วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการของการบริหารท้องถิ่นไทย








โดย

นางนุชนารถ อินต๊ะสุข

นางปิยนุช ศรีบุรี

นางสาวพิมพ์พร อุณหิต

นางสาวอุทุมพร สุริยวงค์



เสนอ ดร.ทิวากร แก้วมณี

วิวัฒนาการของการบริหารท้องถิ่นไทย

วิวัฒนาการของการบริหารท้องถิ่นสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

การบริหารประเทศภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยปกติมักมีการรวมอำนาจสูง แต่สำหรับประเทศไทยกลับปรากฏว่าการกระจายอำนาจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่นมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งนี้อาจจำแนกวิวัฒนาการเป็น 4 ช่วงเวลา คือ

1. การบริหารราชอาณาจักรในอดีต

การจัดระเบียบราชอาณาจักรไทยในสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การรวบรวมอำนาจให้เป็นปึกแผ่นเพื่อสร้างอาณาจักรที่แข็งแกร่งและมั่นคง แนวคิดที่จะกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นปกครองตนเองยังไม่ปรากฏ

1.1 สมัยสุโขทัย อาณาจักรสุโขทัย จัดระเบียบเมืองต่างๆ ในพระราชอาณาเขต แบ่งเป็นราชธานีเป็นศูนย์กลางในการปกครองราชอาณาจักร หัวเมืองชั้นในหรือเมืองลูกหลวงตั้งอยู่ล้อมรอบราชธานี มีพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ดูแล ภายใต้การอำนวยการปกครองของพระมหากษัตริย์ หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่ห่างจากราชธานีออกไป มีพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเมือง มีอำนาจอิสระในการบริหารและมีอำนาจเหนือเมืองเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ๆกันด้วย แต่จะต้องขึ้นกับสุโขทัยโดยต้องส่งส่วยและเกณฑ์กำลังไพร่พลไว้คอยช่วยเหลือเมืองหลวง ลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ามีการกระจายอำนาจในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย

1.2 สมัยอยุธยา อาณาจักรอยุธยาในระยะแรกจัดระเบียบบ้านเมืองคล้ายกับอาณาจักรสุโขทัย คือแบ่งเป็นราชธานี ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการปกครองราชอาณาจักร หัวเมืองชั้นในหรือเมืองหลวง หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช

ต่อมาอาณาจักรอยุธยาขยายตัวกลายเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ มีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่าเดิม การจัดระเบียบบ้านเมืองมีลักษณะการรวมอำนาจที่รัดกุมและแน่นแฟ้นกว่าสมัยสุโขทัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากอยุธยามีอำนาจแข็งแกร่ง สามารถแผ่ขยายอิทธิพลครอบคลุมทั้งอาณาจักร

1.3 สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น แนวคิดของผู้คนสมัยนี้ นอกจากจะต้องการความมั่นคงปลอดภัยและความสงบสุขแล้ว ยังมีความต้องการเป็นอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูความเจริญให้เหมือนสมัยอยุธยา มีการสร้างวัด สร้างวัง กำหนดกฎหมายและจัดระเบียบบริหารบ้านเมืองโดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นแบบ

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีแนวพระราชดำริที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัย มีการริเริ่มปรับปรุงเกี่ยวกับความเป็นอยู่และสิทธิของประชาชน เช่นการยกเลิกเก็บอากรตลาด การผ่อนภาระค่านา การปกป้องฐานะของสตรี การคุ้มครองสิทธิของทาส เป็นต้น และทรงลดพระราชอำนาจที่เป็นสิทธิขาดของพระมหากษัตริย์ลงหลายประการ

2. การริเริ่มจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสืบทอดพระราชปณิธานในสมเด็จพระบรมราชชนก ในการปรับปรุงพัฒนาประเทศให้มั่นคงพร้อมๆ กับการพัฒนาความเป็นอยู่ตลอดจนสิทธิของราษฎร เพื่อความมั่นคงของประเทศโดยมีแนวพระราชดำริที่จะรวมอำนาจการปกครองไว้ที่ส่วนกลาง และจัดระเบียบการบริหารประเทศให้เป็นระบบและมีเอกภาพมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ มีความเสมอภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทรงดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น การยกเลิกระบบทาส และระบบไพร่ การส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน และมีการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม ซึ่งเป็นก้าวแรกของการที่ประชาชนจะมีอำนาจบริหารท้องถิ่นของตนเอง

2.1 สุขาภิบาลกรุงเทพฯ การดำเนินการบริหารท้องถิ่นในประเทศไทย ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวง มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้เกิดปัญหาความสกปรก โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งก่อสร้างที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ใน พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายว่าด้วยการจัดกิจการท้องถิ่นฉบับแรก คือ พระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ เพื่อทำหน้าที่หลักในด้านการรักษาความสะอาดและป้องกันโรคในแขวงพระนคร โดยรับผิดชอบจัดดำเนินการทำลายขยะมูลฝอย จัดสถานที่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะสำหรับราษฎรทั่วไป ห้ามการปลูกสร้างหรือซ่อมแซมโรงเรือนที่จะเป็นเหตุให้เกิดโรค และขนย้ายสิ่งโสโครกที่ทำความรำคาญให้กับราษฎรไปทิ้ง แม้ว่าสุขาภิบาลกรุงเทพฯ จะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่ายังไม่เป็นไปตามหลักการปกครองท้องถิ่นอย่างแท้จริง เพราะผู้มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารกิจการสุขาภิบาลกรุงเทพฯ เพื่อบริหารกิจการของท้องถิ่น นับว่าเป็นก้าวแรกที่พัฒนาไปสู่การบริหารท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพต่อไป

2.2 สุขาภิบาลท่าฉลอม ใน พ.ศ. 2448 ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร ได้ร่วมกันพัฒนาความสะอาดเรียบร้อยในตำบล โดยได้เรี่ยไรกันจัดซื้ออิฐปูถนน มีความยาวถึง 11 เส้น 14 วา กว้าง 2 วา ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า “ถนนถวาย” และเพื่อให้ชาวบ้านตลาดท่าฉลอมร่วมมือกันทำนุบำรุงท้องถิ่นของตนเองต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลขึ้น ณ ตำบลบ้านตลาดท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร และได้พระราชทานเงินรายได้จากภาษีโรงร้านในตลาดท่าฉลอมให้สุขาภิบาลนำมาใช้เป็นทุนในการบริหารท้องถิ่นตามอำนาจหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ การซ่อมแซมบำรุงถนนหนทาง การจุดโคมไฟให้ความสว่างในเวลากลางคืน และการจัดหาคนงานเก็บกวาดขยะมูลฝอย กิจการสุขาภิบาลจึงได้เริ่มมีขึ้นในหัวเมืองเป็นครั้งแรก โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2449

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสุขาภิบาลท่าฉลอมขึ้น คือการรวมตัวกันของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้าประชาชนชาวท่าฉลอม การจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมไม่ได้เกิดจากการริเริ่มของส่วนราชการส่วนกลาง แต่เกิดแนวคิดของประชาชนในท้องถิ่นที่รวมตัวกันและริเริ่มดำเนินกิจกรรมท้องถิ่นขึ้นก่อน จากนั้นส่วนกลางจึงเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนและกระจายอำนาจบริหารให้แก่ท้องถิ่น การจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการดำเนินกิจการท้องถิ่นโดยกลุ่มผู้นำท้องถิ่นเองเป็นครั้งแรก สุขาภิบาลท่าฉลอมจึงเป็นองค์กรแรกในประเทศไทยที่มีลักษณะเป็นองค์กรปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่น

3. การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหัวเมือง

ในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 ขึ้นใช้บังคับทั่วพระราชอาณาจักร พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้ต่อเนื่องมาจนเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับนี้ ใน พ.ศ. 2458

3.1 การประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 ใน พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 การประกาศพระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้มีเป้าหมายที่จะเร่งรัดให้มีการจัดตั้งสุขาภิบาล มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะใช้เป็นการทั่วไปสำหรับการจัดตั้งและดำเนินกิจการสุขาภิบาล ทั้งนี้ เมื่อข้าหลวงเทศาภิบาลเห็นสมควรจัดการสุขาภิบาลขึ้นในหัวเมืองใด ก็ให้ปรึกษาหารือกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้เป็นหัวหน้าราษฎรในท้องถิ่นนั้น แล้วจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดการสุขาภิบาลขึ้นในท้องที่นั้นเป็นราย ๆ ไป สุขาภิบาลตามพระราชบัญญัติ ฯ นี้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

สุขาภิบาลสำหรับเมือง จัดตั้งในท้องที่เมืองที่มีความเจริญมาก บริหารงานโดยคณะกรรมการ จำนวน 9 คน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการเมือง เป็นประธาน ปลัดเมือง เป็นเลขานุการ นายอำเภอ นายแพทย์สุขาภิบาล หัวหน้าพนักงานการศึกษาในเมือง และกำนันในเขตสุขาภิบาล จำนวน 4 คน เป็นกรรมการ หากท้องถิ่นมีกำนันไม่ครบ 4 คน ก็ให้ข้าหลวงเทศาภิบาลมีอำนาจเลือกกำนันพิเศษจากบุคคลในท้องที่ที่มีส่วนเสียภาษีโรงร้าน จนครบจำนวน

สุขาภิบาลสำหรับตำบล จัดตั้งในท้องที่มีลักษณะเป็นชุมชนหนาแน่น และมีความเจริญอยู่เฉพาะในตำบล บริหารงานประกอบด้วยกำนันนายตำบล เป็นประธาน และผู้ใหญ่บ้าน ในเขตท้องที่สุขาภิบาล เป็นกรรมการ

อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ การรักษาความสะอาด การป้องกันโรคและรักษาความเจ็บไข้ การบำรุงและรักษาทางไปมา และการศึกษาชั้นต้นของราษฎร

3.2 การประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 ในสมัยรัชกาลที่ 6 แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มากมาย แต่สำหรับการจัดการบริหารท้องถิ่นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของหลักการและวิธีการ เนื่องจาก พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 217 เพิ่งประกาศใช้ได้เพียง 2 ปี และเพิ่งจะมีการจัดตั้งสุขาภิบาลได้เพียง 7 แห่ง แนวพระราชดำริในการบริหารท้องถิ่นจึงมีลักษณะเป็นการสืบทอดแนวพระราชดำริในรัชกาลก่อน พร้อมทั้งยังพยายามพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในรัชกาลนี้ได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลเพิ่มขึ้นอีก 19 แห่ง และมีการแก้ไขพระราชบัญญัติจัดสุขาภิบาลตามหัวเมืองโดยมีเป้าหมายเพื่อขยายกิจการสุขาภิบาลและส่งเสริมให้สุขาภิบาลมีความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น ใน พ.ศ. 2458 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 โดยกำหนดให้สุขาภิบาลมีอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ จดทะเบียนคนเกิด คนตาย และการทะเบียนต่างๆ ในเขตสุขาภิบาล และได้แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 ประเภท

ประเภทแรก คือ สุขาภิบาลเมือง มีหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งและมีโครงสร้างเช่นเดียวกับสุขาภิบาลสำหรับเมืองตามที่พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 กำหนดไว้แต่แรก

ประเภทที่ 2 เรียกว่าสุขาภิบาลท้องที่ เปิดโอกาสให้พื้นที่หลายตำบลที่มีเขตพื้นที่ที่เจริญต่อเนื่องกัน สามารถรวมกันจัดตั้งสุขาภิบาลร่วมกันได้ สุขาภิบาลสำหรับตำบลจึงเท่ากับถูกยกเลิกไปโดยปริยาย สุขาภิบาลท้องที่มีคณะกรรมการประกอบด้วย นายอำเภอท้องที่ เป็นประธาน นายแพทย์สุขาภิบาล ปลัดอำเภอ และกำนันในท้องที่เขตสุขาภิบาล เป็นกรรมการ





4. การเตรียมการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบใหม่

ความพยายามที่จะปรับปรุงพัฒนาการบริหารท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการบริหารท้องถิ่นแบบสากลปรากฏอย่างชัดเจนในสมัยพระบาลสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากการที่ทรงทดลองจัดตั้ง “สภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตก” ใน พ.ศ. 2469 และทรงเตรียมการที่จะจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลในลักษณะที่สอดคล้องกับการบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตย

4.1 สภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตก หลังจากที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 ใน พ.ศ. 2451 ได้มีการขอจัดตั้งสุขาภิบาลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่เป็นการเพิ่มจำนวนอย่างช้า ๆ ไม่รีบเร่ง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะให้สุขาภิบาลเกิดขึ้นโดยความยินยอมพร้อมใจของราษฎรในท้องถิ่น ใน พ.ศ. 2469 รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทดลองจัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบใหม่ เรียกว่า “สภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตก” ในพื้นที่แถบชายทะเลตั้งแต่ตำบลบ้านชะอำลงไปถึงตำบลหัวหิน สภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลตะวันตกนี้เป็นองค์การที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ในการบำรุงถนนหนทาง การประปา ไฟฟ้า การวางผังเมือง และการสาธารณสุข

4.2 ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล ใน พ.ศ. 2470 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการจัดการประชาภิบาล ทำหน้าที่ศึกษาพิจารณาปรับปรุงการสุขาภิบาล ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ได้ศึกษาดูงานองค์การบริหารท้องถิ่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ และได้เสนอรายงานอันเป็นแนวทางปรับปรุงพัฒนาการสุขาภิบาล ซึ่งจะเรียกชื่อใหม่ว่า การประชาภิบาล หรือ เทศบาล

พระราชประสงค์ในการจัดตั้งเทศบาลนี้เป็นที่ปรากฏชัดว่าทรงมีเป้าหมายเพื่อเตรียมการสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ดังแนวพระราชดำริที่ว่า “มันจะเป็นการดีแก่ประชาชนอย่างแท้จริง ที่เขาจะเริ่มต้นด้วยการควบคุมกิจการของท้องถิ่น ก่อนที่พวกเขาพยายามที่จะควบคุมกิจการของรัฐโดยผ่านทางรัฐสภาทรงมีแนวพระราชดำริมุ่งเน้นที่จะให้เทศบาลเป็นโรงเรียนสอนประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ราษฎรได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจและฝึกฝนตนเอง โดยการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่น ก่อนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับชาติ จะเห็นได้ว่าการเตรียมการจัดตั้งเทศบาลดำเนินไปอย่างมีระบบ โดยเริ่มจากวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้นำประเทศ









วิวัฒนาการของการบริหารท้องถิ่นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลมีแผนที่จะจัดตั้งเทศบาลขึ้นในทุกตำบลทั่วประเทศ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ต้องรื้อฟื้นกิจการสุขาภิบาลขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2495 หลังจากนั้นได้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นใน พ.ศ. 2498 เพื่อบริหารกิจการท้องถิ่นในพื้นที่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล ต่อมาใน พ.ศ. 1. การจัดตั้งเทศบาล

ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 กำหนดให้มีการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลทั่วทั้งประเทศ แต่ปรากฏว่าการดำเนินการมีปัญหาอุปสรรคทำให้ต้องแก้ไขกฎหมายและตรากฎหมายใหม่หลายครั้งเพื่อปรับปรุงรูปแบบโครงสร้างและวิธีการบริหารงานให้เหมาะสม

1.1 เทศบาล ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ในการประกาศพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 รัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะจัดตั้งเทศบาล คือ เทศบาลนคร เทศบาลเมืองและเทศบาลตำบล ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยจะยกฐานะตำบลต่างๆ ที่มีอยู่ประมาณ 4,800 ตำบล ขึ้นเป็นเทศบาลทั้งหมด และต้องการที่จะให้มีการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลเพียงอย่างเดียว รวมทั้งได้ประกาศยุบเลิกการสุขาภิบาลด้วย

เทศบาลทั้ง 3 ชั้น จัดโครงสร้างโดยแบ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร

เทศบาลทั้ง 3 ชั้น จัดโครงสร้างโดยแบ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร คล้ายกับโครงสร้างของรัฐบาลระดับชาติ ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาตำบล ในเทศบาลตำบล สภาเมือง ในเทศบาลเมือง และสภานคร ในเทศบาลนคร ซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง ฝ่ายบริหาร ได้แก่ คณะมนตรีตำบล ในเทศบาลตำบล คณะมนตรีเมือง ในเทศบาลเมือง และคณะมนตรีนคร ในเทศบาลนคร มีจำนวน 3-5 คน ประกอบด้วยนายกมนตรีฯ และมนตรีฯ ซึ่งค่าหลวงประจำจังหวัดแต่งตั้ง โดยความเห็นชอบของสภาฯ

1.2 เทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2486 และ พ.ศ. 2496 การจัดตั้งเทศบาลดำเนินไปอย่างยากลำบาก เทศบาลที่จัดตั้งแล้วแต่ละแห่งก็ประสบปัญหาอุปสรรค รัฐบาลต้องประกาศยกเลิกและประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาลใหม่ถึง 3 ครั้ง ใน พ.ศ. 2481 พ.ศ. 2486 และ พ.ศ. 2496 เพื่อแก้ไขปัญหาความยุ่งยากในการบริหารงานของเทศบาล

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2481 กำหนดจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลไว้อย่างตายตัว คือ สภาเทศบาลตำบลมีสมาชิก 9 คน สภาเทศบาลเมือง มีสมาชิก 18 คน และสภาเทศบาลนคร มีสมาชิก 36 คน ส่วนพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2486 กำหนดให้เพิ่มจำนวนสมาชิกสภาเทศบาล เป็น 12 คน 24 คน และ 48 คน ในเขตสภาเทศบาลตำบล เมือง และนคร ตามลำดับ

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดจำนวนสมาชิกสภาเทศบาลตำบล 12 คน สภาเทศบาลเมือง 18 คน และสภาเทศบาลนคร 24 คน และกำหนดว่านายกเทศมนตรี และเทศมนตรี ต้องเป็นสมาชิกสภาเทศบาล เมื่อประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ในวาระแรก ได้กำหนดให้มีสมาชิกสภาเทศบาล 2 ประเภท ประเภทแรก มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนจำนวนครึ่งหนึ่ง ประเภทที่สองมาจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2499 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติฯ กำหนดให้สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ส่วนคณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี และเทศมนตรีจำนวน 2-4 คน มาจากความเห็นชอบของสภาเทศบาล

2. การรื้อฟื้นกิจการสุขาภิบาล

ความพยายามที่จะจัดตั้งเทศบาลให้เต็มพื้นที่ของประเทศ โดยยกฐานะตำบลทั่วประเทศขึ้นเป็นเทศบาลไม่ประสบผลสำเร็จ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ในระหว่าง พ.ศ. 2476 – 2488 รัฐบาลสามารถจัดตั้งเทศบาลได้เพียง 117 แห่ง รัฐบาลจึงแก้ไขปัญหาโดยหันมารื้อฟื้นกิจการสุขาภิบาลขึ้นใหม่

2.1 สุขาภิบาล ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 จากการที่รัฐบาลไม่สามารถขยายกิจการเทศบาลให้แพร่หลายเพิ่มขึ้นได้ ในพ.ศ. 2495 รัฐบาลจึงหันมารื้อฟื้นกิจการสุขาภิบาลขึ้นใหม่ ได้พิจารณาเห็นว่าการจัดสุขาภิบาล จัดได้ง่ายและประหยัดกว่าเทศบาล การจัดสุขาภิบาลในยุคนี้ มีเป้าหมายที่จะให้สุขาภิบาลเป็นตัวเร่งความเจริญของท้องถิ่น และเมื่อท้องถิ่นมีความเจริญเพียงพอ ก็สามารถจะยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลต่อไป และมุ่งหมายที่จะให้สุขาภิบาลเป็นพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในวิถีประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน ควบคู่ไปกับการพัฒนาความเจริญให้แก่ท้องถิ่น

โครงสร้างของสุขาภิบาล ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ประกอบด้วย คณะกรรมการสุขาภิบาล มีกรรมการแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ นายอำเภอเจ้าของท้องที่ เป็นประธานกรรมการ หัวหน้าสถานีตำรวจฯ สาธารณสุข และสมุห์บัญชีอำเภอ หรือกิ่งอำเภอที่สุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้านของตำบลหมู่บ้านในเขตสุขาภิบาลนั้น กรรมการโดยการแต่งตั้ง ได้แก่ ปลัดอำเภอที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง และกรรมการโดยการเลือกตั้งซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวน 4 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี

2.2 สุขาภิบาล ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 ใน พ.ศ. 2528 ได้มีการเสนอแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการสุขาภิบาลให้มีลักษณะของการปกครองตนเองสูงขึ้น และได้มีการตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 กำหนดโครงสร้างคณะกรรมการสุขาภิบาลใหม่ ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอที่สุขาภิบาลตั้งอยู่ในท้องที่ และกำนันตำบลที่อยู่ในเขตสุขาภิบาล มีปลัดอำเภอที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง 1 คน เป็นกรรมการโดยการแต่งตั้งและกรรมการที่ราษฎรในท้องที่เลือกตั้ง จำนวน 9 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยนายอำเภอ หรือปลัดฯหัวหน้ากิ่งอำเภอเป็นประธานคณะกรรมการโดยตำแหน่ง และมีรองประธานคณะกรรมการ 1 คน ซึ่งคณะกรรมการประชุมกันเลือกจากกรรมการที่ราษฎรเลือกตั้ง อยู่ในตำแหน่งคราวละ 1 ปี

3. การจัดการบริหารท้องถิ่นระดับจังหวัด

3.1 สภาจังหวัด พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 กำหนดให้แต่ละจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยราษฎรในอำเภอต่างๆ ในเขตจังหวัดนั้น มีอำนาจหน้าที่หลักเกี่ยวกับการงบประมาณของจังหวัด และการแบ่งสรรเงินอุดหนุนของรัฐบาลระหว่างเทศบาลในจังหวัด ตลอดจนเสนอข้อแนะนำต่อรัฐบาลในเรื่องการเงิน และเรื่องอื่นๆ ของเทศบาลในจังหวัด ต่อมาใน พ.ศ. 2481 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด แยกสภาจังหวัดออกจากกฎหมายเทศบาลและกำหนดให้สภาจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องการตรวจและรายงานเรื่องงบประมาณ การแบ่งสรรเงินอุดหนุนระหว่างเทศบาล และให้คำปรึกษาต่อคณะกรรมการจังหวัด

3.2 องค์การบริหารส่วนจังหวัด จากการพัฒนาท้องถิ่นให้สามารถยกฐานะเป็นเทศบาลไม่ประสบผลสำเร็จดังเป้าหมาย เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังอยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวจึงไม่มีโอกาสปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น ใน พ.ศ. 2498 รัฐบาลจึงประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาลของแต่ละจังหวัด

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเอกเทศ มีงบประมาณ และเจ้าหน้าที่ในการดำเนินกิจการส่วนจังหวัด ซึ่งแยกออกเป็นส่วนต่างหากจากราชการแผ่นดิน โครงสร้างองค์กรแบ่งเป็น 2 ฝ่ายเหมือนเทศบาล คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่สภาจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรแต่ละอำเภอในจังหวัดเลือกตั้ง จำนวนสมาชิกสภาจังหวัดถือตามเกณฑ์จำนวนประชากรในเขตพื้นที่นั้นๆ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 5 ปี ส่วนฝ่ายบริหารมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้ารับผิดชอบโดยตำแหน่ง

4. การจัดระเบียบการบริหารตำบล

โดยเริ่มจัดระเบียบบริหารตำบลใหม่ใน พ.ศ. 2499 และในปลายปีเดียวกันนั้นก็มีการประกาศกฎหมาย เพื่อจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใน พ.ศ. 2509 ได้มีการปรับปรุงรูปแบบการบริหารตำบลใหม่ให้กะทัดรัดกว่าเดิม และจัดรูปแบบบริหารตำบลเป็นแบบเดียวกัน คือ สภาตำบล ทั่วประเทศโดยคำสั่งคณะปฏิวัติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 จนกระทั่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลใน พ.ศ. 2537

4.1 การจัดระเบียบบริหารตำบล ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 222/2499 กระทรวงมหาดไทยได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารตำบลใน พ.ศ. 2499 โดยมีคำสั่งให้ขยายโครงสร้างของคณะกรรมการตำบล ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ กำหนดให้บุคคลที่มีบทบาทในการบริหารตำบลเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกรรมการเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารกิจการของตำบล และจัดตั้งสภาตำบล ขึ้นในทุกตำบลนอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล เพื่อเปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางการบริหารและพัฒนาตำบล

4.2 องค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 ปลายปี 2499 ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นในตำบลที่มีความเจริญและมีความสามารถที่จะดำเนินกิจการของท้องถิ่นเองได้ องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเป็นนิติบุคคล มีโครงสร้างประกอบด้วย สภาตำบล ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีกำนันและผู้ใหญ่บ้านทุกคนในตำบลเป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง และมีสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งหมู่บ้านละ 1 คน และคณะกรรมการตำบล ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร มีกำนันท้องที่เป็นประธาน แพทย์ประจำตำบล และผู้ใหญ่บ้าน เป็นกรรมการ ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากครูใหญ่โรงเรียนในตำบลหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 5 คน

4.3 คณะกรรมการสภาตำบล ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 275/2499 ใน พ.ศ. 2509 กระทรวงมหาดไทยได้พัฒนารูปแบบโครงสร้างการบริหารตำบลขึ้นใหม่อีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการสภาตำบล กำหนดให้ตำบลต่างๆตามที่กระทรวงมหาดไทยระบุ จัดดำเนินการบริหารตำบลภายใต้รูปแบบโครงสร้างแบบใหม่ ซึ่งประกอบด้วยองค์กรเดียว ไม่มีการแยกฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารออกจากกัน คณะกรรมการสภาตำบล มีกำนันเป็นแพทย์ประจำตำบล และผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในเขตตำบลเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง มีกรรมการที่นายอำเภอแต่งตั้ง โดยคัดเลือกจากครูประชาบาลในตำบล 1 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งราษฎรเลือกตั้งหมู่บ้านละ 1 คน

4.5 สภาตำบล ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326/2515 ภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2515 คณะปฏิวัติได้พิจารณาเห็นว่าในขณะนั้นมีการจัดระเบียบบริหารตำบลแตกต่างกันหลายรูปแบบ สมควรจัดใหม่ให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งประเทศ จึงมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 สั่งให้จัดระเบียบบริหารตำบลในรูปแบบใหม่เรียกว่า สภาตำบล ประกอบด้วยองค์กรเดียว คือ คณะกรรมการสภาตำบล มีกำนันเป็นประธาน แพทย์ประจำตำบล และผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่ในตำบล เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และมีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาจากการเลือกตั้งของราษฎรหมู่ละ 1 คน มีครูประชาบาล 1 คน ทำหน้าที่เลขานุการ และมีปลัดอำเภอ หรือพัฒนากร 1 คน เป็นที่ปรึกษา

4.6 สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ปลายปี พ.ศ. 2537 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 กำหนดให้แต่ละตำบลบริหารงานโดยสภาตำบล ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล และหากสภาตำบลมีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ติดต่อกัน 3 ปี ก็อาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล

สภาตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ประกอบด้วยองค์กรเดียว ไม่มีการแยกฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร มีกำนันเป็นประธาน แพทย์ประจำตำบล และผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่ในตำบล เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิมาจากการเลือกตั้งของราษฎรหมู่ละ 1 คน และมีเลขานุการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการที่ปฏิบัติงานในตำบลหรือบุคลอื่นที่มีคุณสมบัติ ตามมติของสภาตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีโครงสร้างแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย สภาองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกโดยตำแหน่ง ได้แก่ กำนัน แพทย์ประจำตำบล และผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่ในตำบล และสมาชิกซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวนไม่เกิน 2 คน และสมาชิกสภาฯที่ราษฎรเลือกตั้ง จำนวนไม่เกิน 4 คน ซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ

5.1 กรุงเทพมหานคร การจัดการปกครองกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นราชธานีนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินครั้งใหญ่ ทรงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯขึ้นเพื่อดำเนินกิจการท้องถิ่นในท้องที่เขตพระนคร ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 เมื่อรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 และได้กำหนดให้สุขาภิบาลที่มีอยู่ทั้งหมดเปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาล ใน พ.ศ. 2479 จึงได้มีการจัดตั้ง เทศบาลนครกรุงเทพฯ ขึ้นแทน มีโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2476 และหลังจากที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 ก็ได้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนคร ขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ เช่นกัน หลังการปฏิวัติ พ.ศ. 2514 ได้มีประกาศ ฉบับที่ 24 และ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 กำหนดให้รวมจังหวัดพระนครและธนบุรีเป็นจังหวัดเดียวกัน เรียกว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรี รวมองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครและองค์การบริหารส่วนจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเป็น องค์การบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และรวมเทศบาลนครกรุงเทพฯ กับเทศบาลนครธนบุรี เป็น เทศบาลนครหลวง ต่อมารูปแบบนี้ได้ถูกยกเลิก โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 355 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งกำหนดรูปแบบบริหารใหม่ โดยรวมองค์กรปกครองในพื้นที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีทั้งหมดเข้าด้วยกัน เรียกว่า กรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นจังหวัด ในราชการบริหารส่วนภูมิภาค และเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ในราชการบริหารท้องถิ่น ใน พ.ศ. 2518 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นราชการบริหารท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว โครงสร้างประกอบด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติ คือสภากรุงเทพมหานคร มีสมาชิกสภาที่มาจากการเลือกตั้ง และฝ่ายบริหาร คือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการฯ มาจาการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรเช่นเดียวกับสมาชิกสภาฯ ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้ราษฎรเลือกตั้งเฉพาะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารเพียงตำแหน่งเดียว และให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้เลือกรองผู้ว่าราชการฯ จำนวนไม่เกิน 4 คน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเมื่อมีกรณีขัดแย้งระหว่างผู้ว่าฯ และรองผู้ว่าฯ

5.2 เมืองพัทยา การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษของเมืองพัทยา เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาอันเกิดจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ขาดการวางแผน และการควบคุมแหล่งท่องเที่ยว ดำเนินการบริหารท้องถิ่นในรูปเทศบาลแบบผู้จัดการ โครงสร้างการบริหารเมืองพัทยา ประกอบด้วย สภาเมืองพัทยา ซึ่งมีสมาชิกทั้งสิ้น 17 คน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งจากราษฎร จำนวน 9 คน และสมาชิกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง 8 คน โดยแต่งตั้งจากบุคคลในสาขาอาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเมืองพัทยา 4 คน และแต่งตั้งจากผู้แทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับเมืองพัทยา 4 คน สมาชิกสภาเมืองพัทยา จะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี เมืองพัทยา ในระบบผู้จัดการนครนี้ได้ดำเนินการบริหารท้องถิ่นต่อเนื่องมาเป็นเวลา 21 ปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคนานัปการ จนในที่สุดต้องเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างใหม่ใน พ.ศ. 2542

วิวัฒนาการของการบริหารท้องถิ่นสมัยปฏิรูปประชาธิปไตย

ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ใน พ.ศ. 2535 ได้มีการเคลื่อนไหวให้มีการปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปรับปรุงเงื่อนไขหลักเกณฑ์การใช้อำนาจปกครองประเทศ ขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนปรับปรุงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย มีความเป็นอิสระ และเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้น

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปประชาธิปไตย ได้กำหนดให้การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญ

บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในหมวดที่ 9 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดให้มีการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศภายใต้หลักการสำคัญ คือ รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และได้กำหนดแนวทางและเงื่อนไขในการดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการดังกล่าวหลายประการ ดังนี้

(1) การกำหนดสิทธิในการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

(2) การจำกัดอำนาจของรัฐลงโดยกำหนดให้รัฐใช้อำนาจกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฉพาะที่จำเป็นตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น

(3) กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ

(4) การกำหนดอำนาจและหน้าที่ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใหม่ให้มีลักษณะการกระจายอำนาจมากขึ้น

(5) การกำหนดให้มีการปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีโครงสร้างประกอบด้วยสมาชิกสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

(6) การขยายอำนาจการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นโดยให้ประชาชนมีอำนาจเลือกตั้งและถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

(7) กำหนดให้ประชาชน ในท้องถิ่นมีอำนาจเสนอร่างกฎหมายท้องถิ่น เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

(8) การกำหนดให้การบริหารงานบุคคลของท้องถิ่นเป็นไปตามความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น

(9) การกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(10) การกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

การบัญญัติกฎหมายและการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารท้องถิ่น ภายหลังการประกาศรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีสาระสำคัญดังนี้

(1) พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นเพื่อจัดระเบียบบริหารราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใหม่ ยกเลิกการจัดระเบียบบริหารราชการแบบเดิม ซึ่งมีปัญหาด้านโครงสร้างที่ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และมีปัญหาด้านอื่นๆ อันทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

- พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540

- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542

- พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542

(2) พระราชบัญญัติที่ตราขึ้น เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติที่ใช้จัดระเบียบบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้การจัดระเบียบขององค์กรนั้นๆ สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ได้แก่

- พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542

- พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2542

- พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542

- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542

(3) พระราชบัญญัติที่ตราขึ้นใหม่และแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเดิม ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการพัฒนาการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น และส่งเสริมสิทธิ ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่น โดยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วิธีการ ในการกระจายอำนาจ และการใช้สิทธิการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ ได้แก่

- พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2542

- พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542

- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

- พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

- พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2543

- พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545

การปฏิรูปการบริหารท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540

การปฏิรูปด้านโครงสร้างท้องถิ่น

การปฏิรูปการบริหารท้องถิ่นในด้านโครงสร้าง เป็นผลมาจากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใหม่ให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการบริหารท้องถิ่นของไทย พอสรุปได้ 2 ประการ

1. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบและจำนวนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย มี 6 รูปแบบ ดังนี้

(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด

(2) เทศบาล

(3) สุขาภิบาล

(4) องค์การบริหารส่วนตำบล

(5) กรุงเทพมหานคร

(6) เมืองพัทยา

และได้มีการประกาศพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2542 เป็นผลให้รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยลดลงเหลืออยู่เพียง 5 รูปแบบ



2. การปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 โครงสร้างหลักขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา มีลักษณะเดียวกันคือประกอบด้วยฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญใหม่ แต่สุขาภิบาลมีโครงสร้างประกอบด้วยองค์กรเดียว คือ คณะกรรมการสุขาภิบาล ทำหน้าที่ทั้งด้านนิติบัญญัติและบริหาร จึงไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ และในที่สุดก็ถูกยุบเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2542

การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

2.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด

เดิมจัดตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 ประกอบด้วยสภาจังหวัด ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ มีจำนวนสมาชิก 18/24/30/36 คน ทั้งนี้เป็นไปตามเกณฑ์จำนวนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และผู้ว่าราชการจังหวัดดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหาร

ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มีโครงสร้างประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี มีจำนวนสมาชิก 24/30/36/42/48 คน ตามเกณฑ์จำนวนราษฎร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นผู้ช่วยในการบริหารงาน ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 24 หรือ 30 คน มีรองนายกฯ ได้ 2 คน ถ้ามีสมาชิกสภาฯ 36 หรือ 42 คน มีรองนายกฯ 3 คน และถ้ามีสภาฯ ขนาดใหญ่ มีสมาชิก 48 คน มีรองนายกฯ 4 คน

องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ตามพระราชบัญญัติฯ พ.ศ. 2498

สภาจังหวัด

ผู้ว่าราชการจังหวัด

สมาชิกสภาจังหวัด

ที่ราษฎรเลือกตั้ง

18/24/30/36 คน

(วาระ 5 ปี)

องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ตามพระราชบัญญัติฯ พ.ศ. 2540

สภาองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัด

สมาชิกสภาจังหวัด

ที่ราษฎรเลือกตั้ง

24/30/36/42/48 คน

(วาระ 4 ปี)

นายกองค์การบริหาร

ส่วนจังหวัด

และ

รองนายกองค์การฯ

2/3/4 คน






















2.2 เทศบาล มีโครงสร้างใกล้เคียงกับโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐธรรมนูญกำหนดมาก

เทศบาล

รูปแบบคณะเทศมนตรี

สภาเทศบาล

คณะเทศมนตรี

สมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้ง

-เทศบาลตำบล 12 คน

-เทศบาลเมือง 18 คน

-เทศบาลนคร 24 คน

(วาระ 4 ปี)

-นายกเทศมนตรี

-เทศมนตรี

เทศบาลตำบลไม่เกิน 2 คน

เทศบาลเมืองไม่เกิน 3 คน

เทศบาลนครไม่เกิน 4 คน

เทศบาล

รูปแบบนายกเทศมนตรี

สภาเทศบาล

สมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้ง

-เทศบาลตำบล 12 คน

-เทศบาลเมือง 18 คน

-เทศบาลนคร 24 คน

(วาระ 4 ปี)



นายกเทศมนตรี

และ

รองนายกเทศมนตรี

เทศบาลตำบลไม่เกิน 2 คน

เทศบาลเมืองไม่เกิน 3 คน

เทศบาลนครไม่เกิน 4


























2.3 องค์การบริหารส่วนตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบล (2537)

องค์การบริหารส่วนตำบล (2542)

สภา อบต.

สมาชิก

โดยตำแหน่ง

สมาชิกโดยการเลือกตั้ง

กรรมการโดยมติสภาฯ

สภา อบต.



กรรมการโดยตำแหน่ง

คณะกรรมการบริหาร อบต.

ประธานกรรมการบริหาร

และ

กรรมการบริหาร 2 คน

สมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้งหมู่บ้านละ 2 คน

(1 หมู่บ้าน มีสมาชิกได้ 6 คน)

(2 หมู่บ้าน มีสมาชิกหมู่ละ 3 คน)

คณะกรรมการบริหาร อบต.
















กำนัน

- ผู้ใหญ่บ้าน

ไม่เกิน 2 คน

- สมาชิก

สภาฯ

โดยการเลือกตั้ง

ไม่เกิน 4 คน

หมู่บ้านละ 2 คน

-กำนัน

-ผู้ใหญ่บ้าน

-แพทย์

ประจำตำบล



















2.4 เมืองพัทยา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยาจัดองค์การแบบผู้จัดการนคร สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิกสภาเมืองพัทยา 2 ประเภท รวม 17 คน ดังนี้

(1) สมาชิกโดยการเลือกตั้งของราษฎรในเขตเมืองพัทยา จำนวน 9 คน

(2) สมาชิกโดยการแต่งตั้ง จำนวน 8 คน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งจาก

- สาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 4 คน

- ตัวแทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 คน

โครงสร้างเมืองพัทยา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ได้ยกเลิกการจัดโครงสร้างแบบผู้จัดการนคร และใช้โครงสร้างแบบสภา – นายกเทศมนตรี ประกอบด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สภาเมืองพัทยา ซึ่งมีสมาชิก 24 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และฝ่ายบริหาร คือ นายกเมืองพัทยา มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเช่นเดียวกัน

การปฏิรูปด้านอำนาจท้องถิ่น

องค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารท้องถิ่นตามระบอบประชาธิปไตย คือ อำนาจอิสระในการปกครองตนเองของท้องถิ่น

1. อำนาจท้องถิ่นกับอำนาจรัฐบาล

การทำให้ท้องถิ่นมีอำนาจอิสระในการปกครองตนเองของท้องถิ่นของตนเองเพิ่มขึ้นนั้น จะต้องดำเนินการปรับปรุงด้านอำนาจ 2 ประการ ดังนี้

(1) การลดอำนาจส่วนกลาง การลดอำนาจส่วนกลางกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ

- จำกัดอำนาจของส่วนกลางไม่ให้เข้าไปควบคุม ก้าวก่าย หรือแทรกแซงการบริหารงานของท้องถิ่นมากจนเกินไปจนทำให้ท้องถิ่นขาดอิสระ

- ลดอำนาจหน้าที่ของส่วนกลาง ให้มีอำนาจหน้าที่เฉพาะในกิจการที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการโดยองค์กรของรัฐในส่วนกลาง กิจการใดที่สมควรให้ท้องถิ่นดำเนินการ ก็กระจายอำนาจและหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการบนพื้นฐานเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นนั้น

(2) การเพิ่มอำนาจท้องถิ่น การเพิ่มอำนาจของท้องถิ่นให้มากขึ้นกระทำได้ใน 2 ลักษณะ คือ

- เพิ่มอำนาจอิสระของท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถบริหารและดำเนินกิจการชองท้องถิ่นได้อย่างเป็นอิสระตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น ซึ่งทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลของตนเองมากขึ้น

- เพิ่มอำนาจหน้าที่ท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบกิจการที่ควรอยู่ในอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น ทำให้การดำเนินกิจการสาธารณะในท้องถิ่นเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น

2. การปรับปรุงอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น พ.ศ. 2542

อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร

อำนาจฯ ของเทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล



อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ

3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

4. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ

5. การสาธารณูปการ

6. การส่งเสริมการฝึก และการประกอบอาชีพ

7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว

9. การจัดการศึกษา

10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแอดอัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

14. การส่งเสริมกีฬา

15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน



1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

2. การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น

3. การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5. การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

6. การจัดการศึกษา

7. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

8. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

9. การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม

10. การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม

11. การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม

12. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ

อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร

อำนาจฯ ของเทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล



อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

20. การจัดให้มีและความคุมสุสาน และฌาปนสถาน

21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ

24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

25. การผังเมือง

26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ

28. การควบคุมอาคาร

29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

31. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด





13. การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทางบกและทางน้ำ

14. การส่งเสริมการท่องเที่ยว

15. การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการ ไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ

16. การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

17. การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง

18. การส่งเสริมกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น

19. การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ

20. การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ

21. การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร

22. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

23.การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด

24. จัดทำกิจการใดอันเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตและกิจการนั้นเป็นการสมควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

25. สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น

26. การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น

27. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส



อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร

อำนาจฯ ของเทศบาล เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล



อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด





28.จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

29.กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด





การปฏิรูปด้านสิทธิของพลเมืองท้องถิ่น

ปัจจัยสำคัญที่สุดในการดำเนินการบริหารท้องถิ่น คือการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อรัฐบาลกระจายอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นปกครองตนเอง อำนาจท้องถิ่นย่อมเป็นของประชาชน พลเมืองท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะกำหนดทิศทางและวิถีชีวิตของท้องถิ่นตน อำนาจปกครองตนเองของประชาชนที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุด ได้แก่ อำนาจในการกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นผู้ใช้อำนาจของท้องถิ่นแทนประชาชน ซึ่งออกมาในรูปแบบของการมีสิทธิเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสิทธิในการบริหารท้องถิ่นของพลเมืองท้องถิ่น มีสาระสำคัญดังนี้

1. สิทธิเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเรื่องที่มาของสมาชิกสภาท้องถิ่นและคณะผู้บริหารท้องถิ่นไว้ใน มาตรา 285 โดยกำหนดให้สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น

2. สิทธิในการถอดถอน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 286 บัญญัติไว้ว่า “ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มาลงคะแนนเสียง เห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้ใดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้นพ้นจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

นอกจากนั้นได้มีการประการพระราชบัญญัติว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2542 การกำหนดวิธีและขั้นตอนการลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งวิธีการพิจารณาคัดค้านการลงคะแนนเสียง ซึ่งสามารถพิจารณารายละเอียดได้ดังนี้

(1) ประชาชนเห็นว่าสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นคนใดไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป จะต้องเข้าชื่อร้องขอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อดำเนินการให้มีการลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น จะต้องถือตามเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังต่อไปนี้

- ในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่เกินจำนวน 100,000 คน จะต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

- ในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 100,000 – 500,000 คน จะต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่า 20,000 คน ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

- ในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 500,000 – 1,000,000 คน จะต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่า 20,000 คน ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

- ในกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 1,000,000 คนขึ้นไป จะต้องมีผู้เข้าชื่อไม่น้อยกว่า 30,000 คนของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

(2) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่น ลงคะแนนเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบการถอดถอนด้วยวิธีการลงคะแนนเสียงโดยตรงและลับ

(3) หากมีผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงทั้งหมดในท้องถิ่นนั้นให้การเข้าชื่อถอดถอนบุคคลนั้นเป็นอันตกไป และจะร้องขอให้มีการลงคะแนนถอดถอนบุคคลนั้นด้วยเหตุผลเดิมไม่ได้อีก

(4) หากมีผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่ง และผู้มาลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 เห็นว่าควรถอดถอนบุคคลนั้นก็ให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งไปนับตั้งแต่วันลงคะแนน

3. สิทธิในการเสนอร่างกฎหมาย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ได้กำหนดให้ประชาชนในท้องถิ่นมีสิทธิเสนอร่างกฎหมายท้องถิ่นได้ ดังได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 287 ว่า “ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กาปกครองส่วนท้องถิ่นใดมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กาปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่นเพิ่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้”

เพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติข้างต้น จึงมีการตรา พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2552 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการใช้สิทธิของพลเมืองท้องถิ่นดังกล่าว พอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

(1) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในท้องถิ่นนั้นร้องขอต่อประธานสภาท้องถิ่น เพื่อจัดดำเนินการให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น

(2) ผู้ที่ร้องขอต้องจัดทำร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ที่มีรายละเอียดพอสมควร พร้อมทั้งเสนอเหตุผลในการร้องขอให้มีการตราข้อบัญญัติท้องถิ่นดังกล่าวมาพร้อมกับการร้องขอด้วย

(3) ผู้ที่เข้าชื่อกันเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น ต้องกำหนดรายชื่อผู้เข้าแทนของตนที่ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจการดำเนินการต่าง ๆอันเกี่ยวกับการเสนอและการพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ได้เสนอให้สภาท้องถิ่นพิจารณา

(4) สภาท้องถิ่นรับร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นดังกล่าวมาพิจารณาตามกระบวนการพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

4. สิทธิในการเลือกรูปแบบการบริหาร

พระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2543 ได้กำหนดให้ประชาชนในเขตเทศบาลมีสิทธิที่จะเลือกรูปแบบการบริหารเทศบาลของตนเอง ซึ่งไม่มีประชาชนในท้องถิ่นอื่นใดมีสิทธิดังกล่าวนี้ การเลือกรูปแบบการบริหารเทศบาลนั้น หมายถึง การเลือกใช้รูปแบบการบริหารระหว่าง รูปแบบคณะเทศมนตรี อันเป็นการจัดรูปแบบการบริหารแบบเดิม มีคณะผู้บริหาร คือ คณะเทศมนตรีที่มาจากความคิดเห็นชอบของสภาเทศบาลกับรูปแบบนายกเทศมนตรีซึ่งเป็นการจัดรูปแบบการบริหารแบบใหม่ ยังไม่เคยนำมาใช้ในการบริหารเทศบาลมาก่อน เป็นรูแบบที่มีผู้บริหาร คือ นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในเขตเทศบาล

ทั้งนี้ ได้มีการกำหนดไว้ในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2543) ว่า “เทศบาลแห่งใดจะมีการบริหารในรูปแบบคณะเทศมนตรีหรือนายกเทศมนตรี ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตเทศบาลแต่ละแห่ง ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติมาตรานี้”

สำหรับขั้นตอนและวิธีการในการทำประชามติเพื่อเลือกรูปแบบการบริหารเทศบาล พอสรุปได้ ดังนี้

(1) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกเทศบาลในเขตเทศบาล จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในเขตเทศบาลนั้น มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้จัดทำประชามติในเขตเทศบาลนั้น

(2) การร้องขอให้ทำประชามติ ต้องเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อนครบวาระของสภาเทศบาลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น ไม่น้อยกว่าสามร้อยหกสิบวัน

(3) การร้องขอให้ทำประชามติจะกระทำในวาระของสภาเทศบาลหนึ่งได้เพียงครั้งเดียว

(4) ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ ได้แก่ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในเขตเทศบาลนั้น

(5) ผลของประชามติให้นำมาใช้เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นการทั่วไปในคราวถัดไปจากวันที่มีการออกเสียงประชามติ

(6) ให้ใช้รูปแบบการบริหารตามผลประชามตินั้นตลอดไปจนกว่าจะมีการออกเสียงประชามติในเขตเทศบาลนั้นให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบบริหารเทศบาลเป็นอย่างอื่น

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทย

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

1. วิวัฒนาการของการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

1.1 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยสุโขทัย การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยสุโขทัย เป็นไปตามประเพณีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก อยู่ในความปกครองของพ่อเมือง การจัดระเบียบบริหารเมืองต่างๆ พระมหากษัตริย์ทรงอำนวยการปกครองอาณาจักรสุโขทัย จัดระเบียบเมืองต่างๆ ในพระราชอาณาเขต แบ่งเป็นราชธานีเป็นศูนย์กลางในการปกครองราชอาณาจักร หัวเมืองชั้นในหรือเมืองลูกหลวงตั้งอยู่ล้อมรอบราชธานี มีพระบรมวงศานุวงศ์เป็นผู้ดูแล ภายใต้การอำนวยการปกครองของพระมหากษัตริย์ หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองใหญ่ที่ตั้งอยู่ห่างจากราชธานีออกไป มีพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเมือง มีอำนาจอิสระในการบริหารและมีอำนาจเหนือเมืองเล็กๆ ที่อยู่ใกล้ๆกันด้วย แต่จะต้องขึ้นกับสุโขทัยโดยต้องส่งส่วยและเกณฑ์กำลังไพร่พลไว้คอยช่วยเหลือเมืองหลวง ลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ามีการกระจายอำนาจในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย

1.2 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยอยุธยา อาณาจักรอยุธยาในระยะแรกจัดระเบียบบ้านเมืองคล้ายกับอาณาจักรสุโขทัย คือแบ่งเป็นราชธานี ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการปกครองราชอาณาจักร หัวเมืองชั้นในหรือเมืองหลวง หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช

ต่อมาอาณาจักรอยุธยาขยายตัวกลายเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ มีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่าเดิม การจัดระเบียบบ้านเมืองมีลักษณะการรวมอำนาจที่รัดกุมและแน่นแฟ้นกว่าสมัยสุโขทัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากอยุธยามีอำนาจแข็งแกร่ง สามารถแผ่ขยายอิทธิพลครอบคลุมทั้งอาณาจักร

1.3 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงจัดการปกครองเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือมีกรุงธนบุรี เป็นราชธานี เป็นศูนย์กลางอำนาจการปกครอง จัดลำดับหัวเมืองเป็นเมืองชั้นเอก โท ตรี จัตวา เมืองชั้นในใกล้ราชธานี มีเจ้าเมืองเป็นหัวหน้า อยู่ภายใต้การควบคุมของราชธานี หัวเมืองชั้นนอกเจ้าเมืองซึ่งแต่งตั้งจากพระราชวงศ์เป็นผู้ปกครองดูแล เมืองประเทศราชปกครองตนเองอย่างเป็นอิสระแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ ส่งส่วย และส่งกำลังทหารมาช่วยรบเมื่อเมืองหลวงต้องการ

1.4 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การปกครองบ้านเมืองไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยา และธนบุรีมากนัก พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจเด็ดขาดทรงเป็นทั้งประมุขแห่งราชอาณาจักร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ มีกรุงเทพฯ เป็นราชธานีจัดระบบหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราชเช่นเดียวกับระบบที่ใช้ในสมัยอยุธยา

1.5 การปฎิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

(1) ทรงจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางโดยจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มจากเดิมที่มี 6 กรม เป็น 12 กรม ซึ่งต่อมาเรียกว่ากระทรวง

(2) ทรงจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งเรียกว่า ระบบเทศาภิบาล หน่วยราชการบริหารในระบบเทศาภิบาล ได้แก่ มณฑล เมือง อำเภอ

(3) ทรงจัดระเบียบการปกครองท้องที่ โดยกำหนดให้บ้านหลายบ้านรวมเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ปกครอง และหลายหมู่บ้านรวมกันเป็นตำบล มีกำนันเป็นผู้ปกครอง

(4) ทรงริเริ่มจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีการกระจายอำนาจให้ราษฎรในท้องถิ่นที่มีความพร้อมที่จะปกครองตนเอง

1.6 การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยประชาธิปไตย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ จัดระเบียบกลไกการใช้อำนาจรัฐ และประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จัดระเบียบบริหารราชการเป็น 3 ส่วน คือ

(1) ส่วนกลาง ประกอบด้วย กระทรวง และกรม

(2) ส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย จังหวัด และอำเภอ

(3) ส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย เทศบาล 3 ชั้น คือ เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และเทศบาลตำบล









2. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534

2.1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนกลางเป็นการใช้อำนาจบริหารแบบรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางประกอบด้วยส่วนราชการ ดังนี้

• สำนักนายกรัฐมนตรี (มีฐานะเป็นกระทรวง)

• กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง

• ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง

• กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง

ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม

กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน

2.2 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค

จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้

(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด

(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้

(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ

(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

2.3 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้

(1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป ประกอบด้วย 3 รูปแบบ

- องค์การบริหารส่วนจังหวัด

- เทศบาล

- องค์การบริหารตำบล

(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ประกอบด้วย 2 รูปแบบ

- กรุงเทพมหานคร

- เมืองพัทยา



การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

1. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มให้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม ซึ่งเป็นก้าวแรกของการที่ประชาชนจะมีอำนาจบริหารท้องถิ่นของตนเองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 การประกาศพระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้มีเป้าหมายที่จะเร่งรัดให้มีการจัดตั้งสุขาภิบาล มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะใช้เป็นการทั่วไปสำหรับการจัดตั้งและดำเนินกิจการสุขาภิบาล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

- สุขาภิบาลสำหรับเมือง จัดตั้งในท้องที่เมืองที่มีความเจริญมาก

- สุขาภิบาลสำหรับตำบล จัดตั้งในท้องที่มีลักษณะเป็นชุมชนหนาแน่น และมีความเจริญอยู่เฉพาะในตำบล

ใน พ.ศ. 2458 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127 โดยกำหนดให้สุขาภิบาลมีอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้น คือ จดทะเบียนคนเกิด คนตาย และการทะเบียนต่างๆ ในเขตสุขาภิบาล และได้แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 ประเภท

ประเภทแรก คือ สุขาภิบาลเมือง

ประเภทที่ 2 เรียกว่าสุขาภิบาลท้องที่

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในลักษณะนี้ ได้ใช้ต่อเนื่องกันมาจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 และมีการจัดระเบียบบริหารราชแผ่นดินใหม่ใน พ.ศ. 2476

2. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 กำหนดให้มีการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลทั่วทั้งประเทศ รัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะจัดตั้งเทศบาล คือ

- เทศบาลนคร จัดตั้งในเขตเมืองใหญ่

- เทศบาลเมือง จัดตั้งในเขตเมือง

- เทศบาลตำบล จัดตั้งในเขตตำบล

3. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเต็มพื้นที่ประเทศ

ความพยายามที่จะจัดตั้งเทศบาลให้เต็มพื้นที่ของประเทศ โดยยกฐานะตำบลทั่วประเทศขึ้นเป็นเทศบาลไม่ประสบผลสำเร็จ ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ในพ.ศ. 2495 รัฐบาลจึงหันมารื้อฟื้นกิจการสุขาภิบาลขึ้นใหม่และได้มีการตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 หลังจากนั้นได้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นใน พ.ศ. 2498 เพื่อบริหารกิจการท้องถิ่นในพื้นที่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล การประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นผลให้มีการบริหารท้องถิ่นในพื้นที่ทั่วประเทศ ดังนี้

- เทศบาล บริหารท้องถิ่นเมืองและชุมชนที่มีความเจริญมาก

- สุขาภิบาล บริหารท้องถิ่นที่มีความเจริญพอสมควร

- องค์การบริหารส่วนจังหวัด บริหารท้องถิ่นนอกเขตเทศบาล และสุขาภิบาลในแต่ละจังหวัด

4. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540

ใน พ.ศ. 2499 ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ได้มีการประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งสิ้น 6,397 แห่ง

การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทำให้ระบบการบริหารท้องถิ่นของประเทศไทยเปลี่ยนไปจากเดิม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละองค์กร ได้แก่ เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ต่างก็มีหน้าที่รับผิดชอบการบริหารท้องถิ่นในพื้นที่ของตนเองโดยไม่มีการซ้ำซ้อนกัน จนเมื่อมีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น พื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จึงทำให้เกิดการซ้อนทับกัน 2 ระดับ

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

(1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป 4 รูปแบบ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 องค์กร ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

5. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นภายหลังการปฏิรูปการบริหารท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

การปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในครั้งนี้ ทำให้มีการยุบเลิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไป 1 รูปแบบ คือ สุขาภิบาล ทำให้การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

(1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป 3 รูปแบบ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

(2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ 2 องค์กร ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

1. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับราชการบริหารส่วนกลาง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดหลักการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนกลางไว้ใหม่อย่างชัดเจน ดังนี้

- รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักการปกครองตนเอง

- ท้องถิ่นที่ปกครองตนเองได้สิทธิจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

- การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

- องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายและ การบริหารงานของตนเอง

-อำนาจและหน้าที่และสัดส่วนภาษีอากรระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดโดยคณะกรรมการที่เป็นไตรภาคี ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ทรงคุณวุฒิ

- การบริหารงานบุคคลของท้องถิ่นเป็นไปตามความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น

ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับราชการบริหารส่วนกลาง มีสาระสำคัญ ดังนี้

1. การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. การกำหนดโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

3. การกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. การกำหนดรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5. การบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

6. การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2. ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับราชการบริหารส่วนภูมิภาค

ราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค คือ จังหวัด อำเภอ

หัวหน้าหน่วยราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการบริหารราชการในพื้นที่จังหวัดและอำเภอตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ ซึ่งได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในทั้งจังหวัด จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการที่จะควบคุมดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกรูปแบบที่อยู่ในเขตพื้นที่ของจังหวัด ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งเมืองพัทยา ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี ก็อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีตามกฎหมายนี้

2.2 ความสัมพันธ์ระหว่างนายอำเภอกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำหนดให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายอำเภอโดยตรง คือ องค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากนี้นายอำเภอยังมีหน้าที่ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลเทศบาลตำบลที่อยู่ในพื้นที่อำเภอด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น