่เลือกเข้ามาใช่หรือไม่....?

5. เมื่อระบบการเมืองครอบงำระบบการตรวจสอบจนง่อยเปลี้ย เสียขา ทำลายระบบถ่วงดุลอำนาจ คือฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และทำลายองค์กรอิสระจนล้มเหลวเช่นข้อความที่ว่า “กกต.เป็นของเรา” เป็นความถูกต้องชอบธรรมเพราะได้รับการเลือกตั้งมา ใช่หรือไม่....?

6. ระบบเผด็จการ ในสายตา “นิติราษฎร์” เป็นอย่างไร...?

7. หากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับนิติราษฎร์ แล้วเป็นผู้ปกครอง หรือผู้บริหาร หรือแสดงความเห็นในความเป็นจริงที่แตกต่าง มากกว่าความเพ้อฝัน เป็นเผด็จการและชื่นชอบในการรัฐประหารใช่หรือไม่….?

8. เหล่าตุลาการทั้งหลายที่ทำหน้าที่พิพากษาอรรถคดีความนั้นทำหน้าที่ภายใต้

สถาบันใด.....?

9. หากล้มคำพิพากษาคำตัดสินเหล่านั้นแล้วเท่ากับล้มสิ่งใดหรือ......?

10. เมื่อมีผู้กระทำผิดต่อชาติที่มีฐานะร่ำรวยมหาศาล มีอำนาจสามารถจัดระเบียบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ไว้ได้โดยสามารถครองประโยชน์จากผลรวบยอดไว้ได้เบ็ดเสร็จ รัฐฐาธิปัตย์ จะต้องปรับกฎหมายให้เข้ากับผู้กระทำผิด เพราะผู้นั้นไปทำในสิ่งที่กฎหมายห้าม แต่ไม่ได้ทำผิดกฎหมายเช่นนั้นใช่หรือไม่...?

11. และว่าหากบรรพบุรุษของอาจารย์ผู้เป็นเลิศในทางกฎหมาย เป็นสมุนของขุนโจร หรือเป็นลูกหลานมหาโจร อาจารย์ผู้นั้นย่อมเป็นนักกฎหมายที่ปกป้องโจร และไม่สามารถเป็นอาจารย์ที่ดีได้ใช่หรือไม่....?

12. ฝูงชนที่มีจำนวนมากได้มีมติร่วมกันในการจัดหาพาน้ำมันมาคนละขวดแล้วจุดไฟให้กรุงเทพกลายเป็นทะเลเพลิง ในขณะที่คนที่ไม่เห็นด้วยเป็นเจ้าของกรุงเทพ เป็นเจ้าของตึกรามเหล่านั้น และเป็นคนที่อยู่คนละฝ่ายกับฝูงชนนั้น ไม่เห็นด้วย จะต้องยอมให้เผา เพราะเป็นเสียงส่วนใหญ่ ส่วนมากในที่นั้น เป็นสิ่งที่ชอบ เพราะเป็นเสียงของประชาชนส่วนใหญ่ใช่หรือไม่....?

13. ทั้ง 13 ข้อนี้ “นิติราด” เห็นว่า ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องมีกฎหมาย ไม่ต้องต้องมีระเบียบ ไม่ต้องมีจริยธรรม คุณธรรม หลักนิติธรรม หลักนิติรัฐ ด้วยไม่มีความจำเป็นเพราะยึดถือเสียงส่วนใหญ่ เพราะ “ไม่มีเสียงใด ดังกว่าเสียงของประชาชน” เป็นสิ่งที่ “นิติราษฎร์” เห็นด้วยใช่หรือไม่…?

ทั้ง 12 คำถามนี้ “นิติราด” เห็นว่า “นิติราษฎร์” ควรตอบเป็นอย่างยิ่ง และเห็นต่อไปว่าในโลกของความเป็นจริงในประเทศไทย “การเลือกตั้ง" ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย หาก “นิติราษฎร์” เห็นว่า “เลือกตั้งชนะครองอำนาจรัฐแล้วชั่วได้” “นิติราด” ขอเสนอว่า..... “นิติราษฎร์”..ควรชักชวน ผู้ที่เห็นสมและผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดจากข้อเสนอของ “นิติราษฎร์” ไปหาซื้อแผ่นดินตั้งประเทศอาศัยใหม่เถิด..เงินซื้อทุกอย่างได้ถ้ามีมากพอเป็นความจริง...แผ่นดินไทยนี้ มีรากแก้ว และมีที่มาอย่างยาวนาน ความมั่นคงที่เกิดขึ้น แผ่นดินที่คงอยู่นี้ ทับถมด้วยเลือดเนื้อและชีวิตของภูมิบรรพบุรุษมามากแล้ว

และบังเอิญว่า “นิติราด” รู้คุณแผ่นดินที่อาศัย รู้คุณทุนที่ได้ร่ำเรียนมา และรู้ถึงคุณค่าในความเป็นมนุษย์ว่าจะต้องดำรงอยู่ด้วย จริยธรรม คุณธรรม ความถูกต้อง ความเป็นจริง มากกว่าความเพ้อฝันที่ไม่เคยจับต้องได้ มนุษย์ มีแขนขาสมองเท่ากันทุกคน แต่สำนึกในความเป็นมนุษย์ และยอมรับความเป็นจริงโดยไม่มีสิ่งเคลือบแฝง มันแตกต่างกันโดยแท้./////

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หลักธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE)

ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล
(GOOD GOVERNANCE)


หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality)
หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

หลักธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE)

ระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล
(GOOD GOVERNANCE)


หลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข และตั้งอยู่ใน ความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแผนภาพ ดังนี้
1. หลักนิติธรรม (The Rule of Law)
หลักนิติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของ ตัวบุคคล จะต้องคำนึงถึงความเป็นธรรม และความยุติธรรม รวมทั้งมีความรัดกุมและ รวดเร็วด้วย
2. หลักคุณธรรม (Morality)
หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม การส่งเสริม ให้บุคลากรพัฒนาตนเอง ไปพร้อมกัน เพื่อให้บุคลากรมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ วินัย ประกอบอาชีพสุจริต เป็นนิสัย ประจำชาติ
3. หลักความโปร่งใส (Accountability)
หลักความโปร่งใส หมายถึง ความโปร่งใส พอเทียบได้ว่ามีความหมาย ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม กับการทุจริต คอร์รัปชั่น โดยที่เรื่องทุจริต คอร์รัปชั่น ให้มี ความหมายในเชิงลบ และความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ ความโปร่งใสเป็นคำศัพท์ที่ให้แง่มุมในเชิงบวก และให้ความสนใจในเชิงสงบสุข ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องอย่างชัดเจนในการนี้ เพื่อเป็น สิริมงคลแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้มีความโปร่งใส ขออัญเชิญพระราชกระแสรับสั่งในองค์พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ได้แก่ ผู้ที่มีความสุจริต และบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ
4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การให้โอกาสให้บุคลากรหรือผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมทางการ บริหารจัดการเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น เป็นคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และหรือ คณะทำงานโดยให้ข้อมูล ความคิดเห็น แนะนำ ปรึกษา ร่วมวางแผนและร่วมปฏิบัติ
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility )
หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาการบริหารจัดการ การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง รวมทั้งความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน