วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

~@@ The Siam renaissance ทวิภพ..เวอร์ชั่นที่ชอบที่สุด และอยากให้เด็กไทยชมตอนนี้ฮะ @@~

http://www.youtube.com/watch?v=uzWQkGpnngk&feature=player_embedded







คำ ว่ายุค Renaissance (เรเนซอง) ตามความเข้าใจทั่วไปย่อมหมายถึงยุคสมัยที่เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของ ยุโรป (ในศตวรรษที่ ๑๔ ที่อิตาลี และ ในศตวรรษที่ ๑๖ ในยุโรปเหนือ) ภาพยนตร์เรื่องทวิภพให้ชื่อภาษาอังกฤษว่า The siam renaissance ย่อมมีนัยสำคัญบางประการ อาจหมายถึง สมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาในสยาม หรือการรับเข้ามาใหม่ของวิทยาการยุคใหม่?

ยุคนั้นเป็นยุคที่มองออก ไปนอกฝั่งก็เห็นแต่เรือรบ เกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงครองราชระหว่างวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ ถึงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้า ต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก โดยนโยบาย ลู่ตามลม จึงทรงยอมทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษ

ทวิภพเป็นภาพยนตร์ที่สร้าง ขึ้นจากนิยาย กล่าวถึงการเจาะเวลาหาอดีตโดยหญิงไทยที่มีนามว่า มณีจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษระดับ ๖ สาขาประวัติศาสตร์ ประจำกงสุลไทยนครปารีส ได้กลับไปสู่สยามประเทศสมัยรัชกาลที่ ๔ อย่างไม่คาดฝัน เป็นยุคที่ประเทศกำลังหน้าสิ่วหน้าขวานจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก สิ่งสำคัญที่เธอต้องทำคือ ย้ำเตือนกับขุนนางยุคนั้นว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ (แต่ความจริงเรื่องมันก็ผ่านไปแล้วสำหรับมณีจันทร์ใช่ไหมครับ) ชาติตะวันตกอ้างว่า เป็นหน้าที่ของเขา ที่ต้องนำอารยธรรมที่เจริญกว่ามาเผยแพร่แก่ประเทศด้อยพัฒนา แต่คงเป็นข้ออ้างมากกว่าครับ ความจริงมาเพื่อผลประโยชน์ตนเองมากกว่า เพื่อล่าอาณานิคม กอบโกยทรัพย์ยากรมีค่าไป โดยใช้เงื่อนไขการค้าขายและอื่นๆ ที่ไทยไม่พอใจ

แต่เรา ยอมงอ ไม่ยอมหัก ขุนนางไทยที่ไม่พอใจ บางคนอาจคิดที่จะลอบสังหารท่านทูตนั้น ซึ่ง มณีจันทร์ต้องคอยเตือนไม่ให้ทำเพราะถ้าทำอย่างงั้นไปแล้วหละก็ เรือปืนที่จอดรออยู่ที่ปากอ่าวต้องบุกเข้ามาก่อสงครามกับสยามเต็มรูปแบบแน่ นอน แทบไม่ต้องเดาเลยว่าใครจะแพ้ ใครจะชนะ ฝรั่งเศสถึงกับบอกอย่างภูมิใจเลยว่า สามารถยึดสยามได้ภายใน ๒๔ ชั่วโมง หากท่านตุกติก ไม่ยอมตกลงกับสัญญาของเรา เราจะพิจารณาท่านด้วยเรือปืน


มณี จันทร์ มีความสามารถในการพูดภาษาฝรั่งเศส เธอจึงถูกมองอย่างหวาดระแวงว่าเธออาจเป็นนกสองหัว ถูกสงสัยว่าเป็นพวกใดกันแน่ ซึ่งเธอก็ยืนยันว่าเธอเป็นคนไทย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เกิดที่ฝั่งธนบุรี พูดฝรั่งเศสได้เพราะพ่อแม่ส่งไปเรียน เธอมาจากปี ๒๕๔๖ เธอบอกว่าสยามจะไม่ตกเป็นเมืองขึ้น เพราะเป็นรัฐกันชน และจะต้องยอมเสียดินแดนบางส่วนเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้ ครั้นถูกถามว่า สยามประเทศยุคนั้นเป็นอย่างไร เธอว่ายุคนั้นมีตึกสูงมากมาย ผู้คนแต่งตัวแบบตะวันตก ใช้วัฒนธรรมตะวันตก ขุนนางฟังดังนั้นก็ตกใจ ไหนว่าจะไม่ได้เป็นเมืองขึ้น แล้วทำไมต้องแต่งตัวแบบตะวันตก การเปลี่ยนแปลง ไม่ได้หมายถึงการต้องเป็นเมืองขึ้นนี่ครับ แต่เพื่อให้ภาพพจน์เราดูดีขึ้นในสายตาชาวตะวันตก การเปลี่ยนแปลงทางด้านเครื่องแต่งกายในยุคนั้น เราไม่ได้รับมาจากตะวันตกโดยตรง แต่รับผ่านมาทางประเทศเมืองขึ้น ได้แก่ สิงคโปร อินเดีย การแต่งกายเลยเพี้ยนๆไป เป็นที่ขบขันของชาวตะวันตกมากว่า (ตรงนี้ทำให้เกิดคำถามด้วยเหมือนกันว่า ความเป็นไทยคืออะไร อยู่ที่ไหน และวัดกันอย่างไร)

ยุคนั้นชาติตะวันตกที่รุกรานไทยมีอยู่ ๒ ประเทศ คืออังกฤษและฝรั่งเศส อังกฤษได้พม่าและมาเลเซียไป ส่วนฝรั่งเศสได้ลาว เวียดนาม และได้เขมรจากการอ้างว่าเขมรเป็นเมืองขึ้นของเวียดนาม เมื่อได้เวียดนามแล้ว ต้องได้เขมรด้วย ส่วนประเทศไทยเป็นรัฐกันชน คืออยู่ระหว่างประเทศอาณานิคมของชาติตะวันตกทั้งสอง ต่างฝ่ายต่างระแวงระวังกันที่จะบุกเข้ามา นี่เลยเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ไทยรอดมาได้อย่างหวุดหวิด


อังกฤษ ส่งราชทูตมาคือ เซอร์จอห์น เบาว์ริง เป็นนักการทูตฝีมือดี มีไมตรีจิต มีอัธยาศัยดีเป็นเลิศ สุดท้ายสามารถติดกระบี่เข้าเฝ้าได้ตามธรรมเนียมอังกฤษทั้งที่ขัดต่อ ธรรมเนียมการเข้าเฝ้าของไทย ที่ห้ามนำอาวุธทุกชนิดเข้าเฝ้า


ส่วน ทูตฝรั่งเศสคือ โอบาเรต์ มีบุคลิกก้าวร้าว มักจะอ้างเรือปืนมาบีบบังคับเรื่อยๆ แม้จะไม่ใช่เรื่องทางการทูตก็ตาม ยังเคยชักชวนข้าทาสคนไทยไปอยู่ในร่มธงฝรั่งเศสและตั้งตนเป็นเอเย่นต์ขายสุรา โดยมิได้แจ้งแก่รัฐบาลไทย ไทยเราหมิ่นเหม่ที่จะเกิดสงครามกับผู้นี้อยู่หลายครั้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงดำริที่จะกำหลาบทูตผู้ก้าวร้าวผู้ นี้โดยวิธีการที่เหนือชั้น ทรงแต่งทูตไทยส่งไปเจรจาความโดยตรงกับพระเจ้านโบเลียนแห่งฝรั่งเศสโดยตรงโดย ไม่ผ่ายโอบาเรต์ เมื่อ โอบาเรต์ รู้เข้าจึงไม่พอใจยิ่งนัก รัฐบาลสยามให้ความสำคัญต่อ โอบาเรต์ น้อยกว่า เซอร์จอห์นเบาว์ริง

พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพยายามนำพาสยามประเทศให้พ้นภัยอีกทางหนึ่ง โดยทรงพยายามศึกษาศิลปะวิทยาการของตะวันตก เพื่อให้เห็นว่าชาวสยามมีความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ จึงทรงมีพระราชดำรัสว่า ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแห่งอนาคต พระองค์ทรงจ้างครูสอนภาษาอังกฤษนามว่า แหม่มแอนนา เขามาสอนภาษาอังกฤษในวัง ลูกศิษย์พระองค์หนึ่งก็คือ ว่าที่กษัตริย์องค์ต่อไป แหม่มแอนนาภูมิใจในลูกศิษย์คนนี้มาก เธอบอกว่าเธอเป็นผู้ปลูกฝังเรื่องการเลิกทาสให้ เป็นผลให้เมื่อขึ้นครองราชเป็นรัชกาลที่ ๕ ก็ทรงประกาศเลิกทาสนั่นเอง พระจอมเกล้าทรงฝึกพูดภาษาอังกฤษตั่งแต่ขณะที่ทรงผนวชอยู่ จนชาวตะวันตกชื่นชมพระองค์ว่า ท่านเป็นกษัตริย์พระองค์แรกในบูรพประเทศ ที่พูดภาษาอังกฤษได้คล่องมาก ทางด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ทรงศึกษาดาราศาสตร์ตะวันตก ทรงคำนวณเวลามาตรฐาน และสร้างหอนาฬิกาสยามก่อนหอนาฬิกาบิกเบนหลายปีเลยทีเดียว ถึงแม้ขณะนั้นชาวสยามจะมีนาฬิกาไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นต์ก็ตาม และยังทรงพระปรีชาสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๑๑ ได้อย่างแม่นยำ จนปัจจุบันทรงได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย แต่สิ่งนี้ก็ยังไม่ได้ทำให้สยามหลุดพ้นจากการถูกมองว่าเป็นคนป่าเถื่อนอยู่ ดี พระองค์ทรงชื่นชมในวิทยาการของตะวันตก แต่ก็ทรงขุ่นเคืองพระทัย ที่ชาวตะวันตกมองคนสยามและประเทศแถบนี้ว่าป่าเถื่อน

แต่สุดท้ายแม่ มณีจันทร์ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ขุนนางไทยต้องสังหาร โอบาเรต์ ทูตฝรั่ง หลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นกับเมืองสยามบ้าง ผู้อ่านคงรู้ดี เมื่อเธอกลับมายังยุคของเธอ เธอจึงพบหอไอเฟล มาตั้งคร่อมแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ อันเป็นสัญลักษณ์ว่า เมืองไทยเสร็จฝรั่งเศสแล้ว เธอจึงต้องกลับไปแก้ไขมันอีกครั้งหนึ่ง แต่ ผู้เขียนคิดว่า หากแม้นไทยจะต้องตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ก็ยังไม่มีน้ำหนักพอที่ฝรั่งเศสจะมาสร้างหอไอเฟลที่เมืองไทยหรอกครับ เพราะหอไอเฟลสร้างขึ้นเพื่อฉลองร้อยปีแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม ใช้เป็นหอกระจายข่าว เรื่องนี้จึงเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น (เพราะจะแสดงออกด้วยการแต่งกาย หรือวัฒนธรรมก็ไม่ได้แล้ว เนื่องจากเหมือนๆกันไปหมดทั่วโลก)

จากตอนต้นที่มณีจันทร์ว่าคนไทย พ.ศ. ๒๕๔๖ แต่งกายเหมือนฝรั่ง อาจมีคำถามว่าแล้ววัฒนธรรมฝรั่งดีหรือไม่ เบื้องต้นคงคิดว่าไม่ดี อะไรกัน จะมายัดเยียดวัฒนธรรมตะวันตกให้เราทำไม สูญเสียคุณค่าวัฒนธรรมไทยที่ดีงามไปมาก แต่เมื่อศึกษาดู ของที่ไทยสมควรเปลี่ยนก็มี เช่น การต้องถูกเฆี่ยนก่อนถวายฏีกากษัตริย์ เพื่อให้ผู้ที่ถวายเลือกเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ร.๔ ก็ทรงเลิก ใครจะถวายก็ถวายได้เลย กับธรรมเนียมห้ามมองขบวนเสด็จ ใครที่แอบมองจะถูกทหารยิงธนูหรือปืนเข้าตา อันที่จริงในรัชกาลก่อนๆ เคยถูกผ่อนปรนลงให้เป็นแค่ง้างธนูขู่เท่านั้น แต่เมื่อถึงรัชกาลที่ ๔ ทรงเลิกเด็จขาดเลย ใครอยากจะมองขบวนเสด็จก็มองได้เลย (แต่ แปลก ที่คำบรรยายภาพนี้กลับบอกว่า ห้ามมองขบวนเสด็จอยู่) ดังนั้นของที่เป็นของเราแท้ๆ แต่เราไม่ชอบก็มี แต่ของดีๆที่เราสูญเสียไปก็มี อย่างเช่น เศรษฐกิจแบบพอเพียง ที่ชาวบ้านทอผ้าใช้เองก็กลายเป็นเศรษฐกิจแบบเงินตรา ชาวบ้านหันไปซื้อผ้าใช้แทน ต้องได้ปลูกบ้าน และแต่งกายแบบยุโรป ที่ไม่เข้ากับสภาพอากาศเมืองไทย

อย่างไรก็ดี ผู้เขียนก็ยืนยันว่า เราไม่มีทางประดิษฐ์เครื่องย้อนเวลาได้แน่นอน ไม่ว่าเทคโยโลยีจะเจริญซักเท่าไรก็ตาม หากท่านเข้าใจคำว่า เวลา ที่แท้จริงคืออะไร เพราะมันแปลว่า ช่วงตั่งแต่เกิดความต้องการ ไปจนถึงได้สนองความต้องการนั้นแล้ว นั่นเอง

อดีตไม่ได้มีไว้แก้ไข
แต่มีไว้เป็นบทเรียน
เพื่ออนาคตที่ดียิ่งกว่า




Credit : 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น